น้ำท่วมกลับไม่มีน้ำดื่ม (1)

อ่าน: 5265

รู้สึกติดใจกับโศกนาฏกรรมอันโหดร้ายที่เหลียวมองไปรอบตัวมีแต่น้ำ แต่ดื่มไม่ได้ ต้องขนน้ำมาจากระยะไกลหลายสิบ หลายร้อยกิโลเมตร

คืนนี้พักจากการเขียนโปรแกรม ก็เลยค้นเน็ตดูว่ามีวิธีแก้ปัญหาน้ำดื่มในเขตภัยพิบัติในประเทศอื่นบ้างหรือไม่ เลยไปเจอวิธีหนึ่ง เรียกว่า Ceramic Water Filter ครับ เรียก Ceramic Filter ฟังดูดี มีชาติสกุล เหมือนใช้ความรู้สูงด้วยนะ ที่จริงแล้วสร้างได้ไม่ยากหรอกครับ เพราะ Ceramic Filter นี้คือดินเผานั่นแหละ รูปร่างเหมือนกระถางต้นไม้แต่ไม่เจาะรูระบายน้ำที่ก้น

หลักการก็ง่ายๆ ครับ ดินเผาไม่ได้แน่นเป็นเนื้อเดียวไปหมด มันมีช่องว่างเล็กจิ๋วขนาด 0.6-3 ไมครอนที่น้ำซึมผ่านได้  ดังนั้นก็จะกรองสารแขวนลอยต่างๆ เช่นดิน ซากพืช ซากสัตว์ที่มากับน้ำ

ใช้แกลบป่นละเอียด 20% กับดินเหนียว 80% ผสมกัน 10 นาทีจนเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นผสมน้ำอีกเท่าตัวโดยปริมาตร ปั่นรวมกันไปอีก 10 นาทีก่อนนำไปปั๊มขึ้นรูป แล้วก็ผึ่งไว้ให้แห้งก่อนส่งเข้าเตาเผา

ขั้นตอนการเผา มีการไล่น้ำโดยเผาที่ 100°C ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วก็ค่อยๆเร่งเป็น 866°C กระบวนการเผาทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 9 ชั่วโมง แล้วก็ต้องปล่อยให้เตาค่อยๆ เย็นลงเองอีกประมาณ 24 ชั่วโมง

ฟิลเตอร์รูปกระถางต้นไม้ที่ได้ เอาไปแช่น้ำไว้สามชั่วโมงให้ดินเผาอิ่มน้ำ จากนั้นทดลองเติมน้ำจนเต็ม ทิ้งไว้หนึ่งชั่วโมงเพื่อวัดว่ากรองน้ำได้โอเคไหม ถ้าหากว่ากรองน้ำได้ไม่อยู่ในช่วงมาตรฐาน (มากหรือน้อยเกินไป) ก็จะถูกทำลายทิ้ง จากนั้นก็เทน้ำออก ผึ่งให้แห้ง เตรียมตัวสำหรับขึ้นต่อไป

เรื่องการฆ่าเชื้อโรค ใช้อนุภาคไอออนของเงินที่อยู่ในรูปของคอลลอยด์​ (colloid) — ฟังดูเคมี๊เคมี — ถ้าใช้คำว่า “อนุภาคซิลเวอร์นาโน” เหมือนในโฆษณาเครื่องซักผ้า ก็อาจจะรู้สึกคุ้นเคยมากขึ้นนะครับ

เค้าใช้เงินในสารประกอบซิลเวอร์นาโน 69 มิลลิกรัมต่อฟิลเตอร์หนึ่งอัน โดย 46 มิลลิกรัมทาด้านใน และอีก 23 มิลลิกรัมทาด้านนอก — โฮ่ย จะไปวัดได้ยังไง — วิธีก็ง่ายๆครับ ข้างนอกทาชั้นเดียว ข้างในทาสองชั้น; ก่อนนำไปใช้ จะต้องล้างน้ำอย่างน้อย 3 รอบเพื่อความปลอดภัยครับ

เค้าเคลมว่าเครื่องกรองน้ำวิธีนี้ ฆ่าเชื้อโรคได้ดี ฆ่าเชื่อ e.coli (ท้องร่วงอย่างแรง) ได้ 99.99% — ตัวเลขนี้มาจากห้องแล็ปครับ เวลานำไปใช้จริงๆ ต้องระวังเรื่องการล้างฟิลเตอร์ เพราะบรรดาที่โดนกรองเอาไว้ข้างใน อย่าให้เปื้อนด้านนอกซึ่งน้ำที่กรองแล้วจะซึมผ่าน

อีกเรื่องหนึ่งที่ต้องระวัง คือเครื่องกรองน้ำแบบนี้ กรองสารเคมีไม่ได้ พื้นที่ทางใต้ที่เคยเป็นเหมือง มี Arsenic เยอะอย่าใช้ พื้นที่ที่ใช้ปุ๋ยเคมีแล้วมีไนเตรทสูงก็อย่างใช้ — แล้วจะเหลือที่ไหนที่ใช้ได้หรือไม่เนี่ย เอาไว้ตัดสินใจตอนอดน้ำก็แล้วกัน

ส่วนวิธีเตรียม “ซิลเวอร์นาโน” ก็เป็นวงจรไฟฟ้าที่จ่ายกระแสคงที่ผ่าน electrode ที่เป็นเงินนะครับ กระแสประมาณ 1 mA เป็นไฟ AC ก็ได้ DC ก็ได้ มีคนลองใช้ถ่าน 9V สามก้อน จ่ายกระแส 0.75 mA ก็ได้ผลดี

« « Prev : ไอทีกับการจัดการภัยพิบัติ

Next : น้ำท่วมขัง (1) » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

9 ความคิดเห็น

  • #1 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 6 November 2010 เวลา 5:24

    ถ้ามีเมล็ดมะรุมแห้ง มาบด/ตำให้แหลกห่อผ้าไว้
    เวลาใช้เอาไปกวนน้ำ น้ำจะใสใช้อาบได้ ถ้าจะดื่มก็ต้มเสียก่อน
    แค่นี้ก็จะปะทะปะทังในยามยากได้
    เจ้าเมล็ดมะรุมฆ่าเชื้อราได้ด้วยนะ บางทีอาจจะฆ่าเชื่อโรคอย่างอื่นได้อีก อิ

  • #2 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 6 November 2010 เวลา 14:15

    น่าคิด

  • #3 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 7 November 2010 เวลา 1:57
    การไม่มีน้ำดื่มนั้น ไม่ว่าน้ำท่วมหรือไม่ท่วม ก็อาการเดียวกันหมดเลยครับ ฮี่ฮี่ฮี่
  • #4 ลานซักล้าง » อีกด้านหนึ่งของน้ำ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 16 November 2010 เวลา 15:21

    [...] อันนี้ก็น่าทำครับ [...]

  • #5 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 November 2010 เวลา 18:59
    วันนี้เจอสกัดดาวรุ่งครับ

    ผมปรึกษาน้องดู เค้าว่าน่าจะมี อย. หรือ มอก. ควบคุมอยู่ ซึ่งก็เจอจริงๆ
    มอก.2392-2551 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เครื่องกรองน้ำดื่ม
    ส่วนใหญ่ที่ขายกันในตลาด ก็ใช้วิธีเลี่ยงบาลีกัน โดยอ้างว่าเป็นเพียงเครื่องกรองน้ำ (ไม่ใช่เครื่องกรองน้ำดื่ม) แต่ผู้ซื้อเอาน้ำไปดื่มเอง ซึ่งถ้าให้เลี่ยงบาลี หรือไม่มีความปลอดภัย ก็ไม่อยากทำหรอกนะครับ แฮ่ )-;

  • #6 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 18 November 2010 เวลา 4:03
    เขียนเสร็จ น็อคไปเลย ได้นอนหัวค่ำเป็นครั้งแรกในหลายรอบเดือน ปรากฏว่ามี IM มาบอกว่าไม่น่าจะเข้าตามนิยามข้อ 2.1 ของ มอก.2392-2521 เนื่องจากมาตรฐานนั้น ใช้กับท่อจ่ายน้ำ… เออ จริงแฮะ

    ตื่นขึ้นมาก็ค้นต่อ ดู มอก.1420-2521 มาตรฐานอุตสาหกรรม ไส้กรองความขุ่นสำหรับเครื่องกรองน้ำดื่ม ซึ่งไม่เข้าเกณฑ์การบังคับโดยนัยเดียวกัน

    มาตรฐานน้ำบริโภคตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 61 (พ.ศ.2524) และฉบับที่ 135 (พ.ศ.2534) น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ก็ไม่เข้าเกณฑ์เนื่องจากไม่ได้เป็นน้ำขวดปิดผนึกขวดบรรจุ

    ดู มอก.257-2521 ดูมาตรฐานน้ำประปา มาตรฐานน้ำบาดาลที่บริโภคได้ ไม่มีอะไรตรงๆ แต่พอให้ไอเดียว่ากฏระเบียบต่างๆ ได้กำหนดมาตรฐานความปลอดภัยขั้นต่ำเอาไว้ เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ในความปลอดภัย

    เครื่องกรองน้ำนี้ กรองสารเคมีไม่ได้ แต่กรองสารแขวนลอย ฆ่า e.coli และบักเตรี ได้ด้วยซิลเวอร์นาโน ส่วนสารเคมี ขึ้นกับคุณภาพของน้ำดิบครับ เช่นห้ามเอาไปกรองบริเวณพื้นที่รับน้ำจากเหมืองเก่า ฯลฯ ทั้งหมดเพื่อพยายามหาคำตอบว่าเรื่องน้ำบริโภค เอายังไงดี (ถ้าฝนตก รองน้ำฝนไว้ ดีที่สุดครับ)

  • #7 ลานซักล้าง » แสงแดดฆ่าเชื้อโรค ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 January 2011 เวลา 2:50

    [...] [น้ำท่วมกลับไม่มีน้ำดื่ม] เมื่อสองเดือนก่อน [...]

  • #8 ลานซักล้าง » ถุงยังชีพ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 February 2011 เวลา 1:17

    [...] น้ำท่วมกลับไม่มีน้ำดื่ม [...]

  • #9 ลานซักล้าง » x ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 May 2011 เวลา 1:35

    [...] ต่อจาก [น้ำท่วมกลับไม่มีน้ำดื่ม (1)] ซึ่งใช้กระถางดินเผา [...]


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.46455311775208 sec
Sidebar: 0.20755887031555 sec