สวนผึ้ง - จากมุมมองภาคประชาสังคม (2)
อ่าน: 1755คุณพรทิพย์ สำเภา
เคยทำงานด้านทรัพยากรที่ กทม. มาสิบกว่าปี น้ำเป็นสิ่งที่เย็น แต่เป็นประเด็นที่ร้อนที่สุด งานด้ารรณงค์ที่กรุงเทพฯ เครียด รู้สึกว่าชีวิตเสียสมดุล อย่างอยู่อย่างสงบสุขที่ราชบุรี สามีเป็นคนที่นี่ เคยมาเห็นที่นี่เมื่อเจ็ดแปดปีก่อน มาเริ่มทำไร่
พอมาอยู่รู้สึกว่ามีปัญหามาก น้ำประปาก็ไม่ถึง ต้องไปหิ้วน้ำจากอ่างเก็บน้ำ เลยคิดว่าทำไมไม่ทำอะไรสักอย่างเพื่อคนที่นี่ เลยนั่งคุยกับพี่ๆ เพื่อนๆ รวมทั้งหัวหน้าสุเทพที่โครงการอุทยานฯด้วย มีปัญหาเรื่องไฟป่า ทำอย่างไรที่จะให้ชาวบ้านรู้สึกว่าไฟป่าเป็นปัญหาของเขา ต้องเข้ามาช่วยกันดูแล
ตัวเองมาอยู่ที่นี่ มาทำไร่ มาค้าขาย เริ่มมีความรู้สึกว่าเราจะอยู่ที่นี่ได้อย่างไรถ้าคนที่มาเที่ยวที่นี่ มาเที่ยวธรรมชาติ เรามีอาชีพค้าขาย แต่ธรรมชาติมันไม่น่าเที่ยว แล้วลูกเราจะอยู่กันได้อย่างไร?
เลยคิดที่จะช่วยกันดูแลทรัพยากรธรรมชาติ เลยรวมกลุ่มกัน ต่อมาก็เกิดพัฒนาเป็นโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ให้ชาวบ้านศึกษาปัญหาของตัวเอง หาทางออกปัญหาของตัวเอง เริ่มพูดคุยกับชาวบ้าน ศึกษาประวัติศาสตร์ จากคนที่มาอยู่ใหม่ เข้าไปรู้จักชาวบ้าน ให้เขาเริ่มคิด เริ่มตั้งคำถามกับปัญหาที่เกิดขึ้น
ขายของอยู่ที่น้ำตก ก็ชวนกลุ่มแม่ค้าคุยว่าถ้าน้ำตกเจ๊ง เราที่ค้าขายอยู่ที่น้ำตกจะโดนเป็นคนแรก ที่นี่ใช้น้ำประปาเป็นพื้นฐาน ใช้ทำการเกษตรน้อยมาก ต่างจากสังคมทางภาคเหนือที่มีระบบเหมืองฝาย ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับน้ำจะมีการรวมตัวกันเพื่อแก้ปัญหา
แต่ที่นี่ความเชื่อมโยงของน้ำกับคนอาจจะไม่แน่นเหมือนกับทางเหนือ กลุ่มแม่ค้าที่น้ำตกนี่แหละจะสัมพันธ์กับปัญหาของน้ำตก ถ้าน้ำไม่มีจะเป็นคนแรกที่เดือดร้อน เลยเป็นการทำงานของคนสองกลุ่ม คือกลุ่มชาวบ้านที่ทำการศึกษาวิจัยกับกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าน้ำตกซึ่งคิดแต่ปัญหาการค้าขาย แต่ก็มีคนว่า ยังไม่เป็นไข้แต่ก็กินยาพาราซะแล้ว ยังมองว่าปัญหาการขาดแคลนน้ำเป็นเรื่องการคาดเดา ต้องพยายามทำให้เห็นความเชื่อมโยง เพราะมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก
ปี 53 ต้องยอมรับว่าแล้งมากๆ ปกติยังไงๆน้ำตกก็มีน้ำ แต่ปี 53 น้ำตกชั้นล่างไม่มีน้ำ เลยมีการพูดคุยกันว่าจะหาทางออกกันอย่างไร คุณวิเชียรก็มาจัดเวทีสภาพลเมือง เลยนำเสนอปัญหาของเราเข้าสู่สภาพลเมือง มีการพูดถึงแนวทางและกลไกที่จะหาทางออกของปัญหา
ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนเรื่องน้ำ อำเภอสวนผึ้ง นายอำเภอเป็นประธาน พรทิพย์เป็นเลขาฯ เป็นงานที่ยาก กว่าจะประชุมได้แต่ละครั้ง ตอนนี้ก็ประชุมไปได้แค่ 2 ครั้ง
ทางนายก อบต.ก็ตั้งคณะทำงานชุดเล็ก เรียกว่าคณะทำงานบริหารจัดการน้ำตกเก้าชั้น มีแม่ค้า มีชาวบ้าน มีผู้นำหมู่บ้านเข้ามาเป็นคณะทำงาน เป็นลักษณะการจัดการเชิงพื้นที่ มีการเก็บรายละเอียดของน้ำตก เป็นจุดเริ่มต้นที่ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลน้ำตก
การจัดการน้ำตกที่อื่นอุทยานเป็นผู้ดูแล แต่ที่นี่ขอบเขตของน้ำตกก็ไม่ชัดเจน ก็ต้องเริ่มด้วยการจัดการพื้นที่ เลยมีปัญหาประสบอุบัติเหตุ (ถูกรถไล่ชนจนบาดเจ็บ)
การทำงานบางครั้งก็ท้อ ต้องเปลี่ยนตัวเองก่อน แผนการฟื้นฟูน้ำตก ปลูกป่า จัดสร้างฝายชะลอน้ำ เพื่อจัดระเบียบการใช้น้ำตกร่วมกับหน่วยงานต่างๆ อยากมีส่วนร่วมในการคิดโครงการร่วมกัน ทำงานร่วมกัน
ตัวแทนอุทยานธรรมชาติวิทยาตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
เป็นมุมมองของหน่วยงานที่ไม่มีส่วนได้เสีย สมเด็จพระเทพฯ โปรดให้มีการอนุรักษ์และศึกษาวิจัยในบริเวณนี้ โครงการนี้มีผู้ใหญ่ของประเทศเป็นกรรมการ มีแผนฟื้นฟู แผนป้องกัน
โครงการของสมเด็จพระเทพฯ ส่วนมากเป็นโครงการเชิงบวก แต่ที่สวนผึ้งที่มีเจ้าของหมด ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่ขากประชาชนฝ่ายเดียว แต่จะเป็นนายทุน ผลประโยชน์ ส่วนราชการ
งานที่สวนผึ้งไม่ใช่เรื่องหมูๆ เอาไม่อยู่ เช่นทางราชการจะจับคนตัดไม้ ก็จะบอกว่าโครงการฯ ให้มาจับ โครงการฯ ต้องปรับตัวให้เป็นเรื่องของการศึกษา
ที่โครงการฯ เป็นห่วงก็คือเรื่องที่เครือข่ายประชาสังคมที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมถูกคุกคาม
ประชาชนในพื้นที่อาจไม่เข้าใจแนวทางการทำงานของโครงการฯ
กำนันตำบลสวนผึ้ง
น่าจะมีการพิสูจน์สิทธิ แล้วดำเนินการตามกฏหมาย ปัญหาอยู่ที่การเช่า สัญญามีอายุการเช่าสั้นไป
ปัญหาโฉนดชุมชน ก็ต้องเช่าเหมือนกัน จะทำอะไรก็ต้องผ่านคณะกรรมการที่มีฝ่ายราชการและทหาร
« « Prev : สวนผึ้ง - จากมุมมองภาคประชาสังคม
Next : พูดคุยกับชาวบ้านที่สวนผึ้ง » »
ความคิดเห็นสำหรับ "สวนผึ้ง - จากมุมมองภาคประชาสังคม (2)"