เริ่มใช้ Hit Counter

2848 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 21 มีนาคม 2015 เวลา 22:21 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 63318

บล็อกนี้ เพิ่งเริ่มใช้ Hit Counter ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 ครับ


ทดสอบ

2507 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 17 กุมภาพันธ 2012 เวลา 16:56 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 67680

ทดสอบ

คอมพิวเตอร์ผม มีไวรัสเข้ามาทาง สแปม จึงเอาไปล้างเครื่อง

เมื่อล้างหลายอย่างต้อง set ใหม่ ทำให้บางอย่างหายไปเพราะพลาดไม่ได้เก็บ

และ print ออก ไม่ได้ หอบไปให้ช่างเขาบอกทำได้ แต่ต้อง ติดตั้งโปรแกรมใหม่ ก็เท่ากับล้างเครื่องใหม่อีก วนเวียนเช่นนี้

เรื่องของเรื่องเราไม่มีความรู้ เป็นผู้ใช้อย่างเดียว

พยายาม upload ผ่าน word อย่างที่เคยทำ นั้น ทำเท่าไหร่ก็ไม่ได้สักที

วันนี้เลยลองใช้วิธี เปิด ลานแล้วเขียนสดๆ  อิอิ


ตอบเบิร์ด..

2317 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 3 กุมภาพันธ 2012 เวลา 21:44 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 56270

“พี่บู๊ทคะ เวลานักพัฒนาอย่างพี่บู๊ทมองย้อนหลัง แล้วเทียบสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน พี่บู๊ทคิดยังไงบ้างคะ เคยคิดมั้ยว่าเป็นตามที่เราฝันหรือเปล่า”

เป็นประเด็นที่ค้างการตอบไว้ วันนี้พอมีเวลาครับ

พี่มีข้อสรุปอย่างหนึ่งว่า สังคมเคลื่อนตัวไปตลอด งานพัฒนาชนบทที่ทำมานั้นก็เคลื่อนตัวไปตามสังคมที่เคลื่อนไป ซึ่งการเคลื่อนตัวของสังคมนั้นเป็นพลังที่ทำให้ทุกอย่าง “ลู่ตามลม” พลังของการเคลื่อนตัวของสังคมหากมีพลังมากก็จะพาให้ปัจจัยต่างๆของวิถีชีวิตของคนในชนบท ถูกกระแสสังคมพัดพาไป มากน้อยแล้วแต่ความมั่นคงของสำนึก และการรู้เท่าทัน กระแสสังคมมีทั้งสิ่งดีดี และสิ่งที่ซ่อนมากับความทันสมัย ค่านิยม ใครๆก็มี ใครๆก็ทำกัน ซึ่งมีพลังแรงมาก คนในสังคมชนบท หรือที่ไหนๆมีแรงต้านพลังนี้แตกต่างกัน เด็กวัยรุ่นในชุมชน หากไม่มีปัจจัยสร้างให้สำนึก เขาก็ง่ายที่จะไหลตามกระแสบริโภคนิยม เช่น มือถือ มอเตอร์ไซด์ การแต่งตัว คำพูด กิจกรรมที่ทำ ฯลฯ งานพัฒนามักจะไม่ได้ทำหน้าที่สร้างพลังของการรู้เท่าทันมากนัก ไปทำกิจกรรมเพื่อสร้างความมีอยู่มีกินเสียมากกว่า

หากจะถามว่าแนวคิดในงานพัฒนาเปลี่ยนไปไหม เปลี่ยนครับ แนวคิดในงานพัฒนาก็พัฒนาตัวมันเองไปตลอด ละเอียดมากขึ้น แต่ก็ขึ้นกับตัวนักพัฒนา เจ้าของโครงการ สาระที่ทำงาน นักพัฒนาบางคนสนใจงานวัฒนธรรม ก็จะเล่นแต่วัฒนธรรม ด้านอื่นสนใจแต่ให้น้ำหนักน้อย เช่นเดียวกัน ใครที่สนใจสิ่งแวดล้อมก็เล่นแต่สิ่งแวดล้อม งานสตรี งานเด็ก งานสุขภาพ ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน ทั้งๆที่วิถีชีวิตนั้นประกอบด้วยทุกส่วน แต่งานพัฒนาทำเพียงบางส่วนเท่านั้น

งานสมัยก่อนไม่มีประเด็น Gender และสิ่งแวดล้อมมากนัก พี่พูดถึงสมัยปี 2518 ที่พี่เริ่มเข้ามาทำงาน องค์ความรู้เรื่องการทำงานพัฒนา นำเข้าจากต่างประเทศด้วยซ้ำไป เช่น ฟิลิปปินส์ก็คือ PRRM ของ ดร.เจมส์ ซี เยน ที่ ดร.ป๋วยนำหลักการมาทำที่ชัยนาท อันเป็นสถานที่ที่ท่านโดดร่วมลงมาสมัยท่านเป็นเสรีไทย และชาวบ้านที่วัดสิงห์ช่วยชีวิตท่านไว้ ท่านจึงกลับไปทำงานพัฒนาชนบทที่นั่น อิสราเอลก็หลักการคิบบุช และโมชาบ แม้เกาหลี ก็หลักการแซมาเอิน อันดง และศรีลังกาก็คือ หลักการซาโวดายา

NGO เมืองไทย “บูม” มากๆก็หลัง 14 ตุลา เพราะนักศึกษาที่มีอุดมการณ์แห่กันไปทำโครงการพัฒนาชนบทกันมากมายจนถึงปัจจุบัน

ที่ธรรมศาสตร์มีโครงการบัณฑิตอาสาที่ ดร.ป๋วยจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก และแนวคิดนี้ก็ขยายไปในหลายมหาวิทยาลัย เช่น จุฬา ขอนแก่น เป็นต้น มีการเปิดภาควิชาพัฒนาชุมชน ต่อยอดจากคณะสังคมสงเคราะห์ ของธรรมศาสตร์ ทำให้มีบัณฑิตจบออกไปทำงานพัฒนามากขึ้นทุกภูมิภาค และทำให้กระบวนการทำงานพัฒนาในเมืองไทยก้าวกระโดดมาก เป็นตัวของตัวเองมากกว่าจะไปเรียนมาจากต่างประเทศเหมือนยุคก่อน มีการตั้ง กป.อพช. หรือคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน ซึ่งพี่เป็นชุดก่อตั้งในสมัยนั้นด้วย

วงการพัฒนาก้าวไปทำเรื่องการพึ่งตนเอง เกษตรธรรมชาติ ตามแนวคิด ฟูกูโอกะ เกษตรอินทรีย์ สตรี เด็ก คนพิการ เกิดโรงเรียนที่แหวกกฎกระทรวง เช่น หมู่บ้านเด็กที่กาญจนบุรี การเกษตรเพื่อการพึ่งตนเอง ฯลฯ

เมื่อมองย้อนหลังสะเมิง สิ่งที่สะท้อนเห็นๆและบอกได้ว่านั่นคือ impact ของงานพัฒนาที่เราทำกันมาคือ

  • สมัยนั้นเรามีการฝึกผู้นำชาวนา โดยการรับมาเข้าหลักสูตรฝึกอบรมที่สำนักงานเกษตรภาคเหนือ สมัยนั้น ดร.ครุย บุญสิงห์ สามีอาจารย์เต็มศิริ บุญสิงห์ ที่โด่งดังในการรับเชิญไปแสดวความเห็นบนจอทีวีสมัยสามสิบปีที่ผ่านมา และเราเอาชาวบ้านหนุ่มๆมาทำวานกับพวกเราโดยมาฝึกให้เป็นผู้รู้เรื่องเครดิตยูเนี่ยน และให้เขาออกไปเป็นพี่เลี้ยงให้ชาวบ้าน เราพบว่า บุคลากรเหล่านี้มากกว่า ร้อยละ 80 มาเป็น พ่อหลวง(ผู้ใหญ่บ้าน) เป็นแคว่น(กำนัน) ในปัจจุบันมากมาย แม้คนขับรถของเราก็เป็นกำนัน และมีบทบาทในการพัฒนาชุมชน เด็กหนุ่มสองคนที่เราจ้างมานั้นกลายเป็น นายกองค์การบริหารส่าวนตำบล หากถามว่าเพราะอะไร ตอบแบบเข้าข้างตนเองโยยังไม่ได้ทำการวิจัยคือ เขาถูกฝึกอบรมให้มีแนวคิดในการพัฒนาในด้านต่างๆมากมายตลอดสามปีทุกเดือน ความคิดต่างๆที่ได้ เขาได้ใช้แสดงบทบาทในชุมชนของเขาเอง ออกความเห็น เสนอแนะ และสร้างกิจกรรมต่างๆขึ้นเองในชุมชนของเขา ต่อมาเขาจึงถูกเสนอชื่อให้ขึ้นเป็น พ่อหลวง และกำนัน เพราะเขาคลุกคลีกับเรา และเราก็กรอกหูเรื่องงานพัฒนาทุกวัน เขาจึงซึมซับแนวคิดเหล่ารี้ไปไม่มากก็น้อย แล้วเอาไปใช้จริงๆ เกือบทุกหมู่บ้าน อย่างน้อยที่สุด สมาชิก อบต. ก็แนคนเดิมๆเหล่านั้นของเรา
  • สิ่งที่เราประทับใจมากประการหนึ่งคือ สมัยนั้นเจ้าหน้าที่ทุกคนของโครงการจะต้องไปรับการฝึกอบรมที่ โครงการบูรณชนบทที่ชัยนาท อันเป็นโครงการของ ดร.ป๋วยดังกล่าว เราจำลองกิจกรรมหลายกิจกรรมจากชัยนาทไปใช้ที่สะเมิง เช่น ที่ชัยนาทมี Buying club หรือร้านค้าชุมชน เราก็เอาไปใช้ที่สะเมิง และเติบโตจนถึงปัจจุบัน โดยชาวบ้านดำเนินการเอง ถือหุ้นกัน ทำบัญชีเอง ประชุมเอง ซื้อสินค้ามาจำหน่ายเอง… ที่แอบบภูมิใจมากๆคือ มีการทำกลุ่มออมทรัพย์ แต่เราเลือกใช้กลุ่มเครดิตยูเนี่ยน เพราะเราไปฝึกอบรมเรื่องนี้มาจากสันนิบาตเครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย สมัยนั้นยังขึ้นกับสภาแคทอลิคแห่งประเทศไทยโยมีคุณพ่อบุญเลื่อน มั่นทรัพย์เป็นผู้นำเข้ามาในเมืองไทยและเริ่มแรกที่สลัมคลองเตย …เราศรัทธาหลักการและกระบวนการ จึงเอาไปใช้ในชุมชนสะเมิงที่เป็นป่าเขา ซึ่งพี่เองเป็นผู้รับผิดชอบในการอบรม จัดตั้ง ประชุม ทำบัญชี ฯลฯ ตั้งแต่เริ่มจนเป็นกลุ่มขึ้นมา ใน 24 ชุมชน 4 ตำบล ทำไป ไม่แน่ใจไปเพราะเป็นชุมชนเกษตรกรรม ไม่มีเงินเดือนมีแต่เงินตามฤดูกาล แล้วจะเงินที่ไหนมาสะสมกันทุกเดือนๆ น้องเบิร์ด ปัจจุบันกลุ่มทั้งหมดรวมตัวกันเป็นกลุ่มระดับตำบล และแต่ละกลุ่มมีเงินหมุนเวียนนับสิบล้านบาท ที่มากที่สุด 46 ล้านบาท พี่ได้ยินเมื่อปีใหม่ ก็ตกใจว่าเป็นไปได้อย่างไรกัน จากการที่สะสมกันมาคนละ 5 บาท 10 บาทแต่ละเดือนนี่นะ… กลุ่มยังขยายการบริการสมาชิกจากสะสม กู้ ขยายเป็นจัดกำไรเป็นสวัสดิการแก่สมาชิกในรูปแบบต่างๆ เช่น ตาย ป่วย เกิด ได้เงินจำนวนหนึ่ง และอื่นๆอีก กลุ่มก็โตเอาโตเอา ปรับระเบียบข้อบังคับให้สอดคล้องกับสภาพแบบปัจจุบันมากขึ้น ใครอยากซื้อรถ มากู้เอาเงินสดไปเลย แล้วผ่อนกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนดอกเบี้ยถูกๆ
  • ผลกระทบทางเสียก็มี คือ มีผู้นำที่ทำงานคู่กับเราคนหนึ่ง ทั้งสามี ภรรยาทุ่มเทการทำงานให้กับชุมชนมากเกินไป เราก็ไม่เอะใจ เราพบว่าฐานเศรษฐกิจครอบครัวเขาพังลงไป เพราะ ทั้งสามี และภรรยามีบทบาทมากในการทำกิจกรรมเพื่อชุมชน ตามที่โครงการพัฒนาชนบทมีกิจกรรมในบ้านนั้นๆ ทำให้เขาไม่มีเวลาสำหรับกิจกรรมส่วนตัว ไร่นาพังเป็นแถบๆเมื่อเจ้าของนาเอาแต่ตระเวนไปประชุมที่นั่นที่นี่ เศรษฐกิจครอบครัวพังลง เขาไม่อาจทำงานเสียสละต่อไปได้ เขาต้องหอบครอบครัวออกมาในเมืองเชียงใหม่เพื่อฟื้นเศรษฐกิจโดยการมาเปิดร้านขายอาหารที่หน้าแม่โจ้
  • มีกิจกรรมหนึ่งที่เราเสียใจมากคือ วัยรุ่นสตรี มีความสนิทสนมกับเรามากเพราะเราไปกินนอนบ้านชาวบ้านทุกครั้งที่เดินทางเข้าพื้นที่ ตระเวนไปประชุมที่นั่นที่นี่ เรามีความคิดที่จะสอนให้เขารู้ว่า การหนีออกจากหมู่บ้านไปเมืองเพื่อขายตัวหรือไปทำงานบริการต่างๆในเมืองนั้น ไม่ดี อันตราย จึงพาเยาวสตรีจำนวนหนึ่งเดินทางเข้ากรุงเทพฯไปดู อาบอบนวด สถานที่บริการต่างๆที่เป็นเด็กสาวภาคเหนือลงมาทำงานเอาเงินเดือน ไปคุยกับรุ่นพี่พี่ที่เขามาก่อนว่า ลำบากแค่ไหน ข้าวของราคาแพง และเสี่ยงต่อโดนถูกหลอก ดูไปสรุปควาคิดเห็นกันไป แล้วต่อมาเราทราบว่า เด็กสตรีที่อยู่ในกลุ่ม จำนวน 3 คนแอบออกจากชุมชนกลับไปกรุงเทพฯเพื่ออยากทำงานแบบรุ่นพี่ เราวุ่นวายกันใหญ่กว่าจะเอาตัวกลับมาได้ เรื่องนี้ไปตรงภาษิตที่ว่า ชี้โพรงให้กะรอก…

สรุปว่ามีทั้งที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และไม่สำเร็จตามประสงค์และที่ไม่คาดคิดที่ดีและไม่ดีครับ สิ่งที่น่าสนใจคือ พี่เสนอให้ทำการโครงการมาประเมิน Development Impact หรือ After Project ครับ อยากเห็นกระบวนการปรับตัวของชุมชนในกิจกรรมต่างๆที่โครงการสมัยก่อนได้ทำไว้ เพราะอะไร อะไรเป็นปัจจัย ฯลฯ อยากเห็นพัฒนาการของความคิดของผู้นำ และชาวบ้านหลังโครงการสิ้นสุดลง ฯลฯ


Old Comrades

1911 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 30 มกราคม 2012 เวลา 0:37 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 69480

เมื่อสิ้นปีผมไปร่วมงานพบเพื่อนเก่าที่ทำงานพัฒนาชนบทกันที่สะเมิง เชียงใหม่ โดยมี Mr. Klaus Bettenhausen ชาวเยอรมันที่นำมูลนิธิ ฟริดริช เนามัน เข้ามาเมืองไทยและทำงานพัฒนาชนบทในสะเมิงและที่อื่นๆในภาคเหนือ เขามาร่วมงานด้วยเพราะเขาใช้ชีวิตที่เชียงใหม่ มีครอบครัวเป็นคนไทย..หลังจากที่ผมกลับขอนแก่นแล้ว เขาก็เขียนจดหมายมาให้เพื่อนร่วมงานทุกคน รวมทั้งผมด้วย จึงอยากเอามาขยายเพื่อให้เพื่อนเห็นภาพการทำงานในสมัยนั้นครับ พ.ศ. 2518-2522 ครับ

Dear old ‘Comrades’,

I thought of sharing with you some ideas and memories from the ‘good old times’. When, on our meeting in Samoeng Dec 30, I was asked to address you, the honorable guests, I misunderstood. Also, my mind was with my darling wife who was  in hospital at that time. Later on, most of our ex-staff reflected on the devt. Work we had done, in the 70ies, in Amphoe Samoeng, THC, Prao and Mae Taeng.

When we started our project, end of 1975, Thailand - and Samoeng - was a different place. All the houses in Samoeng were simple, made from wood. Electricity only in T.Samoeng Tai, in a few villages, from 5 - 10 p.m. The district administration, the police station all very humble, built from solid wood, with simple desks and chairs - and fortified by a protective barrier of wooden poles (against communists).

Our own office, the project office, was of course as simple as the other official places. I can’t recall where exactly we worked before we moved to our own office, on our own strip of land. I only remember that we  washed using water from a well which was ice-cold, as it was Nov/Dec when we began the project, 1975.

We started with a questionnaire campaign (forgot details) among farmers, in Wat Huay Kork temple. It was cold - but the response was encouraging. Anyway, at 10 p.m. everybody went to bed. In those years we didn’t drink beer but mostly Mekong. Beer Chang didn’t exist yet, it was just Singh and Amarit.

The staff were driving Honda CT 125 (?) and I had a Land rover 88. There were asphalt roads just up to Chaisit, the Chinese middle man, maybe even less. Any other roads were ‘lug lang’. I remember the difficult stretches from Ban Bong Kwao up to Ban Mae Pae and the hill down in Ban Angkai (T. Yang Myyn). Even the road from Kongkarg Noi to Ban Maesarp was hellish difficult during the rainy season. To drive from CNX to A. Samoeng took 2 hours; sometimes a tree had fallen over and blocked the road.

There were no telephones in Samoeng. Messages were sent by motorcycles; a message from Samoeng Tai to Yang Myyn + a response took one full day. There were only two restaurants, one of them belonging to the local policeman. A post office didn’t exist, there was no bank, there was no hospital.

During the rainy season work was particularly difficult, particularly for professional staff on motorcycles. Clothes were immediately dirtied, splashed with red spots from the laterite roads. Sometimes some staff got stuck somewhere and could not return because the roads were too muddy and impassable; they then had to ‘kin kao ling’. If I remember right, our main food, during the initial years, was rice with yum bei chaa, bla kapong and bla too kemm.

I remember all the site offices we had: Mom in Yang Myyn, Wallop in Samoeng Neua, Kwanchai in Mae Sarp, Ngo in Hard Sompoy and P’Sawat in Samoeng Tai, supported by Sinee and Paisal. In Samoeng Neua I used to sleep at the temple of Ban Balaan, in Yang Myyn at the temple as well.

Our project work, the election of ‘farmer foremen’, their training at the NADC, staying for three days and two nights in Chiangmai, at Wat Sri Gyyd near Wat Phra Singh, the evening classes in the villages, the organizing of training courses, the excursions to other parts of Thailand (Chainat)……..yes, our project seems to have acted as an ‘eye opener’ for our farmers from Samoeng.

Then the politics. The suspicions about what we  were doing. It was after all 1975/76. Wallop returning one day from the field with a sickish face; he had been accused of being a communist ! Then October 6, Paisal arrested and ‘invited’, to spend the next 6 weeks (?) in suan garunathep, for indoctrination. One day the then Dy PM, Khun Pramarn Adireksarn, visited the project, landing next to the school of Ban Balaan with two helicopters ! I preesented a statement, in Thai language, arguing against the suspicions of the Thai local authorities who were suspecting us of being communists. - Later Pa Prem took over in BKK and things cooled down.

The Foundation in Germany left our project design mostly untouched but controlled our project activities very closely and there were official  visitors to CNX and Samoeng a few times. I remember vividly only one in Yang Myyn when one of our honorable Thai friends tried to communicate with the farang guests explaining them a new approach to frog breeding (offspring twice per year), thereby creating the famous statement ‘one frog tow eggs’ !! The farang guests were most surprised.

All those memories cover the period 1975 - 1988 and deal mostly with our project in Samoeng; I have mucg weaker memories of our work in THC, Prao and Mae Taeng. But those memories are wonderful and so much in contrast to what Thailand is today. Still, if you enter deeper into T. Samoeng Neua, Mae Sap and Yang Myyn - there still some trace, some ’smell’ can be felt when passing through those villages.

One could go on and reflect on the uniqueness of Thailand, it’s friendly and welcoming people, the behavioral pattern of their social relations, the avoidance of conflict, also the political development in the country which, to my understanding, are all the result of the fact that Thailand has never been a colony, never had farang ‘masters’ to ‘civilize and tame’ the Thais. One could even ask whether there is reason to deplore this….

I send my best regards to all of you ! Stay healthy and in good spirits !


….ตามหาส่วนที่ขาดหายไป

2567 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 18 มกราคม 2012 เวลา 23:01 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 62106

ยอมรับว่าผมนั้นหลงเสน่ห์ชนบทในหลายด้าน

หนึ่งในนั้นคือ ความเป็นชนบท

แม้ว่าตัวเองจะไม่ได้ทำตัวเป็นคนชนบทก็ตาม

ภูเขา ทุ่งนา กระต๊อบ ลำห้วย วัว ควาย ชาวบ้าน ฯลฯ

ในสายตาทั่วไปบอกว่านั่นมันล้าหลัง ยังไม่พัฒนา สกปรก ไร้สาระ ฯ

แต่ในเนื้อในก็มีความเอื้ออาทร จริงใจ ตรงไปตรงมา ที่ต่างไปจากสภาพเมือง

ผมไม่รังเกียจเมืองหรอก เพราะผมก็ใช้ชีวิตในเมือง

แต่ผมก็อยากใช้ชีวิตในชนบทด้วย

หลายคนบอกว่าชีวิตในเมืองเป็นชีวิตที่ใช้ความเร็ว

แต่ชนบทเป็นชีวิตที่ช้ากว่า

ผมเคยได้ยินศิลปินใหญ่ พี่เทพศิริ สุขโสภา กล่าวว่า

ความเร็วนั้นทำให้เราไม่เห็นความงามของดอกไม้ ใบไม้สองข้างทาง

ท่านตั้งชื่อเรื่องนั้นว่า “ฉันตามหาส่วนที่ขาดหายไป”

จริงๆชีวิตในเมืองก็ตามหาจริงๆ

จริงๆผมก็คิดว่า ผมตามหาส่วนที่ขาดหายไปเหมือนกัน….


ต้นไม้

2206 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 17 มกราคม 2012 เวลา 21:11 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 55133

ทดสอบครับ post ไม่ได้มานานแล้ว


ทราย..

2573 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 2 มกราคม 2012 เวลา 22:25 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 57005

หากเราอยู่ที่หลวงพระบางจะเดินทางไปเมืองหงสา แม้ว่าจะมีถนนสายตรง แต่คนจะนิยมไปเส้นทางหลวงพระบาง-ไชยบุรี-หงสา แม้ว่าจะอ้อม ก็ยังปลอดภัยกว่า ถนนจากไชยบุรีไปหงสานั้นลาดยางแล้ว แต่มีสภาพแคบและเป็นเส้นทางบนภูเขา ท่านที่ไม่คุ้นเคยต้องขับรถอย่างระมัดระวัง ส่วนเส้นทางหลวงพระบาง-ไชยบุรีนั้น ร้อยละเก้าสิบเป็นถนนลูกรัง มีแต่ฝุ่นหนาทึบ


บนเส้นทางหลวงพระบาง-ไชยบุรีนั้นจะต้องผ่านแม่น้ำโขงที่บ้านท่าเดื่อ ขณะนี้กำลังเริ่มก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงตรงนี้ ปัจจุบันใช้เรือเฟอรี่ข้าม ใครจะข้ามก็ไปเข้าคิว บางครั้งรอนานเป็นชั่วโมงกว่าจะได้ข้ามเพราะรถแน่นมาก หรือ ไม่มีรถเรือเฟอรรี่ก็จะไม่ข้ามจนกว่าจะมีรถมากเพียงพอ


ที่สองฝั่งจะมีสาวๆมาสร้างเพิงขายสินค้า ส่วนมากก็เป็นอาหาร เช่นข้าวเหนียว ไก่ย่าง ส้มตำ และเครื่องดื่มประเภทน้ำดื่มและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนทั้งหลาย ซึ่งเป็นสินค้าที่มาจากฝั่งไทยทั้งหมด


สังเกตเห็นกองทรายมหึมาที่น้ำโขงพัดพามากองริมฝั่ง ทรายล้วนๆ บริสุทธิ์ เด็กชาวบ้านมาเล่นกันบนนั้น แต่ ข้างล่างนั่นมีคนทำกิจกรรมอะไรอยู่ตรงนั้น


ผมซูมภาพเข้าไปก็เห็นชัดเจนว่านั่นคือชาวบ้านกำลังตักทรายใส่ลงในเรือที่มีลักษณะยาวๆที่จอดติดกับกองทรายใหญ่นั่น มันง่ายมากเพราะกองทรายใหญ่ สูง เรือต่ำกว่าก็ตักใส่ได้โดยตรง ชาวบ้านขุดทราย หรือตักทรายใส่เรือ ไปทรายข้างบนก็พังลงมา เพราะมีทราบมากมาย ขนหรือบรรทุกกันเป็นหมื่นๆเที่ยวก็คงไม่หมด



ไกลออกไปทางทิศเหนือ ก็มีกองทราย และมีชาวบ้านหนึ่งคนทำการตักทรายลงเรือเหมือนกัน เมื่อทรายเต็มเรือ เขาก็ติดเครื่องเรือแล่นไปอีกฝั่งตรงข้าม ที่นั่นผมเห็นรถและเรือทรายที่เข้าไปจอดและตักทรายจากเรือเอาไปใส่รถ ภาพนี้ทำให้เราเข้าใจว่า นี่คือระบบธุรกิจขนทราย ค้าทราย คงเป็นงานก่อสร้างที่กำลังเติบโตเต็มที่ที่เมืองไชยบุรี ทั้งถนนหนทางและอาคารตึกรามต่างๆ ล้วนต้องการทราย และก็ง่ายมากๆที่จะหาทรายป้อนให้งานก่อสร้าง ชาวบ้านก็มารับจ้างขนทราย


นี่เป็นภาพลูกโซ่ของวงจรธุรกิจ ชาวบ้านเป็นเพียงโซ่ข้อหนึ่งขององค์ประกอบธุรกิจทั้งครบ และการสร้างบ้านสร้างเมือง ชาวบ้านผู้รับจ้างขนทรายอาจรู้ว่าทรายนั้นไปที่ไหน แต่ไม่รู้ว่า สิ่งก่อสร้างนั้นจะเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตเขาหรือไม่ เกี่ยวข้องส่วนไหน อย่างไร เพราะสังคมนี้ใหญ่เกินระดับหมู่บ้าน ชุมชนของเขาเสียแล้ว..


วัดสีมุงคุน เมืองหงสา

2550 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 2 มกราคม 2012 เวลา 16:28 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 42658

..

สมเด็จพระเทพฯท่านเสด็จมาที่นี่ถึงสองครั้ง อยากรู้เรื่องราวไปหมด โดยเฉพาะพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิตของพี่น้องชาวบ้านที่นั่น

สิ่งที่เป็นประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นที่ดีที่สุดคือวัด เพราะวัดเป็นที่รวมของประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม ความเชื่อ พิธีกรรม วิถีชีวิต และการบ่งบอกถึงความเป็นมาเป็นไปของอดีตสู่ปัจจุบัน มิใช่เพียงที่อยู่อาศัยของสงฆ์เท่านั้น


เมืองหงสา ติดต่อกับชายแดนไทยปัจจุบันที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน เมืองหงสาขึ้นกับแขวงไชยบุรีซึ่งอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขง ของ สปป. ลาว ผมสนใจความเป็นท้องถิ่นและวิถีชีวิตของชุมชนที่เป็นแบบจำลองอดีตของชุมชนไทยในสมัยโบราณ ที่เราไม่เห็นอีกแล้วในบ้านเรา ความจริงสภาพที่เป็นในประสบการณ์ของผมมันก็คือ “ชุมชน” เท่านั้น ทำไมเรียก “เมือง” เช่นเมือง “หงสา” “เมืองเงิน”

เนื่องจากมีเวลาน้อยจึงไม่ได้เจาะลึกลงไปในสิ่งดังกล่าวข้างต้น แต่เดินชมสัมผัส จิตวิญญาณของพื้นที่และสิ่งที่พบเห็น ก็รูปสึกเคารพผู้คน ชุมชนแห่งหงสานี้แล้ว สิมหลังเก่านี้ เรียบๆง่ายๆเสียจนคนสมัยใหม่ยุคดิจิตอลอาจคิดว่ามันเป็นแค่อาคารเก่าหลังหนึ่งที่หลงเหลืออยู่เท่านั้น ไม่มีลายปูนปั้นอันวิจิตร ไม่มีพระพุทธรูปทรงเครื่องทรงอลังการ


แต่ผมสัมผัสถึงความศรัทธา ความเชื่อมั่น และการน้อมนำหลักพุทธมาเป็นครรลองชีวิต ความวิจิตรเป็นเพียงสิ่งประกอบภายนอก ความเป็นสถานที่เพื่อให้คบองค์ประกอบทางพิธีกรรม และการถือปฏิบัติที่เต็มเปี่ยมด้วยศรัทธาต่างหากที่มีล้นเหลือ มากกว่าสิ่งภายนอกแม้จะสร้างความหรูหราแต่หากไม่มีจิตข้างในทุ่มเทให้ ความวิจิตรนั้นก็เป็นแค่ศิลปกรรมที่ซื้อขายกันในตลาดเท่านั้น


อาคาร สิม หลังนี้มีอายุมากกว่าร้อยปี ชาวบ้านบอกมากกว่าสองร้อยปี ก่อสร้างด้วยดินเผาและโคลน หุ้มโครงสร้างหลักคือเสาและเครื่องบนไม้ ที่เป็นนวัตกรรมท้องถิ่นโบราณ ที่ชุมชนห้อมล้อมด้วยป่าไม้นานาพรรณ หลังคาเป็นแผ่นไม้ที่หาได้ทั่วไปในล้านนา ล้านช้าง แม้ปัจจุบัน


ผมถือวิสาสะลองผลักประตูเก่าโดยออกแรงนิดหน่อยก็ถูกเปิดออก ทำให้เห็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายใน ผมกราบแสดงคารวะต่อพระพุทธองค์จำลอง เรียบ ง่ายเท่านั้น โครงไม้ หลังคาที่มีรูโหว่ทั่วไป


ผมหลับตามองเห็นผู้คนชาวชุมชนหงสาทั้งจากบ้านสีมุงคุน(ศรีมงคล)และบ้านอื่นๆในบริเวณนี้ต่างพากันมานั่งในอาคารหลังนี้เพื่อประกอบพิธีกรรมต่างๆทางศาสนา ในบริเวณนี้จึงเต็มไปด้วยจิตอันบริสุทธิ์ที่หลอมรวมกันเพื่อแสดงถึงความศรัทธาอันเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ของการสืบทอดศาสนา ผมสัมผัสสิ่งนั้น ไม่มีอะไรจะยิ่งใหญ่ไปกว่าสิ่งนี้


นี่คือสิมหลังใหม่ที่อยู่ไม่ไกลจากกัน ศิลปกรรมถูกพัฒนาขึ้นมาอีกยุคหนึ่ง มีความพยายามที่จะใส่ความศรัทธานั้นไปบนฝาผนัง แม้จะเป็นฝีมือช่างท้องถิ่น แต่ก็สื่อความหมายได้ แต่ละแผ่นภาพคือศรัทธา มีการยกฐาน หลังคาสองชั้นมีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ที่เชิงชายมีศิลปกรรมเพิ่มเติม


ใบหน้าพระประธานอิ่มเอิบ หน้าบันพัฒนาขึ้นมามาก แต่ผมพบรูรั่วของหลังคมและร่องรอยของปลวกที่กำลังเกาะกินโครงสร้างไม้ของหลังคมสิมหลังใหม่นี้…


พ่อเฒ่าแม่เฒ่าแห่งบ้านสีมุงคุนบอกว่า สมเด็จพระเทพฯท่านเสด็จมาถึงสองครั้ง วัดบ้านนอกคอกนามีอะไรดีหรือ พระองค์ท่านจึงเสด็จมาถึงสองครั้ง ข้าน้อยมิบังอาจประเมินได้ แต่การสัมผัสเพียงผิวเผินของบ้านสีมุงคุน สิมเก่า สิมใหม่ แต่อายุเกินร้อยปีทั้งนั้น มันบ่งบอกความเป็นชุมชน วิถีแห่งการอยู่ร่วมกัน และครรลองการดำเนินชีวิต
ศิลปกรรม ความเชื่อ ความศรัทธา ฯ

สิ่งเหล่านี้คือเสน่ห์ของชุมชน ท้องถิ่นที่ผมและใครอีกหลายคนหลงใหล ติดหนึบ มันตรงข้ามกับสังคมเมืองที่ก้าวเดินไปไกลมากแล้ว….


พระธรรมดิลก เกจิอาจารย์ล้านนา

2278 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 30 ธันวาคม 2011 เวลา 0:22 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 66558

ที่ศาลากลางหลังเก่าของเชียงใหม่นั้นเป็นอาคารที่สวยงามมาก ปัจจุบันทำเป็นพิพิธภัณฑ์ ลำดับประวัติศาสตร์ล้านนา ท่านที่สนใจหาเวลาไปเยี่ยมชมนะครับ ผมว่าดีมากๆ ไม่เคยเห็นที่ไหนทำดีเท่านี้


หากยืนหันหน้าเข้าอาคารศาลากลางหลังนี้ ทางซ้ายมือคือวัดอินทขีลสะดือเมือง สวยผิดตาเพราะผมไม่ได้มาแถวนี้เสียนาน ผมจำได้สมัยที่เรียนจบมช.ใหม่ๆ ผมมาเป็นนักข่าวให้กับหนังสือพิมพ์ส่วนกลางฉบับหนึ่ง จึงมาต้อนรับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดคนใหม่ที่ศาลากลางแห่งนี้ และได้มาอาศัยสิมหลังนี้นั่งพัก สมัยนั้นเก่าโทรมมากๆ

ติดกับวัดอินทขีลคือพิพิธภัณฑ์อีกแห่งหนึ่ง เกี่ยวกับสมเด็จพระเจ้าติโลกราชเจ้าผู้ครองนครล้านนา ที่เคยนำทัพไปช่วยเจ้าผู้ครองนครล้านช้างสู้รบกับแกวในสมัยโน้น..

ผมเดินชมเพลินๆ ซึ่งไม่เคยเข้ามาก่อนเลย จัดดีมากๆอีกเช่นเคย แนะนำว่าใครที่ไปเชียงใหม่ควรที่จะหาเวลามาชมมาเรียนรู้ประวัติศาสตร์เสียที่นี่จะเข้าใจล้านนาดีมากกว่าภาพที่เห็นในปัจจุบัน

สิ่งที่ผมประทับใจจนต้องน้อมกายก้มลงกราบ.สุดหัวใจคือพระอาจารย์ของผมซึ่งถูกจารึกให้เป็นเกจิอาจารย์แห่งล้านนา ซึ่งมี 6 รูป นับตั้งแต่ครูบาศรีวิชัย หลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงพ่อเกษม เขมิโก หลวงปู่หล้า ตาทิพย์ และองค์สุดท้ายคือ พระธรรมดิลก หรือจันทร์ กุสโล

 


พระธรรมดิลกนั้น ผมรู้จักชื่อเสียงท่านตั้งแต่สมัยเรียนหนังสือที่ มช. เพราะท่านจัดรายการวิทยุทุกเช้ามืด เทศนาสั่งสอนญาติโยมให้อยู่ในศีลในธรรม ให้ทุกคนสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน สังคมจึงจะเป็นสุข เมื่อผมเข้าทำงานพัฒนาชนบทที่อำเภอสะเมิง ก็มีโอกาสใกล้ชิดท่านเพราะท่านเป็นพระนักพัฒนา ทำงานเพื่อคนยากจน เพื่อคนชนบทมากมาย

ซึ่งปกติท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงกลางเมืองเชียงใหม่ แต่ท่านชอบที่จะไปประจำที่วัดป่าดาราภิรมย์ที่ อ.แม่ริม และที่นั่นผมไปกราบท่านบ่อยๆ เพื่อปรึกษางานท่านและขอรับความร่วมมือจากมูลนิธิของท่าน

เมื่อผมปรารถนาจะบวชให้พ่อแม่ หนึ่งพรรษากับพระอาจารย์ธรรมธโรที่สำนักปฏิบัติธรรมไทรงาม จังหวัดสุพรรณบุรีรอยต่อกับวิเศษชัยชาญบ้านเกิดผม ผมก็ปวารณาตัวว่าจะขอมาลาสิกขาเพศที่วัดป่าดาราภิรมย์กับพระอาจารย์จันทร์ ซึ่งเราคุ้นชินเรียกท่านว่า หลวงพ่อวัดป่าดาราภิรมย์…

ท่านมีเมตตามาเป็นประธานสึกจากพระให้ผม สั่งสอนอบรมผม… และผมก็มีโอกาสร่วมงานกับท่านอีกเมื่อกลับไปทำงานพัฒนาชนบท

เมื่อผมย้ายไปทำงานอีสานท่านก็มีเมตตาส่ง สคส. ปีใหม่ไปให้ประจำทุกปี ผมพบท่านหลังสุดเมื่อผมไปทำงานที่ดงหลวงแล้ววันหนึ่งฟ้าบรรดาลให้ผมขับรถไปที่จังหวัดนครพนม ไปกราบพระธาตุพนม แล้วผมก็พบท่านโดยบังเอิญ ท่านมากับญาติโยมด้วยรถตู้ที่สร้างพิเศษสามารถนำผู้ป่วยขึ้นลงรถได้โดยระบบไฮโดรลิค เพราะท่านเดินไม่ได้แล้ว นั่งแต่บนรถเข็ญ แต่สุขภาพโดยรวมยังสดใส ผมไปก้มกราบท่าน รายงานตัวให้ท่านทราบว่าผมคือใครในอดีต ท่านจำได้ยิ้มให้ผมและให้ศีลให้พรผม.. หลังจากนั้นผมก็ไม่ได้ไปกราบท่านอีกเลยจนท่านมรณภาพไป

มาพบท่านที่เป็นหุ้นขี้ผึ้งร่วมกับเกจิอาจารย์ล้านนาแห่งนี้ ผมปิติมากที่ขึ้นมาเชียงใหม่ครั้งนี้ได้มากราบท่านอีกครั้งแม้จะอยู่ในสถานภาพเช่นนี้ก็ตาม


สาวสันทราย..อีกครั้ง

2666 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 28 ธันวาคม 2011 เวลา 16:00 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 50995

เบิร์ดสนใจ “สาวสันทราย” เลยเอารูปมาลงเต็มๆ เผื่อเป็นข้อมูลเอาไปหาดูในที่อื่นๆครับ ต้นสาวสันทรายก็คือ ต้นที่ป้ายนี้ติดอยู่นี่แหละครับ สวยครับ เดินดูดอกหลายชนิดสาวสันทรายเด่น ดึงให้เราเดินไปชมใกล้ๆครับ


เต็ม..

2405 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 27 ธันวาคม 2011 เวลา 22:51 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 54239

ยาหยีอยากพักผ่อนหลักจากทำงานหนักมาตลอด เดินทางทุกสัปดาห์วางแผนจะไปพม่าแถวเชียงตุง ต่อมาเพื่อนร่วมงานสมัยสะเมิงนัดพบกันส่งข่าวมาบอกว่าอยากให้ไปสังสรรค์กันหน่อย ไม่ได้พบกันนานแล้ว เราจึงเปลี่ยนแผน ไปเชียงใหม่ ตรวจสอบลูกสาวว่าหยุดงานวันไหนจะได้ไปด้วยกัน ถือโอกาสครอบครัวพักผ่อนด้วย

เราเริ่มเอะใจเรื่องที่พัก จึงติดต่อที่พักแหล่งประจำของเรา เต็มหมดแล้ว โทรไปหลายแห่งที่เราคุ้นชินก็ เต็มหมด เอาหละซี ทำไงดีล่ะ

พอดีผมมีงานที่เหมืองแม่เมาะ ประชุมกับท่านรองผู้ว่าจังหวัดลำปาง นายอำเภอ และเจ้าหน้าที่ กฟผ ในเรื่อง Public scoping เลยต้องขึ้นมาลำปางกับทีมงาน และถือโอกาสเลยไปเชียงใหม่เร็วกว่ากำหนดเดิม ช่วงนี้พอหาที่พักได้ แต่วันที่ 30 ถึงวันที่ 1 เต็มหมด อาจเหลือบ้างในราคาสูงกว่า 4,000 บาทต่อคืนขึ้นไปถึงคืนละ 10,000 บาท มันเกินฐานะเรานะ อยากพักอยู่ร๊อก แต่อย่าดีกว่า ยิ่งนานวันห้องยิ่งเหลือน้อยลงมา เราชะล่าใจไปหลายแห่ง ว่ามีห้องในราคาที่สู้ได้ แต่ขอตระเวนไปดูที่อื่นๆอีก ทำไปทำมา ย้อนมาเอาที่เดิมก็หมดแล้ว….สมน้ำหน้า

ผมตัดสินใจโทรหาเพื่อนรักที่เขาเป็นคนเชียงใหม่ช่วยแนะนำที่พักให้หน่อย มันบอกว่า โธ่ โธ่ มันยากยิ่งกว่างมเข็มอีกว่ะ แต่จะลองดูให้

เราได้ห้องถึงวันที่ 30 แต่วันที่ 31 และวันที่ 1 นั้นไม่มีที่พัก เราเริ่มมองไปรอบๆเมือง ไกลออกไป ไกลออกไป แม่ริม แม่แตง ลำพูน ป่าซาง ดอยสะเก็ด ….เต็มหมด โชคดีที่ผมเตรียมเต็นท์ ถุงนอนมาพร้อม หากไม่มีห้องพักจริงๆ ก็กางเต็นท์นอนกันหละ

เวลาผ่านไปเราตรวจพบว่าที่น้ำพุร้อนแม่ออน มีที่พักว่าง ราคาแพงลิ่ว แต่พอรับได้ จึงคว้าไว้ แล้วไปดู พอใจเอาเลย สักพักใหญ่ๆเพื่อนโทรมาบอกว่าหาห้องว่างให้ได้แล้วข้างบ้านเขา เป็นห้องพักใหม่ที่สร้างไม่เสร็จดีแต่พักได้ เราขอบคุณเขาแต่เราตัดสินใจไปแล้ว

ผมมาเชียงใหม่ทุกปีเพราะมีที่ดินที่นี่ มีเพื่อนมากมายที่นี่ เพราะผมเรียนจบที่นี่ แต่ไม่เคยเผชิญปัญหาที่พักเท่าปีนี้เลย สงสารคนเชียงใหม่ที่มีความสวยงามแต่ไม่สงบ เพราะมีคนต่างถิ่นมามากเกินไป เกินพอดี ….
(ในจำนวนนั้นรวมผมไปด้วย อิอิ)

รูปข้างบนนั้นไม่เกี่ยวกับเรื่องนะ ชื่อสาวสันทราย ชื่อแปลกนะครับ


เหรียญเก่า..

2514 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 24 ธันวาคม 2011 เวลา 14:24 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 57976

ผมไปหลวงพระบางหลายครั้ง เดินตลาดกลางคืน ซึ่งเหมือนไนท์ บาร์ซาร์เชียงใหม่ก็หลายหน แต่ไม่เคยพินิจพิจารณาร้านขายของเก่า เพราะเฉยๆ แค่มองผ่านๆไปเท่านั้น

แต่มาได้ยินคนพูดว่า ไปหลวงพระบางมาแล้วไปได้เหรียญเก่าของไทยเรา ทำให้ผมสะกิดใจ เอ ทำไมเราไม่ดูบ้างเล่า เหรียญเก่าๆของไทยนั้นน่าที่จะสะสมไว้ให้ลูกหลานดู

มาคราวนี้ผมแค่ผ่านหลวงพระบาง เพราะต้องรีบไปทำงานและแค่ผ่านไม่ได้พักที่นั่นจึงหมดโอกาสจะไปเดินดูเหรียญเก่า แต่ผมมีเวลาค้างคืนที่เวียงจันเที่ยวกลับ จึงตั้งเป้าหมายไว้ และก็มีโอกาสจริงๆ หลังจากเดินชมพระอาทิตย์ตกดินที่ฝั่งไทยเมื่อมองจากฝั่งเวียงจันแล้วก็ถือโอกาสเดินชมไนท์ บาร์ซาร์ใกล้ๆนั่นเอง

ไม่ผิดหวังผมพบเหรียญเก่าของไทยหลายเหรียญ ก็ต่อรองราคา ซื้อมาหลายเหรียญเขาก็ลดให้ ผมถามเขาว่าเอามาจากไหน เขาบอกเป็นของเก่า เหรียญนี้ปี พ.ศ. 2460 ก็ 90 กว่าปีแล้ว สมัยผมเด็กๆก็ได้เห็น ได้ใช้อยู่ และมีหลายชนิด แต่หมดไปแล้ว

อย่าถามว่าราคาเท่าไหร่นะครับ…ไม่บอก อิอิ….


พื้นที่ประเทศลาวคือผ้าที่พับไว้..

2451 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 23 ธันวาคม 2011 เวลา 21:52 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 49632

สภาพพื้นที่ประเทศลาว เมื่อมองลงมาจากเครื่องบิน

ที่บินจากหลวงพระบางมาเวียงจัน

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2554 เวลา 14:05 น.

ภูมิอากาศด้านล่างนั้นหนาวเหน็บครับ

ช่วงหนึ่งผมบรรยายให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมงานพัฒนาชุมชน

เรื่องการทำงานกับชุมชน ระหว่างนั้นหัวหน้างานของ

เขาลุกขึ้นมาพูดว่า ต่อไปเราต้องรู้เรื่องราวอย่างละเอียดของชุมชน

ทุกครัวเรือน เราจะพัฒนาการเกษตรให้ก้าวหน้า “ประเทศลาว

เรามีพื้นที่กว้างขวาง เพียงเป็นพื้นที่ที่เหมือนผ้าพับไว้เท่านั้น

หากคลี่ออกมาจะกว้างใหญ่มาก” …

เมื่อดูภาพนี้แล้วทำให้นึกถึงคำพูดของหัวหน้าท่านนั้นครับ


นี่หรือความเจริญ..

2464 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 23 ธันวาคม 2011 เวลา 0:38 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 68103

(ภาพยาย ที่สถานีรถโดยสารประจำทางนครเวียงจัน)

ผัวยายตายไปหลายปีแล้ว

ลูกมันก็ทิ้งยายไปหลายปีแล้วเช่นกัน ไม่เคยส่งข่าวมาเลย

ยายเลยอยู่ตัวคนเดียว ต้องช่วยตัวเองเพราะไม่มีรายได้อะไร

มรดกอะไรก็ไม่มี ยายเป็นคนลาวใต้ มาได้ผัวที่เวียงจันนี่

ยายมาเก็บพลาสติกไปขายเอาเงินซื้อข้าวกิน…

เมืองไหนๆก็มีภาพเช่นนี้ จึงมีคำถามว่า

เอ….ความเจริญคืออะไร…?


นี่คือชีวิต..

2348 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 22 ธันวาคม 2011 เวลา 22:06 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 58450

ชีวิตบางคนก็เลอเลิศสะแมนแตน บางคนยิ่งกว่านิยายหลากรส …บางคนก็ธรรมดาแต่ไม่ธรรมดา บางคนก็เลวสิ้นดี บางคนดีใจหาย….
แล้วเราเป็นแบบไหนล่ะ ก็เป็นเรานี่แหละ..หึหึ

ช่วงที่ผมอยู่กับเปลี่ยนที่หงสา ก่อนเดินทางกลับมาสองสามวัน ได้รับ SMS ว่า ภรรยาอาจารย์บัณฑร อ่อนดำเสียชีวิตแล้ว รดน้ำศพวัน.. และจะฌาปนกิจศพวันที่ 22 ธันวาคม 54 ที่กรุงเทพฯ

ผมเล่าให้เปลี่ยนฟัง ว่าอาจารย์ยังนอนในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ที่ขอนแก่นเพราะเป็นอัมพาต ท่อนล่าง กำลังรักษาตัวมาสองเดือนแล้ว นี่ภรรยามาเสียชีวิตอีก อาจารย์ก็ไปงานไม่ได้ซิ…

(รูปจากบันทึกของหนานเกียรติใน G2K)

ผมเดินทางออกจากหงสาวันที่ 21 ไปไชยบุรี ไปหลวงพระบาง แล้งนั่งเครื่องลงเวียงจัน รถไปขอนแก่นหมดแล้วต้องนอนค้างที่เวียงจัน ผมติดต่อกับศรีภรรยา ก็ได้รับทราบว่าเราจะเดินทางไปเยี่ยมให้กำลังใจอาจารย์บัณฑรที่โรงพยาบาลกันในบ่ายสามโมงวันที่ 22 ผมขอไปด้วย

ผมเดินทางถึงขอนแก่นเที่ยงเศษ ในมหาวิทยาลัยกำลังมีพระราชทานปริญญา รถติดวุ่นวายไปหมด ผมทำธุรที่บ้านเสร็จก็เดินทางไปกราบอาจารย์บัณฑรที่โรงพยาบาล ผมไปถึงก่อนเวลานัด เห็นเตียงอาจารย์กำลังปิดผ้ารอบ ทราบว่าผู้ช่วยพยาบาลกำลังทำความสะอาดร่างกาย ผมยืนดูข้อมูลต่างๆที่โรงพยาบาลทุกแห่งมักจะติดไว้เป็นข้อมูล ข่าวสารเชิงสุขภาพด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับตึกนั้นๆ ขณะที่ก็คอยทีม RDI มาสมทบด้วย

เมื่อผู้ช่วยพยาบาลทำความสะอาดเสร็จแล้วผมตัดสินใจเข้าไปกราบอาจารย์ก่อน ผมค่อยๆเข้าไป ผมเห็นอาจารย์นอนตะแคงขวา มือขวาอาจารย์งอไปอยู่ที่ใบหน้า ผมเห็นมือขวานั้นถือมือถือเก่าๆเล็กๆอยู่ ผมกราบอาจารย์แล้วถามว่ากำลังพูดโทรศัพท์หรือครับ อาจารย์พูดให้เสร็จก่อนแล้วกัน…. อาจารย์รีบตอบว่า เปล่าไม่ได้คุย เสร็จแล้ว

เมื่ออาจารย์พยายามตั้งใบหน้าตรงจากการเอียงขวา ผมเห็นน้ำตาท่านอาจารย์ไหลออกมา…

ใช่ซิ…เมื่อชั่วโมงกว่าๆมานี่เองที่กรุงเทพฯได้ฌาปนกิจศพภรรยาอาจารย์ไป โดยที่อาจารย์ไม่ได้ไปร่วมงานด้วย ผมเดาความรู้สึกนี้ได้ดี

ผมเดินเข้าไปนั่งใกล้ๆอาจารย์เอามือไปจับแขนอาจารย์ นัยว่าผมมาให้กำลังใจอาจารย์นะครับ ผมสงสารอาจารย์หรือใครก็ตามที่จะต้องมาตกอยู่ในสภาวะเช่นนี้…ผมนิ่งไปชั่วครู่ปล่อยความรู้สึกของผมผ่านมือที่จับแขนอาจารย์อยู่…

อาจารย์กลับเข้มแข็งมากๆ เพียงไม่กี่อึดใจท่านอาจารย์ก็คุยเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น น้ำเสียงปกติ (แม้ในใจท่านอาจจะกำลังร่ำให้อยู่..) จากการคุยกันทราบว่าต้องจ้างผู้ช่วยพยาบาลอิสระมาดูแลตลอด ช่วงหนึ่งนั่งเก้าอี้คนพิการมากเกินไปทำให้เท้าบวม และติดเชื้อในกระแสเลือด จึงต้องกลับมานอนให้หมอดูแลใกล้ชิดอีก คงจะนอนยาวไปถึงสามเดือนเลย

ไม่กี่นาทีทีมงาน RDI ก็มาสมทบ เรารวบรวมเงินจำนวนหนึ่งให้อาจารย์เป็นค่าใช้จ่ายต่างๆที่จะต้องใช้อีกมากมาย

ระหว่างที่เราคุยกันนั้นก็มีโทรศัพท์เข้ามา ท่านอาจารย์คุยด้วย ผมยังเดาว่าคนทางกรุงเทพฯคงรายงานงานฌาปนกิจศพภรรยาอาจารย์ละมั๊ง แต่ไม่ใช่ เป็นโทรศัพท์มาจากกระทรวงต่างประเทศเชิญอาจารย์เข้าประชุม ในฐานะที่อาจารย์เป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
โดยที่ทางกระทรวงต่างประเทศไม่ทราบการป่วยของอาจารย์….

ผมไม่ขอกล่าวประวัติท่านอาจารย์เพราะเคยบันทึกไปบ้างแล้วและ หนานเกียรติแห่ง G2K ผู้ล่วงลับไปแล้วเคยเขียนถึงอาจารย์ไว้อย่างละเอียดทีเดียว ผมจึงขอลิงค์ไว้ที่นี่
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/431354

เราอยู่กันพักใหญ่ แล้วก็กราบลากลับ ระหว่างทางเราคุยกันว่า ชีวิตอาจารย์มาตกหนักเอาตอนนี้ น่าเห็นใจมากจริงๆ ไม่ใช่เพียงภรรยาอาจารย์ต้องมาเสียชีวิตไปโดยที่อาจารย์ไม่ได้ไปดูหน้า ไม่ได้ไปเผาเลย….แค่นี้ก็เจ็บปวดมาก แต่มากไปกว่านั้นอีกที่ทีมงาน RDI บอกผมระหว่างที่เราเดินลงจากตึกว่า….. บุตรสาวคนสุดท้องอาจารย์กำลังเป็นมะเร็งขั้นรุนแรงแล้วด้วย….

อะไรกัน..ชีวิตทำไมเป็นอย่างนี้…โธ่อาจารย์ที่ทุ่มเททั้งชีวิตเพื่อคนจน คนพื้นบ้านกลับมารับสภาพเช่นนี้…แม้มันไม่เกี่ยวกันเลยก็ตาม..

ภรรยาผมเอ่ยมาว่า ตั้งใจจะจัดงานอะไรสักอย่างหาเงินให้อาจารย์สักก้อน แต่เธอก็ไม่ได้หยุดหย่อน แต่ผมก็บอกว่า คุณกำหนดวันคุยกันเลย ไม่งั้นไม่ได้ทำแน่ เธอเห็นด้วย…

ระหว่างเดินทางกลับบ้าน ผมคิดอะไรไปมากมาย…..


หนาว..กับหนังสือ

2237 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 20 ธันวาคม 2011 เวลา 21:51 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 51713

เมืองหงสาหนาวมาก เกือบทุกเช้าหมอกลงจัด ผมใส่เสื้อสามชั้นทุกวัน จากที่พักผ่านร้านเล็กๆตรงมุมตลาด แม่เธอเป็นแม่ค้าขายอาหารและกาแฟ ผมเดินผ่าน คุณแม่เธอจะเชิญชวนเข้าไปซื้อกาแฟยามเช้า แต่ผมมีร้านประจำที่ เปลี่ยน นัดหมายทำอาหารไว้แล้วจึงไม่ได้เข้าไปใช้บริการของร้านนี้

ลูกสาวเธอเอาหนังสือมาอ่านท่ามกลางความหนาวก่อนที่เธอจะไปโรงเรียน เธอมานั่งอ่านอยู่หน้าเตาไฟนอกบ้าน ขณะที่คนเด็กอีกหลายคนนั่งในห้องปิดมิดชิดมีผ้าห่มหนาห่อหุ้มร่างกายอยู่

เห็นวิถีชีวิตแบบนี้แล้วนึกถึงตัวเองสมัยเด็ก เพราะเราก็เป็นคล้ายๆภาพแบบนี้มาแล้ว เห็นแล้วเหมือนผมอยู่ใกล้อดีต และสนิทแนบกับชนบท วิถีแห่งชนบทวิถีที่ใกล้ธรรมชาติ

เธอน่ารักมาก.. ขอให้เธอเติบโตเป็นอนาคตของท้องถิ่น ประเทศชาติเถอะ..


มีเรือเป็นบ้าน..

2422 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 20 ธันวาคม 2011 เวลา 13:35 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 51684

Floating house

คนสมัยก่อนที่อยู่กับน้ำ มีที่พักแบบนี้ ซึ่งเป็นแบบหนึ่งในหลายๆแบบ

บรรพบุรุษตระกูลผมรุ่นทวดนั้น เคยอยู่แพริมน้ำก่อนที่จะย้ายขึ้นไปบนฝั่ง แบบแพจะกว้างกว่าและไม่โคลงเหมือนเรือ ทวดมีทองใส่กำปั่นมากมาย เพราะทำการค้ากับชาวนาในพื้นที่ลึกเข้าไปในป่า โดยเอาเกลือ ปลาเค็ม แลกข้าว แล้วเอาข้าวไปขายต่อ

ทวดรวยมีทองมากมายจนแพเอียง เขาเรียกทวดว่า “ยายตุ้ยแพเอียง” ต่อมาถูกโจรปล้น โจรเปิดกำปั่นไม่ออก เอาขวานผ่าฝืนขนาดใหญ่จามกำปั่น ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่ามันดังลั่นคุ้งน้ำเชียว กำปั่นส่วนหนึ่งจมน้ำและไม่สามารถงมขึ้นมาได้จนปัจจุบันนี้

เห็นเรือบ้านลำนี้ที่ ท่าเดื่อ แม่น้ำโขง ไชยบุรี แล้วนึกถึงเรื่องราวขึ้นมา..


หงสา หน้าหนาว

2247 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 15 ธันวาคม 2011 เวลา 23:30 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 59626

ทุกเช้าที่นั่งรถไปทำงานกับ อาว์เปลี่ยน

จะต้องผ่านตรงนี้ บรรยากาศแบบนี้

เห็นแล้วยังหนาวเลย อิอิ


หนาววว

2811 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 15 ธันวาคม 2011 เวลา 16:54 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 164280

ตอนนี้มาอยู่กับอาว์เปลี่ยน เมืองหงสา

หนาวววววว จริงๆ นั่งทำงานทั้งวัน ไม่มีเวลาเข้ามา


Tablet….

2176 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 10 ธันวาคม 2011 เวลา 21:35 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการประเทศ #
อ่าน: 45054

ไม่น่าเชื่อว่าเด็กสมัยนี้จบ ป.6 อ่านหนังสือไม่ออก….?

ผอ.โรงเรียนมีชื่อแห่งหนึ่งของขอนแก่น ถูกตั้งข้อหารวยผิดปกติ เพราะเป็นแค่ ผอ.แต่มีเงินนับสิบล้าน..?

เด็กสมัยก่อนจะปั้นวัวปั้นควาย ด้วยมือเขาเอง ครูจะเป็นผู้สอนว่าขั้นตอนมีอะไรบ้าง เริ่มจากตรงไหน แล้วไปจบที่ตรงไหน ครูจะพาเด็กไปขุดดินในสถานที่ที่ดินดีที่สุดเหมาะที่สุดในการนำมาปั้น..ได้ดินมาแล้วต้องมานวดให้ได้ความพอดี ไม่แห้งไม่เปียกเกินไป ไม่แข็งเกินไป เด็กทำเอง ปั้นเอง ครั้งแล้วครั้งเล่า จึงผ่าน

เด็กสมัยก่อนคัดไทย
ฝึกเขียนตัวอักษร การผสมอักษร สระอยู่ตรงไหน พยัญชนะ วรรณยุกต์อยู่ตรงไหน ช่องไฟเป็นอย่างไร จะวางกระดานชนวนแบบไหน ใช้มือไหนเขียน …..ฯลฯ …?

กว่าจะมาเป็นครู กว่าจะมาเป็นผู้บริหารโรงเรียน ล้วนมาจากฝีมือทั้งสิ้น ไม่ใช่ไปวิ่ง สส. วิ่งรัฐมนตรีมา…?

เด็กคนหนึ่งมีความผิด ผอ.จะลงโทษ พ่อเด็กวิ่งไปขอ สส.ให้ ผอ.ระงับการลงโทษ….นี่มันอะไรกัน เสียการปกครองหมด เสียระเบียบ ข้อบังคับ แล้วเด็กคนอื่นเห็นเด็กที่ทำผิดแล้วไม่โดนทำโทษตามระเบียบมันคิดอะไร

และอีกหลากหลายประเด็นที่ผมได้มีโอกาสคุยกับ ผอ.โรงเรียนแห่งหนึ่งในขอนแก่น เป็นโรงเรียนที่ไม่ติดเมือง ผมฟัง ผอ.ท่านนี้เล่าให้ฟังแล้วสะอึกว่าระบบการศึกษาบ้านเรามันอาการทรุดหนักขนาดนี้เชียวหรือ…

ผมเรียนมาทางการศึกษาจึงสัมผัสสาระเหล่านี้ได้ดี แล้วในที่สุด ผอ.ก็มาลงที่ไอ้เจ้า Tablets ท่านกล่าวว่า ไม่เห็นด้วย แต่ไม่ปฏิเสธเทคโนโลยีตัวนี้ แต่ไม่ใช่เวลาที่เด็กเล็กๆจะมาเล่นเจ้านี่

ท่านกล่าวว่า เริ่มแล้ว มีผอ.โรงเรียนอนุบาลบางแห่งเอาใจรัฐบาล ประกาศขอนำร่อง Tablet ในโรงเรียนอนุบาลกันเลย แต่..ขอผู้ปกครองออกเงินสมทบจำนวนหนึ่ง..? ท่านผอ.ที่ไม่เห็นด้วยมากๆคือ การเอา Tablet มาเริ่มตั้งแต่อนุบาล.. เพราะก้าวข้ามขั้นของกระบวนการเรียนรู้การเขียน การผสมอักษร การวางสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ …ฯ ที่ใช้สมองกับทักษะของมือ… นี่ใช้นิ้วจิ้ม…เด็กที่โตมาด้วยการใช้นิ้วจิ้มนี่มันจะเป็นอย่างไร….??

มากไปกว่านั้น เบื้องหลังของ Tablet คือธุรกิจที่วางแผนและเตรียมกันมานานแล้ว แบบเรียนก็เป็นธุรกิจ สาระ เนื้อหาของการเรียนรู้จริงๆเป็นแค่ฉากหน้าที่ใช้วาทะศิลปฺพูดกันไป

ถามว่าเจ้ากระทรวงมีภูมิหลังเป็นอะไร ทำมาหากินอะไร…ไปค้นเอาเอง ก่อนจากลาผมเดินเข้าไปจับมือท่านผอ.ท่านนี้

ผมถามจริงๆ หากท่านผอ.มีอำนาจวาสนา ท่านอยากได้ใครมาเป็นเจ้ากระทรวง…

ท่านผอ.ตอบว่า ผมอยากให้ท่าน ศ. ดร.เกษม วัฒนชัย องค์มนตรีมาเป็นเจ้ากระทรวง ซึ่งสมัยหนึ่งท่านเป็นมาแล้ว ท่านดีมาก…ทั้งวิสัยทัศน์ นโยบาย ท่านไม่ลงไปล้วงลูก คุมนโยบายใหญ่ระดับชาติเท่านั้น แต่ปัจจุบันใครจะโยกย้าย เจ้ากระทรวงลงมาจัดการหมด….



Main: 1.6545441150665 sec
Sidebar: 0.19655394554138 sec