ก้าวหน้ามาก แต่ยังมีอีกหลายก้าว

125 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 13 พฤษภาคม 2011 เวลา 9:10 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 4002

วันที่ 11-12 พ.ค. 54 มีการจัด “เวทีวิชาการชาวบ้านกับการจัดการความรู้เพื่อความมั่นคงทางอาหารเรื่องพันธุกรรมเพื่อความเป็นไท” ที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ท่านที่อยู่ในวงการคงหลับตาออกนะครับว่าใครจะมาร่วมงานบ้าง จัดโดย NGO และศูนย์วิจัยข้าวหลายแห่ง มีนักวิชาการจากศูนย์วิจัยข้าวหลายท่านมาร่วมงานด้วย และ NGO คนดังหลายท่าน


ผมชื่นชม NGO ที่รวมตัวกันทำเรื่องนี้มานาน เมื่อผมเหลียวหลังไปมองน้องๆเหล่านี้ก้าวหน้ามาก โดบเฉพาะเรื่องการค้นหาสายพันธุ์พื้นบ้าน การตามสายพันธุ์พื้นบ้าน การขยายพันธุ์พื้นบ้าน การทำวิจัยแบบพื้นบ้าน และมีความพยายามจะยกระดับกระบวนการนี้ให้เป็นวาระแห่งชาติของวงการ

ผมเห็นด้วยและสนับสนุน หลังจากที่ชาวนาเราปลูกข้าว กข. 6 มะลิ 105 มานานจนทิ้งข้าวพื้นบ้านไปเกือบหมด หลายพื้นที่หมดแล้วจริงๆ  NGO เป็นกลุ่มแรกๆที่หันหลังกลับมาฟื้นความหลากหลายทางชีวภาพสิ่งนี้ โชคดีที่ศูนย์วิจัยข้าวของราชการให้ความร่วมมือและเดินเคียงคู่กันไป NGO พี่ใหญ่ถึงกับออกปากชื่นชมราชการส่วนนี้ซึ่งปกติไม่ค่อยญาติดีกันเท่าไหร่


เท่าที่ฟังผู้มาร่วมงานและเครือข่ายการทำงานนี้ของ NGO พบว่ามากันทั่วประเทศ เหนือ กลางใต้ อีสานมาหมด ตอนแรกกะผู้มาร่วมงาน 400 คน นี่ปาเข้าไป 600 คน จนผู้จัดงานบอกขาดทุนไป 6 หมื่นกว่าบาท และไม่ได้เก็บสตางค์คนที่มา..

งานนี้มีเวทีที่สำคัญหลายอย่างที่ผมชอบคือเอาชาวบ้านตัวจริงที่ทำเรื่องข้าวพื้นบ้านมาพูดมาเล่า อธิบายการเก็บรักษาพันธุ์ และขยาย เอามูลนิธิข้าวขวัญของพี่ใหญ่ตัวเอ้ของวงการ NGO ที่ทำเรื่องนี้มานานที่สุพรรณบุรี มีตัวแทนโรงเรียนชาวนา และที่ถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับผมคือเรื่อง “กฎหมายพันธุ์พืช” มีอาจารย์นักกฎหมายมาสรุปสาระเรื่องนี้ให้ที่ประชุมเข้าใจ นี่ก็ระเบิดเวลาอีกลูกหนึ่งของสังคมเพราะสาระนั้นเป็นปฏิปักษ์กับวิถีชีวิตชาวบ้านที่จะเติบโตขึ้นมา และก็เกิดเหตุขึ้นแล้วด้วย


ผมตั้งใจฟังทั้งสองวันว่าก้าวหน้าไปแค่ไหน อย่างไร และจะเอาไปใช้ ไปต่อยอดในพื้นที่ทำงานพัฒนาชนบทได้อย่างไรบ้าง มากมายครับ

แต่งานที่เห็นว่ามีอีกหลายก้าวที่กลุ่มนี้จะต้องเดินต่อไปคือ

  • การศึกษาและบันทึกลักษณะรายละเอียดประจำสายพันธุ์พืช โดยเฉพาะข้าวพื้นบ้านชื่อนั้นๆ มีการบอกกล่าวกันเท่านั้น การบันทึกก็มีอยู่ในวงแคบๆของศูนย์วิจัยข้าว แต่ที่ชาวบ้านทำกันเองนั้นต้องการนักวิชาการลงไปแนะนำทำการบันทึก ซึ่งเป็นงานมหาศาล ราชการทำเองไม่หมด
  • การศึกษาวิเคราะห์คุณค่าสารอาหารประจำสายพันธุ์ข้าว มีการทำในวงจำกัดเท่านั้น และชาวบ้านไม่มีปัญญาที่จะทำ ราชการต้องเข้ามา หรือเอกชนต้องเข้ามา หรือสถาบันการศึกษาต้องเข้ามาช่วย

เหล่านี้เป็นประเด็นวิจัยเพื่อสังคม เพื่อชาวบ้าน เพื่อประเทศชาติทั้งนั้น อย่ามาโฆษณาครัวโลกเลยหากไม่ก้าวลงมาช่วยกันทำเรื่องพื้นๆเหล่านี้

ในงานนี้มี NGO ลาวเข้ามาร่วมสัมมนาด้วย ท่านทำงานอยู่ที่เมืองสะหวันนะเขตกล่าวว่าจากการสำรวจชุมชนลาวพบว่า ข้าวพันธุ์พื้นบ้านหายไปหมดแล้ว มีแต่พันธุ์ของทางราชการที่ตอบสนองปุ๋ยเคมีทั้งสิ้น น่าเสียดายจริงๆที่ความหลากหลายทางชีวภาพของเราหดหายไปเพราะความหลงผิดของมนุษย์เรานี่เอง แต่ก็ชื่นชมศูนย์วิจัยข้าวไทยของกรมวิชาการเกษตร และกลุ่ม NGO ขยับเรื่องนี้มานานแล้ว

ผมเองก็แตะๆอยู่บ้างในอดีต แต่ไม่ได้ลงลึกเรื่องนี้สักเท่าไหร่ เห็นทีจะมีงานใหญ่ทำเสียแล้ว…


อาม่า..ข้าวพื้นบ้าน..ดงหลวง

15 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 15 กรกฏาคม 2009 เวลา 23:50 ในหมวดหมู่ งานพัฒนาสังคม #
อ่าน: 2986

ดูอาม่าเมื่อเช้าทำให้ย้ำความตั้งใจที่ทีมงานร่วมกันคิดไว้ว่า เรามาช่วยกันฟื้นพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน และขยายข้าวอินทรีย์ออกไปในพื้นที่โครงการ…


ปาลียน ส่งต่องานวิจัยแบบชาวบ้านไว้เรื่องการเพิ่มผลผลิตข้าวในพื้นที่ดงหลวงไว้ น้องๆทีมงานก็สานงานต่อ และเราก็มีข้อสรุปครั้งที่หนึ่งไว้ว่า เป็นไปได้ที่เราจะเพิ่มผลผลิตข้าวในสภาพปกติ และเป็นข้าวอินทรีย์ ปีนี้เราก็ดำเนินการต่อเพื่อศึกษาเพิ่มเติมในรายละเอียด..


ก่อนที่พี่น้องดงหลวงจะลงนาเมื่อต้นเดือน พ.ค. ที่ผ่านมานั้น ทีมงานก็ไปเอาข้าว “เล้าแตก” และ “มะลิแดง” มาจากกาฬสินธุ์เพื่อมาให้พี่น้องดงหลวงขยายพันธุ์และเอาไปปลูกกันในปีต่อๆไป อาม่าบอกว่า ข้าวเล้าแตกมีคุณค่าเหมาะกับ สว.ทั้งหลาย และ…

เมื่อวันก่อนผมกับทีมงานก็ไปประสานงานกับสำนักงานชลประทานจังหวัดเพื่อแลกเปลี่ยนกันถึงแหล่งน้ำที่กรมชลประทานมาก่อสร้างไว้ในดงหลวง และการใช้ประโยชน์ เราก็แอบคิดในใจว่า พื้นที่ที่จะขยายพันธุ์ข้าวดังกล่าวควรจะอยู่ในพื้นที่ชลประทานเป็นอันดับแรก เพราะจะมีหลักประกันในเรื่องน้ำไว้ก่อน และต่อไปก็เป็นเกษตรกรที่มีสระน้ำประจำไร่นาที่สมัครใจ


หากโครงการต่อเฟสที่สองได้ คงต้องเตรียมเกษตรกรในเรื่องการเป็นแหล่งผลิตข้าวพื้นบ้านอินทรีย์ แต่ทั้งหมดนี้ต้องผ่าน กระบวนการ “ชุมชนสนทนา” (Community Dialogue) ก่อน…

ขอบคุณอาม่าครับ..




Main: 0.29875707626343 sec
Sidebar: 0.5948851108551 sec