หลุมหลบภัยนิวเคลียร์

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 10 December 2010 เวลา 18:17 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 8143

ระหว่างที่ทำเรื่องน้ำท่วมครั้งใหญ่ ซึ่งมีแนวโน้มจะต่อด้วยภัยหนาวรุนแรง ผมค้นเน็ตไปเรื่อยๆ ก็ไปเจอเอาสารของสหรัฐเกี่ยวกับการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน เป็นมรดกของสงครามเย็น เขียนไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1979 โดย Oak Ridge National Laboratory เรื่อง Nuclear War Survival Skills (NWSS) เชิญคลิกอ่านเอาเองครับ

ปัจจุบันนี้สงครามเย็นเลิกไปแล้ว ถึงความเสี่ยงในสงครามนิวเคลียร์ล้างโลกจะลดลงมาก แต่ก็ไม่ได้หายไปทั้งหมดเพราะยังมีการก่อการร้ายอยู่ประปราย

ผมไม่ได้สนใจสงครามนิวเคลียร์หรอกครับ เพียงแต่สนใจเรื่องที่หลบภัยหนาว และข้อมูลเรื่องปริมาณน้ำ+อาหาร+survival kits ที่ต้องเตรียมไว้สำรองในกรณีที่โครงสร้างพื้นฐานถูกตัดขาดทั้งหมด ไม่มีน้ำ ไม่มีอาหาร ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีการติดต่อสื่อสาร (และเงินไม่มีความหมาย)

ว่ากันที่จริง ภัยหนาวเป็นเรื่องของการป้องกันผลของการลดอุณหูมิจากลม (wind chill) และการรักษาความอบอุ่นของร่างกายไว้; NWSS แนะนำให้ขุดหลุมหลบภัยเป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราว ทั้งนี้เพราะดินหนาสามฟุต สามารถลดทอนรังสีแกมมาจากระเบิดนิวเคลียร์ลงได้ 99%

อ่านต่อ »


พระอรหันต์องค์ที่ ๗

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 10 December 2010 เวลา 2:12 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4564

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ ละอาสวะ บรรลุอรหัตผลได้ นับเป็นพระอรหันต์องค์แรก ต่อมาเมื่อพระองค์แสดงปฐมเทศนาด้วยธรรมจักกัปปวัตนสูตร ท่านโกณฑัญญะ บรรลุอรหัตผล และขอบรรพชาเป็นพระภิกษุรูปแรก (ไม่ใช่อุปสมบท!) พระพุทธเจ้าแสดงธรรมต่อไป พระวัปปะและพระภัทธิยะ ละอาสวะได้จึงขอบรรพชา วันต่อมาทรงแสดงธรรมอีกจน พระมหานามะและพระอัสสชิ ละอาสวะได้และขอบรรพชา ในเวลานั้นจึงมีพระอรหันต์ 6 องค์คือพระพุทธเจ้า และปัญจวัคคีย์ แต่ยังทรงแสดงอนันตลักขณสูตรสอบทานความเห็นอีก

ในนครพาราณสี ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน มีเศรษฐีอยู่ท่านหนึ่ง เลี้ยงดูลูกชายแบบปรนเปรอบำเรอสุข ผู้บุตรนั้นชื่อยส เรียกว่ายสกุลบุตร เศรษฐีสร้างปราสาทให้ลูกชายสามหลังสำหรับฤดูร้อน ฝน หนาว อยู่แต่ในปราสาทได้ตลอดสี่เดือนโดยไม่ต้องย่างกรายออกมาเลย เรียกว่าอยู่อย่างบรมสุขมีรูมเซอร์วิสตลอดเลยก็ว่าได้ (ตามพระไตรปิฎก)

วันหนึ่งก็เกิดเรื่อง ยสกุลบุตรฟังการขับกล่อมจนหลับไป บรรดานางทาสีนอนทีหลัง กลิ้งเกลือกอะโกโก้ซกมกโดยไม่ดับไฟ ยสกุลบุตรตื่นขึ้นมา เจอภาพอล่างฉ่าง เป็นภาพที่ไม่น่าดูเลยตามสายตาของยสกุลบุตร จนกล่าวคำอุทานออกมาแปลเป็นไทยว่า ท่านผู้เจริญ ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ ว่าแล้วก็เดินออกนอกปราสาท ออกนอกเมืองไปทางป่าอิสิปตนมฤคทายวันที่พระพุทธเจ้าและปัญจวัคคีย์พำนักอยู่

พอเดินเข้าไปใกล้พระพุทธเจ้า ยสกุลบุตรเปล่งอุทานออกมาอีกว่า ท่านผู้เจริญ ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า ดูกรยส ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง มาเถิดยส นั่งลง เราจักแสดงธรรมแก่เธอ ยสกุลบุตรพอได้ยินว่า ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง ก็รีบถอดรองเท้าทองเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค

อ่านต่อ »


บาดาลลอยฟ้า

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 9 December 2010 เวลา 19:39 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4565

วันนี้ได้พบครูบา คุยไปคุยมา เจอเรื่องน่าสนใจครับ

ปี 2523 สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA คุณมีชัย วีระไวทยะ) ทำโครงการบาดาลลอยฟ้า Sky Irrgation Project และโครงการธนาคารผัก Vegetable Banks ซึ่งอันหลังจะไม่กล่าวถึง

เมืองไทยมีปริมาณน้ำฝนเหลือเฟือ แต่จัดการน้ำได้อย่างน่าผิดหวัง เนื่องจากปล่อยน้ำฝนที่ตกลงมาทิ้งไปหมด ไม่มีการกักเก็บไว้ ทำให้น้ำขาดแคลนในภาวะแห้งแล้ง ต้องไปซื้อน้ำจากแหล่งไกลๆ ค่าน้ำแพง ค่าขนส่งก็แพง แถมถนนเสียด้วย ได้พืชผลอะไรมา กำไรก็หายไปกับค่าน้ำและปุ๋ยหมด ยิ่งทำยิ่งจน (แต่มีรัฐบาลประชานิยม แจกสะบัด หักจากเงินหล่น เงินทอน เหลือถึงชาวบ้านมือเท่าไหร่ก็ไม่รู้ แล้งก็ได้ ท่วมก็ได้ หนาวก็คงได้อีก)

โครงการบาดาลลอยฟ้า เป็นโครงการที่ทำง่าย แต่ใครไม่ทำก็จะไม่ได้อะไร

  1. PDA มีแบบหล่อถังซีเมนต์ นั่งร้าน ซีเมนต์ เอาไปลงพื้นที่
  2. PDA สอน ชาวบ้านลงแรง หล่อถังซีเมนต์เอาไว้เก็บน้ำฝน — เมืองไทยมีปริมาณฝนตก 1,500 มม./ปี หลังคาบ้านขนาด 25 ตารางเมตร (5 x 5 เมตร เป็นหลังคาขนาดเล็กมาก อยู่กันได้สองคน) มีน้ำฝนตกลงมาบนหลังคา 37.5 ลูกบาศก์เมตร หรือ 37,500 ลิตร — ข้อมูลจากการทดลองของกองทัพเรือสหรัฐ ที่จับทหารเรือ 99 คน ใส่หลุมหลบภัย เพื่อหาปริมาณความต้องการน้ำขั้นต่ำ พบว่าโดยเฉลี่ย แต่ละคนต้องการน้ำวันละ 2.4 ลิตร (บริโภคและทำอาหาร) — ดังนั้นน้ำฝนที่เก็บไว้ จึงเป็นหลักประกันว่าจะพอประทังชีวิตรอดไปได้ หากไฟฟ้า ประปา และชลประทานหยุดชะงัก
  3. PDA ไม่ทำให้ฟรีครับ ถ้าสิ่งนี้มีค่า ก็ต้องมีราคา และใช้อย่างรับผิดชอบ; PDA ตีราคาถังละ 6,000 บาท ให้ชาวบ้านผ่อนเดือนละ 500 หนึ่งปี ผ่อนเดือนละเงินห้าร้อยบาท อยู่ในวิสัยที่ผ่อนได้ ดีกว่าโครงการไทยค๊อกแค๊กตั้งเยอะ — หกพันบาทนี่ไม่มีกำไรหรอกครับ เป็นราคาที่มีการอุดหนุนแล้ว แต่เป็นการฝึกวินัยชาวบ้านด้วย

อ่านต่อ »


คณิตศาสตร์ใหม่ของความร่วมมือ

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 8 December 2010 เวลา 21:15 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ #
อ่าน: 5396

ช่วงที่เกิดน้ำท่วมหนัก มีบันทึกรับเชิญในบล็อกของ Harvard Business Review เรื่อง The New Arithmetic of Collaboration คนเขียนสี่คน เข้าใจเปรียบเทียบครับ เขาว่าเหมือนไต่บันได้ลิง แต่ผมไม่แปลหรอกนะครับ จะตีความตามใจชอบ

บันไดขึ้นที่หนึ่ง ร่วมมือแบบไม่ร่วมมือ (1+1 < 2) ปากก็ว่าร่วมมือ แต่ที่จริงต่างคนต่างทำ เป็นความร่วมมือลวงๆ ต่างอาศัย “ความร่วมมือ” เพื่อหาประโยชน์เข้าตนแต่ฝ่ายเดียว ขาดเป้าหมายร่วมกัน ขาดความจริงใจที่จะร่วมมือกัน เผลอๆ มีแทงกันข้างหลังด้วยซ้ำไป พร้อมจะเลิกกันได้ทุกเมื่อ ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าเป็นความร่วมมือได้ในรูปแบบไหน

บันไดขั้นที่สอง แบบผลัดกัน (1+1 = 2) ยังคงเป็นต่างคนต่างทำ แต่ไม่แย่งกัน ไม่อิจฉากันแล้ว แล้วก็ไม่ได้ช่วยกันด้วย ทีมหนึ่งทำ อีกทีมหนึ่งพัก ในเมื่อผลัดกันทำ แล้วสามารถบรรลุเป้าหมายระยะสั้นได้ ต่างคนต่างแฮบปี้แล้ว ก็เลยลืมมองไปว่ายังมีความร่วมมือในลักษณะอื่นอีก ลักษณะความร่วมมือแบบนี้ เมื่อบรรลุเป้าหมาย(ระยะสั้น)ที่วางเอาไว้ ทุกคนแฮบปี้แล้วก็หยุด รอคอยความร่วมมือครั้งต่อไป เพื่อร่วมมือกันแบบเดิม ทำ-หยุด-ทำ-หยุด

อ่านต่อ »


เลิกประชุมกันอย่างสงบเสงี่ยม?

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 7 December 2010 เวลา 18:32 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ #
อ่าน: 3471

เมื่ออาทิตย์ก่อน HBR Management Tips บอกให้เลิกการประชุมอย่างเรียบร้อยซะ!

Abolish Great Meetings

Having a “great meeting” often means that everyone in the room agreed on a topic without debate or discomfort. Yet, most great ideas are born from conflict and differences of opinion, rather than effortlessly run meetings. Next time you are organizing a meeting, don’t focus on making it go smoothly. Instead, pay attention to moving your business objective forward. Only invite people who truly have a stake in the goal, not those who have a territorial claim or just want to be heard. Good results come from complex, iterative, and challenging processes. Rather than making sure your ideas and discussion fit perfectly into the hour time frame, be willing to leave the issue unresolved and have another “bad” meeting to follow up.

อ่านต่อ »


ลดความเสี่ยงจากดินถล่ม?! ตอนต่อมา

อ่าน: 4532

ต่อจากนี้ไป เราจะได้ยินคำเตือนเรื่องดินถล่ม ทุกครั้งที่คาดว่าจะมีฝนตกหนัก แล้วในที่สุดก็จะรู้สึกเฉยๆ ไปในที่สุด… ความรู้สึกแบบนี้อันตรายครับ ถึงเตือนแล้วไม่เกิด หรือว่าเตือนแล้วไม่มีทางออกให้ก็ตาม

บ้านเรือนที่ตั้งอยู่เชิงเขามีความเสี่ยงต่อดินถล่มเสมอ ไม่ว่าฝนจะตกหนักหรือไม่ และไม่ว่าจะมีใครเตือนภัยหรือไม่

FEMA อธิบายไว้ว่า

A landslide is defined as “the movement of a mass of rock, debris, or earth down a slope”. (Cruden, 1991). Landslides are a type of “mass wasting” which denotes any down slope movement of soil and rock under the direct influence of gravity. The term “landslide” encompasses events such as rock falls, topples, slides, spreads, and flows, such as debris flows commonly referred to as mudflows or mudslides (Varnes, 1996). Landslides can be initiated by rainfall, earthquakes, volcanic activity, changes in groundwater, disturbance and change of a slope by man-made construction activities, or any combination of these factors. Landslides can also occur underwater, causing tsunami waves and damage to coastal areas. These landslides are called submarine landslides.

Failure of a slope occurs when the force that is pulling the slope downward (gravity) exceeds the strength of the earth materials that compose the slope. They can move slowly, (millimeters per year) or can move quickly and disastrously, as is the case with debris-flows. Debris-flows can travel down a hillside of speeds up to 200 miles per hour (more commonly, 30 - 50 miles per hour), depending on the slope angle, water content, and type of earth and debris in the flow. These flows are initiated by heavy, usually sustained, periods of rainfall, but sometimes can happen as a result of short bursts of concentrated rainfall in susceptible areas. Burned areas charred by wildfires are particularly susceptible to debris flows, given certain soil characteristics and slope conditions.

อ่านต่อ »


แก้มลิงใต้ดิน

อ่าน: 4696

ผมเขียนที่บล็อกลานซักล้างนี้มาเกือบหนึ่งพันบันทึกแล้ว ย้อนกลับไปดูบันทึกเก่าๆ เจอเรื่องราวที่เอามาผูกกันเป็นเรื่องใหม่แล้วอาจจะเวิร์คครับ

  1. แก้มลิงต้องการพื้นที่แปลงใหญ่ แต่ในหลายปีที่ผ่านมา พื้นที่มีราคาแพงขึ้นมากเนื่องจากมีนายทุน(ไทยและต่างชาติ)กว้านซื้อ องค์กรจัดการภัยพิบัติสหรัฐ​ FEMA ซึ่งบังคับให้ทุกชุมชนทำแก้มลิง ได้กำหนดความหมายของแก้มลิง (floodway) ไว้ว่า A “Regulatory Floodway” means the channel of a river or other watercourse and the adjacent land areas that must be reserved in order to discharge the base flood without cumulatively increasing the water surface elevation more than a designated height. Communities must regulate development in these floodways to ensure that there are no increases in upstream flood elevations. For streams and other watercourses where FEMA has provided Base Flood Elevations (BFEs), but no floodway has been designated, the community must review floodplain development on a case-by-case basis to ensure that increases in water surface elevations do not occur, or identify the need to adopt a floodway if adequate information is available.
  2. ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ปีนี้มีแล้งจัด ร้อนจัด จนน้ำเกือบหมดเขื่อน! จากนั้นต่อด้วยเปียกจัด เกิดอุทกภัยขึ้นใน 51 จังหวัด มีคนได้รับผลกระทบประมาณ 9 ล้านคน คิดเป็น 13.4% ของประชากรทั้งหมด และมีแนวโน้มว่าจะต่อด้วยหนาวจัดด้วย
  3. โดยสถิติ ถึงฝนจะมาไม่ตรงเวลา ปริมาณฝนเฉลี่ยก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง — หมายความว่า เวลาฝนทิ้งช่วงจะเกิดการขาดแคลนน้ำ ส่วนเวลาฝนมาก็จะท่วม

อ่านต่อ »


มองระบบท่อระบายน้ำ

อ่าน: 4976

ท่อระบายไม่มีอะไรน่ามองหรอกครับ แต่มีแง่คิด

ท่อระบายน้ำซึ่งพบมากในเมือง เป็นท่อซึ่งลำเลียงน้ำจากที่สูงไปยังที่ต่ำ ทั้งน้ำฝนแลน้ำทิ้ง

เนื่องจากน้ำที่วิ่งผ่านเมือง จะนำความสกปรกของเมืองไปด้วย ดังนั้นระบบท่อระบายน้ำ ก็จะมีบ่อพักเป็นระยะ บ่อพักเป็นช่องเปิดให้คนลงไปบำรุงรักษาท่อได้ และเป็นบ่อดักตะกอนอีกถ่ายหนึ่ง

ดูเผินๆ ก็ดีนะครับ แต่มีสิ่งสำคัญอย่างน้องสองสิ่งที่ถูกมองข้ามไป

อย่างแรกคือท่อระบายน้ำ เคลื่อนย้ายน้ำออกไปจากพื้นที่ กลายเป็นปัญหาของพื้นที่ที่อยู่ต่ำลงไปทางปลายน้ำ เรื่องนี้เป็นการย้ายปัญหาจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

อ่านต่อ »


เป็นมากกว่าไหมพรมสำหรับถักหมวก

อ่าน: 7029

เช้านี้น้องก้อยซึ่งเพิ่งเขียนถึงในบันทึก [การให้] โทรมาตามให้ไปรับไหมพรมที่จะบริจาคไป [ถักหมวกแบบง่าย]

พอไปถึงแม่แก้วกำลังจะออกไปธุระพอดี ก็กลับไปหยิบไหมพรมมาให้สองหีบ — เป็นการบริจาคครับ


สองรูปข้างบนนี้ ผมไม่ได้เอาไหมพรมมาตากหรอกครับ เพียงแต่ขี้เกียจยกสองหีบเข้ามาในบ้านเพื่อถ่ายรูป ก็เลยอาศัยท้ายรถเป็นที่วาง-รูปละหีบ

ไหมพรมส่วนใหญ่ จะส่งไป รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์​ซึ่งมีอาสาสมัครถักหมวก เป็นกลุ่มพยาบาลซึ่งได้เห็นประกายแห่งความสุขของเด็กทีี่ได้รับหมวก ไหมอีกส่วนหนึ่งจะแบ่งให้กลุ่มการฝีมือที่มีฝีมือ เพื่อนๆของป้าจุ๋ม ณ ปากเกร็ด ได้ร่วมทำ ซึ่งขึ้นอยู่กับเวลาของ สว.แต่ละท่านในกลุ่ม

แม่แก้วบอกว่าไหมพรมร้านน้องก้อยขายดีขึ้น เดือนหน้าจะประกาศผลสอบ IGCSE แล้ว คงผ่านได้ด้วยคะแนนดี จากนั้นจึงไปสอบเข้า TEPE; เจอกันคราวที่แล้ว น้องก้อยบอกว่าสนใจจะเรียนวิศวกรรมเครื่องกล เป็นอุทาหรณ์ว่าแม้แต่เด็กที่ต้องออกจากโรงเรียน เนื่องจากความป่วยไข้ที่ทำให้นั่งเรียนวันละ 8 ชั่วโมงไม่ไหว (ทำไมโรงเรียนโหดเหี้ยมอย่างนี้) ก็ยังสามารถนอนเรียนที่บ้านพร้อมกับรักษาตัวไปด้วย ใช้ความพยายามและกำลังใจส่วนตัว บวกกับความรักความอบอุ่นของครอบครัว พยายามจะกลับเข้าสู่การศึกษาตามระบบ เร็วกว่าเพื่อนๆ ซึ่งเรียนในโรงเรียนหนึ่งปี

อ่านต่อ »


บัญชีเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ซะงั้น!

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 2 December 2010 เวลา 0:13 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3115

ไม่น่าเชื่อว่าจะต้องเขียนเรื่องนี้เป็นครั้งที่สี่ แต่จะไม่เล่าเบื้องหลังซ้ำอีกหรอกนะครับ ถ้าสนใจ ตามอ่านได้เองที่ [มาตรการทางภาษีเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย] [ทำช้าดีกว่าไม่ทำ] [วุ่นวายไปทำไม]

มูลนิธิโอเพ่นแคร์ เปิดบัญชีรับบริจาคขึ้นสองบัญชี

บัญชีแรก คือบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ เลขที่บัญชี 402-177809-6 เป็นไปตามประกาศของกรมสรรพากรเรื่องมาตรการภาษีให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ระหว่างวันที่ 1 กันยายน ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553 ที่ให้ผู้บริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย สามารถนำใบเสร็จของมูลนิธิไปหักภาษีเงินได้ส่วนบุคคลได้ และสำหรับนิติบุคคล ก็นำเงินบริจาคหักเป็นรายจ่ายได้ ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ

บัญชีแรกนี้จะต้องบริจาคภายในปี 2553 นี้เท่านั้น และเงินบริจาคก็จะต้องใช้ให้หมดภายใน 31 พฤษภาคมปีหน้า เมื่อบริจาคเข้าบัญชีนี้แล้ว กรุณากรอกฟอร์ม http://bit.ly/opencare-flood เพื่อกรอกชื่อที่อยู่สำหรับใบเสร็จรับเงิน

มีปัญหาว่าภัยธรรมชาติในครั้งนี้ ตามรายงานของ ปภ.เมื่อสองวันก่อน มีผู้ได้รับผลกระทบ 8.97 ล้านคน 2 ล้านครัวเรือน 32,423 หมู่บ้่าน 3,972 ตำบล คงเชื่อได้ยากว่าจะฟื้นฟูได้เสร็จก่อนสิ้นเดือนพฤษภาคมปีหน้า จึงเป็นที่มาของบัญชีที่สอง

บัญชีที่สอง คือบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ เลขที่บัญชี 402-177853-3 บัญชีนี้ ไม่อยู่ภายใต้ประกาศของกรมสรรพากรข้างบน เนื่องจากเชื่อว่ามีความจำเป็นในการฟื้นฟูระยะยาว ซึ่งไม่สามารถจะทำให้จบสิ้นไปภายในเดือนพฤษภาคมปีหน้าได้ ผู้บริจาคสามารถระบุวัตถุประสงค์ของการใช้เงินด้วย เป็นบัญชีเงินบริจาคเหมือนที่หยอดตามกล่องรับบริจาค แต่ตรวจสอบได้และระบุวัตถุประสงค์ของการใช้เงินได้ และติดตามการใช้เงินบริจาคได้ เมื่อบริจาคเข้าบัญชีนี้แล้ว กรุณากรอกฟอร์ม http://bit.ly/opencare-volunteerfund เพื่อระบุวัตถุประสงค์ของการใช้เงิน

อ่านต่อ »



Main: 0.18762683868408 sec
Sidebar: 5.2441129684448 sec