พูดคุยกับชาวบ้านที่สวนผึ้ง

โดย จอมป่วน เมื่อ 12 กันยายน 2011 เวลา 23:13 ในหมวดหมู่ การจัดการขยะมูลฝอย, จอมป่วน #
อ่าน: 4089

หลังจากที่ภาคประชาสังคมเล่าเรื่องราวของสวนผึ้งจากมุมมองของชาวบ้าน  ซึ่งก็แตกต่างไปจากมุมมองของผู้ประกอบการ  วันรุ่งขึ้นก็จะได้ฟังจากภาคราชการ

เริ่มเปิดประเด็นโดย พล.ต.ต. นายแพทย์ อรรถพันธ์ พรมณฑารัตน์ รองนายแพทย์ใหญ่ โรงพยาบาลตำรวจ

ดูจาก VDO มีการทำฝายชะลอน้ำ แล้ววางท่อนำน้ำไปใช้  เป็นการโขมยน้ำไปใช้  ทำไมจัดการไม่ได้  หลักฐานเห็นชัดๆ  เห็นมีตั้ง 4 ท่อ

ณัฐสม ตังเดชะหิรัญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สเปคการ์ด จำกัด

ณัฐสม1

ในพื้นที่สวนผึ้งขุดบาดาลในพื้นที่ได้ไหม?  ทำไมต้องพึ่งน้ำตกอย่างเดียว

นิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล

นิชา

อยากให้คุณพรทิพย์เล่าเรื่องแผนการจัดการน้ำตกเก้าชั้นให้ฟัง  เพราะทราบมาว่าเป็นการจัดการโดยชุมชนเอง

คุณพรทิพย์ สำเภา

การนั่งพูดคุยกัน  การทำความเข้าใจกันสามารถแก้ปัญหาได้  เช่นในช่วงสงกรานต์  ก็พูดคุยกันสามารถแบ่งน้ำมาใช้ช่วงที่นักท่องเที่ยวเข้ามามากๆได้

คุณสมศักดิ์ เหลืองจรุงรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสวนผึ้ง

การใช้น้ำตกมีการใช้มาเดิม  แต่ในอนาคตคงจะเป็นเรื่องที่ต้องพูดคุย  ตกลงกติการ่วมกัน  ขอความเห็นของคนในหมู่บ้าน  ทาง อบต. ก็พยายามบริหารจัดการน้ำอยู่  มีแผนงานที่จะก่อสร้างบ่อเก็บน้ำเพื่อนำมาทำประปาผิวดิน

ดร. แสนศักดิ์ ศิริพานิช รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและชุมชนสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

แสนศักดิ์1

เห็นด้วยที่ว่าเรื่องผลประโยชน์เป็นเรื่องที่ตกลงกันยาก  เรื่องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติก็จะมีปัญหาทั่วประเทศ  ทั่วโลก  การใช้ข้อกฏหมายก็มีปัญหา

มีประสบการณ์กับการวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วม  การจัดการตนเอง  คิดว่ามาถูกทางแล้วที่พยายามหาข้อยุติ  มีการจัดการเจรจาพูดคุยกัน  มีการพัฒนากลุ่มอาชีพ  เห็นความสำคัญกับการให้การศึกษากับคนรุ่นใหม่  และเยาวชน

เห็นด้วยอย่างยิ่งที่มีการฝึกมัคคุเทศน้อย  ใช้การท่องเที่ยวนำ  generation นี้เราขัดแย้งกันก็จริง  เราต่อสู้กันในข้อกฏหมาย  แต่ไม่อยากให้ข้อขัดแย้งนี้ลงไปสู่เยาวชน  ให้ทำงานอย่างสร้างสรร  ใช้การท่องเที่ยวเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติ

ชอบที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแนวคิดให้ชุมชนช่วยจัดการ

พ.ต.ท. วิชัย สุวรรณประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม

วิชัย1

ค่อนข้างเป็นห่วงสวัสดิภาพของนักต่อสู้ด้านสิ่งแวดล้อม  ไม่ทราบว่าในกรณีที่ถูกทำร้าย  มีการดำเนินคดีหรือไม่? อย่างไร?  เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามาช่วยเหลืออย่างไรบ้าง?  กลุ่มของเราก็มี network มีผู้ใหญ่หลายท่าน มีนายพลตั้งสองสามท่าน  น่าจะมีการประสานงานที่จะดูแล

อยากทราบว่าสำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา  กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม  มีบทบาทที่จะช่วยเหลืออย่างไร?

ปิติกาญจน์ สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา  กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ  กระทรวงยุติธรรม

ก็อยากถามคุณพรทิพย์อยู่เหมือนกันว่ามีการแจ้งความดำเนินคดีมั๊ย?  เรื่องที่ถูกทำร้าย  และได้รับการเยียวยาอย่างไรบ้าง?

คุณพรทิพย์ สำเภา

ก็แจ้งข้อหาพยายามฆ่า  ตอนนี้ก็มีคดี 2 คดี  คือคดีแพ่งวันที่ 31 นี้จะขึ้นศาล  ส่วนคดีอาญา  อัยการสั่งฟ้องแล้ว  จะขึ้นศาลประมาณเดือนตุลาคม

ดร. สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร

เรื่องน้ำตก เอกชนไม่สามารถนำไปใช้ได้  อยากจะนำเสนอว่าน่าจะทำประชาคมเพราะคนในพื้นที่น่าจะรู้เรื่องดีที่สุด  อีกประเด็นหนึ่งที่นั่งรถผ่านมาเห็นท่อน้ำประปาขนาด 1 นิ้ว สีฟ้า  อยู่ในท่อน้ำทิ้งขนาดประมาณ 5 นิ้ว  ซึ่งเป็นการที่ไม่ถูกต้อง  แสดงว่าการบริหารน้ำยังไม่ชัดเจน  ขอช่วยแก้ไขในเรื่องนี้ด้วย

วิชชุกร คำจันทร์ นักบิน บริษัทการบินไทย จำกัด

เท่าที่รับฟังมารู้สึกว่าปัญหาและความขัดแย้งในพื้นที่ซับซ้อนมาก  เป็นเรื่องการแย่งชิงทรัพยากรน้ำและที่ดิน  จุดที่อยากจะเสนอแนะและขอทราบความเห็นของคนที่อยู่ในพื้นที่ก็คือ  ในภาพรวมมีความขัดแย้งสูงในการแย่งชิงทรัพยากรในพื้นที่  และการจัดการก็เกี่ยวข้องกับกฏหมายและข้อบังคับหลายตัว

เรามาหยุดปัญหานี้ก่อนในเชิงอนุรักษ์จะดีไหม?  เช่น จำกัดจำนวนรีสอร์ทที่จะเข้ามาเปิดในพื้นที่ของอำเภอสวนผึ้ง  ในขณะเดียวกันถ้าจำกัดในส่วนนี้ไม่ได้  เราก็ลองดูที่จำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาในสวนผี้งนี้ว่าควรจะให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามากี่คน  เพื่อที่ว่าเราจะสามารถบริหารจัดการทรัพยากร  ในเรื่องของการขาดแคลนน้ำ  ให้มันมีประสิทธิภาพ  ไม่เกิดปํญหาการขาดแคลนน้ำที่กำลังรุนแรงในภายหลัง  ไม่ทราบว่าองค์การบริหารส่วนตำบลมีนโยบายจะจำกัดจำนวนของรีสอร์ทของสวนผึ้งที่จำนวนเท่าไหร่?  และจะจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในสวนผึ้งจำนวนเท่าไหร่?

ครูวุฒิ บุญเลิศ

อยากให้คำนิยามกับคำบางคำ  เอกสารรายงานของอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน  รายงานจะพูดถึงการปฏิบัติการที่ผ่านมา  กล่าวถึงชนกลุ่มน้อย  และชนกลุ่มน้อยที่เกี่ยวข้องกับ KNU มียาเสพติด  เป็นแหล่งพักพิง  มีการพูดถึงกะหร่าง  กะหร่างก็คือกะเหรี่ยง

พอใช้คำว่าชนกลุ่มน้อยมันไม่มีสัญชาติ  พอโยงกับ KNU  และเหตุผลอื่นๆก็จะนำไปสู่ความรุนแรง  พี่น้องแก่งกระจานตั้งแต่ที่ ฮ. ยังไม่ตก  ในวันที่บ้านเรือนถูกเผา เหตุการณ์เป็นอย่างไร?  เด็กบอกว่าเขาเอาหนูขึ้น ฮ.  ฮ.ยังไม่ทันขึ้นจากพื้นดิน บ้านก็มีเสียงดังเปรี๊ยะๆ  เพราะถูกไฟไหม้  พยายามหาข้อมูลต่างเพื่อเปิดให้สังคมได้รับทราบ  เพื่อให้รู้ว่าเราจะแก้ปัญหาจุดนี้อย่างไร?

คนกะเหรียงอยู่มาแต่ดั้งเดิม  มีสองกลุ่ม  กลุ่มหนึ่งถูกคนอื่นเรียกว่ากะหร่าง  ก็คือกะเหรียง  อยู่ตรงนี้มาร้อยกว่าปี  ก่อนจะประกาศอุทยานปี 26  คนเหล่านั้นมีอยู่แล้ว  ปี 12  รัฐบาลถือชาวเขาทั่วประเทศว่าเป็นประชากร

ปัญหาคือ

1. รัฐไม่เข้าใจวิถีชีวิตของชุมชนและวัฒนธรรม

2. รัฐไม่เข้าใจประวัติศาสตร์ของชุมชน  ของคนที่นั่น

3. การใช้นัยยะของคำว่าชนกลุ่มน้อยก็ดี  หรือคำว่าไร่เลื่อนลอยก็ดี  ซึ่งสร้างความชอบธรรมกับการจัดการ  ซึ่งจัดหนัก ซึ่งทางอุทยานฯ ต้องไปชี้แจงกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน  หัวหน้าส่วนที่ไปปฏิบัติการในวันนั้นต้องไปชี้แจง

เมื่อปี 38  อพยพเขาลงมา  แต่ไม่จัดที่ทำกินให้  เมื่อไม่มีที่ทำกิน  คนเหล่านั้นจะอยู่กันอย่างไร?  เขาก็ต้องกลับไปที่เดิม  พอกลับไปที่เดิมก็ทำผิด พรบ. ป่าไม้  จริงๆก่อนที่จะประกาศเป็นอุทยาน  เขาอยู่ก่อนแล้ว  การบูรณาการการแก้ปัญหาความขัดแย้งเรื่องที่ดินที่ทำกิน ทุกภาคส่วนต้องเข้ามาช่วยกันแก้

ปีที่แล้ว คณะกรรมการฟื้นฟูวิถีชีวิตกะเหรี่ยง  ทุกจังหวัดที่มีกะเหรียงต้องมีคณะกรรมการฯ  ผู้ว่าฯ เป็นประธาน  แต่ก็ยังไม่มีการขับเคลื่อน

อุ้มผางตั้งแต่แม่ระมาด  ท่าสองยาง  สังขละ ทุ่งใหญ่  แก่งกระจาน ป่าละอู ฯ คนกะดหรียงอยู่มาเกือบสองร้อยปี   ถ้ากะเหรี่ยงอยู่แล้วป่าหาย  มันหายไปนานแล้ว  แต่ระบบการผลิตที่เรียกว่าไร่หมุนเวียน  คือไม่โค่นทิ้งทั้งหมด  ไม่ขุดรากถอนโคน  ไม่นานป่ามันก็ฟื้นขึ้นมาใหม่  การผลิตก็ไม่ได้ผลิตเพื่อขาย  ป่าก็ฟื้นตัวได้  มันถูกตอกย้ำด้วยคำว่าไร่เลื่อนลอย  เป็นวาทะกรรมที่รัฐใช้เป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรม

การทำงานเพื่อแก้ไขปัญหา  ขาดมิติของภาคประชาชนที่จะเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหา  มีการมองกะเหรี่ยงเหมือนไม่ใช่คน  ความไม่เข้าใจในพหุวัฒนธรรม  มายาคติต่างๆ  การรู้สึกติดยึดในความเป็นชาติจนลืมความหลากหลายทางวัฒนธรรม  ทำให้เลือกปฏิบัติ

เรื่องสวนผึ้ง  พูดถึงเรื่องแม่ค้าน้ำตก  มีคนทำนา  ทำการเกษตร  ใช้น้ำจากลำห้วย  เดิมเป็นคนต้นน้ำ  แต่ตอนนี้รีสอร์ทเข้ามา  คนทำรีสอร์ทเป็นคนต้นน้ำ  คนใช้น้ำเพื่อธุรกิจอย่างหนึ่ง  กับคนใช้น้ำเพื่อทำนา ปลูกพืช  ปัญหาก็เกิดขึ้น  คนทำการเกษตรก็มีปัญหาการช่วงชิงน้ำด้วยเหมือนกัน

ปีที่แล้วมีการเดินสำรวจน้ำกัน  ไปกับ ตชด. ไปกับทหาร เจอฝายน้ำธรรมชาติ  ฝายน้ำคอนกรีตขวางลำน้ำของผู้ประกอบการบ้านพักและรีสอร์ท  เราเจอสิ่งที่ยิ่งใหญ่เกินกว่าที่เราจะจัดการ  ปัญหามันใหญ่เกินไป  เกินกว่าที่องค์กรเหล่านี้จะแก้ไข   ภาคประชาสังคมกับท้องถิ่น  เชื่อมโยงกับที่ราชบุรี  เชื่อมโยงกับสื่อ  หรือการที่นักศึกษาได้เข้ามาเรียนรู้ปัญหาน่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างความตระหนักรู้

สวนผึ้งถ้าไม่มีวิกฤตขึ้นมา  โครงการใหญ่ๆที่สำคัญก็จะไม่มี  ถ้าไม่มีโครงการเหล่านี้  คนในประเทศจะไม่เห็นสวนผึ้ง  โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ของสมเด็จพระราชินี  โครงการของสมเด็จพระเทพฯ  กำลังบ่งบอกถึงวิกฤตของสวนผึ้ง  จะอยู่กันไม่ได้แล้ว  ถ้าวิกฤตประชาชนสวนผึ้งจะอยู่กันอย่างไร?

คุณสมศักดิ์ เหลืองจรุงรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสวนผึ้ง

คนที่มาที่นี่ก็เป็นห่วงสวนผึ้งว่าจะเป็นแบบปายหรือที่อื่นๆหรือเปล่า?  การท่องเที่ยวบูมก็เกิดปัญหา  การจำกัดจำนวนรีสอร์ท  จำนวนนักท่องเที่ยวคงทำไม่ได้  แต่คงจัดโซนนิ่งได้  คงต้องใช้หลายหน่วยงานมาช่วยจัดโซนนิ่ง

ทั้งอำเภอ  ทั้งจังหวัดและหน่วยงานทหารที่ดูแลพื้นที่  กรมธนารักษ์  คงต้องมีการคุยกันในเรื่องเหล่านี้   คนเข้ามาท่องเที่ยวเยอะ  การกินการใช้ก็เยอะ  ขยะมูลฝอยก็เยอะ  จะมีการจัดการขยะมูลฝอยเหล่านี้อย่างไร?  ที่นี่ก็มีแผนงานอยู่  จะให้มีการคัดแยกขยะ  ให้ชุมชนมีส่วนร่วม  ส่วนไหนที่นำไปขายได้  ส่วนไหนที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้   ส่วนไหนที่นำมาทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

รวมทั้งป่าด้วย  ถ้าให้รัฐดูแลฝ่ายเดียว  ป่าก็หมดไปเรื่อยๆ  ตราบใดที่ชุมชนไม่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ปกป้องผืนป่าจะไม่ได้ผล  การปลูกป่าก็ไม่ได้ผล  อยู่มา 12 ปี  มีหน่วยราชการหลายแห่งมาปลูกป่า  มาปลูกกันในหน้าแล้ง  ใครจะมาดูให้  น้ำก็ไม่มีรด  แถมปลูกทีไรก็ต้องปรับพื้นที่ใหม่  แทนที่ป่าจะอยู่  ป่ากลับหายไปเรื่อยๆ  แต่ถ้าเป็นป่าชุมชน  ป่าก็จะฟื้นตัวได้  ไม่ต้องปลูกป่าใหม่

ผศ. ว่าที่ ร.ต. สุรพล สินธุนาวา อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์  สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์

อยากแนะนำว่า  คดีของคุณพรทิพย์  การดำเนินคดีพยายามฆ่าและเรื่องคดีแพ่งเรื่องละเมิดที่แยกฟ้องกันอยู่  ควรเอาคดีแพ่งขอเข้ามีส่วนร่วมกับอัยการ รวมเป็นคดีเดียว

Post to Facebook Facebook

« « Prev : สวนผึ้ง - จากมุมมองภาคประชาสังคม (2)

Next : ถอดบทเรียนการศึกษาดูงานภาคกลาง (1) » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "พูดคุยกับชาวบ้านที่สวนผึ้ง"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.79575300216675 sec
Sidebar: 0.34662199020386 sec