ไปนอนอัมพวา อิอิ

โดย จอมป่วน เมื่อ 16 ตุลาคม 2008 เวลา 0:20 ในหมวดหมู่ การจัดการขยะมูลฝอย, เฮฮาศาสตร์, แลกเปลี่ยนเรียนรู้ #
อ่าน: 39762

เมื่อคืนไปนอนที่อัมพวา ( พักที่เรือนไม้โชติกา Chotika Riverfront ) เลยขอพักเรื่องเชียงใหม่ ลำพูน เชียงรายไว้ก่อนนะครับ เพราะคงมีคนเขียนหลายคน ( หมอเจ๊ น้าอึ่งอ๊อบ อ. สร้อย ครูอึ่ง อาราม เบิร์ด ) เล่าเรื่องสมุทรสงคราม สมุทรสาครดีกว่า อิอิ

ไม่ได้ไปเที่ยวนะครับ ไปดูโรงงานที่เกี่ยงข้องกับการนำขยะไปใช้เป็นหลังงาน เคลเล่าเรื่องการจัดการขยะของเทศบาลนครพิษณุโลกให้ฟัง ในบันทึก สภาพปัจจุบันของการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลนครพิษณุโลก แต่เล่าถึง…..
…….เป็นเศษถุงพลาสติก และโฟมซึ่งจะแห้ง มีความชื้นต่ำและให้ค่าความร้อนสูง ได้นำไปทดลองใช้เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตปูนซิเมนต์ เบื้องต้นทางด้านเทคนิคไม่มีปัญหา ขณะนี้ก็อยู่ในขั้นตอนศึกษารายละเอียดของค่าใช้จ่ายต่างๆเพื่อเจรจากันใน เชิงธุรกิจต่อไป …..

ขณะนี้มีความคืบหน้าว่าจะนำไปผลิตน้ามันดีเซลหมุนช้า เพื่อนำไปใช้กับเรือประมงหรือเครื่องยนต์การเกษตร จะมีการร่วมลงทุนกับภาคธุรกิจเอกชนภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงพลังงานในเร็วๆนี้ ก็เลยต้องไปศึกษาดูงานโรงงานต่างๆ

วันที่ 14 ตค. ออกเดินทางแต่เช้าไปดูที่โรงงานต้นแบบที่ผลิตน้ำมันจากพลาสติคที่ ต.อ้อมน้อย อ. กระทุ่มแบน จ. สมุทรสาคร น่าสนใจมากครับ ใช้เวลามากในการศึกษาดูงาน มีการซักถามกันอย่างละเอียดจนถึงห้าโมงเย็น เพราะโรงงานแห่งนี้ก็สนใจที่จะร่วมทุนกับเทศบาลนครพิษณุโลก เลยไปเยี่ยมชมได้แห่งเดียว

เลยเดินทางไปพักที่บ้านไม้โชติกา แต่อย่างว่าครับ มาทั้งที่ก็ต้องกินปลาทู ดูหิ่งห้อยกันหน่อยครับ ก็เลยลงเรือชมคลอง และแม่น้ำแม่กลอง และแวะทานมื้อค่ำที่ริมคลองด้วย เนื่องจากเป็นคืนวันเพ็ญ ทำให้การดูหิ่งห้อยไม่ค่อยสวยงามมากนัก แต่ก็สุดยอดแล้วครับ ( ถ่ายภาพมาให้ดูไม่ได้ครับ )

ตื่นขึ้นมาวิ่งออกกำลังกายแต่เช้า แล้วไปทานมื้อเช้าที่ตลาดแม่กลอง ทานที่ร้านเกาเหลากรุงไทย อยู่ที่หน้าสถานีรถไฟแม่กลอง ข้าวขาหมูกับก๋วยจั๊บอร่อยมาก ขอบอก

จากนั้นก็แวะไปที่บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จำกัด มหาชน เพื่อไปเยี่ยมชมและรับฟังความคืบหน้าของการศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพของ RDF ที่ได้จากการบำบัดขยะด้วยกรรมวิธีเชิงกล – ชีวภาพ ( MBT ) ทางบริษัทก็เสนอโครงการความร่วมมือที่จะนำมาใช้เป็นพลังงานในรูปของเชื้อเพลิงแข็ง เป็นพลังงานทดแทน แทนการใช้ถ่านหิน ก็น่าสนใจอีกครับ

ตอนเที่ยงก็แวะไปทานอาหารทะเลที่สมุทรสาคร แล้วแวะไปดูโรงงานที่ผลิตน้ำมันจากยางรถยนต์ ที่ปทุมธานี ก็น่าสนใจมากครับ ทางโรงงานแจ้งว่าสามารถปรับเครื่องจักรให้ใช้กับ RDF ที่ผ่านการบำบัดแบบเชิงกล – ชีวภาพ ของเทศบาลนครพิษณุโลกได้ และสนใจที่จะร่วมลงทุนกับเทศบาลครับ เนื้อหอม ๆ ๆ ๆ ๆ

ออกเดินทางกลับประมาณ 16.30 น. ทราบว่ามีม็อบปิดถนนอยู่ที่สี่แยกหนองอ้อ ก็โทรหาแก่นจังขอข้อมูล ก็ได้เส้นทางลัดกลับบ้านมานั่งเขียนบันทึกได้ อิอิ

ไปดูงานจริงๆ แต่เลิกงานก็เที่ยวนิดหน่อยเอง อิอิ

Post to Facebook Facebook

« « Prev : แล้วก็กลัวจนได้

Next : ไม่ได้เป็นอย่างที่เห็น อย่างที่คิด » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น

  • #1 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 ตุลาคม 2008 เวลา 8:27

    น่าสนใจมากค่ะ เท่าที่ทราบการนำผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลผลิตจากปิโตรเคมีอย่างโฟม พลาสติก เมื่อนำมาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางโมเลกุลให้กลับไปเป็นน้ำมันนั้นมักจะมีมลภาวะสูง ไม่ทราบว่าโรงงานที่คุณหมอนำไปชมมีปัญหาด้านนี้มั้ยคะ

    แล้วพลาสติก โฟมต่างๆที่นำมาแปรรูปจะต้องสะอาดด้วยหรือไม่ เพราะเบิร์ดนึกถึงการคัดแยกขยะก่อนทิ้งและการชำระล้างเพื่อให้ขบวนการแปรรูปมีประสิทธิภาพสูงสุดน่ะค่ะ ถ้าเราทำให้ผู้ทิ้งต้นทางเข้าใจและเห็นคุณค่าของสิ่งเหล่านี้คงดีมากๆเลยนะคะ

    เคยเห็นในทีวีเกี่ยวกับโครงการตลาดสีเขียวที่เค้าจับมือกับก.พลังงาน เพื่อแปรรูปขยะในตลาดสด เช่นขยะเปียกก็เอามาหมัก ได้แก๊สมีเธน หรือขยะแห้งก็นำไปเข้าขบวนการแปรรูป ไม่ทราบว่าพิดโลก เป็นหนึ่งในโครงการนำร่องหรือเปล่าคะ หรือว่าสนใจเรื่องนี้ด้วยมั้ย อิอิอิ ป่วนๆๆๆ

  • #2 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 ตุลาคม 2008 เวลา 8:28

    อยากไปเที่ยวอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ค่ะ :(

  • #3 จอมป่วน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 ตุลาคม 2008 เวลา 15:37

    ในการจัดการขยะมูลฝอย  มีหลายทางเลือกครับ

    การแยกเอาขยะชีวภาพ ( Organic waste ) ประเภทเศษอาหาร  เศษผัก  ผลไม้  มาหมักแล้วเอา Gas  ที่เกิดขึ้นไปใช้เรียกว่า AD  หรือ  Anaerobic Digestion    แต่ก็ยังเหลือกิ่งไม้  ใบหญ้า  เศษไม้  พลาสติค  โฟม ฯลฯ  ให้จัดการอีก

    การแยกขยะชีวภาพตั้งแต่ต้นทางหรือที่แหล่งกำเนิดไปทำปุ๋ย  ( Composting )  ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง  ถ้า enrichment  ให้ได้สารอาหารครบตามที่พืชแต่ละชนิดต้องการก็จะเกิดประโยชน์สูงสุด  นอกเหนือจากการที่ใช้ปรับปรุงดินทางกายภาพ  ให้มีความร่วนซุยมากขึ้น ( Soil Conditioner )

    การใช้กระบวนการบำบัดเชิงกลชีวภาพ  ( Mechanical-Biological Treatment )  แบบที่เทศบาลนครพิษณุโลกทำ  ก็สามารถแยกเอาส่วนของพลาสติคไปใช้ประโยชน์ได้อีก

    ไม่ว่าจะนำไปใช้เป็นพลังงานทางเลือก ( RDF ) ในการผลิตปูนซิเมนต์หรือใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ  หรือนำไปผลิตน้ำมันดีเซลหมุนช้า ( Pyrolysis )  ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจครับ

  • #4 จอมป่วน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 ตุลาคม 2008 เวลา 15:40

    รู้สึกว่าจะนั่งเรือผ่านตอนกลางคืนครับ  วันหลังจะพาเบิร์ดไปเที่ยวอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์  (  ประเภทโม้  จะพาเจ้าถิ่นเที่ยวเชียว ฮ่าๆๆๆๆ  )


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.63280606269836 sec
Sidebar: 0.051700830459595 sec