วอลเปเปอร์ถุงขนมแก้หนาว

อ่าน: 4459

หนาวจนจะหมดหนาวอยู่แล้ว แต่ผมยังติดใจเรื่องผ้าห่มที่ทำจากหนังสือพิมพ์อยู่ครับ หมึกพิมพ์มีตะกั่ว จึงไม่เหมาะจะเอามาทำผ้าห่ม หรือปิดฝาบ้านกันลมเย็นจากรอยแยกในฝาบ้าน

แต่เมืองไทยนี้ มีวัฒนธรรมกินขนมแบบฉีกซองที่จริงจังมาก ระบาดไปทั่วทุกหัวระแหง หมึกพิมพ์บนซองขนมไม่เลอะเทอะ แถมซองก็ต้องทิ้งอยู่แล้ว ทำไมไม่เอามาต่อกันเป็นแผ่นใหญ่ๆ แปะฝาบ้านกันความเย็นจากภายนอก และรักษาความอบอุ่นไว้ภายใน

ไอเดียนี้ เริ่มมาจากที่มีคำแนะนำให้คนไม่มีที่อยู่ ที่อาศัยนอนตามถนนในเมืองที่มีอากาศหนาวจัด ใช้ผ้าห่มฉุกเฉินรักษาความอบอุ่นของร่างกาย… อืม แล้วจะไปเอาผ้าห่มมาจากไหน ก็เลยมีชาวบ้านแนะนำซ้อนขึ้นมาอีกทีหนึ่ง บอกว่าทำเองดิ

เอาถุงขนมห่อที่ทิ้งแล้ว มาล้างและตัดให้แผ่ออก จากนั้นก็ปะเทปผสานกันหลายๆ ถุง กลายเป็นผืนใหญ่… ดูไปก็ง่ายดีครับ ทำเป็นสุ่มไก่แทนเสื้อกันหนาวก็ไม่เลว


เตาจรวด

อ่าน: 5249

อันที่จริง เรื่องนี้ก็ไม่มีอะไรหรอกครับ แต่นำมาเขียนอีกเพราะผมไม่คิดว่าการเผาฟืนในที่โล่งแจ้งเพื่อสร้างความอบอุ่น จะเป็นวิธีการที่ดี ควันไฟมีอันตรายต่อผู้ที่สูดดม แม้จะไม่เห็นผลในทันใด แต่ก็คล้ายกับการสูบบุหรี่ — แต่เวลามันหนาวจับขั้วหัวใจ จะบอกไม่ให้ก่อกองไฟแล้วดันไม่มีวิธีอื่นทดแทน อย่างนี้คงคุยกันไม่รู้เรื่อง

เตานี้เป็นเตาธรรมดา คล้ายเตาอั้งโล่นั่นแหละครับ เปิดช่องให้อากาศเข้าทางเดียว และให้ความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้ออกทางเดียวคือทางปล่องด้านบน เรียกว่า rocket stove ใช้เศษกิ่งไม้เล็กๆ เป็นเชื้อเพลิง ไม่ต้องใช้ฟืนดุ้นใหญ่ ซึ่งต้องไปตัดต้นไม้ต้นใหญ่มาเพื่อที่จะติดไฟนานๆ

การทำปล่องเอาไว้ ทำให้เกิด stack effect [ปล่อง] เป็นแรงดูดเปลวไฟและลมร้อนออกทางด้านบน ทำให้เตาดูดอากาศเข้ามายังห้องเผาไหม้จากด้านล่าง เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ขึ้น (เปลี่ยนเชื่อเพลิงไปเป็นความร้อนได้ดีขึ้น) ควันน้อยหรือไม่มีควัน

สามารถสร้างได้ง่ายๆ โดยใช้วัสดุในท้องถิ่น จะเป็นการก่อดินก็ได้ หรือจะใช้อิฐก่อ ก็แล้วแต่สะดวก

อ่านต่อ »


ผนังที่เป็นฉนวน

อ่าน: 6229

เมื่อตอนเด็กๆ จำได้ว่าเคยมีการระดมทำผ้าห่ม โดยการเอากระดาษหนังสือพิมพ์ ทาแป้งเปียก มาต่อกัน เย็บขอบเป็นผืนใหญ่

หลักการก็คืออากาศ(นิ่ง) ระหว่างชั้นของหนังสือพิมพ์ กลายเป็นฉนวนความร้อน ป้องกันความเย็นจากภายนอก และรักษาความอบอุ่นของร่างกายไว้ภายใน แต่ผ้าห่มแบบนี้ ไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากหมึกพิมพ์เลอะเทอะเสื้อผ้า ซักออกยาก แถมมีตะกั่วผสมอยู่ในหมึกพิมพ์อีกด้วย ในสมัยนั้น ผมก็ไม่รู้หรอกนะครับว่า เด็กในเมืองที่ครูสั่งให้หากระดาษหนังสือพิมพ์(เก่าๆ)ทำกันยังไง เพราะหนังสือพิมพ์ก็ไม่ได้มีมากมายเหมือนปัจจุบัน

แต่ผมยังคิดว่าหลักการของฉนวนอากาศ ยังใช้ได้อยู่ โดยแทนที่จะเอามาห่ม ก็ใช้แผ่นกระดาษปะฝาผนัง เพิ่มค่า R ให้ผนัง ซึ่งนอกจะป้องกันความเย็นจากนอกบ้าน เก็บรักษาความอบอุ่นไว้ในบ้านแล้ว ก็ยังกันลมเย็นจากรอยแยกตามช่องผนังไม้ (นึกถึงบ้านชาวเขา ซึ่งเป็นไม้ขัดกัน ฯลฯ) เวลาใช้กระดาษเป็นฉนวนติดผนังแล้ว ก็สามารถลดการสัมผัสผิวหนังลงไปได้ ช่วยป้องกันความหนาวเย็นแก่ผู้สูงอายุ ซึ่งอาจจะลงไปผิงไฟไม่ไหว

ตามโรงเรียน สามารถใช้กระดาษหลายชั้นปิดผนัง (ระวังน้ำหนัก) ปิดทับหน้าต่างกระจกซึ่งเป็นจุดที่ห้องสูญเสียความร้อนมาก

  • Plastic sheeting ฝรั่งใช้พลาสสิกแผ่นทำแบบเดียวกัน
  • Cold Climate Emergency Shelter Systems ที่พักฉุกเฉินสำหรับอากาศหนาว เป็นเหมือนเต้นท์แบบครึ่งทรงกระบอก ใช้ท่อพีวีซีขนาดเล็ก มางอให้โค้งเป็นครึ่งวงกลมใช้เป็นโครงหลังคา (งอได้ง่ายๆ) แล้วเอาผ้าเต้นท์ ไยไฟเบอร์ หรืออย่างกรณีไม่มีงบสร้างจริงๆ ก็ใช้กระดาษเก่าหลายชั้นคลุมเป็นหลังคาแทนได้

อ่านต่อ »


บ้านกระสอบทราย

อ่าน: 7177

ก่อนอื่นต้องกราบขอบพระคุณป้าจุ๋มสำหรับหมวกและผ้าพันคอครับ เมื่อปลายปี ลูกสาวป้าจุ๋มแวะมาจากอังกฤษ ป้าจุ๋มคิดจึงถักหมวกให้ แล้วยังเผื่อแผ่มาถึงผมซึ่งอายุเท่ากับน้องชายคนเล็กด้วย แกกล่องออกมาดู โอ้โห หมวกใหญ่โตมโหราฬจริงๆ แต่พอใส่ กลับพอดีอย่างไม่น่าเชื่อ เหมือนตัดหมวกมาเลย — จะไม่พอดียังไงล่ะครับ ก็คืนนั้นกลางเดือนตุลาคม ผมวัดหัวผม ส่ง dimension ไปให้นี่ครับ

พูดถึงอากาศหนาวแล้ว ผมคิดว่าวิธีที่สร้างที่หลบภัยหนาวที่กินแรงน้อยที่สุด คือขุดรูนอนครับ บันทึก [หลุมหลบภัยนิวเคลียร์] มี KAP (Kearny Air Pump) สำหรับระบายอากาศด้วย… แต่ก็นั่นล่ะครับ คนเคยอยู่บนบ้าน อยู่ดีๆ จะไปบอกให้ลงไปนอนกับพื้น ไม่รู้จะคิดอย่างไร

วันนี้จึงเสนอวิธีสร้างบ้านดินเป็นรูปโดม โดยใช้กระสอบทรายและลวดหนามครับ

กระสอบทราย เป็นเทคโนโลยีการสงครามจากสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่เอามาสร้างที่พักพิงชั่วคราว ก็เหมาะไปอีกแบบหนึ่ง

ที่จริงเราสร้างบ้านดินรูปเหลี่ยมได้ไม่ยาก ถ้าเป็นโดมก็จะวุ่นวายหน่อย แต่ว่าโดมใช้ดินน้อยกว่า เพราะมันสอบเข้าในส่วนที่อยู่สูง ไม่ใช้ไม้ในการมุงและเสริมความแข็งแรงของหลังคา ทั้งสองแบบเก็บความร้อนและป้องกันลมเย็นบนเนินเขาได้ดี ที่สำคัญคือบ้านกระสอบทรายเหมาะสำหรับพื้นที่สูงที่หาน้ำได้ยากครับ

การที่โดมมีปริมาตรน้อยกว่าบ้านเหลี่ยม ทำให้ห้องความอบอุ่นได้เร็วกว่า

อ่านต่อ »


ไต้ไม่มีควัน

อ่าน: 8160

ไม่ได้เขียนเรื่องภาคใต้หรอกนะครับ เมื่อคืนไปดูคลิปใน Youtube อันหนึ่ง เพราะว่ากำลังหาวิธีสร้างความร้อนที่มีประสิทธิภาพสูง ต้นทุนต่ำ แล้่วไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ก็ควรจะใช้วิธี gasification แต่มันดูยุ่งยากจังเลย! ผมก็เลยลองทำดู จะพิสูจน์ให้เห็นว่าไม่ได้ยากหรอกครับ ใครๆ ก็ทำได้

บันทึกนี้เป็นเรื่องการทดลองทำแหล่งความร้อน ที่ใช้กิ่งไม้ห่อด้วยอะลูมินัมฟอยล์ (ที่ใช้ห่ออาหาร) งานนี้แม่ร่วมสนับสนุนการทดลอง โดยฉีกฟอยล์ให้สามฟุต (ฟอยล์เป็นของแม่ จึงยกให้แม่เป็นผู้อำนวยการสร้าง)

อุปกรณ์

  1. อะลูมินัมฟอยล์ กว้าง 1 ฟุต สองแผ่น ความยาวไม่ต้องยาวเท่านี้ก็ได้
  2. กระป๋องนั้นไม่ได้เกี่ยวเลยทีเดียว มีขนมที่อร่อยมาก ซึ่งหายหมดไปอย่างรวดเร็ว
  3. กิ่งไม้ขนาดน่าเอ็นดู เล็กกว่านิ้วก้อยอีก ยาวสามฟุต (แผ่นฟอยล์กว้าง 1 ฟุต)

ค่ นี๊ ! ? ! ?

ที่จริงมีอย่างอื่นอีกครับ แต่แสวงเครื่องได้ง่ายๆ

ก่อนทดลอง ก็มีคำถามอันใหญ่เลยว่าไม้เห่ยๆ อันแค่นี้ จะไปได้สักกี่น้ำ แล้วเศษไม้ที่เก็บมานี่ ก็เป็นไม้สดด้วย ถ้าจะให้ถูกต้องตามประเพณีทฤษฎี ก็ควรจะใช้ไม้แห้ง… แต่ผมว่าอย่ามาลีลาเลยครับ ทฤษฎีก็เรื่องหนึ่ง ถ้าอยากจะรู้จริง ต้องลองทำซิ ไม่ต้องตั้งเงื่อนไขอะไร

อ่านต่อ »


เป็นมากกว่าไหมพรมสำหรับถักหมวก

อ่าน: 7029

เช้านี้น้องก้อยซึ่งเพิ่งเขียนถึงในบันทึก [การให้] โทรมาตามให้ไปรับไหมพรมที่จะบริจาคไป [ถักหมวกแบบง่าย]

พอไปถึงแม่แก้วกำลังจะออกไปธุระพอดี ก็กลับไปหยิบไหมพรมมาให้สองหีบ — เป็นการบริจาคครับ


สองรูปข้างบนนี้ ผมไม่ได้เอาไหมพรมมาตากหรอกครับ เพียงแต่ขี้เกียจยกสองหีบเข้ามาในบ้านเพื่อถ่ายรูป ก็เลยอาศัยท้ายรถเป็นที่วาง-รูปละหีบ

ไหมพรมส่วนใหญ่ จะส่งไป รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์​ซึ่งมีอาสาสมัครถักหมวก เป็นกลุ่มพยาบาลซึ่งได้เห็นประกายแห่งความสุขของเด็กทีี่ได้รับหมวก ไหมอีกส่วนหนึ่งจะแบ่งให้กลุ่มการฝีมือที่มีฝีมือ เพื่อนๆของป้าจุ๋ม ณ ปากเกร็ด ได้ร่วมทำ ซึ่งขึ้นอยู่กับเวลาของ สว.แต่ละท่านในกลุ่ม

แม่แก้วบอกว่าไหมพรมร้านน้องก้อยขายดีขึ้น เดือนหน้าจะประกาศผลสอบ IGCSE แล้ว คงผ่านได้ด้วยคะแนนดี จากนั้นจึงไปสอบเข้า TEPE; เจอกันคราวที่แล้ว น้องก้อยบอกว่าสนใจจะเรียนวิศวกรรมเครื่องกล เป็นอุทาหรณ์ว่าแม้แต่เด็กที่ต้องออกจากโรงเรียน เนื่องจากความป่วยไข้ที่ทำให้นั่งเรียนวันละ 8 ชั่วโมงไม่ไหว (ทำไมโรงเรียนโหดเหี้ยมอย่างนี้) ก็ยังสามารถนอนเรียนที่บ้านพร้อมกับรักษาตัวไปด้วย ใช้ความพยายามและกำลังใจส่วนตัว บวกกับความรักความอบอุ่นของครอบครัว พยายามจะกลับเข้าสู่การศึกษาตามระบบ เร็วกว่าเพื่อนๆ ซึ่งเรียนในโรงเรียนหนึ่งปี

อ่านต่อ »


แก้หนาว

อ่าน: 3874

ตอนนี้ยังไม่หนาว แล้วมาเขียนเรื่องแก้หนาวทำไม — การเตือนก็ต้องเตือนล่วงหน้าซิครับ

ผมคิดว่าเรา “แก้ปัญหาเฉพาะหน้า” กันได้ดี แต่ไม่ได้ตระหนักกันเท่าไหร่ ว่าที่จริงแล้วไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาอะไรเลย เราผ่านสถานการณ์ไปได้ บางทีทำได้ดี น่ายกย่อง บางทีก็ทุลักทุเลสะบักสะบอม สาเหตุยังมีอยู่เหมือนเดิม

ทั้งนี้ก็เพราะว่าเรามักใช้สูตรสำเร็จ ถึงเคยทำอย่างนี้มาแล้ว “สำเร็จ” ก็ไม่ได้หมายความว่าทำอย่างนี้อีก จะสำเร็จเหมือนที่ผ่านมา เพราะว่าเป็นคนละบริบทแล้ว สถานการณ์ต่างกัน มีทรัพยากรและข้อจำกัดต่างกัน

ก็ ชี วิ ต ไ ม่ มี สู ต ร นี่ ค รั บ  แ ต่ ว่ า ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์ นั้ น เ ป็ น ข อ ง จ ริ ง (ชิมิ)

ผู้มีประสบการณ์ หากมีความรอบรู้และมีข้อมูลที่แท้จริง ก็อาจบอกแนวโน้มได้ — เรื่องแนวโน้มนี้ไม่ใช่การทำนายอย่างแม่นยำราวจับวาง เพียงแต่มีโอกาสถูกมากกว่า ต่างกับการเดาสุ่ม

อ่านต่อ »


หลุมไฟดาโกต้า แก้หนาว

อ่าน: 7934

เรื่องหลุมไฟดาโกต้าที่เขียนมาหลายบันทึกในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา เป็นวิธีเอาตัวรอดในเขตมิดเวสต์ของสหรัฐซึ่งอากาศทารุณ

ผมเอาหลุมไฟดาโกต้ามาเล่นที่สวนป่า เพราะว่าเป็นเตาที่ให้ความร้อนสูง ใช้เชื้อเพลิงน้อย ไม่ใช้ฟืน แต่ใช้กิ่งไม้เล็กๆ เท่านั้น — เช่นเดียวกับเตาทั่วไป ถ้าไฟติดแล้ว ใช้กิ่งสดก็ได้ครับถ้าทนควันได้

หลุมไฟดาโกต้าจะมีสองรู รูแรกเป็นรูที่อากาศเข้าและใช้ใส่เชื้อเพลิง ส่วนอีกรูหนึ่งเป็นรูที่ความร้อนออกมา ซึ่งเราตั้งเตาหรือต้มน้ำ จะร้อนเร็ว เนื่องจากมีการบังคับทางลม บังคับให้เผาไหม้ได้ดีขึ้น และป้องกันการสูญเสียความร้อนจากการเผาไหม้ ผมก็นึกว่าเจ๋งแล้ว เจอท่าพิสดารของครูบาเข้า งงไปเลย

ครูบาดัดแปลงเพิ่มอีกสองแบบ (ดูรายละเอียดในลิงก์ข้างบน) คือเข้าหนึ่งรูแยกไปออกสองรู แบบนี้ประหยัดแรงขุด ใช้รูใส่เชื้อเพลิงร่วมกัน แต่ทำอาหารได้สองเตา อีกแบบหนึ่งเป็นสามใบเถา มีรูเตาเรียงกันสามรู ทีแรกผมไม่คิดว่าจะสำเร็จหรอกครับ แต่ได้กินข้าวที่หุงจากเตาสามใบเถานี้มาสองสามมื้อแล้วครับ เตาเหล่านี้ ฝีมือครูอาราม@มงคลวิทยา ณ ลำพูน กับ ครูอ้น ฤๅษีแห่งลำปลายมาศ เวลาเขาขุดเตากัน ผมหลังเดี้ยงไปแล้ว เนื่องจากซ่าไปซ่อมถนนคนเดียว ใช้จอบส่วนตัวที่เอาไปจากบ้านด้วย

หุงข้าวโดยอาจารย์หมอ
24042010221.jpg 24042010222.jpg

ท่ามกลางกำลังใจ และความโล่งใจจากนิสิตแพทย์ ว่าเย็นนี้มีข้าวกินแล้ว
24042010224.jpg

อ่านต่อ »



Main: 0.043626070022583 sec
Sidebar: 0.14636993408203 sec