บ่อน้ำ

อ่าน: 4443

ไม่มีน้ำ แย่แน่ครับ แต่น้ำที่จัดหามาเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นน้ำผิวดินอย่างเดียว

ในรัฐราชาสถานในอินเดีย ใกล้เมืองชัยปุระ มีบ่อน้ำซึ่งสร้างมาประมาณพันสองร้อยปีแล้ว ชื่อว่า Chand Boari เป็นบ่อหินยาปูน ลึกรอยฟุต ประมาณตึก 13 ชั้น ผนังชัน สร้างบันได 3500 ขั้นให้คนเดินลงไปตักน้ำ ดูรูปเพื่อความเข้าใจดีกว่าครับ

[รูปอีกเยอะแยะเลย]

อ่านต่อ »


กระถางที่ไม่ต้องรดน้ำ

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 16 February 2011 เวลา 0:46 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 12780

กระถางนี้ เป็นการเอาวัสดุเหลือใช้มาทำเล่น เชื่อว่าไม่มีน้ำเหลือเกินกว่าที่จะเป็นต้องใช้

เริ่มต้นที่ขวดพลาสติกเหลือใช้ครับ

เป็นขวดเป็ปซี่แม็กซ์ขนาด 1.25 ลิตร ซึ่งหมดแล้ว ขวดนี้มีลักษณะพิเศษคือตรงฉลากสีดำๆ แคบกว่าส่วนหัวและส่วนก้นขวด ซึ่งมีลักษณะป่องออกเล็กน้อย

เอาคัตเตอร์ มีด หรือกรรไกรตัดตรงของของฉลากพลาสติกทั้งด้านบนและล่าง ก็จะได้พลาสติกสามส่วน

อ่านต่อ »


ปลูกผักในกระถางเพื่อการรีไซเคิลน้ำ

อ่าน: 5765

พืชผักที่เป็นอาหารมักเป็นพืชล้มลุก — ในเมื่อเป็นพืชล้มลุก รากก็ไม่ไชลงลึก แต่มักเป็นรากฝอยอยู่บริเวณผิวดิน แต่เพราะว่ารากแผ่อยู่ตื้น จึงหาน้ำได้น้อย ประกอบกับแดดเผาผิวดิน พืชผักจึงต้องการน้ำมากพอสมควร จึงจะเติบโต

เราเอาผักมาปลูกในกระถางก็ได้ น้ำส่วนเกินที่รดให้แก่ผัก ซึ่งซึมลงเกินความลึกของราก สามารถนำกลับมารดใหม่ผ่านทางรูก้นกระถางได้ แต่ว่ามูลค่ากระถาง ก็ดูจะไม่คุ้มราคาผักอยู่แล้ว

บันทึกนี้เสนอความคิดบ้าบอ ให้เอาแผ่นพลาสติก (มีขนาด 48- 54- และ 72 นิ้ว; ยาว 40 50 และ 60 หลา) — ยกตัวอย่างเช่น ขนาดกว้าง 4.5 ฟุต ยาว 120 ฟุต ราคา 110 บาท — แขวนปลายตามแนวยาว เป็นรางที่มีหน้าตัดเป็นรูปตัว V เอาดินใส่ตรงกลางเพื่อปลูกผัก ในที่สุด น้ำที่รดลงในราง จะไหลไปรวมกันที่ก้นตัว V ซึ่งถ้าเอียงเล็กน้อย เราก็ไปดักน้ำที่ปลาย แล้วนำน้ำมารดผักใหม่ได้

อ่านต่อ »


น้ำใต้ดิน

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 5 February 2011 เวลา 14:41 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 3547

รูปนี้ เคยเอามาให้ดูครั้งหนึ่งแล้ว ซึ่งเป็นความจริงอันโหดร้ายว่าเราใช้แต่น้ำผิวดินซึ่งมีอยู่น้อยมากครับ

ตามพรมแดนธรรมชาติที่ใช้สันปันน้ำแบ่งเขตแดน เช่นตั้งแต่ อ.สิรินธร อุบลราชธานี จน อ.กาบเชิง สุรินทร์ มีภูเขาเป็นพื้นที่รับน้ำ มีต้นไม้บนภูเขาบางส่วนชะลอน้ำไว้ ทำให้น้ำฝนที่ไหลมาตามความลาดเอียงของภูเขา ซึมลงใต้ดินได้บ้าง กลายเป็นน้ำใต้ดิน สามารถเอามาใช้ได้

อ่านต่อ »


แสงแดดฆ่าเชื้อโรค

อ่าน: 7807

จากบันทึก [น้ำท่วมกลับไม่มีน้ำดื่ม] เมื่อสองเดือนก่อน เป็นโศกนาฏกรรมทีเดียว ที่มีน้ำเต็มไปหมด แต่กลับเอามาดื่มไม่ได้ ต้องขนน้ำดื่มจำนวนมากมาเป็นระยะทางเป็นร้อยกิโลเมตร

ในบันทึกนั้น มีข้อเสนอสร้างเครื่องกรองเซรามิค (ดินเผานั่นแหละครับ แต่เรียกให้เท่) แต่เค้าใช้ซิลเวอร์คอลลอยด์ทาที่ผิวให้ซึมลงไปในเนื้อของฟิลเตอร์ เพื่อไปฆ่าเชื้อโรค แต่วิธีนี้มีปัญหาในการเตรียมสารละลาย ทั้งความเข้่มข้น และการทดสอบ ตลอดจนมาตรฐานความปลอดภัยต่างๆ ซึ่งควรทำให้ผ่านด้วย… ไม่ใช่เลี่ยงบาลี แบบที่พนักงานขายตรงบางคน ขายเครื่องกรองน้ำ แล้วบอกว่าลูกค้าเอาน้ำไปดื่มเอง ตัวเครื่องกรองน้ำไม่ใช่เครื่องกรองน้ำดื่ม แต่ทั้งนี้ก็ไม่มีคำเตือนใดๆ ทั้งที่กล่อง ที่ตัวภาชนะ และในคู่มือ… เครื่องกรองน้ำแบบ RO ใช้ไม่ได้หากน้ำไม่มีแรงดันนะครับ

ปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดสะอาดสำหรับบริโภค นับวันมีแต่จะรุนแรงขึ้น

นอกจากการกรองสีและสารแขวนลอยแล้ว ก่อนจะนำน้ำไปบริโภค ก็ต้องฆ่าเชื้อโรคเสียก่อน

สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีน้ำแห่งชาติ สวิสเซอร์แลนด์ ได้คิดวิธีการง่ายๆ เรียกว่า SODIS (Solar Water Disinfection) โดยการเอาน้ำใส่ขวดใส ตากแดดไว้หกชั่วโมง ปล่อยให้รังสี UVA ในแสงแดดฆ่าเชื้อโรค

ง่ายๆ แค่นั้น!

อ่านต่อ »


ไขความมหัศจรรย์ของต้นไม้กับน้ำและภาวะโลกร้อน

อ่าน: 5040

คงเคยได้ยินนะครับ ว่าใช้ช่วยกันปลูกต้นไม้ ลดโลกร้อน บรรเทาน้ำท่วม บรรเทาแล้ง — สิ่งเหล่านี้ เกี่ยวพันกันบ้าง แต่ไม่ใช่ผลโดยตรงของกันและกันหรอกนะครับ

Q: ปลูกต้นไม้ ป้องกันน้ำท่วมได้หรือไม่

A: หว่า คำถามนี้ ควรตั้งสติแล้วถามใหม่ครับ

น้ำท่วมจากแม่น้ำลำคลองเกิดขึ้นจากปริมาณน้ำที่ไหลมา มากเกินกว่าปริมาณน้ำที่จะไหลผ่านไปได้ ดทำให้น้ำเอ่อขึ้นมา เมื่อเอ่อขึ้นมาเกินระดับตลิ่ง ก็เรียกว่าน้ำท่วม เมื่อน้ำท่วมในลักษณะนี้ จะปลูกต้นไม้ตรงนั้นกี่ต้น จะไม่ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมได้เท่าไหร่หรอกครับ เป็นปลายเหตุแล้วครับ

Q: แม่น้ำลำคลองเอาน้ำมาจากไหนมากมาย

A: ก็ฝนตกจะเป็นกี่มิลลิเมตรก็ตาม คูณด้วยพื้นที่ที่ฝนตก ก็จะเป็นปริมาตรของน้ำฝนที่ตกลงมา; เมื่อฝนตกลงมาเป็นน้ำ น้ำก็ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเป็นธรรมดา ค่อยๆ รวมกันทีละเล็กทีละน้อย กลายเป็นลำธาร เป็นคลอง และเป็นแม่น้ำ ถ้าฝนตกเป็นปริมาตรเยอะๆ น้ำก็จะไหลมาลงแม่น้ำลำคลองอยู่ดี

Q: เขื่อนกันน้ำท่วมได้ไหม

A: กันได้ถ้าฝนตกเหนือเขื่อน และกันได้เท่ากับปริมาตรกักเก็บที่เหลืออยู่ ถ้าน้ำมาเกินปริมาตรกักเก็บ น้ำจะล้นออกมาเอง

อ่านต่อ »


บาดาลลอยฟ้า

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 9 December 2010 เวลา 19:39 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4425

วันนี้ได้พบครูบา คุยไปคุยมา เจอเรื่องน่าสนใจครับ

ปี 2523 สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA คุณมีชัย วีระไวทยะ) ทำโครงการบาดาลลอยฟ้า Sky Irrgation Project และโครงการธนาคารผัก Vegetable Banks ซึ่งอันหลังจะไม่กล่าวถึง

เมืองไทยมีปริมาณน้ำฝนเหลือเฟือ แต่จัดการน้ำได้อย่างน่าผิดหวัง เนื่องจากปล่อยน้ำฝนที่ตกลงมาทิ้งไปหมด ไม่มีการกักเก็บไว้ ทำให้น้ำขาดแคลนในภาวะแห้งแล้ง ต้องไปซื้อน้ำจากแหล่งไกลๆ ค่าน้ำแพง ค่าขนส่งก็แพง แถมถนนเสียด้วย ได้พืชผลอะไรมา กำไรก็หายไปกับค่าน้ำและปุ๋ยหมด ยิ่งทำยิ่งจน (แต่มีรัฐบาลประชานิยม แจกสะบัด หักจากเงินหล่น เงินทอน เหลือถึงชาวบ้านมือเท่าไหร่ก็ไม่รู้ แล้งก็ได้ ท่วมก็ได้ หนาวก็คงได้อีก)

โครงการบาดาลลอยฟ้า เป็นโครงการที่ทำง่าย แต่ใครไม่ทำก็จะไม่ได้อะไร

  1. PDA มีแบบหล่อถังซีเมนต์ นั่งร้าน ซีเมนต์ เอาไปลงพื้นที่
  2. PDA สอน ชาวบ้านลงแรง หล่อถังซีเมนต์เอาไว้เก็บน้ำฝน — เมืองไทยมีปริมาณฝนตก 1,500 มม./ปี หลังคาบ้านขนาด 25 ตารางเมตร (5 x 5 เมตร เป็นหลังคาขนาดเล็กมาก อยู่กันได้สองคน) มีน้ำฝนตกลงมาบนหลังคา 37.5 ลูกบาศก์เมตร หรือ 37,500 ลิตร — ข้อมูลจากการทดลองของกองทัพเรือสหรัฐ ที่จับทหารเรือ 99 คน ใส่หลุมหลบภัย เพื่อหาปริมาณความต้องการน้ำขั้นต่ำ พบว่าโดยเฉลี่ย แต่ละคนต้องการน้ำวันละ 2.4 ลิตร (บริโภคและทำอาหาร) — ดังนั้นน้ำฝนที่เก็บไว้ จึงเป็นหลักประกันว่าจะพอประทังชีวิตรอดไปได้ หากไฟฟ้า ประปา และชลประทานหยุดชะงัก
  3. PDA ไม่ทำให้ฟรีครับ ถ้าสิ่งนี้มีค่า ก็ต้องมีราคา และใช้อย่างรับผิดชอบ; PDA ตีราคาถังละ 6,000 บาท ให้ชาวบ้านผ่อนเดือนละ 500 หนึ่งปี ผ่อนเดือนละเงินห้าร้อยบาท อยู่ในวิสัยที่ผ่อนได้ ดีกว่าโครงการไทยค๊อกแค๊กตั้งเยอะ — หกพันบาทนี่ไม่มีกำไรหรอกครับ เป็นราคาที่มีการอุดหนุนแล้ว แต่เป็นการฝึกวินัยชาวบ้านด้วย

อ่านต่อ »


แก้มลิงใต้ดิน

อ่าน: 4529

ผมเขียนที่บล็อกลานซักล้างนี้มาเกือบหนึ่งพันบันทึกแล้ว ย้อนกลับไปดูบันทึกเก่าๆ เจอเรื่องราวที่เอามาผูกกันเป็นเรื่องใหม่แล้วอาจจะเวิร์คครับ

  1. แก้มลิงต้องการพื้นที่แปลงใหญ่ แต่ในหลายปีที่ผ่านมา พื้นที่มีราคาแพงขึ้นมากเนื่องจากมีนายทุน(ไทยและต่างชาติ)กว้านซื้อ องค์กรจัดการภัยพิบัติสหรัฐ​ FEMA ซึ่งบังคับให้ทุกชุมชนทำแก้มลิง ได้กำหนดความหมายของแก้มลิง (floodway) ไว้ว่า A “Regulatory Floodway” means the channel of a river or other watercourse and the adjacent land areas that must be reserved in order to discharge the base flood without cumulatively increasing the water surface elevation more than a designated height. Communities must regulate development in these floodways to ensure that there are no increases in upstream flood elevations. For streams and other watercourses where FEMA has provided Base Flood Elevations (BFEs), but no floodway has been designated, the community must review floodplain development on a case-by-case basis to ensure that increases in water surface elevations do not occur, or identify the need to adopt a floodway if adequate information is available.
  2. ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ปีนี้มีแล้งจัด ร้อนจัด จนน้ำเกือบหมดเขื่อน! จากนั้นต่อด้วยเปียกจัด เกิดอุทกภัยขึ้นใน 51 จังหวัด มีคนได้รับผลกระทบประมาณ 9 ล้านคน คิดเป็น 13.4% ของประชากรทั้งหมด และมีแนวโน้มว่าจะต่อด้วยหนาวจัดด้วย
  3. โดยสถิติ ถึงฝนจะมาไม่ตรงเวลา ปริมาณฝนเฉลี่ยก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง — หมายความว่า เวลาฝนทิ้งช่วงจะเกิดการขาดแคลนน้ำ ส่วนเวลาฝนมาก็จะท่วม

อ่านต่อ »


มองระบบท่อระบายน้ำ

อ่าน: 4816

ท่อระบายไม่มีอะไรน่ามองหรอกครับ แต่มีแง่คิด

ท่อระบายน้ำซึ่งพบมากในเมือง เป็นท่อซึ่งลำเลียงน้ำจากที่สูงไปยังที่ต่ำ ทั้งน้ำฝนแลน้ำทิ้ง

เนื่องจากน้ำที่วิ่งผ่านเมือง จะนำความสกปรกของเมืองไปด้วย ดังนั้นระบบท่อระบายน้ำ ก็จะมีบ่อพักเป็นระยะ บ่อพักเป็นช่องเปิดให้คนลงไปบำรุงรักษาท่อได้ และเป็นบ่อดักตะกอนอีกถ่ายหนึ่ง

ดูเผินๆ ก็ดีนะครับ แต่มีสิ่งสำคัญอย่างน้องสองสิ่งที่ถูกมองข้ามไป

อย่างแรกคือท่อระบายน้ำ เคลื่อนย้ายน้ำออกไปจากพื้นที่ กลายเป็นปัญหาของพื้นที่ที่อยู่ต่ำลงไปทางปลายน้ำ เรื่องนี้เป็นการย้ายปัญหาจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

อ่านต่อ »


เหยียบเพื่อชาติ

อ่าน: 6250

เมื่อสองอาทิตย์ก่อน ผมเคยเขียนถึงปั๊มน้ำกู้ชาติ ความคิดตอนนั้นคือน้ำท่วมเป็นวงกว้างมาก มีหลายพื้นที่ที่ท่วมบ้านเรือนประชาชนแบบไม่ได้ตั้งตัว ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าฝนจะหยุดตกหรือยัง ถ้าเกิดยืดเยื้อ ก็ต้องมีพื้นที่แห้งไว้อยู่กันบ้าง ผมคิดถึงบ้านเรือนตามริมน้ำ ที่เจอน้ำทะเลหนุนแถมมีน้ำหลากมาจากทางเหนือมาผสมแรง ตั้งตัวไม่ทัน อีกอย่างหนึ่งที่น่าจะใช้ได้ก็คือเอาไว้สูบน้ำหลังแนวกระสอบทราย ซึ่งมีการรั่วได้บ้าง ใช้ปั๊มมือก็เป็นทางออกในกรณีที่ไม่มีปั๊มน้ำ หรือไม่มีน้ำมัน/ไฟฟ้าสำหรับปั๊มน้ำ

สถานการณ์ในวันนี้ต่างออกไป ถึงแม้น้ำจะยังท่วมอยู่เหมือนเดิม

น้ำท่วมวันนี้เป็นน้ำท่วมขัง จะท่วมอยู่เป็นเวลานาน ถ้าหากไม่รีบเอาน้ำออกจากพื้นที่ ก็จะทำให้ชีวิตชาวบ้านทุกข์ยาก เครียดหนัก — น้ำท่วมขังเกิดขึ้นเพราะขอบแอ่งสูงกว่าพื้นที่อื่นของแอ่ง หลายครั้งทีเดียวที่ขอบแอ่งนั่นแหละ เป็นแนวป้องกันน้ำท่วม ดังนั้นหากสร้างปั๊มที่มี head ต่ำ กล่าวคือยกน้ำขึ้นสูงได้เพียงสองเมตร แค่ยกน้ำข้ามขอบแอ่ง (เช่นข้ามถนน) แล้วปล่อยให้ไหลไปตามภูมิประเทศ ก็จะบรรเทาความทุกข์ยากลงได้บ้าง ครั้งนี้เราไม่ต้องการปั๊มแรงดันสูง แต่ต้องการปั๊มที่สูบน้ำออกได้เป็นปริมาณมากๆ

ปั๊มน้ำกู้ชาติใช้กำลังแขน ด้วยสภาพร่างกายของคน แขนทำไม่ได้นานหรอกครับ ดังนั้นจึงเหมาะกับพื้นที่เล็กๆ เช่นห้องชั้นล่าง แต่กรณีน้ำท่วมขังนั้น น้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง จะต้องถ่ายน้ำออกเป็นปริมาณมาก

อ่านต่อ »



Main: 1.1101009845734 sec
Sidebar: 0.47900605201721 sec