พูดคุย ซักถามกับอาจารย์มารค ตามไท
อาจารย์มารค ตามไทจะทำความเข้าใจและเล่าเรื่องต่างๆให้ฟัง แล้วจะเปิดโอกาสให้ซักถาม พูดคุยแสดงความคิดเห็น ตามสไตล์ของหลักสูตร 4ส
เริ่มด้วย พอ. เอื้อชาติ หนุนภักดี นายทหารประจำกรมข่าวทหารบก แสดงความคิดเห็น
ลักษณะของสังคมสันติสุข …ไม่ใช่สังคมอุดมคติ ไม่ใช่สังคมในอดีต
คนไทยมักจะอยากกลับไปสงบสุขเหมือนเก่า เดิมคนไทยก็ไม่รักสงบ ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาเราก็ไม่สงบสุข มีการรบราฆ่าฟันกันเองมาตลอด
เราไม่ระวัง คิดว่าเรามีสันติมาตลอด
อ. มารค ตามไท
ถูกหมด วิธีแก้คือ ความรู้ รู้ว่าอดีตเราคืออะไร?
เรารู้แต่จากประสบการณ์ของเรา แต่ประสบการณ์ของคนอื่นเราไม่รู้เลย เรื่องอดีตของสังคมไทย ประวัติศาสตร์ไทยต้องมาเรียนรู้กันใหม่หมด ต้องสนใจเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหา
ภาพยนต์ เพลง ก็ไม่มีกล่าวถึง ยกเว้นแต่เพลงลูกทุ่ง ถึงมีก็ไม่ค่อยตรงกับความจริง
ประวัติศาสตร์ในหนังสือก็เอามาจากหนังสือ 5 เล่มที่เขียนมา 100 กว่าปีมานี้เอง เพื่อปลุกกระแสรักชาติในสมัยล่าอาณานิคมในสมัยนั้น
ที่ว่าอยากกลับไปอดีตที่สงบสุขก็ไม่จริง ต้องเรียนรู้ แต่จะเรียนรู้จากที่ไหน? อย่างไร?
สมัยก่อนอาจมีปัญหาน้อยกว่าปัจจุบัน ถ้ามีข้อขัดแย้งคนเราก็พยายามเลี่ยงหนี ย้ายหนีไปอยู่ที่อื่น ย้ายไปเรื่อยๆ เข้าป่าไป
แต่ปัจจุบันไม่มีที่จะไปแล้ว มีพรมแดน บางที่ก็เป็นป่าสงวน การโยกย้ายของชุมชนทำไม่ได้แล้ว ต้องอยู่เผชิญหน้าความขัดแย้ง มันหนีกันไม่ได้
ปัจจุบันการเลือกตั้งอาจทำให้เกิดผลกระทบกับคนอื่นที่อยู่คนละที่กัน ผลกระทบผ่านกลไกการเมืองการปกครอง เป็นลักษณะของโลกปัจจุบัน จึงมีความพยายามศึกษาเรื่องสันติวิธี
พันเอก ดร. พิเชษฐ คงศรี นายทหารปฏิบัติการกองบัญชาการกองทัพไทย
ถาม การแก้ไขความขัดแย้งที่ยั่งยืน อาจารย์มีมุมมองอย่างไรต่อปัญหาความขัดแย้งของสังคมไทยในปัจจุบัน ? อะไรเป็นรากเหง้า ?
ตอบ เป็นคำถามที่ยากมาก ปัญหาอยู่ที่ไหน? ถ้ารู้ก็จะแก้ได้
จริงๆปัญหามันเป็น multifactor
- สังคมไทยไม่มั่นใจ ไม่แน่ใจที่จะเผชิญกับของใหม่ ไม่กล้าเสี่ยง ไม่หลุดจากกรอบเดิม ความพร้อมที่จะเสี่ยงต้องมั่นใจในตัวเอง สังคมไม่เคยคิดเอง มีแต่คนอื่นคอยคิดให้ เสี่ยงร่วมกันทำไม่เป็น
- ปัญหาระบบอุปถัมภ์เก่า กลไกของรัฐอ่อนแอ ก็จำเป็นต้องใช้ระบบอุปถัมภ์ นานๆเข้าก็ทำให้สังคมอ่อแอ
- เป็นระบบที่หาผู้ใหญ่มาช่วย
- ปัญหาปัจจุบันต้องร่วมกันแก้ปัญหา
อาจารย์ก็บอกว่าอาจารย์ก็ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร?
- ต้องทำให้เกิดความมั่นใจกับสังคม ไม่ใช่ตัวบุคคล ถ้าเป็นตัวบุคคลก็ลองได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องของสังคมจะลองได้ไหม?
- ภาคธุรกิจ ไม่ติดกับดักสังคมไทยเพราะต้องแข่งขันทั่วโลก จึงมีการปรับตัว แต่สังคมเจ๊ง ทำยังไง?
อับดุลอซิซ ตาเดอินทร์ ประธานฝ่ายสิทธิมนุษยชน สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย
ถาม สันติวิธี ต้องมีการหาข้อเท็จจริง หาข้อสรุป ชำระประวัติศาสตร์ มีการลงโทษ มีการขอโทษ มีการยกโทษ ภาคใต้มีปัญหามานาน จะทำอย่างไร?
ตอบ ต้องแยกเป้าหมายออกจากวิธีการ เราสับสนระหว่างเป้าหมายกับวิธีการสร้างความสมานฉันท์ เราต้องการให้ได้เป้าหมายคือสมานฉันท์ ส่วนที่พูดมาเป็นวิธีการ อยู่ที่วิธีการไหนเหมาะกับบริบทและสถานการณ์ของแต่ละสังคม
การหาข้อเท็จจริง การหาข้อสรุป การจับคนผิดมาลงโทษ การนิรโทษกรรม ต้องแยกแยะความผิดทางการเมืองไม่ใช่ความผิดทางอาญา
แต่ละประเทศ สถานการณ์ก็แตกต่างกัน เช่นในเขมร ราวันดา แอฟริกาใต้
สังคมต้องค้นหาและไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ไม่ได้มีวิธีเดียว จะใช้วิธีไหนก็ลึกซึ้งมาก
ในอเมริกาใต้ยึดหลักจับตัวมาลงโทษ แอฟริกาใต้เน้นการอภัยโทษ
ความเชื่อทางศาสนาก็มีส่วน มีผล ขึ้นอยู่กับความเชื่อของสังคมว่า ลึกๆจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร?
Conflict Transformation ต้องมีการเปลี่ยนลักษณะบางอย่างของสังคม
พิเศษ นาคะพันธุ์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ถาม ขอความเห็นของอาจารย์ ความขัดแย้งทางการเมือง ตั้งแต่ 10 เมษายน 2553, 28 เมษายน 2553, 19 พฤษภาคม 2553 ที่ราชประสงค์
การแก้ปัญหาที่ผ่านมา มีประเด็นที่ต้องพิจารณาอย่างไรบ้าง ?
ตอบ ขอตอบแบบคนที่รู้ไม่หมด
ภาพสรุปคือไม่มีความพยายามพอที่จะแก้ไขปัญหา ไม่มีความรู้พอที่จะจัดการความขัดแย้ง
ถ้าจะแก้ปัญหา ต้องรู้วิธี ไม่ใช่แค่อยากจะทำ ในฐานะคนดูแลรับผิดชอบต้องมีความสามารถมากกว่านี้
คนที่ทำงานด้านสันติวิธี ยังไม่สามารถ convince รัฐบาลให้ยอมรับเรื่องราวเหล่านี้ เพราะเป็นเรื่องใหม่ของสังคม
เวลามีปัญหาคนสู้กันไม่ต้องโทษคู่กรณี แต่ปัญหาอยู่ที่คนจัดการ แต่เผอิญกรณีดังกล่าวรัฐบาลเป็นคู่กรณี รัฐบาลและ ศอฉ. เป็นคู่กรณีเสียเอง ไม่มีเจ้าภาพที่จะไปแก้ไขปัญหา เป็นเรื่องที่ยากมาก ตอนเกิดเหตุการณ์คงทำอะไรไม่ได้มาก แต่ที่สำคัญคือ อย่าให้เกิดอีก
พลตำรวจตรี อรรถพันธ์ พรมณฑารัตน์ รองนายแพทย์ใหญ่ โรงพยาบาลตำรวจ
ถาม ถ้ารัฐบาลใหม่มอบหมายให้อาจารย์รับผิดชอบ
- ปัญหาภาคใต้ จะเสนอแนะรัฐบาลอย่างไร? ประเมินอย่างไร?
- ถ้ามีเหตุการณ์ชุมนุมคัดค้านเกิดขึ้น จะมีข้อเสนอแนะอะไรให้รัฐบาล
ตอบ
1. ปัญหาภาคใต้ก็ทำงานร่วมกับสภาความมั่นคงแห่งชาติอยู่แล้ว มีทิศทางที่ดำเนินการอยู่ ใช้ Conflict Resolution กับ Conflict Transformation ควบคู่กันไป
มีการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาล มีกระบวนการทำงานร่วมกับภาคสังคม ที่สำคัญที่สุดคือ คนที่อยู่ที่นั่น
การประเมินผลก็ยากมาก ผลเป็นอย่างไร? วัดอย่างไร? เป็นคำถามที่ตอบยากมาก จะประเมินด้วยตัวเลขศพ ? สถานการณ์จริงๆไม่ Linear แบบนั้น
การทำงานให้สำเร็จองค์ประกอบต่างๆต้องครบ เช่นแนวคิดด้านการเมืองการปกครอง การปรับโครงสร้าง..ฯ ถ้าทำสำเร็จบางส่วน ยังไม่ครบองค์ประกอบ มันก็ยังไม่จบ
2. ถ้าเกิดราชประสงค์ภาค 2 มีข้อแนะนำอย่างไร?
อย่ารอให้เกิดปัญหาแล้วขยับ ต้องเริ่มทำงานตั้งแต่บัดนี้
รัฐบาลกำลังใช้อำนาจบริหาร ถ้ามัวแต่ไล่แก้ปัญหาโดยมีเวลาเป็นข้อจำกัดก็จะยาก ต้องทำการบ้านล่วงหน้า และน่าจะเป็นของใหม่ วิธีใหม่ ไม่น่าจะเป็นเหตุการณ์ วิธีการเดิม
ต้องป้องกัน ทำไมจะมีการชุมนุม? ชอบธรรมมั๊ย? จะมีมาทุกรูปแบบ น่าจะมีทีมงานคิดตั้งแต่แรก
กิจจา อาลีอิสเฮาะ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
ถาม ภาคใต้มีเจ้าหน้าที่รัฐ ขบวนการ ประชาชน ต้องลดความรุนแรง จะเริ่มอย่างไร?
ตอบ ปัญหาไม่ใช่ไม่รู้ว่าจะคุยกับใคร? แต่ปัญหาคือมีหลายกลุ่มมาก ต้องคุยกับหลายๆฝ่าย ภาครัฐก็ยังไม่มีเอกภาพระหว่างฝ่ายนโยบายกับฝ่ายปฏิบัติ ไม่ใช่ไม่รู้ รู้ แต่เหตุการณ์มัน Dynamic
เกียรติเกริกไกร ใจสมุทร รองเลขาธิการมูลนิธิอัศนี พลจันทร์(นายผี)
ถาม บทบาทนักสันติวิธี มีบทบาท มีศักยภาพในการจูงใจประชาชนและรัฐบาลมากน้อยแค่ไหน?
ตอบ ปัญหาอาจอยู่ที่ชื่อ “นักสันติวิธี” มันไม่ใช่แค่องค์ความรู้ ทฤษฎี แต่เป็นเรื่องการปฏิบัติ เป็นคนที่ต้องทำหลายอย่าง ในการปฏิบัติเหมือนงานช่าง เป็นงานใหม่ในสังคมไทย
เดิมมีผู้ใหญ่คอยไกล่เกลี่ย ลดความขัดแย้งของตัวเอง ทำมานานแล้ว แต่คราวนี้เป็นเรื่องความขัดแย้งที่ใหญ่ เดิมก็แค่คุยกัน ขอร้องแล้วก็ใช้อำนาจ แล้วก็จบได้
แต่ปัจจุบัน ความขัดแย้งซับซ้อนขึ้น ขนาดใหญ่ขึ้น
งานของนักสันติวิธี เริ่มมาสิบกว่าปี เดิมก็เข้าใจว่าเป็นเรื่องของการถ่ายทอดความรู้ ตอนนี้เริ่มรู้ว่าอะไรไม่ใช่ เป็นเรื่องของการปฏิบัติ แต่อะไรใช่ก็ยังไม่รู้
ตอนนี้อยู่ในระยะที่ต้องพิสูจน์ตัวเอง งานแบบนี้สงวนไว้ให้หน่วยงานความมั่นคง คนนอกจะเข้าไปไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ไม่ใช่เรื่องที่จะมาลองกัน
มีความคิดที่จะสร้างนักสันติวิธีในหน่วยงานเลย แต่ก็ไม่สามารถเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรได้
กองทัพอเมริกาก็พยายามดึงนักสันติวิธีไปคุยกับกลุ่มตาลีบัน
สังคมไทยก็อยู่ในระยะที่ให้โอกาสลองทำงานดู
นักสันติวิธีก็มีจรรยาบรรณ
- Do no harm
- ไม่ใช่เรื่องของมือสมัครเล่น
- มีเครือข่าย ปรึกษาหารือกัน - Networking & Consultation (แต่วงการสันติวิธีทุกประเทศจะหวงงาน…ปัญหาอยู่ที่เงิน)