SMART Objectives - Activity Design (2)

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 11 กันยายน 2017 เวลา 14:48 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 2048

SMART Objectives - Activity Design (2)

ในการทำงานต้องเข้าใจกระบวนการบริหารงาน คือวางแผนเป็น จัดทรัพยากร ทั้งคน เครื่องมือ งบประมาณ การติดตามประเมินผล

แต่การอบรมครั้งนี้จะเน้นที่การออกแบบกิจกรรมในโครงการ ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งของการวางแผน

การวางแผนจะเริ่มจาก

การประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน อาจใช้เครื่องมือที่แตกต่างกันหลายเครื่องมือ เช่น SWOT Analysis, การหาปัญหาและความต้องการ, Mapping Analysis ฯ

การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision), พันธกิจ (Mission), ค่านิยมร่วม (Shared Values), ยุทธศาสตร์ , แผนงาน, โครงการและกิจกรรม ซึ่งจะต้องสามารถกำหนดเป้าประสงค์ วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดและเป้าหมายที่เหมาะสมได้

ถ้ากระบวนการวางแผนไม่ดี การออกแบบกิจกรรมในโครงการไม่ดี จะมีปัญหาตอนนำแผนไปปฏิบัติ ไม่สามารถติดตามและประเมินผลได้ ทำโครงการเสร็จก็ตอบไม่ได้ว่าโครงการประสบความสำเร็จหรือไม่?

Activity Design เริ่มต้นจากต้องทำความเข้าใจและสามารถกำหนดวัตุประสงค์ที่ดีได้ (SMART Objectives)


เช่น


คุณ Stefan Bannach ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมครั้งนี้ไว้ว่า เมื่อเสร็จสิ้นการฝึกอบรม ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้และสามารถออกแบบกิจกรรมที่สามารถวัดผลได้ และอย่างน้อย 5 คนได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับการออกแบบกิจกรรมในโครงการในอีก 6 เดือนข้างหน้า

วัตถุประสงค์จะ SMART คือมีครบทั้งความเฉพาะเจาะจง สามารถวัดผลได้ สามารถบรรลุผลได้ เป็นจริงได้ และมีกำหนดเวลา

Post to Facebook Facebook


Activity Design (1)

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 7 กันยายน 2017 เวลา 16:29 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 1811

Activity Design (1)

4-5 กันยายน 2560 โรงแรมวังจันทน์ ริเวอร์วิว

วิทยากร Stefan Bannach, คุณสุขุมาล สุริย์จามร (จอย)

สิ่งที่เรียนรู้

ในการทำงานต้องเข้าใจกระบวนการบริหารงาน คือวางแผนเป็น จัดทรัพยากร ทั้งคน เครื่องมือ งบประมาณ การติดตามประเมินผล

การออกแบบกิจกรรม ต้องมองภาพใหญ่ออก (เห็นช้างทั้งตัว ไม่ใช่เห็นแค่จิ๊กซอตัวหนึ่ง หรือต้องเข้าใจกระบวนการวางแผนทั้งหมด

การวางแผนระดับโครงการ กิจกรรม ต้องเข้าใจ SMART Objectives และ Results Chain

Post to Facebook Facebook


ดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์-ด้วยหัวใจวิถีพุทธ

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 24 กันยายน 2014 เวลา 17:47 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 21135

พักนี้ได้ยินคำว่า “ดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์” และ “ดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจวิถีพุทธ” บ่อยขึ้น  จริงๆก็ได้ยินมานานแล้ว เคยเขียนบันทึกเรื่ีอง “ทำไมต้องรอจนถึงวันนั้น?”  และเคยพูดเรื่อง “หัวใจดวงเดียวกัน (ดวงเดิม)”   ไว้  เลยคิดเล่นๆนะครับ

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Palliative Care)  เป็นเรื่องที่ดี  แต่ผมเคยคิดเล่นๆว่า  “ทำไมต้องรอจนถึงวันนั้น?”  เราดูแลทั้งผู้ป่วยปกติและผู้ป่วยระยะท้ายแบบเดียวกันได้ไหม?   หรือผู้ป่วยที่ “กวนตีน” ต้องดูแลแตกต่างจากผู้ป่วยใกล้ตาย  

การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์หรือด้วยหัวใจวิถีพุทธเป็นเรื่องดีมากนะครับ  ด้วยความขี้สงสัยเลยคิดอีกว่าถ้าเป็นผู้ป่วย  เราจะดูแลเขาด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์  แต่ถ้าเป็นชาวบ้านธรรมดา  ประชาชนทั่วไป  ที่ยังไม่ป่วย  เรามองเขาอีกแบบหนึ่งใช่ไหม?

ทำไมหัวใจดวงเดิม  ดวงเดียวกันแท้ๆจึงมองผู้คนแตกต่างกันออกไป  เรามองว่าชาวบ้านธรรมดาไม่มีความรู้  เห็นแก่ได้  นิยมระบบอุปถัมภ์  ชอบประชานิยม  คิดไม่เป็น  ไม่รู้เรื่องอะไรเลย ถูกซื้อเสียง  ถูกหลอกใช้   ฯลฯ }*^@_*Y(U_@T*Y})@Y+)+@)_)@^%(^_@_++  

แต่พอชาวบ้านป่วยเข้าหน่อย  หัวใจของความเป็นมนุษย์  หัวใจวิถีพุทธ  มาเลยเชียว

เราจะมองชาวบ้านธรรมดาๆที่ยังไม่เจ็บป่วยด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์  ด้วยหัวใจวิถีพุทธได้ไหม?  (คนที่ทำอยู่แล้วก็ไม่ต้องตอบนะครับ  คนที่ยังไม่ได้ทำก็ไม่ต้องตอบ)  

เราควรจะมองเขาว่าเป็นเพื่อนมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เหมือนเรา  ไม่ต้องไปสงสาร  เมตตาหรอกครับ  แค่เห็นเขาเป็นมนุษย์เหมือนเราก็มากเกินพอแล้ว  รักเพื่อนมนุษย์ (คนรักกันไม่ดูถูกกันหรอกครับ)  

ไม่ต้องโวยวายผมนะครับ  ผมแค่คิดเล่นๆท่านจะคิดอย่างไรก็ตามใจท่าน…….อิอิ   

Post to Facebook Facebook


Facilitation Lab - สถาบันพระปกเกล้า – 10 ฉันทามติ–Consensus

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 17 กันยายน 2014 เวลา 0:00 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 7852

ก่อนอื่นมีคำศัพท์ที่ต้องทำความเข้าใจ 2 คำ คือ

เสียงเอกฉันท์ (unanimity)  กับ ฉันทามติ (Consensus)  ลองค้นหาความหมายกันเองนะครับ  ตัวเองก็สับสน  ไม่ค่อยเข้าใจคำว่าฉันทามติ  สงสัยอยู่ว่ามันเป็นไปได้เหรอ?  ไม่ต้องลงคะแนนเสียง  แล้วจะตกลงกันได้อย่างไร?  เลยดั้นด้นมาอบรมครั้งนี้

วันที่ 11 กันยายน 2557 ช่วงเช้าเป็นกิจกรรม “การประชาเสวนาหาทางออก” หรือ Public Deleberation  โดยอาจารย์ชลัท ประเทืองรัตนา ที่ตั้งใจมาเล่าเรียนโดยเฉพาะ  ก่อนจะคุยกันก็ต้องมีกฏกติกาพื้นฐานร่วมกัน  ซึ่งกฏกติกาที่ดี  ต้องมาจากการมีส่วนร่วม  แต่ในการทำกิจกรรมจริงๆ  วิทยากรกระบวนการก็พยายามจะให้กลุ่มช่วยกันกำหนดกติกา  แต่คงต้องใช้เวลานานพอสมควร  อาจไม่ได้ทำกิจกรรมประชาเสวนาหาทางออกแน่ๆ เพราะสมาชิกในกลุ่มเล่นบทบามสมมติได้สมบทบาทจริงๆ  แต่วิทยากรกระบวนการก็เก่ง  จนกลุ่มยอมให้วิทยากรกระบวนการเป็นคนกำหนดกติกาเลยโดยไม่ต้องลงมติและไม่มีใครโต้แย้ง

1410600464123

อันนี้ก็ทำให้เห็นฉันทามติ ปิ๊งเลยครับ !!!!!!

จะเห็นว่าแค่จะกำหนดกฏกติกาในการประชุมหรือทำกิจกรรมด้วยกันแบบมีส่วนร่วม  ยังต้องใช้เวลาพูดคุยกันมาก  และมีประเด็นต้องพูดคุยกันมากมาย  เลยสงสัยอยู่เหมือนกันว่ากฏกติกาการอยู่ร่วมกันของคนในชาติ (รัฐธรรมนูญ) คงยุ่งยากและใช้เวลามากพอสมควร  ถ้าจะช่วยกันกำหนดกฏกติกาแบบที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม  แต่ถ้าทำแบบรวบรัด  ไม่ต้องมีส่วนร่วมคงจะเสร็จเร็ว  แต่ตอนนำมาใช้คงเกิดปัญหามากมายภายหลัง

๖&$@!(&%*)_(+@!+^%@*(^%)_(_)!*@_)%!+!+!

กลับมาเรื่องฉันทามติดีกว่า

กติกาการพูดคุยกันในกระบวนการประชาเสวนาหาทางออก

- มองอดีตเป็นบทเรียน มองไปข้างหน้า  มาฝันร่วมกัน

- ฟังกันอย่างตั้งใจ  ไม่ชี้หน้าด่ากัน

- เห็นต่างไม่ต้องเป็นศัตรูกัน

- การตัดสินใจใช้ฉันทามติ  ไม่ยกมือหรือลงคะแนนเสียงถ้าไม่จำเป็น

- ทุกความคิดมีคุณค่า เราไม่ฆ่าความคิดกัน ไม่มีใครผิด ไม่มีใครถูก ทุกคนมีสิทธิแสดงความคิดเห็น

1410632765840

อาจารยชลัทออกแบบมาดังนี้ครับ

โจทย์รอบแรก “ท่านอยากเห็นอนาคตการเมืองไทยเป็นเช่นใด”  โดยให้แบ่งเป็น 2 กลุ่มกลุ่มละประมาณ 10 คน  ไปเข้ากลุ่มคุยกัน

ผลการพูดคุย กลุ่มแรกได้ผลสรุปออกมาว่า

- อยากให้บ้านเมืองมีกฏหมายที่ดี  มีการบังคับใช้กฏหมายอย่างจริงจัง

- ไม่มีการคอรัปชั่น

- มีความโปร่งใส

- ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม

ผลการพูดคุย กลุ่มที่สองได้ผลสรุปว่า

- ต้องพัฒนาหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ

- การเมืองที่มีธรรมาภิบาล

- ศาสนานำการเมือง

ทั้งสองกลุ่มก็กลับมารวมกัน  นำเสนอผลของการพูดคุยทั้งสองกลุ่ม  วิทยากรกระบวนการ (พี่ภณเป็น Fa ,พี่น้ำฝนเป็นคุณลิขิต) ก็จะให้แบ่งเป็นสองกลุ่มใหม่  นำผลของกลุ่มที่หนึ่งและกลุ่มที่สองไปพูดคุยกันว่า  ต้องทำอย่างไร? และใครเป็นคนทำ?  เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

1410632757700

คราวนี้ก็เป็นเรื่องเลยครับ  สมาชิกกลุ่มก็เริ่มแสดงความคิดเห็นว่าทำไมแยกสองกลุ่มทำกันคนละเรื่อง  โจทย์ที่อาจารย์ใหมา  “ท่านอยากเห็นอนาคตการเมืองไทยเป็นเช่นใด”  ทั้งหมดต้องมองเห็นเป็นภาพเดียวกันก่อน (Shared Vision)  จะแยกกลุ่มกันทำก็ไม่เป็นไร

ทั้งกลุ่มก็เลยต้องมาตกลงกัน เอาภาพฝันของทั้งสองกลุ่มมารวมกันเป็นภาพฝันเดียวกัน  ลองนึกภาพดูนะครับ  แต่ละคนก็เล่นบทบาทสมมติกันเต็มที่  บางคนเอาหัวโขนมาด้วยซ้ำ  ต่างคนต่างมีเหตุผล  ความคิดเห็นแตกต่างกัน  พูดคุยถกเถียงกันตั้งแต่ประเด็นการแบ่งกลุ่มจะแบ่งอย่างไร?  ใช้ภาพฝันสองภาพที่แตกต่างกันหรือจะยุบรวมกัน?  ถ้ายุบรวมกันจะใช้แนวคืดของกลุ่มไหน?  กว่าแต่ละกลุ่มจะได้ผลสรุปมาก็ชุลมุนกันมากพอสมควร

วิทยากรกระบวนการ (พี่ภณ) ก็เก่งนะครับ  จัดบรรยากาศการพูดคุยได้ดี

มีการเสนอว่าการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาของกลุ่มสองเป็นสิ่งที่ต้องทำ  ไม่ใช่ภาพที่ต้องการ  ทางสมาชิกกลุ่มสองก็ยอมรับ  ยอมให้ตัดประเด็นนี้ออก

มีการเสนอว่า  บ้านเมืองมีกฏหมายที่ดี มีการบังคับใช้กฏหมายอย่างจริงจัง, ไม่มีการคอรัปชั่น, มีความโปร่งใส, ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม, ศาสนานำการเมือง ก็เป็นองค์ประกอบของธรรมาภิบาล ภาพรวมควรจะเป็นประเทศมีระบบการเมืองที่มีธรรมาภิบาล

มีคนเสนอว่า

- อยากให้เน้น “บ้านเมืองมีกฏหมายที่ดี มีการบังคับใช้กฏหมายอย่างจริงจัง”

- ถ้ายังงั้นก็ควรจะใช้คำว่า “นิติรัฐ”

- อยากให้คงคำว่า  “บ้านเมืองมีกฏหมายที่ดี มีการบังคับใช้กฏหมายอย่างจริงจัง”

- ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร

เลยสรุปว่าที่พูดคุยกันมา “อยากเห็นอนาคตการเมืองไทยเป็นการเมืองที่มีธรรมาภิบาล บ้านเมืองมีกฏหมายที่ดี มีการบังคับใช้กฏหมายอย่างจริงจัง”

ไม่ต้องลงคะแนนเสียง  ไม่ต้องยกมือ  ไม่มีคนโต้แย้ง ……..ปิ๊งแว๊บเลยครับ       “ฉันทามติ”      ไม่ต้องนิยาม  จำไปตลอดชีวิตเลยครับ

เที่ยงเศษแล้ว  เลยไม่ได้ทำกิจกรรมต่อ  แต่แค่นี้ก็พอแล้วครับ…………..

Post to Facebook Facebook


Facilitation Lab - สถาบันพระปกเกล้า – 9 เกมทายใจ

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 15 กันยายน 2014 เวลา 21:57 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 4896

เกมทายใจเป็นกิจกรรมหลังอาหารเย็นโดย อาจารย์ เมธัส อนุวัตรอุดม  ก่อนกิจกรรม “กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์-Restorative Justice” และ “ประชาเสวนาหาทางออก – Public Deliberation”  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำให้เช้าใจเรื่องความขัดแย้งชัดเจนขึ้น

20140909_194620  15-9-2557 21-34-27

กติกา 

แบ่งเป็น 2 ทีม คือทีม 1 และทีม 2

เป้าหมายของเกม คือ ทำอย่างไรให้ทีมของตัวเองได้คะแนนมากที่สุด

เล่นกัน 10 รอบ  ให้แต่ละทีมเลือกสีแดงหรือน้ำเงิน  คะแนนที่ได้จะเป็นไปตามตาราง

 

ลองเล่นดูนะครับ  ว่าทีมท่านจะเลือกสีอะไร ? เพราะอะไร?

15-9-2557 21-52-30

ช่วยบอกสีที่ท่านเลือกพร้อมทั้งเหตุผลใน comment ด้วยนะครับ  อิอิ

Post to Facebook Facebook


Facilitation Lab - สถาบันพระปกเกล้า – 8 พี่จิ - วิทยากรกระบวนการ

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 15 กันยายน 2014 เวลา 0:38 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 4355

พี่จิ หรือ พี่จิราพร เอี่ยมสมบูรณ์ จากสำนักงานเลขานุการกรม กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม  คนนี้ไม่พูดถึงไม่ได้เลย

1410710263800 1410695687600 1410695684166

เนื่องจากทีมพิษณุโลกอยู่ไกล  ต้องเดินทางมาพักก่อน 1 คืน  ก็วางแผนกันว่าจะออกเดินทางเช้าหน่อย  จะได้มีโอกาสเที่ยวอัมพวา  หาข้าวกินแล้วนั่งเรือดูหิ่งห้อย  ก่อนจะรับการอบรมแบบหฤโหด  มีกิจกรรมทุกคืน

มาถึงกนกรัตน์รีสอร์ทประมาณบ่ายสามโมง  นัดเรือไว้สี่โมงเย็นไปเที่ยวอัมพวากันก่อน  ตอนนั่งรอเวลาเรือออกก็เห็นคนเก้ๆกังๆอยู่คนนึง  สงสัยไว้ก่อนว่าคงมาโครงการ “Facilitation Lab: ฝึกทักษะวิทยากรกระบวนการ” ของสถาบันพระปกเกล้าเหมือนเรา  เจ๊หนิงก็ไปประกบ  สัมภาษณ์เรียบร้อยตามประสาทีมงานนักสร้างเครือข่าย

พี่จิบอกว่า มาจากราชทัณฑ์  มาคนเดียว  นั่งรถจากนนท์มาอนุสาวรีย์ชัยฯ  นั่งรถตู้มาอัมพวา  แล้วต่อตุ๊กๆมาที่กนกรัตน์รีสอร์ท  เจ๊หนิงเลยชวนนั่งเรือเที่ยว  ก็ใจง่ายครับ  เรียบร้อยโรงเรียนจีน

พี่จิเป็นคนง่ายๆ  แป๊บเดียวชนะใจทีมพิดโลกได้แล้ว วันนั้นเดินเที่ยว นั่งกินข้าวฟังเพลงตามประสา  แต่ฝนตกเลยไม่ค่อยเห็นหิ่งห้อย

ช่วงอบรมวันแรกๆ  พี่จิจะค่อนข้างเงียบ  พูดน้อย  แต่พอวันที่ 3  เป็นเรื่อง “กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ Restorative Justice ” และ “รูปแบบการประชุมกลุ่มเยียวยา – Healing Conference”  ของอาจารย์ประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์  มีโอกาสอยู่กลุ่มเดียวกับพี่จิ  โดยพี่จิรับบทบาทเป็นผู้ประสานการประชุม  ซึ่งต้องเล่นบทวิทยากรกระบวนการ หรือ Facilitator

มีอาจารย์หนึ่งรับบทนายเอ อายุ 14 ปีเศษ  ผู้ร้ายปากแข็ง

พี่หนิงรับบทเด็กหญิงดาวผู้เสียหาย อายุ 13 ปี ถูกนายเอทำอนาจาร

อาจารย์อิ๋วรับบทแม่เดือน  แม่ของเด็กหญิงดาว

พี่อึ่งรับบทแม่นายเอ

พระอาจารย์ประสิทธิ์ รับบทเป็นพระและนักจิตวิทยา

พี่ตึ๋งก็จำเป็นต้องรับบทเป็นครูใหญ่โรงเรียนที่เด็กทั้งสองเรียนอยู่

เรื่องมีอยู่ว่านายเอไปทำอนาจาร ดญ.ดาว      แฟน ดญ.ดาวเลยมาทำร้ายนายเอ     ครูใหญ่เลยไล่ ดญ.ดาว ออกจากโรงเรียนและไม่พอใจทางโรงเรียน  มาต่อว่าครูใหญ่และอยากให้ไล่นายเอออกจากโรงเรียนและชดใช้ค่าเสียหายด้วย  แต่ตกลงกันไม่ได้  จึงเป็นคดีมาสู่ศาล  นายเอรับสารภาพ ศาลเห็นว่าเป็นการกระทำผิดครั้งแรกจึงสมควรให้ใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) ในรูปของการประชุมกลุ่มเยียวยา (Healing Conference)

1410600332430 1410600617044

พี่จิทำหน้าที่ได้ดีมากๆ  มีสติและนุ่มนวล  ทั้งๆที่แต่ละคนในบทบาทสมมติจะเล่นได้สมหรืออาจเกินบทบาทบ้างก็ตาม  พี่จิก็เอาอยู่สบายๆ  จนนายเอ ผู้ร้ายปากแข็งยอมรับผิด  ยกมือไหว้ขอโทษน้องดาวและคุณแม่เดือน

คุณแม่ของนายเอก็ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายแต่บอกว่ายากจนจะหาเงินมาผ่อนให้  คุณแม่เดือนซึ่งโกรธครูใหญ่จะฟ้องครูใหญ่ด้วยอีกคน  เพราะครูใหญ่ก็กวนได้ใจจริงๆ  ลูกสาวเค้าถูกทำอนาจารยังไปไล่ลูกสาวเขาออกจากโรงเรียน  ปล่อยนายเอคนทำอนาจารลอยนวล  ถามเหตุผลก็อ้างระเบียบ  อ้างมติคณะกรรมการสอบสวนไปโน่น  ตามลักษณะข้าราชการที่ดี ยังยอมยกให้บอกว่าไม่ต้องชดใช้ก็ได้เพราะความนิ่มนวลใจเย็นของพี่จิ  ทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการพูดคุย

แผนที่จะกล่อมเกลาจิตใจให้มั่นใจว่าจะไม่กระทำผิดอีก  นายเอสัญญาว่าจะไม่กระทำอีก  หลวงพี่เสนอให้ไปช่วยงานที่วัด  เดินตามหลวงพี่ตอนบิณฑบาต  เพื่อจะได้กล่อมเกลาจิตใจ  คุยไปคุยมานายเอก็ยอมบวชเณรเป็นเวลา 1 ปี  และครูใหญ่ก็รับ ดญ.ดาว เข้าเรียนตามเดิม

พี่จิเป็นคนที่ดำรงตนเรียบง่าย  จิตใจดีงามสัมผัสได้  ใจเย็น  มีความนุ่มนวลทั้งกริยาท่าทางและน้ำเสียง   มาอบรมช่วงสั้นๆก็เป็นที่รักของทุกๆคน  แบบว่าตัวบุคคลพร้อมที่จะเป็นวิทยากรกระบวนการ  ถ้ามาได้รับเครื่องมือ  เรียนรู้กิจกรรมต่างๆเพิ่มเติมก็คงจะเป็นสุดยอดวิทยากรกระบวนการคนหนึ่ง  ขอฝากเนื้อฝากตัวครับ  อิอิ

( *** ใจมาก่อนกระบวนการ และ หมามันยังรู้ ใครรักมัน ? *** )

1410601168525 spd_20120326192647_b

แน่ไม่แน่  พระอาจารย์ไกรวัลย์ถามคำถามไม่มีใครตอบได้  แต่พี่จิตอบได้  เช่น

พระอะไรข้ามสะพานไม่ได้…….ตอบ  พระร่วง

พระอะไรตกตึก 10 ชั้นไม่ตาย  ตอบ  พะงาบๆ

คำถาม พระอะไรสาธุ  พี่จิตอบว่า ภวันตุเต

เลยได้รางวัลเป็นหนังสือกาลานุกรม (ความจริงน่าจะให้พี่ตึ๋งเอาไปอ่านเพื่อให้จิตใจดีขึ้นกว่าเดิมนะ)

Post to Facebook Facebook


Facilitation Lab - สถาบันพระปกเกล้า – 7 การเลือกและเตรียมผู้เข้าร่วมกิจกรรม

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 14 กันยายน 2014 เวลา 23:07 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 14312

จากกิจกรรมประชาเสวนาหาทางออก (Public Deliberation) ต้องพยายามหาผู้เข้าร่วมกิจกรรมเสวนาจำนวนที่เหมาะสมมากพอและ ต้องสุ่มอย่างมีระบบ  นอกจากนี้ยังต้องเตรียมผู้เข้าร่วมกิจกรรมด้วย  มีการให้ความรู้  ข้อมูลที่จำเป็น  ให้เข้าใจกิจกรรมที่จะทำว่าทำไปทำไม  ทำแล้วจะเกิดอะไรขึ้น  ทำอย่างไร?

n20130623161747_20144 Image.aspx

ไปร่วมประชุมเตรียมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 7   คุณหมออำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเป็นประธานอนุกรรมการพัฒนาการจัดกลุ่มเครือข่าย (constituency) แบ่งเป็นกลุ่มเครือข่ายพื้นที่ และกลุ่มเครือข่ายภาคส่วนหลัก 3 ภาคส่วน (ภาคประชาสังคม, ภาควิชาชีพ/วิชาการ, ภาคราชการ/การเมือง)  มีรายละเอียดอีกมาก  เป็นความพยายามที่จะพัฒนากลุ่มเครือข่ายมาร่วมกิจกรรม  เพราะทำกันมานานแล้ว

ในการจัดการอบรมสัมมนาก็ต้องมีกลุ่มเป้าหมายเหมือนกัน  ต้องมีการเตรียมผู้เข้าร่วมอบรมเหมือนกัน  ผู้เข้าร่วมสัมมนาควรจะชัดเจนว่าเป็นการสัมมนาเพื่ออะไร มีเป้าหมายอะไร ต้องมีพื้นฐานหรือต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด

การอบรมในหลักสูตรสร้างเสริมสังคมสันติสุข  ก็มีการคัดผู้เข้าร่วมการอบรมเหมือนกัน  มีการกระจายกลุ่มเพื่อให้เกิดความหลากหลาย  เกือบจำลองสังคมจริง  ลุงเอก (พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ) พูดเสมอว่าถ้าคนเหมือนกันหมด  กลุ่มเดียวกันหมด การเรียนรู้จะแตกต่างออกไปสู้กลุ่มที่แตกต่างหลากหลายไม่ได้

ประเด็นที่ต้องระวังอีกประการหนึ่งคือในการทำกิจกรรมหรือการอบรมบางอย่าง  พื้นฐานความรู้และประสบการณ์ที่ต่างกันอาจเป็นปัญหาในการอบรมหรือทำกิจกรรม

เช่นจะคุยเรื่องพลังงาน,เรื่องการเมือง ฯ  การสุ่มผู้เข้าร่วมดีในแง่ความหลากหลาย  แต่อาจขาดความรู้ ความสนใจและความเข้าใจ  มีการให้ข้อมูลและความรู้ก่อนก็ไม่สนใจหรือไม่ว่าง  เวลาเสวนาก็จะมีปัญหาได้  ถ้ามีการเตรียมตัวมาก่อน  เครือข่ายต่างๆจะคัดเลือกตัวแทนที่เหมาะสมเป็นตัวแทนที่จะเข้าร่วม  เวลาพูดก็จะพูดในนามของกลุ่ม  ไม่ใช่ในนามส่วนตัว  เป็นต้น

การฝึกอบรมก็เหมือนกัน  ความแตกต่างของประสบการณ์และความรู้ก็อาจจะเป็นปัญหาได้บ้างถ้าแตกต่างกันมากเกินไป  จริงๆแล้วการอบรมแต่ละครั้งผู้เข้ารับการอบรมก็จะเรียนรู้ได้ไม่เท่ากัน  ได้ความรู้และประสบการณ์ที่แตกต่างกันออกไป  บางคนมีประสบการณ์มาก่อน ได้รับความรู้หรือได้ประสบการณ์บางอย่างเพิ่มขึ้นก็ปิ๊งแว๊บขึ้นมาเลย  หรือบางคนมีความรู้ทางทฤษฎีมาก่อนแต่ยังขาดประสบการณ์  ได้ทำกิจกรรมบางอย่าง  ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆที่เป็นผู้รับการอบรมด้วยกัน  หรือโดนสะกิดด้วยคำพูดของวิทยากรกระบวนการก็เกิดปิ๊งแว๊บขึ้นมา  แต่ละคนก็แตกต่างกัน

บางคนอาจจะปิ๊งแว๊บน้อยหรืออาจจะไม่ปิ๊งแว๊บอะไรเลยในการอบรม  ความรู้และประสบการณ์ต่างๆก็ฝังลึกอยู่ในตัวพร้อมที่จะปิ๊งแว๊บต่อไปในอนาคต  ถ้ามีจังหวะหรือโอกาสที่เอื้ออำนวย

วิทยากรบางท่านอาจกังวลในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติเพราะผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน

1410710355347 qyPNslVNnUjHbBHn8C0O3sJhDWWvI6SRHBLtMbZtsCM= sGV1MN7WpSdrGmx0oyVxcIR0-wXAGKVPbyMcHdQ8upM=

ยังมีประเด็นที่พี่หนิงจากเทศบาลนครพิษณุโลกพูดถึงการย่อยความรู้ไม่ทัน  เพราะความรู้บางอย่างเป็นปัญญาปฏิบัติอาจต้องใช้เวลาระยะหนึ่งที่ต้องผ่านประสบการณ์บางอย่าง  ผ่านการฝึกฝนเพื่อให้เกิดทักษะความเข้าใจก่อน  ดังนั้นการฝึกอบรมที่ใช้เวลานานขึ้น เช่นเพิ่มเป็น 7 วัน 10 วันหรือ 15 วัน เพื่อให้มีความรู้มากขึ้นอาจไม่เป็นไปตามที่ต้องการ  สู้การจัดอบรมเบื้องต้นสัก 3-5  วันแล้วทิ้งช่วงสักพัก  ค่อยอบรมขั้นกลางและขั้นสูงขึ้นหลังจากทิ้งช่วงให้เกิดการฝึกฝนจนเกิดทักษะและความเข้าใจสักระยะหนึ่ง

ความแตกต่างหลากหลายของผู้เข้ารับการอบรมก็มีผลดี  แต่ก็อาจเป็นการเสียโอกาสของผู้เข้ารับการอบรมบางคนที่อาจไม่พร้อมรับหรือเกิดอาการย่อยไม่ทัน  บางหลักสูตรถึงมีการกำหนดคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้เข้ารับการฝึกอบรมหรืออาจต้องมีการสัมภาษณ์ผู้เข้ารับการฝึกอบรมก่อน

Post to Facebook Facebook


Facilitation Lab - สถาบันพระปกเกล้า – 6 เรียนรู้จากผู้เข้ารับการอบรม สติ

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 14 กันยายน 2014 เวลา 16:07 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 3539

วันนี้อยากเล่าเรื่องของนู๋นา  กระบวนกรฝึกหัดที่ถือว่าเป็นครูคนหนึ่ง  นู๋นาคงทำบุญมาเยอะเลยรอดปากเหยี่ยวปากกามาได้  อิอิ

1410600540995 20140911_074241

เมื่อครั้งเข้าร่วมโครงการ “การจัดวงพูดคุยระหว่าผู้เห็นต่างเพื่อความปรองดองและสมานฉันท์”  ที่คณะวิทยากรจากสถาบันพระปกเกล้าไปช่วยจัดให้สำหรับทีมวิทยากรกระบวนการ 22 ชีวิต ของเทศบาลนครพิษณุโลก เมื่อวันที่ 27-31 กรกฎาคม 2557  นู๋นาก็มีโอกาสเป็นวิทยากรกระบวนการฝึกหัด  ต้องนำกิจกรรมระดมสมองอะไรสักอย่าง  นู๋นาออกแบบกิจกรรมว่าจะใช้  Zopp Card (แผ่นกระดาษ หรือ บัตรคำ)  แทนการพูดคุย

พอนู๋นาแจ้งกฏกติกามารยาทและบอกถึงวิธีที่จะใช้ในกิจกรรม  คนในกลุ่มก็ยกมือเสนอหลายคนและหลายครั้งให้ใช้การพูดคุยแทน  แต่วิทยากรกระบวนการก็ยังจะใช้ Zopp Card เป็นเหตุให้เกิดการ Walk Out ของสมาชิกกลุ่มไปเกือบครึ่งหรือกว่าครึ่ง  แต่นู๋นาก็ยังคุม Floor ได้  กิจกรรมก็ดำเนินต่อไปโดยไม่สดุด  วิทยากรผู้ช่วยซึ่งมีลมหายใจเดียวกันก็ตามออกไปทำความเข้าใจกับสมาชิกกลุ่มที่ Walk Out  จนสำเร็จ  การเจรจารอบใหม่ก็ตกลงกันได้ว่าจะใช้การพูดคุยแทนการใช้ Zopp Card

เป็นไงครับ  ฝีมือไม่เบาเลยนะครับสำหรับวิทยากรกระบวนการฝึกหัดที่เจอโจทย์ยากๆ  แต่อาศัย สติ (Mindfullness) เอาตัวรอดมาได้อย่างสวยงาม

เป็นโจทย์ที่ยากเหมือนกันนะครับ  ถ้าเป็นเราเจอเหตุการณ์แบบนี้ในกิจกรรมสมมติหรือเหตุการณ์จริง  ก็ไม่แน่เหมือนกันนะครับว่าจะลงเอยอย่างไร?

ในโครงการ Facilitation Lab - ฝึกทักษะวิทยากรกระบวนการ ที่กนกรัตน์รีสอร์ท ครั้งนี้  วันที่รอคอยและตั้งใจที่สุดก็คงจะเป็นวันสุดท้ายเรื่อง ประชาเสวนาหาทางออก (Public Deliberation) โดยอาจาย์ชลัท ประเทืองรัตนา  นู๋นาก็รีบสมัครเป็นวิทยากรกระบวนการหลักเลย  มีพี่โชคช่วยเป็นคุณลิขิตให้  คุม Floor ใหญ่ก่อนที่จะแบ่งกลุ่มย่อย  โดยมีโจทย์ว่า “ ท่านอยากเห็นอนาคตการเมืองไทยเป็นเช่นใด”

1410600464123 1410632765840

พี่น๋นาดำเนินรายการมาได้สักพักก็ถึงเรื่องกฏกติกามารยาท  พี่นู่นาก็ชวนสมาชิกกลุ่มช่วยกันกำหนดกฏกติกามารยาทกัน  คราวนี้เลยเริ่มเกิดประเด็นถกอภิปรายกันมากมาย  ทำท่าว่าอาจจะไม่ได้กินข้าวกลางวันเป็นแน่แท้  แต่พี่นู๋นาก็คุมสติได้ดี  ค่อยๆจัดการจนได้ฉันทามติว่าให้พี่นู๋นานั่นแหละเป็นคนกำหนดกฏกติกามารยาท  เลยจบลงด้วยดี

ต้องขอชมเลยนะครับ  เพราะสมาชิกกลุ่มนี่หลากหลายมาก  บางคนก็เล่นบทบาทสมมติซะอินเลย   บางคนก็ลืมไป  แบกหัวโขนมาด้วย  บรรยากาศเลยสมจริงมากๆ  แต่พี่นู๋นาก็เอาอยู่  อิอิ

คงเป็นเพราะทำบุญมามาก พี่นู๋นาเลยสวยด้วย  มีสติด้วย   สามารถรับรู้บรรยากาศความต้องการของกลุ่ม  จึงสามารถดำเนินการได้ตลอดกระบวนการ  ต้องขอขอบคุณน้องโอปอและทีม Walk Out ของเทศบาลนครพิษณุโลก  ที่ให้บททดสอบกับพี่นู๋นา  จนเหตุการณ์ที่เจอเป็นเรื่องจิ๊บๆไปเลย  อิอิ

Post to Facebook Facebook


Facilitation Lab - สถาบันพระปกเกล้า – 5 บรรยากาศการอบรม

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 14 กันยายน 2014 เวลา 12:28 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 4204

AAR (After Action Review): หลังจากเลิกจากการเข้าร่วมโครงการ Facilitation Lab  หลวงพี่ติ๊กได้เมตตาจะให้โดยสารรถไป กทม.ด้วย  เพราะมีประชุมต่ออีก 2 งาน  แต่เรียนท่านว่าจะ ร่วม AAR กับทีมงานบนรถตู้  ความจริงทีมงานก็ AAR กันบ่อยมากแทบจะหลังแต่ละกิจกรรมเลย

click-23

พอเลิก Facilitation Lab ก็พาทีมไปคารวะ ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ หรือที่คุ้นเคยในชื่อ อาจารย์เอเชีย  ท่านมาเป็นวิทยากรอบรมกระบวนกรจิตอาสา  ของธนาคารจิตอาสา ซึ่งเป็นโครงการที่น่าสนใจมาก  เป็นการสร้างเครือข่าย (Networking) เอาไว้

1410600598398

ในการทำ AAR  น้องเอ็มเล่าให้ฟังว่า  ก่อนมาเครียด กังวลเล็กน้อยว่าคงจะเครียด อึดอัด  แต่พอมาจริงๆก็ไม่หนักอย่างที่คิดเอาไว้  เลยคุยกันต่อว่าพวกเราขาดความคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking) หรือไม่?  เขาว่าอะไรก็ไปเชื่อเขา   น้องเอ็มเล่าว่าสอบถามจากคนที่เข้าร่วมโครงการ “การจัดวงพูดคุยระหว่าผู้เห็นต่างเพื่อความปรองดองและสมานฉันท์”  ที่คณะวิทยากรจากสถาบันพระปกเกล้าไปช่วยจัดให้สำหรับทีมวิทยากรกระบวนการ 22 ชีวิต ของเทศบาลนครพิษณุโลก เมื่อวันที่ 27-31 กรกฎาคม 2557 ที่ผ่านมา  เขาว่าเครียดและหนักมากเลยกังวล  แต่พอมาเข้าโครงการ Facilitation Lab - ฝึกทักษะวิทยากรกระบวนการ ที่กนกรัตน์รีสอร์ทครั้งนี้  ก็ชิวๆ  สบายๆ

ดูบรรยากาศเอาเองนะครับ อันนี้ต้องยกให้ทีมวิทยากรนะครับที่สร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองและสนุกสนาน  ชิวๆ  ให้กับผู้เข้ารับการอบรม (โดยเฉพาะน้องโอ๊ตกับน้องโอปอ)

20140907_161808 20140911_074241

1410631359195 1410600973270 1410600961988

1410601067865 1410526424353

1410600552781 1410600550495

1410600594024

ภาพอาจารย์ประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์  ถือเป็นสุดยอดเลยนะครับ  อาจารย์อารมณ์ประมาณนี้บรรยากาศจะเป็นยังไง?

จินตนาการได้เลยนะครับ

(ยกเว้นแป๊บบบ……เดียวที่คุณนายหวานใจในฐานะผู้เสียหายบอกว่าโกรธจริงๆ ดูหน้านางดิ  ต้องกลับไปฝึกใหม่  อิอิ )

1410600345172

Post to Facebook Facebook


Facilitation Lab - สถาบันพระปกเกล้า–4 การออกแบบหลักสูตรหรือกิจกรรม

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 14 กันยายน 2014 เวลา 1:49 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 3484

อีกกิจกรรมหนึ่งที่ได้ฝึกฝนเป็นกิจกรรม Open Space  มั่วๆไปกับ Caravan สิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือดังกล่าวยังคิดไม่ออก  แต่ปิ๊งกับเรื่องการออกแบบกิจกรรมที่อาจารย์ให้เป็นโจทย์ในการทำกิจกรรม  คือมีคนสนใจประเด็น Civic Education ที่นำเสนอไว้  จึงได้รับเลือกเป็นประเด็นหนึ่งที่อาจารย์ให้ไปพูดคุยกันเพื่อหาว่าจะดำเนินกิจกรรมอย่างไร?  ใครเป็นคนทำ? เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ

1410631625490 1410600619230

อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับ Backward Design  คือให้เราเริ่มจากสิ่งที่ต้องการก่อน  แล้วค่อยออกแบบกิจกรรมเพื่อให้ได้ผลตามที่ต้องการ  ทำให้ปิ๊งว่าพวกเราชอบโดดไปคิดกิจกรรมเลยทั้งๆที่สิ่งที่ต้องการยังไม่ชัดเจนนัก    เวลาวางแผนกันแล้วนำไปปฏิบัติก็เลยเกิดปัญหามาก  เพราะสิ่งที่ต้องการในใจของแต่ละคนไม่เหมือนกัน  จำเป็นต้องพูดคุยกันให้เกิดความชัดเจน  เห็นด้วยกันก่อน (Shared Vision)

นอกจากนี้ยังต้องจัดเรียงกิจกรรม (หรือหัวข้อ  วิชาที่จะเรียนรู้กันในกรณีที่เป็นหลักสูตรฝึกอบรม) ตามลำดับขั้นตอนที่จะเอื้อต่อการเรียนรู้  เช่น

เริ่มด้วยกิจกรรมละลายพฤติกรรม (Ice Breaking) ซึ่งอาจใช้ Speed Dating ในการอบรมครั้งนี้

ตามด้วยกิจกรรมความคาดหวัง  แจ้งกฏกติกาการอยู่เพื่อเรียนรู้ร่วมกัน

กิจกรรมหรือหัวข้อวิชาที่จะเรียนรู้กันก็จะต้องออกแบบให้สัมพันธ์กัน  อะไรก่อนหลัง  ที่เรียนรู้ก่อนจะช่วยให้เข้าใจกิจกรรมที่ตามมา  ที่สำคัญคือต้องตอบโจทย์คือบรรลุเป้าหมาย  ได้สิ่งที่เราต้องการ

ซึ่งก็ได้ออกแบบไว้ว่าสิ่งที่เราต้องการจาก Civic Education คือต้องทำให้ประชาชนคนไทยเป็นพลเมืองที่เหมาะสมกับระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  (สมมติว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฏหมายจนเป็นที่พอใจตามที่เข้าใจร่วมกัน  จะได้ไม่ต้องหลงประเด็นมาพูดเรื่องนี้อีก)

ก็จะเริ่มที่การพูดคุยรอบแรกจะคุยกันว่าปัจจุบันคนไทยเป็นอย่างไร? มีอะไรที่เหมาะสม  มีอะไรที่ไม่เหมาะสมกับระบอบประชาธิปไตย

รอบที่สองก็จะคุยกันว่า พลเมืองที่่หมาะสมกับระบอบประชาธิปไตยควรมีคุณสมบัติอย่างไร?

รอบที่สามก็จะคุยกันว่าแล้วจะทำอย่างไร? ใครเป็นคนทำ

การออกแบบกิจกรรมมาชัดเจนอีกครั้งในกิจกรรมประชาเสวนาหาทางออก (Public Deliberation) ของอาจารย์ชลัท ประเทืองรัตนา

1410632765840

ประชาเสวนาหาทางออก อาจารย์ตั้งหัวข้อ “ ท่านอยากเห็นอนาคตการเมืองไทยเป็นเช่นใด?”   อาจารย์ออกแบบให้แบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มที่เล็กลงเพื่อให้คุยกันง่ายขึ้น  แล้วให้แต่ละกลุ่มนำมาเสนอในกลุ่มใหญ่ จะได้เสวนาร่วมกันเพื่อหาฉันทามติ

แล้วจึงแบ่งกลุ่มใหม่เพื่อหา “วิธีการเพื่อนำไปสู่อนาคตการเมืองไทยที่พึงปราถนา  และหาคนที่จะรับผิดชอบดำเนินการด้วย”  แล้วจึงนำมาเสนอต่อกลุ่มใหญ่และหาฉันทามติ  จะได้วิธีการและองค์กร หน่วยงานที่จะดำเนินการต่อไปให้บรรลุความต้องการที่ทุกฝ่ายยอมรับ

Post to Facebook Facebook



Main: 0.31357598304749 sec
Sidebar: 0.33635711669922 sec