Facilitation Lab - สถาบันพระปกเกล้า–4 การออกแบบหลักสูตรหรือกิจกรรม
อ่าน: 3485อีกกิจกรรมหนึ่งที่ได้ฝึกฝนเป็นกิจกรรม Open Space มั่วๆไปกับ Caravan สิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือดังกล่าวยังคิดไม่ออก แต่ปิ๊งกับเรื่องการออกแบบกิจกรรมที่อาจารย์ให้เป็นโจทย์ในการทำกิจกรรม คือมีคนสนใจประเด็น Civic Education ที่นำเสนอไว้ จึงได้รับเลือกเป็นประเด็นหนึ่งที่อาจารย์ให้ไปพูดคุยกันเพื่อหาว่าจะดำเนินกิจกรรมอย่างไร? ใครเป็นคนทำ? เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับ Backward Design คือให้เราเริ่มจากสิ่งที่ต้องการก่อน แล้วค่อยออกแบบกิจกรรมเพื่อให้ได้ผลตามที่ต้องการ ทำให้ปิ๊งว่าพวกเราชอบโดดไปคิดกิจกรรมเลยทั้งๆที่สิ่งที่ต้องการยังไม่ชัดเจนนัก เวลาวางแผนกันแล้วนำไปปฏิบัติก็เลยเกิดปัญหามาก เพราะสิ่งที่ต้องการในใจของแต่ละคนไม่เหมือนกัน จำเป็นต้องพูดคุยกันให้เกิดความชัดเจน เห็นด้วยกันก่อน (Shared Vision)
นอกจากนี้ยังต้องจัดเรียงกิจกรรม (หรือหัวข้อ วิชาที่จะเรียนรู้กันในกรณีที่เป็นหลักสูตรฝึกอบรม) ตามลำดับขั้นตอนที่จะเอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น
เริ่มด้วยกิจกรรมละลายพฤติกรรม (Ice Breaking) ซึ่งอาจใช้ Speed Dating ในการอบรมครั้งนี้
ตามด้วยกิจกรรมความคาดหวัง แจ้งกฏกติกาการอยู่เพื่อเรียนรู้ร่วมกัน
กิจกรรมหรือหัวข้อวิชาที่จะเรียนรู้กันก็จะต้องออกแบบให้สัมพันธ์กัน อะไรก่อนหลัง ที่เรียนรู้ก่อนจะช่วยให้เข้าใจกิจกรรมที่ตามมา ที่สำคัญคือต้องตอบโจทย์คือบรรลุเป้าหมาย ได้สิ่งที่เราต้องการ
ซึ่งก็ได้ออกแบบไว้ว่าสิ่งที่เราต้องการจาก Civic Education คือต้องทำให้ประชาชนคนไทยเป็นพลเมืองที่เหมาะสมกับระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (สมมติว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฏหมายจนเป็นที่พอใจตามที่เข้าใจร่วมกัน จะได้ไม่ต้องหลงประเด็นมาพูดเรื่องนี้อีก)
ก็จะเริ่มที่การพูดคุยรอบแรกจะคุยกันว่าปัจจุบันคนไทยเป็นอย่างไร? มีอะไรที่เหมาะสม มีอะไรที่ไม่เหมาะสมกับระบอบประชาธิปไตย
รอบที่สองก็จะคุยกันว่า พลเมืองที่่หมาะสมกับระบอบประชาธิปไตยควรมีคุณสมบัติอย่างไร?
รอบที่สามก็จะคุยกันว่าแล้วจะทำอย่างไร? ใครเป็นคนทำ
การออกแบบกิจกรรมมาชัดเจนอีกครั้งในกิจกรรมประชาเสวนาหาทางออก (Public Deliberation) ของอาจารย์ชลัท ประเทืองรัตนา
ประชาเสวนาหาทางออก อาจารย์ตั้งหัวข้อ “ ท่านอยากเห็นอนาคตการเมืองไทยเป็นเช่นใด?” อาจารย์ออกแบบให้แบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มที่เล็กลงเพื่อให้คุยกันง่ายขึ้น แล้วให้แต่ละกลุ่มนำมาเสนอในกลุ่มใหญ่ จะได้เสวนาร่วมกันเพื่อหาฉันทามติ
แล้วจึงแบ่งกลุ่มใหม่เพื่อหา “วิธีการเพื่อนำไปสู่อนาคตการเมืองไทยที่พึงปราถนา และหาคนที่จะรับผิดชอบดำเนินการด้วย” แล้วจึงนำมาเสนอต่อกลุ่มใหญ่และหาฉันทามติ จะได้วิธีการและองค์กร หน่วยงานที่จะดำเนินการต่อไปให้บรรลุความต้องการที่ทุกฝ่ายยอมรับ
« « Prev : Facilitator Lab - สถาบันพระปกเกล้า–3 World Cafe
Next : Facilitation Lab - สถาบันพระปกเกล้า – 5 บรรยากาศการอบรม » »
ความคิดเห็นสำหรับ "Facilitation Lab - สถาบันพระปกเกล้า–4 การออกแบบหลักสูตรหรือกิจกรรม"