พูดคุยกับชาวบ้านที่สวนผึ้ง

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 12 กันยายน 2011 เวลา 23:13 ในหมวดหมู่ การจัดการขยะมูลฝอย, จอมป่วน #
อ่าน: 4172

หลังจากที่ภาคประชาสังคมเล่าเรื่องราวของสวนผึ้งจากมุมมองของชาวบ้าน  ซึ่งก็แตกต่างไปจากมุมมองของผู้ประกอบการ  วันรุ่งขึ้นก็จะได้ฟังจากภาคราชการ

เริ่มเปิดประเด็นโดย พล.ต.ต. นายแพทย์ อรรถพันธ์ พรมณฑารัตน์ รองนายแพทย์ใหญ่ โรงพยาบาลตำรวจ

ดูจาก VDO มีการทำฝายชะลอน้ำ แล้ววางท่อนำน้ำไปใช้  เป็นการโขมยน้ำไปใช้  ทำไมจัดการไม่ได้  หลักฐานเห็นชัดๆ  เห็นมีตั้ง 4 ท่อ

ณัฐสม ตังเดชะหิรัญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สเปคการ์ด จำกัด

ณัฐสม1

ในพื้นที่สวนผึ้งขุดบาดาลในพื้นที่ได้ไหม?  ทำไมต้องพึ่งน้ำตกอย่างเดียว

นิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล

นิชา

อยากให้คุณพรทิพย์เล่าเรื่องแผนการจัดการน้ำตกเก้าชั้นให้ฟัง  เพราะทราบมาว่าเป็นการจัดการโดยชุมชนเอง

คุณพรทิพย์ สำเภา

การนั่งพูดคุยกัน  การทำความเข้าใจกันสามารถแก้ปัญหาได้  เช่นในช่วงสงกรานต์  ก็พูดคุยกันสามารถแบ่งน้ำมาใช้ช่วงที่นักท่องเที่ยวเข้ามามากๆได้

คุณสมศักดิ์ เหลืองจรุงรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสวนผึ้ง

การใช้น้ำตกมีการใช้มาเดิม  แต่ในอนาคตคงจะเป็นเรื่องที่ต้องพูดคุย  ตกลงกติการ่วมกัน  ขอความเห็นของคนในหมู่บ้าน  ทาง อบต. ก็พยายามบริหารจัดการน้ำอยู่  มีแผนงานที่จะก่อสร้างบ่อเก็บน้ำเพื่อนำมาทำประปาผิวดิน

ดร. แสนศักดิ์ ศิริพานิช รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและชุมชนสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

แสนศักดิ์1

เห็นด้วยที่ว่าเรื่องผลประโยชน์เป็นเรื่องที่ตกลงกันยาก  เรื่องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติก็จะมีปัญหาทั่วประเทศ  ทั่วโลก  การใช้ข้อกฏหมายก็มีปัญหา

มีประสบการณ์กับการวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วม  การจัดการตนเอง  คิดว่ามาถูกทางแล้วที่พยายามหาข้อยุติ  มีการจัดการเจรจาพูดคุยกัน  มีการพัฒนากลุ่มอาชีพ  เห็นความสำคัญกับการให้การศึกษากับคนรุ่นใหม่  และเยาวชน

เห็นด้วยอย่างยิ่งที่มีการฝึกมัคคุเทศน้อย  ใช้การท่องเที่ยวนำ  generation นี้เราขัดแย้งกันก็จริง  เราต่อสู้กันในข้อกฏหมาย  แต่ไม่อยากให้ข้อขัดแย้งนี้ลงไปสู่เยาวชน  ให้ทำงานอย่างสร้างสรร  ใช้การท่องเที่ยวเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติ

ชอบที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแนวคิดให้ชุมชนช่วยจัดการ

พ.ต.ท. วิชัย สุวรรณประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม

วิชัย1

ค่อนข้างเป็นห่วงสวัสดิภาพของนักต่อสู้ด้านสิ่งแวดล้อม  ไม่ทราบว่าในกรณีที่ถูกทำร้าย  มีการดำเนินคดีหรือไม่? อย่างไร?  เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามาช่วยเหลืออย่างไรบ้าง?  กลุ่มของเราก็มี network มีผู้ใหญ่หลายท่าน มีนายพลตั้งสองสามท่าน  น่าจะมีการประสานงานที่จะดูแล

อยากทราบว่าสำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา  กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม  มีบทบาทที่จะช่วยเหลืออย่างไร?

ปิติกาญจน์ สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา  กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ  กระทรวงยุติธรรม

ก็อยากถามคุณพรทิพย์อยู่เหมือนกันว่ามีการแจ้งความดำเนินคดีมั๊ย?  เรื่องที่ถูกทำร้าย  และได้รับการเยียวยาอย่างไรบ้าง?

คุณพรทิพย์ สำเภา

ก็แจ้งข้อหาพยายามฆ่า  ตอนนี้ก็มีคดี 2 คดี  คือคดีแพ่งวันที่ 31 นี้จะขึ้นศาล  ส่วนคดีอาญา  อัยการสั่งฟ้องแล้ว  จะขึ้นศาลประมาณเดือนตุลาคม

ดร. สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร

เรื่องน้ำตก เอกชนไม่สามารถนำไปใช้ได้  อยากจะนำเสนอว่าน่าจะทำประชาคมเพราะคนในพื้นที่น่าจะรู้เรื่องดีที่สุด  อีกประเด็นหนึ่งที่นั่งรถผ่านมาเห็นท่อน้ำประปาขนาด 1 นิ้ว สีฟ้า  อยู่ในท่อน้ำทิ้งขนาดประมาณ 5 นิ้ว  ซึ่งเป็นการที่ไม่ถูกต้อง  แสดงว่าการบริหารน้ำยังไม่ชัดเจน  ขอช่วยแก้ไขในเรื่องนี้ด้วย

วิชชุกร คำจันทร์ นักบิน บริษัทการบินไทย จำกัด

เท่าที่รับฟังมารู้สึกว่าปัญหาและความขัดแย้งในพื้นที่ซับซ้อนมาก  เป็นเรื่องการแย่งชิงทรัพยากรน้ำและที่ดิน  จุดที่อยากจะเสนอแนะและขอทราบความเห็นของคนที่อยู่ในพื้นที่ก็คือ  ในภาพรวมมีความขัดแย้งสูงในการแย่งชิงทรัพยากรในพื้นที่  และการจัดการก็เกี่ยวข้องกับกฏหมายและข้อบังคับหลายตัว

เรามาหยุดปัญหานี้ก่อนในเชิงอนุรักษ์จะดีไหม?  เช่น จำกัดจำนวนรีสอร์ทที่จะเข้ามาเปิดในพื้นที่ของอำเภอสวนผึ้ง  ในขณะเดียวกันถ้าจำกัดในส่วนนี้ไม่ได้  เราก็ลองดูที่จำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาในสวนผี้งนี้ว่าควรจะให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามากี่คน  เพื่อที่ว่าเราจะสามารถบริหารจัดการทรัพยากร  ในเรื่องของการขาดแคลนน้ำ  ให้มันมีประสิทธิภาพ  ไม่เกิดปํญหาการขาดแคลนน้ำที่กำลังรุนแรงในภายหลัง  ไม่ทราบว่าองค์การบริหารส่วนตำบลมีนโยบายจะจำกัดจำนวนของรีสอร์ทของสวนผึ้งที่จำนวนเท่าไหร่?  และจะจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในสวนผึ้งจำนวนเท่าไหร่?

ครูวุฒิ บุญเลิศ

อยากให้คำนิยามกับคำบางคำ  เอกสารรายงานของอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน  รายงานจะพูดถึงการปฏิบัติการที่ผ่านมา  กล่าวถึงชนกลุ่มน้อย  และชนกลุ่มน้อยที่เกี่ยวข้องกับ KNU มียาเสพติด  เป็นแหล่งพักพิง  มีการพูดถึงกะหร่าง  กะหร่างก็คือกะเหรี่ยง

พอใช้คำว่าชนกลุ่มน้อยมันไม่มีสัญชาติ  พอโยงกับ KNU  และเหตุผลอื่นๆก็จะนำไปสู่ความรุนแรง  พี่น้องแก่งกระจานตั้งแต่ที่ ฮ. ยังไม่ตก  ในวันที่บ้านเรือนถูกเผา เหตุการณ์เป็นอย่างไร?  เด็กบอกว่าเขาเอาหนูขึ้น ฮ.  ฮ.ยังไม่ทันขึ้นจากพื้นดิน บ้านก็มีเสียงดังเปรี๊ยะๆ  เพราะถูกไฟไหม้  พยายามหาข้อมูลต่างเพื่อเปิดให้สังคมได้รับทราบ  เพื่อให้รู้ว่าเราจะแก้ปัญหาจุดนี้อย่างไร?

คนกะเหรียงอยู่มาแต่ดั้งเดิม  มีสองกลุ่ม  กลุ่มหนึ่งถูกคนอื่นเรียกว่ากะหร่าง  ก็คือกะเหรียง  อยู่ตรงนี้มาร้อยกว่าปี  ก่อนจะประกาศอุทยานปี 26  คนเหล่านั้นมีอยู่แล้ว  ปี 12  รัฐบาลถือชาวเขาทั่วประเทศว่าเป็นประชากร

ปัญหาคือ

1. รัฐไม่เข้าใจวิถีชีวิตของชุมชนและวัฒนธรรม

2. รัฐไม่เข้าใจประวัติศาสตร์ของชุมชน  ของคนที่นั่น

3. การใช้นัยยะของคำว่าชนกลุ่มน้อยก็ดี  หรือคำว่าไร่เลื่อนลอยก็ดี  ซึ่งสร้างความชอบธรรมกับการจัดการ  ซึ่งจัดหนัก ซึ่งทางอุทยานฯ ต้องไปชี้แจงกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน  หัวหน้าส่วนที่ไปปฏิบัติการในวันนั้นต้องไปชี้แจง

เมื่อปี 38  อพยพเขาลงมา  แต่ไม่จัดที่ทำกินให้  เมื่อไม่มีที่ทำกิน  คนเหล่านั้นจะอยู่กันอย่างไร?  เขาก็ต้องกลับไปที่เดิม  พอกลับไปที่เดิมก็ทำผิด พรบ. ป่าไม้  จริงๆก่อนที่จะประกาศเป็นอุทยาน  เขาอยู่ก่อนแล้ว  การบูรณาการการแก้ปัญหาความขัดแย้งเรื่องที่ดินที่ทำกิน ทุกภาคส่วนต้องเข้ามาช่วยกันแก้

ปีที่แล้ว คณะกรรมการฟื้นฟูวิถีชีวิตกะเหรี่ยง  ทุกจังหวัดที่มีกะเหรียงต้องมีคณะกรรมการฯ  ผู้ว่าฯ เป็นประธาน  แต่ก็ยังไม่มีการขับเคลื่อน

อุ้มผางตั้งแต่แม่ระมาด  ท่าสองยาง  สังขละ ทุ่งใหญ่  แก่งกระจาน ป่าละอู ฯ คนกะดหรียงอยู่มาเกือบสองร้อยปี   ถ้ากะเหรี่ยงอยู่แล้วป่าหาย  มันหายไปนานแล้ว  แต่ระบบการผลิตที่เรียกว่าไร่หมุนเวียน  คือไม่โค่นทิ้งทั้งหมด  ไม่ขุดรากถอนโคน  ไม่นานป่ามันก็ฟื้นขึ้นมาใหม่  การผลิตก็ไม่ได้ผลิตเพื่อขาย  ป่าก็ฟื้นตัวได้  มันถูกตอกย้ำด้วยคำว่าไร่เลื่อนลอย  เป็นวาทะกรรมที่รัฐใช้เป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรม

การทำงานเพื่อแก้ไขปัญหา  ขาดมิติของภาคประชาชนที่จะเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหา  มีการมองกะเหรี่ยงเหมือนไม่ใช่คน  ความไม่เข้าใจในพหุวัฒนธรรม  มายาคติต่างๆ  การรู้สึกติดยึดในความเป็นชาติจนลืมความหลากหลายทางวัฒนธรรม  ทำให้เลือกปฏิบัติ

เรื่องสวนผึ้ง  พูดถึงเรื่องแม่ค้าน้ำตก  มีคนทำนา  ทำการเกษตร  ใช้น้ำจากลำห้วย  เดิมเป็นคนต้นน้ำ  แต่ตอนนี้รีสอร์ทเข้ามา  คนทำรีสอร์ทเป็นคนต้นน้ำ  คนใช้น้ำเพื่อธุรกิจอย่างหนึ่ง  กับคนใช้น้ำเพื่อทำนา ปลูกพืช  ปัญหาก็เกิดขึ้น  คนทำการเกษตรก็มีปัญหาการช่วงชิงน้ำด้วยเหมือนกัน

ปีที่แล้วมีการเดินสำรวจน้ำกัน  ไปกับ ตชด. ไปกับทหาร เจอฝายน้ำธรรมชาติ  ฝายน้ำคอนกรีตขวางลำน้ำของผู้ประกอบการบ้านพักและรีสอร์ท  เราเจอสิ่งที่ยิ่งใหญ่เกินกว่าที่เราจะจัดการ  ปัญหามันใหญ่เกินไป  เกินกว่าที่องค์กรเหล่านี้จะแก้ไข   ภาคประชาสังคมกับท้องถิ่น  เชื่อมโยงกับที่ราชบุรี  เชื่อมโยงกับสื่อ  หรือการที่นักศึกษาได้เข้ามาเรียนรู้ปัญหาน่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างความตระหนักรู้

สวนผึ้งถ้าไม่มีวิกฤตขึ้นมา  โครงการใหญ่ๆที่สำคัญก็จะไม่มี  ถ้าไม่มีโครงการเหล่านี้  คนในประเทศจะไม่เห็นสวนผึ้ง  โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ของสมเด็จพระราชินี  โครงการของสมเด็จพระเทพฯ  กำลังบ่งบอกถึงวิกฤตของสวนผึ้ง  จะอยู่กันไม่ได้แล้ว  ถ้าวิกฤตประชาชนสวนผึ้งจะอยู่กันอย่างไร?

คุณสมศักดิ์ เหลืองจรุงรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสวนผึ้ง

คนที่มาที่นี่ก็เป็นห่วงสวนผึ้งว่าจะเป็นแบบปายหรือที่อื่นๆหรือเปล่า?  การท่องเที่ยวบูมก็เกิดปัญหา  การจำกัดจำนวนรีสอร์ท  จำนวนนักท่องเที่ยวคงทำไม่ได้  แต่คงจัดโซนนิ่งได้  คงต้องใช้หลายหน่วยงานมาช่วยจัดโซนนิ่ง

ทั้งอำเภอ  ทั้งจังหวัดและหน่วยงานทหารที่ดูแลพื้นที่  กรมธนารักษ์  คงต้องมีการคุยกันในเรื่องเหล่านี้   คนเข้ามาท่องเที่ยวเยอะ  การกินการใช้ก็เยอะ  ขยะมูลฝอยก็เยอะ  จะมีการจัดการขยะมูลฝอยเหล่านี้อย่างไร?  ที่นี่ก็มีแผนงานอยู่  จะให้มีการคัดแยกขยะ  ให้ชุมชนมีส่วนร่วม  ส่วนไหนที่นำไปขายได้  ส่วนไหนที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้   ส่วนไหนที่นำมาทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

รวมทั้งป่าด้วย  ถ้าให้รัฐดูแลฝ่ายเดียว  ป่าก็หมดไปเรื่อยๆ  ตราบใดที่ชุมชนไม่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ปกป้องผืนป่าจะไม่ได้ผล  การปลูกป่าก็ไม่ได้ผล  อยู่มา 12 ปี  มีหน่วยราชการหลายแห่งมาปลูกป่า  มาปลูกกันในหน้าแล้ง  ใครจะมาดูให้  น้ำก็ไม่มีรด  แถมปลูกทีไรก็ต้องปรับพื้นที่ใหม่  แทนที่ป่าจะอยู่  ป่ากลับหายไปเรื่อยๆ  แต่ถ้าเป็นป่าชุมชน  ป่าก็จะฟื้นตัวได้  ไม่ต้องปลูกป่าใหม่

ผศ. ว่าที่ ร.ต. สุรพล สินธุนาวา อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์  สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์

อยากแนะนำว่า  คดีของคุณพรทิพย์  การดำเนินคดีพยายามฆ่าและเรื่องคดีแพ่งเรื่องละเมิดที่แยกฟ้องกันอยู่  ควรเอาคดีแพ่งขอเข้ามีส่วนร่วมกับอัยการ รวมเป็นคดีเดียว

Post to Facebook Facebook


พูดคุย ซักถามกับอาจารย์มารค ตามไท

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 31 กรกฏาคม 2011 เวลา 20:49 ในหมวดหมู่ การจัดการขยะมูลฝอย, จอมป่วน, สุขภาพ #
อ่าน: 2362

อาจารย์มารค ตามไทจะทำความเข้าใจและเล่าเรื่องต่างๆให้ฟัง  แล้วจะเปิดโอกาสให้ซักถาม พูดคุยแสดงความคิดเห็น  ตามสไตล์ของหลักสูตร 4ส

เริ่มด้วย พอ. เอื้อชาติ หนุนภักดี นายทหารประจำกรมข่าวทหารบก  แสดงความคิดเห็น

ลักษณะของสังคมสันติสุข …ไม่ใช่สังคมอุดมคติ  ไม่ใช่สังคมในอดีต

คนไทยมักจะอยากกลับไปสงบสุขเหมือนเก่า  เดิมคนไทยก็ไม่รักสงบ  ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาเราก็ไม่สงบสุข  มีการรบราฆ่าฟันกันเองมาตลอด

เราไม่ระวัง  คิดว่าเรามีสันติมาตลอด

อ. มารค ตามไท

ถูกหมด วิธีแก้คือ ความรู้ รู้ว่าอดีตเราคืออะไร?

เรารู้แต่จากประสบการณ์ของเรา  แต่ประสบการณ์ของคนอื่นเราไม่รู้เลย เรื่องอดีตของสังคมไทย  ประวัติศาสตร์ไทยต้องมาเรียนรู้กันใหม่หมด  ต้องสนใจเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหา

ภาพยนต์ เพลง ก็ไม่มีกล่าวถึง  ยกเว้นแต่เพลงลูกทุ่ง  ถึงมีก็ไม่ค่อยตรงกับความจริง

ประวัติศาสตร์ในหนังสือก็เอามาจากหนังสือ 5 เล่มที่เขียนมา 100 กว่าปีมานี้เอง  เพื่อปลุกกระแสรักชาติในสมัยล่าอาณานิคมในสมัยนั้น

ที่ว่าอยากกลับไปอดีตที่สงบสุขก็ไม่จริง  ต้องเรียนรู้  แต่จะเรียนรู้จากที่ไหน? อย่างไร?

สมัยก่อนอาจมีปัญหาน้อยกว่าปัจจุบัน  ถ้ามีข้อขัดแย้งคนเราก็พยายามเลี่ยงหนี  ย้ายหนีไปอยู่ที่อื่น  ย้ายไปเรื่อยๆ  เข้าป่าไป

แต่ปัจจุบันไม่มีที่จะไปแล้ว มีพรมแดน  บางที่ก็เป็นป่าสงวน  การโยกย้ายของชุมชนทำไม่ได้แล้ว  ต้องอยู่เผชิญหน้าความขัดแย้ง  มันหนีกันไม่ได้

ปัจจุบันการเลือกตั้งอาจทำให้เกิดผลกระทบกับคนอื่นที่อยู่คนละที่กัน  ผลกระทบผ่านกลไกการเมืองการปกครอง  เป็นลักษณะของโลกปัจจุบัน  จึงมีความพยายามศึกษาเรื่องสันติวิธี

พันเอก ดร. พิเชษฐ คงศรี นายทหารปฏิบัติการกองบัญชาการกองทัพไทย

ถาม การแก้ไขความขัดแย้งที่ยั่งยืน อาจารย์มีมุมมองอย่างไรต่อปัญหาความขัดแย้งของสังคมไทยในปัจจุบัน ?  อะไรเป็นรากเหง้า ?

ตอบ เป็นคำถามที่ยากมาก  ปัญหาอยู่ที่ไหน?   ถ้ารู้ก็จะแก้ได้

จริงๆปัญหามันเป็น multifactor

  • สังคมไทยไม่มั่นใจ ไม่แน่ใจที่จะเผชิญกับของใหม่  ไม่กล้าเสี่ยง  ไม่หลุดจากกรอบเดิม  ความพร้อมที่จะเสี่ยงต้องมั่นใจในตัวเอง  สังคมไม่เคยคิดเอง  มีแต่คนอื่นคอยคิดให้  เสี่ยงร่วมกันทำไม่เป็น
  • ปัญหาระบบอุปถัมภ์เก่า  กลไกของรัฐอ่อนแอ  ก็จำเป็นต้องใช้ระบบอุปถัมภ์  นานๆเข้าก็ทำให้สังคมอ่อแอ
  • เป็นระบบที่หาผู้ใหญ่มาช่วย
  • ปัญหาปัจจุบันต้องร่วมกันแก้ปัญหา

อาจารย์ก็บอกว่าอาจารย์ก็ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร?

  • ต้องทำให้เกิดความมั่นใจกับสังคม  ไม่ใช่ตัวบุคคล  ถ้าเป็นตัวบุคคลก็ลองได้  แต่ถ้าเป็นเรื่องของสังคมจะลองได้ไหม?
  • ภาคธุรกิจ ไม่ติดกับดักสังคมไทยเพราะต้องแข่งขันทั่วโลก  จึงมีการปรับตัว  แต่สังคมเจ๊ง  ทำยังไง?

อับดุลอซิซ ตาเดอินทร์ ประธานฝ่ายสิทธิมนุษยชน สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย

31-7-2554 20-35-30

ถาม สันติวิธี ต้องมีการหาข้อเท็จจริง  หาข้อสรุป  ชำระประวัติศาสตร์  มีการลงโทษ  มีการขอโทษ  มีการยกโทษ  ภาคใต้มีปัญหามานาน  จะทำอย่างไร?

ตอบ ต้องแยกเป้าหมายออกจากวิธีการ  เราสับสนระหว่างเป้าหมายกับวิธีการสร้างความสมานฉันท์  เราต้องการให้ได้เป้าหมายคือสมานฉันท์  ส่วนที่พูดมาเป็นวิธีการ  อยู่ที่วิธีการไหนเหมาะกับบริบทและสถานการณ์ของแต่ละสังคม

การหาข้อเท็จจริง  การหาข้อสรุป  การจับคนผิดมาลงโทษ  การนิรโทษกรรม  ต้องแยกแยะความผิดทางการเมืองไม่ใช่ความผิดทางอาญา

แต่ละประเทศ สถานการณ์ก็แตกต่างกัน เช่นในเขมร ราวันดา แอฟริกาใต้

สังคมต้องค้นหาและไม่ใช่เรื่องง่ายๆ  ไม่ได้มีวิธีเดียว  จะใช้วิธีไหนก็ลึกซึ้งมาก

ในอเมริกาใต้ยึดหลักจับตัวมาลงโทษ  แอฟริกาใต้เน้นการอภัยโทษ

ความเชื่อทางศาสนาก็มีส่วน  มีผล  ขึ้นอยู่กับความเชื่อของสังคมว่า ลึกๆจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร?

Conflict Transformation ต้องมีการเปลี่ยนลักษณะบางอย่างของสังคม

พิเศษ นาคะพันธุ์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

31-7-2554 20-38-08

ถาม ขอความเห็นของอาจารย์  ความขัดแย้งทางการเมือง  ตั้งแต่ 10 เมษายน 2553,   28 เมษายน 2553, 19 พฤษภาคม 2553 ที่ราชประสงค์

การแก้ปัญหาที่ผ่านมา  มีประเด็นที่ต้องพิจารณาอย่างไรบ้าง ?

ตอบ ขอตอบแบบคนที่รู้ไม่หมด

ภาพสรุปคือไม่มีความพยายามพอที่จะแก้ไขปัญหา  ไม่มีความรู้พอที่จะจัดการความขัดแย้ง

ถ้าจะแก้ปัญหา  ต้องรู้วิธี  ไม่ใช่แค่อยากจะทำ  ในฐานะคนดูแลรับผิดชอบต้องมีความสามารถมากกว่านี้

คนที่ทำงานด้านสันติวิธี  ยังไม่สามารถ convince รัฐบาลให้ยอมรับเรื่องราวเหล่านี้  เพราะเป็นเรื่องใหม่ของสังคม

เวลามีปัญหาคนสู้กันไม่ต้องโทษคู่กรณี  แต่ปัญหาอยู่ที่คนจัดการ  แต่เผอิญกรณีดังกล่าวรัฐบาลเป็นคู่กรณี  รัฐบาลและ ศอฉ. เป็นคู่กรณีเสียเอง  ไม่มีเจ้าภาพที่จะไปแก้ไขปัญหา  เป็นเรื่องที่ยากมาก  ตอนเกิดเหตุการณ์คงทำอะไรไม่ได้มาก  แต่ที่สำคัญคือ  อย่าให้เกิดอีก

พลตำรวจตรี อรรถพันธ์ พรมณฑารัตน์ รองนายแพทย์ใหญ่ โรงพยาบาลตำรวจ

31-7-2554 20-39-16

ถาม ถ้ารัฐบาลใหม่มอบหมายให้อาจารย์รับผิดชอบ

  1. ปัญหาภาคใต้ จะเสนอแนะรัฐบาลอย่างไร?  ประเมินอย่างไร?
  2. ถ้ามีเหตุการณ์ชุมนุมคัดค้านเกิดขึ้น  จะมีข้อเสนอแนะอะไรให้รัฐบาล

ตอบ

1. ปัญหาภาคใต้ก็ทำงานร่วมกับสภาความมั่นคงแห่งชาติอยู่แล้ว  มีทิศทางที่ดำเนินการอยู่ ใช้ Conflict Resolution  กับ  Conflict Transformation ควบคู่กันไป

มีการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาล มีกระบวนการทำงานร่วมกับภาคสังคม  ที่สำคัญที่สุดคือ  คนที่อยู่ที่นั่น

การประเมินผลก็ยากมาก  ผลเป็นอย่างไร? วัดอย่างไร? เป็นคำถามที่ตอบยากมาก  จะประเมินด้วยตัวเลขศพ ?  สถานการณ์จริงๆไม่ Linear แบบนั้น

การทำงานให้สำเร็จองค์ประกอบต่างๆต้องครบ  เช่นแนวคิดด้านการเมืองการปกครอง  การปรับโครงสร้าง..ฯ  ถ้าทำสำเร็จบางส่วน  ยังไม่ครบองค์ประกอบ  มันก็ยังไม่จบ

2. ถ้าเกิดราชประสงค์ภาค 2 มีข้อแนะนำอย่างไร?

อย่ารอให้เกิดปัญหาแล้วขยับ  ต้องเริ่มทำงานตั้งแต่บัดนี้

รัฐบาลกำลังใช้อำนาจบริหาร  ถ้ามัวแต่ไล่แก้ปัญหาโดยมีเวลาเป็นข้อจำกัดก็จะยาก  ต้องทำการบ้านล่วงหน้า  และน่าจะเป็นของใหม่  วิธีใหม่  ไม่น่าจะเป็นเหตุการณ์ วิธีการเดิม

ต้องป้องกัน  ทำไมจะมีการชุมนุม?  ชอบธรรมมั๊ย?   จะมีมาทุกรูปแบบ  น่าจะมีทีมงานคิดตั้งแต่แรก

กิจจา อาลีอิสเฮาะ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย

31-7-2554 20-40-23

ถาม ภาคใต้มีเจ้าหน้าที่รัฐ  ขบวนการ  ประชาชน  ต้องลดความรุนแรง  จะเริ่มอย่างไร?

ตอบ ปัญหาไม่ใช่ไม่รู้ว่าจะคุยกับใคร? แต่ปัญหาคือมีหลายกลุ่มมาก  ต้องคุยกับหลายๆฝ่าย  ภาครัฐก็ยังไม่มีเอกภาพระหว่างฝ่ายนโยบายกับฝ่ายปฏิบัติ  ไม่ใช่ไม่รู้  รู้  แต่เหตุการณ์มัน Dynamic

เกียรติเกริกไกร ใจสมุทร รองเลขาธิการมูลนิธิอัศนี พลจันทร์(นายผี)

31-7-2554 20-41-12

ถาม บทบาทนักสันติวิธี มีบทบาท มีศักยภาพในการจูงใจประชาชนและรัฐบาลมากน้อยแค่ไหน?

ตอบ ปัญหาอาจอยู่ที่ชื่อ “นักสันติวิธี” มันไม่ใช่แค่องค์ความรู้  ทฤษฎี  แต่เป็นเรื่องการปฏิบัติ  เป็นคนที่ต้องทำหลายอย่าง  ในการปฏิบัติเหมือนงานช่าง  เป็นงานใหม่ในสังคมไทย

เดิมมีผู้ใหญ่คอยไกล่เกลี่ย  ลดความขัดแย้งของตัวเอง  ทำมานานแล้ว  แต่คราวนี้เป็นเรื่องความขัดแย้งที่ใหญ่  เดิมก็แค่คุยกัน  ขอร้องแล้วก็ใช้อำนาจ  แล้วก็จบได้

แต่ปัจจุบัน  ความขัดแย้งซับซ้อนขึ้น  ขนาดใหญ่ขึ้น

งานของนักสันติวิธี เริ่มมาสิบกว่าปี เดิมก็เข้าใจว่าเป็นเรื่องของการถ่ายทอดความรู้  ตอนนี้เริ่มรู้ว่าอะไรไม่ใช่  เป็นเรื่องของการปฏิบัติ  แต่อะไรใช่ก็ยังไม่รู้

ตอนนี้อยู่ในระยะที่ต้องพิสูจน์ตัวเอง  งานแบบนี้สงวนไว้ให้หน่วยงานความมั่นคง  คนนอกจะเข้าไปไม่ใช่เรื่องง่ายๆ  ไม่ใช่เรื่องที่จะมาลองกัน

มีความคิดที่จะสร้างนักสันติวิธีในหน่วยงานเลย แต่ก็ไม่สามารถเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรได้

กองทัพอเมริกาก็พยายามดึงนักสันติวิธีไปคุยกับกลุ่มตาลีบัน

สังคมไทยก็อยู่ในระยะที่ให้โอกาสลองทำงานดู

นักสันติวิธีก็มีจรรยาบรรณ

  1. Do no harm
  2. ไม่ใช่เรื่องของมือสมัครเล่น
  3. มีเครือข่าย  ปรึกษาหารือกัน - Networking & Consultation (แต่วงการสันติวิธีทุกประเทศจะหวงงาน…ปัญหาอยู่ที่เงิน)

Post to Facebook Facebook


เปิปปลาไหล อิอิ

อ่าน: 2140

 

เมื่อคืนกลับจากงานเลี้ยงก็ดึกแล้ว  แถมสาวเวียตนามชอบใจรูปที่จอมป่วนถ่ายก็เลยขอ Memory Card  ไปลง Notebook ก่อน  กว่าจะนำมาคืนก็เกือบเที่ยงคืน  จะเขียนรายงานแบบไม่มีรูปประกอบก็ยังไงๆอยู่เลยงดเขียนหนึ่งวัน  ขอมารายงานวันนี้แทนครับ

อ่านต่อ »

Post to Facebook Facebook


ญี่ปุ่น - เสร็จไปหนึ่งภารกิจแล้ว

อ่าน: 1880

 

 

วันนี้ตื่นแต่เช้า ทานอาหารเช้าเสร็จกินนั่งรอทีมงานเจ้าภาพมารับ  ความจริงไปเองก็ได้เพราะอยู่ใกล้ๆโรงแรมที่พักนี่เอง (อวดดีอีกแล้ว) 

การประชุมครั้งนี้ก็มีหน่วยงานที่ทไงานเกี่ยวกับการจัดการขยะของญี่ปุ่น  เช่นตัวแทนของ  Japan Environment Sanitation Center,   กระทรวงสิ่งแวดล้อม,  GENKI Network for Sustainability,  Professor Marasu Tanaka  จาก Tottori University of Environmental Studies   ฝ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของญี่ปุ่นก็มีมาจาก  จังหวัดไซตามะ (Saitama Prefecture) , Saitama City,  Saporo City,  Yokohama City  และ  Kawasaki City
อ่านต่อ »

Post to Facebook Facebook


พ่อลมเย็นไปญี่ปุ่นอีกแล้ว

อ่าน: 2110

 

 

มาประชุมที่ญี่ปุ่นอีกครั้งนึง  คราวนี้มาเรื่องการจัดการขยะมูลฝอย  เพราะทางเทศบาลนครพิษณุโลกได้รับเชิญจาก Foundation of Japan Environmental Sanitation Center   ให้มานำเสนอและแลกเปลี่ยนประสบการณ์  แถมเป็นการสร้างเครือข่ายกันระหว่างประเทศในเอเซีย  ในหัวข้อ  3 R Conference for Asian Local Governments  

งานนี้จัดที่  Omiya Sonic City, Saitama City  ประเทศญี่ปุ่น  ระหว่างวันที่ 28-30 ตุลาคม 2552 

ท่านนายกเทศมนตรีก็มอบหมายให้จอมป่วนเป็นผู้นำเสนอและร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในครั้งนี้
อ่านต่อ »

Post to Facebook Facebook


ไปนอนอัมพวา อิอิ

อ่าน: 39867

เมื่อคืนไปนอนที่อัมพวา ( พักที่เรือนไม้โชติกา Chotika Riverfront ) เลยขอพักเรื่องเชียงใหม่ ลำพูน เชียงรายไว้ก่อนนะครับ เพราะคงมีคนเขียนหลายคน ( หมอเจ๊ น้าอึ่งอ๊อบ อ. สร้อย ครูอึ่ง อาราม เบิร์ด ) เล่าเรื่องสมุทรสงคราม สมุทรสาครดีกว่า อิอิ
อ่านต่อ »

Post to Facebook Facebook


สัญญาว่าจะเล่าให้ฟัง อิอิ

11 ความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 26 กรกฏาคม 2008 เวลา 23:47 ในหมวดหมู่ การจัดการขยะมูลฝอย, จอมป่วน, เฮฮาศาสตร์ #
อ่าน: 2214

 

วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการอบรมการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน  หลักสูตรชุมชน  ที่พิเศษคือนักเรียนที่ฝึกเป็นกระบวนกรได้มีโอกาสแสดงฝีมือ  แถมนักเรียนออกแบบการอบรมให้มีการสนทนาระหว่างผู้บริหาร ( นายกเทศมนตรี  รองนายกเทศมนตรี  ที่ปรึกษา  เลขาฯ  และสมาชิกสภาเทศบาล ) , พนักงานเทศบาลและชุมชน  ในหัวข้อว่าชุมชนจะช่วยเทศบาลอย่างไรในการจัดการขยะ

วันนี้เป็นวันหยุดนะครับ  เพิ่งคุยกันเมื่อวานเย็น  นักเรียนเสนอกิจกรรมดังกล่าวเอง  ถามคนชอบวิ่งว่าดีไหม?  การคุยกันดีทั้งนั้นแหละครับ  เลยชมนักเรียนว่าเก่งมาก  สามารถออกแบบกิจกรรมได้เอง  และกล้าคิดสิ่งใหม่ๆ  พอพยักหน้าเท่านั้นเอง  ท่านรองนายกฯ ที่มาร่วมฝึกเป็นกระบวนกรก็โทรศัพท์เรียนท่านนายกเทศมนตรีเลย

อ่านต่อ »

Post to Facebook Facebook


โดนถีบแล้วไหมล่ะ ? อิอิ

อ่าน: 2052

โรตีแผ่นกลมๆ ส่ายนมส่ายไข่  โรตีแผ่นใหญ่ๆ  ส่ายไข่ส่ายนม  อิอิ  อบรมสไตล์เฮฮาศาสตร์

 

ในที่สุด  นักเรียนโข่งก็ต้องแสดงฝีมือแล้ว   เป็นหลักสูตรเร่งรัดแล้วก็โยนไมค์ให้เลย  แต่นักเรียนก็ทำได้ค่อนข้างดี

นักเรียนโข่งได้เข้าร่วมอบรมหรืออย่างน้อยก็มาร่วมสังเกตการณ์ถึงสองรุ่น  มีการอบรมแนะนำกันทุกเย็นมา 5 วันแล้ว  แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ใจ  ที่เต็มร้อย  ทีมงานของสุราษฎร์ธานีตั้งใจมาก  ตั้งใจจนทีมวิทยากรจากพิษณุโลกกลัวใจ 

อ่านต่อ »

Post to Facebook Facebook


การอบรมกระบวนกร-เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี (2)

3 ความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 25 กรกฏาคม 2008 เวลา 2:01 ในหมวดหมู่ การจัดการขยะมูลฝอย, จอมป่วน, เฮฮาศาสตร์ #
อ่าน: 2116

 

เมื่อวานนี้ในการฝึกสุนทรียสนทนา  รอบแรกคุยกันสองคนก็ให้คุยเรื่องกระบวนกร ( คิดว่ากระบวนกรคืออะไร ?  กระบวนกรที่ดีเป็นอย่างไร ? )   รอบสี่คนก็ให้คุยเรื่องเดิม  อ่างปลาก็ให้พูดคุยกันประเด็นเรียนรู้อะไรบ้างจากที่ผ่านมา 5 วันแล้ว 

เนื่องจากเป็นหลักสูตรเร่งรัด  การเตรียมผู้เข้ารับการอบรมค่อนข้างน้อย  แต่จากที่สังเกตในวงสนทนาก็ค่อนข้างพอใจ  นักเรียนส่วนมากเข้าใจ  จับประเด็นได้

 

อ่านต่อ »

Post to Facebook Facebook



Main: 0.081869125366211 sec
Sidebar: 0.042105913162231 sec