ปลูกต้นไม้เอาใบ

อ่าน: 4705

บันทึกนี้เกี่ยวเนื่องกับบันทึกที่แล้วครับ ขอเอาภาพเดิมกลับมาดูกันใหม่อีกที

ดูตรงเส้นสีส้มซึ่งสะท้อนพลังงานของดวงอาทิตย์ออกไปนะครับ การสะท้อนนี้เกิดโดยปัจจัยต่างๆ ที่แตกต่างกัน และมีผลไม่เท่ากัน ตัวบรรยากาศของโลกเองสะท้อนพลังงานแสงอาทิตย์ออกไป 6% เมฆชั้นสูง/ชั้นกลาง/ชั้นต่ำ สะท้อนแสงอาทิตย์ออกไป 20% ส่วนที่เหลืออีก 4% นั้น แสงแดดตกกระทบพื้นแล้วแผ่ออกในรูปรังสีอินฟราเรด

เอาล่ะ เราคงผ่านความแห้งแล้งกันมาคนละหลายๆ ครั้ง ซึ่งนอกจากบ่นแล้ว ก็ไม่ได้ทำอะไรไม่ใช่หรือครับ… แน่นอน เวลาแล้งเป็นเพราะฝนไม่ตกต่อเนื่องเป็นเวลานาน… แต่ไม่รู้ว่าเคยสังเกตท้องฟ้าหรือเปล่าครับ ว่าเวลาที่แล้งนั้น มักหาจะหาเมฆเหนือหัวไม่เจอสักก้อน ไม่ว่าจะเป็นเมฆในระดับไหน

เมื่อไม่มีเมฆ การสะท้อนพลังงานจากดวงอาทิตย์กลับออกไปในอวกาศด้วยเมฆ (20%) ก็ไม่มีน่ะซิครับ อย่างน้อยก็ตรงที่เราอยู่ พอไม่มีอะไรกั้นแล้ว พลังงานจากดวงอาทิตย์ก็ตกลงมากระทบผิวโลกมากขึ้น (เป็น 51%+20%) ยิ่งร้อนหนักเข้าไปใหญ่ รังสียูวีก็เยอะ นอกจากผิวเสียแล้ว ฮิวมัสในดินก็จะสลายตัวเร็ว ดินเสื่อม พืชรับความซวยไป

เมื่อดินร้อน น้ำผิวดินหาย น้ำใต้ดินแห้ง พืชพันธุ์ธัญหารก็เสียหาย… เมื่อเมฆหายไป ก็ควรจะหาอะไรมาบังแดดแทนเมฆครับ ซึ่งนั่นคือใบไม้ไง!

พลังงานแสงที่ตกกระทบใบไม้ ใบไม้ก็สังเคราะห์แสงไป ดูดเอาน้ำและแร่ธาตุผ่านรากและลำต้น ดูดคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศ ไปสร้างความเจริญเติบโตไปตามกระบวนการ… แสงที่ผ่านใบไม้ลงมาไม่ได้ ก็เกิดเป็นร่มเงาอยู่ข้างใต้ ดินไม่ร้อน น้ำใต้ดินไม่สูญเสียจากการระเหยเนื่องจากโดนแดดเผา ลดอัตราการเสื่อมของดิน (ดินดาน ดินแตกระแหง กลายเป็นทราย ฯลฯ)

ก็จริงอยู่ที่เวลาอากาศแล้งจัด ต้นไม้ผลิใบเพื่อลดการคายน้ำ ใบไม้ที่ร่วงลงดินก็ปล่อยมันไว้อย่างนั้นล่ะครับ เพราะว่ามันย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ คืนธาตุอาหารที่ต้นไม้ยืมมาสร้างใบกลับไปสู่ดินอีกทีหนึ่ง แต่ระหว่างที่ใบไม้ยังไม่ย่อยสลาย มันบังบังแดดให้แก่พื้นดินได้สักพักครับ

อ่านต่อ »


Biochar ปรับปรุงดินและลดโลกร้อน

อ่าน: 7224

Biochar เป็นถ่านที่เกิดจากการเผาไหม้แบบควบคุมปริมาณออกซิเจนที่อุณหภูมิต่ำ — แปลเป็นไทยก็คือถ่านไม้จาก [ไต้ไม่มีควัน] นั่นล่ะครับ — Biochar ต่างกับ Activated carbon (ถ่านกัมมันต์) ที่ activated carbon เผาที่อุณหภูมิสูง แต่ biochar เผาที่อุณหภูมิต่ำ

ถ่าน biochar เป็นถ่านที่เกิดจากกระบวนการ pyrolysis ของไฮโดรคาร์บอน เช่น ไม้ มูลสัตว์ หรือพลาสติก) แต่ถ่าน biochar ไม่ได้ใช้เพื่อเป็นเชื้อเพลิง แต่ใช้ดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ

ทุกอะตอมของคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 มีออกซิเจนอยู่สองอะตอม เมื่อเกิดกระบวนการ pyrolysis อากาศปริมาณน้อยที่ผ่านเข้าไปในเตา มีคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ในปริมาณเกือบ 390 ppm (ส่วนในล้านส่วน) เมื่อกระบวนการ pyrolysis ทำงาน เตาจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาประมาณ 66 ppm (เหลือแค่ 17% ของ 390 ppm) เทียบกับการเผาไหม้ในอากาศเช่นเผาไร่เผานา จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 1000 ppm (เพิ่มเป็น 256% ของ 390 ppm)

กระบวนการ pyrolysis ใช้ความร้อนยิ่งยวด ทำลายพันธะทางเคมีของคาร์บอนไดออกไซด์ ปลดปล่อยอะตอมของออกซิเจนออกมาหล่อเลี้ยงไฟ ส่วนคาร์บอน ถูกไม้จับไว้ ถ่าน biochar จึง ดำ-เปราะ-เบา ซึ่งเป็นลักษณะของคาร์บอนที่มีความบริสุทธิ์สูง … คาร์บอนไดออกไซด์ จึงถูกดักจับจากอากาศมาเก็บไว้ในรูปคาร์บอนในถ่านด้วยวิธีการนี้ครับ เมื่อคาร์บอนไดออกไซด์หายไปจากบรรยากาศ จึงเป็นการลดก๊าซเรือนกระจก

แต่ไม่ใช่แค่นั้นหรอก…

อ่านต่อ »


ปลูกต้นไม้เท่าไรจึงพอ

อ่าน: 4348

คำตอบแบบรวดเร็วฉาบฉวย คือปลูกไปเรื่อยๆ ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ครับ ถ้าพอใจคำตอบนี้ ก็ไม่ต้องอ่านข้างล่างแล้ว บ๊าย บาย

เป็นที่รู้กันโดยทั่วไป ว่าระดับของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศขณะนี้ สูงกว่าระดับที่โลกเคยประสบมาตลอดประวัติศาสตร์ของโลก ตั้งแต่มีสิ่งมีชีวิตบนบกเป็นต้นมา

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งมีปริมาณสูงขึ้นมากตามลำดับหลังจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อสองร้อยกว่าปีก่อน ระดับคาร์บอนไดออกไซต์ในบรรยากาศขณะที่เขียนนี้ อยู่ที่ 388.59 ส่วนในล้านส่วน ในขณะที่เมื่อยี่สิบสองปีก่อน อยู่ที่ 349.99 ส่วนในล้านส่วนเท่านั้น [รายละเอียด]

ตลอดยุค “ความก้าวหน้า” ของมนุษย์ เราขยันปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาอย่างต่อเนื่องและมากมาย ซึ่งน่าเชื่อได้ว่าจะทำให้โลกต้องปรับตัวอย่างรุนแรง เนื่องเพราะอุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น ความชื้นก็เพิ่มตาม ทำให้พายุมีความรุนแรงขึ้น น้ำแข็งละลาย ปริมาณน้ำจืดสำรองมีน้อยลง ในขณะที่ประชากรของโลกเพิ่มขึ้นทุกวัน น้ำจะขาดแคลน อาหารจะไม่พอ (ไม่นับที่เสียหายจากความแปรปรวนของภูมิอากาศ)

เมืองไทยให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโตเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว แล้วว่ากันที่จริงก็มีความคืบหน้าที่น่ายินดีเหมือนกันครับ พิธีสารเกียวโตกำหนดขั้นตอนวิธีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไว้หลายอย่าง เช่น JI ET และ CDM ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก./TGO อนุมัติโครงการ CDM 111 โครงการ ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในไทยได้ 6.95 ล้านตันต่อปี ทำให้เมืองไทยกระโดดขึ้นมาอยู่ใน Top 10 เรื่องการลดก๊าซเรือนกระจกผ่าน CDM [ข่าว] นานๆ ครั้ง จะเห็นหน่วยงานของรัฐทำอะไรที่ถูกใจนะครับ ขอปรบมือให้เลย

อ่านต่อ »


ไขความมหัศจรรย์ของต้นไม้กับน้ำและภาวะโลกร้อน

อ่าน: 5213

คงเคยได้ยินนะครับ ว่าใช้ช่วยกันปลูกต้นไม้ ลดโลกร้อน บรรเทาน้ำท่วม บรรเทาแล้ง — สิ่งเหล่านี้ เกี่ยวพันกันบ้าง แต่ไม่ใช่ผลโดยตรงของกันและกันหรอกนะครับ

Q: ปลูกต้นไม้ ป้องกันน้ำท่วมได้หรือไม่

A: หว่า คำถามนี้ ควรตั้งสติแล้วถามใหม่ครับ

น้ำท่วมจากแม่น้ำลำคลองเกิดขึ้นจากปริมาณน้ำที่ไหลมา มากเกินกว่าปริมาณน้ำที่จะไหลผ่านไปได้ ดทำให้น้ำเอ่อขึ้นมา เมื่อเอ่อขึ้นมาเกินระดับตลิ่ง ก็เรียกว่าน้ำท่วม เมื่อน้ำท่วมในลักษณะนี้ จะปลูกต้นไม้ตรงนั้นกี่ต้น จะไม่ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมได้เท่าไหร่หรอกครับ เป็นปลายเหตุแล้วครับ

Q: แม่น้ำลำคลองเอาน้ำมาจากไหนมากมาย

A: ก็ฝนตกจะเป็นกี่มิลลิเมตรก็ตาม คูณด้วยพื้นที่ที่ฝนตก ก็จะเป็นปริมาตรของน้ำฝนที่ตกลงมา; เมื่อฝนตกลงมาเป็นน้ำ น้ำก็ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเป็นธรรมดา ค่อยๆ รวมกันทีละเล็กทีละน้อย กลายเป็นลำธาร เป็นคลอง และเป็นแม่น้ำ ถ้าฝนตกเป็นปริมาตรเยอะๆ น้ำก็จะไหลมาลงแม่น้ำลำคลองอยู่ดี

Q: เขื่อนกันน้ำท่วมได้ไหม

A: กันได้ถ้าฝนตกเหนือเขื่อน และกันได้เท่ากับปริมาตรกักเก็บที่เหลืออยู่ ถ้าน้ำมาเกินปริมาตรกักเก็บ น้ำจะล้นออกมาเอง

อ่านต่อ »


Global Disruption

อ่าน: 3304

Dr. John Holdren นักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงของสหรัฐ (ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการสำนักนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำเนียบขาว และเป็นประธานร่วมของคณะที่ปรึกษาประธานาธิบดีโอบามา ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ในสมัยที่ยังอยู่ในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ให้สัมภาษณ์กับเครือข่าย DemocracyNow.org เรื่อง Global Disruption ดังนี้ครับ

อ่านต่อ »


“350 ppm” ขีดปลอดภัยสำหรับมนุษยชาติ

อ่าน: 6312

บน Facebook คืนนี้ อ.วรภัทร์ โพสต์ลิงก์ไปที่บทความจากกรุงเทพธุรกิจ เป็นเรื่องที่ อ.อาจอง ชุมสาย อยุธยา บรรยายพิเศษในงาน สัมมนาโลกร้อน : ผลกระทบของชาวเชียงใหม่ ที่โรงเรียนพายัพเทคโนโลยีและบริหารธุรกิจ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

ข่าวนี้เป็นข่าวที่ผมกำลังหาอยู่พอดี นอกจากงานทางสังคมที่ทำอยู่แล้ว ก็มีความสนใจส่วนตัวอยู่ด้วย และมีข้อมูลเรื่องนี้อยู่พอสมควร ดูได้จากบันทึกเก่าๆ ที่เคยเขียนตลอดหลายปีที่ผ่านมา

เมื่อมองในแง่ข้อมูลนะครับ ถึงแม้เป็นข้อมูลทุติยภูมิ ก็มีเหตุผลอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นน่าฟังและเข้าเค้า ส่วนเรื่องการทำนายเวลา อาจจะต้องอ้างอิงสถิติ ยังไม่น่าจะแม่น (สงครามเย็นเลิกไปโดยไม่ได้ทำลายโลกหรือเกิดสงครามโลกครั้งที่สาม ปี 2000 Y2k โลกไม่แตก ปี 2012 ยังมาไม่ถึง ฯลฯ) แต่ถ้าถามว่ามีปัญหาโลกร้อนจริงหรือไม่ ผมเชื่อว่าจริงครับ เพียงแต่ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะถึงระดับวินาศ จะมีผลรวดเร็วรุนแรงแค่ไหน แต่คงแรงแน่

เมื่อเชื่อแนวโน้มแล้ว ไม่ควรตั้งอยู่ในประมาท พยายามแก้ไข+เตรียมตัว ถ้าโลกไม่แตกก็ดีไป แก้ไขอัตราการทำลายโลกเสียวันนี้ ลูกหลานคงจะลำบากน้อยลง เรื่องอย่างนี้ ไม่มีประโยชน์ที่จะบอกว่าเสียใจซึ่งในตอนนั้นไม่มีใครอยู่ฟังแล้ว มีแต่ทำในตอนนี้หรือไม่ทำเท่านั้น

จากบันทึกเหลืออีกเท่าไหร่ ปริมาณน้ำจืดต่อหัวประชากรของโลก จะต่ำกว่าระดับที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในปี 2025 อีก 15 ปีเท่านั้น พืชผักอาหารจะทำอย่างไรกัน แล้ววันนี้ทำอะไรกัน

อ่านต่อ »


เหลืออีกเท่าไร

อ่าน: 3667

วารสาร Scientific American เดือนกันยายน ตีพิมพ์ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรของโลกที่ “เหลืออยู่” ในบทความชื่อ How Much Is Left? The Limits of Earth’s Resources, Made Interactive เป็นการแสดงข้อมูลซับซ้อนด้วยภาพ (Visualization)

เป็นที่ทรัพยากรเป็นสิ่งมีค่าและมีอยู่จำกัด ซึ่งเมื่อหมดก็คือหมดครับ

แต่ผมไม่คิดว่าการทำนายว่าทรัพยากรต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงเผ่าพันธุ์มนุษย์ในปัจจุบันจะหมดลงเมื่อไหร่ เรามักเข้าใจว่าจะเกิดปัญหาเมื่อทรัพยากรหมด ซึ่ง(หวังว่า)คงจะอีกนาน ที่จริงแล้ว ปัญหาต่างๆ จะทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อการนำทรัพยากรไปใช้(ผลิต)ในระดับสูงสุดต่างหาก ปัจจุบันโลกมีประชากรเกือบเจ็ดพันล้านคนแล้ว มีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นอัตราการใช้ทรัพยากรจึงเพิ่มขึ้นด้วยอัตราก้าวหน้า ซึ่งเร่งให้ใช้หมดไปด้วยอัตราที่เร็วขึ้น กรณีประเทศที่มีแหล่งน้ำมันดิบ ถูกบุกรุกโดยประเทศที่มีอำนาจในทางทหารแข็งแกร่ง ซ้ำแล้วซ้ำอีก คงเป็นสัญญาณสำคัญว่าการแย่งชิงทรัพยากรจะทวีความรุนแรงมากขึ้น

อ่านต่อ »


คุ้นเคยจนนึกว่ารู้ แต่ที่จริงไม่ได้ตระหนักเลย

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 2 February 2010 เวลา 2:10 ในหมวดหมู่ พลังงาน #
อ่าน: 4510

ไฟฟ้า… บ้านไหนก็มีไฟฟ้า

ไฟฟ้าที่เราใช้อยู่ เป็นเทคโนโลยีของศตวรรษที่ 19 ใช้ power plant ขนาดใหญ่ ผลิตไฟฟ้าจากเขื่อน ถ่านหิน และฟอสซิล จ่ายกำลังไปตามสายส่งไฟฟ้า ซึ่งเกิดการสูญเสียมากกว่าจะไปถึงปลายทาง

โลกใช้เวลานานหลายร้อยล้านปี กว่าที่จะเก็บสะสมพลังานแสงอาทิตย์ ภายใต้ความร้อน ความกดดัน เปลี่ยนซากพืชซากสัตว์เป็นฟอสซิล แต่มนุษย์เผาฟอสซิลกลับเป็นไฮโดรคาร์บอน และความร้อนอย่างรวดเร็วในช่วงร้อยกว่าปีนี้เอง เร็วกว่าที่ธรรมชาติทำกว่าล้านเท่า แล้วอย่างนี้ จะไม่ร้อนรุ่มได้ยังไง??

อ่านต่อ »


ส้มลูกนี้ ต่อไปอาจจะแสดงอาการน่าเกลียด

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 6 December 2009 เวลา 0:03 ในหมวดหมู่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี, เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 3565

บันทึกนี้เป็นการอนุมาน ไม่ประสงค์จะให้เกิดความแตกตื่นครับ ขอให้พิจารณาเอาเอง

จากวิชาภูมิศาสตร์สมัยเด็กๆ โลกนี้ไม่กลมเหมือนลูกบอล แต่ป่องกลางเหมือนส้ม

ทีนี้ก็เกิดปรากฏการณ์โลกร้อน จะร้อนตับแตกหรือไม่ก็ไม่ใช่ประเด็นของบันทึกนี้ นักวิทยาศาสตร์นาซ่าประมาณว่าอาจจะขึ้นมาอีก 7 เมตรหากน้ำแข็งที่กรีนแลนด์ละลายหมด กรีนพีซว่าไว้ดุเดือดกว่านั้น

ผมไม่ได้เขียนบันทึกนี้เพื่ออภิปรายว่าจะเป็นตัวเลขใดหรอกนะครับ แต่อยากชี้ประเด็นที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึง เกี่ยวกับมหาสมุทรสามอันบริเวณเส้นศูนย์สูตร คือแปซิฟิก อินเดีย และแอตแลนติก (ข้อมูลมาจาก Wikipedia)

มหาสมุทร พื้นที่ (ล้าน ตร.กม.)
แปซิฟิก 169.2
อินเดีย 73.6
แอตแลนติก 106.4

ในตอนนี้ โลกก็หมุนรอบแกน(หมุน)เหนือใต้แบบที่เป็นอยู่ แต่ถ้าน้ำแข็งละลายตากแผ่นดินลงมา แล้วทำให้น้ำสูงขึ้น 1 เมตร ที่ใช้เลข 1 เพราะคิดง่าย ถ้าไม่ชอบใจ ก็คูณตัวเลขที่ชอบเอาเองก็แล้วกันครับ — ถ้ามีเขื่อนที่มีพื้นที่ 1 ตร.กม. เติมน้ำให้สูงขึ้น 1 เมตร จะมีมวลของน้ำ (น้ำหนัก) เพื่มขึ้น 1 ล้านตัน

แต่ระดับน้ำในแต่ละมหาสมุทรก็(เกือบจะ)เท่ากัน เพราะมันต่อถึงกันหมด มหาสมุทรแปซิฟิกจะมีมวลเพิ่มขึ้น 169.2 ล้านล้านตัน มหาสมุทรอินเดียหนักขึ้น 73.6 ล้านล้านตัน และมหาสมุทรแอตแลนติกเพิ่มขึ้น 106.4 ล้านล้านตัน

ลองนึกถึงส้มหมุนที่เกิดหูดยักษ์ขึ้นสามก้อน หูดแต่ละก้อนหนักไม่เท่ากันดูนะครับ ส้มจะยังหมุนรอบแกนเดิมเหมือนเพิ่งไปตั้งศูนย์ล้ออยู่ได้หรือไม่ครับ

ผมคิดว่าหูดแปซิฟิกซึ่งหนักกว่าเพื่อน แถมมีขนาดใหญ่กว่าพื้นดินทั้งโลกรวมกันเสียอีก ก็จะเหวี่ยงจนแกนหมุนรอบตัวของโลกเปลี่ยนแปลงไป เพื่อรักษาโมเมนตัมเชิงมุมของโลก เมื่อแกนหมุนของโลกเปลี่ยน ไม่รู้เหมือนกันว่าแกนแม่เหล็กโลกจะเปลี่ยนตามหรือไม่ ถึงไม่เปลี่ยน ดวงอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นทางทิศตะวันออกอย่างที่เคย ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงเพราะว่าเส้นรุ้งเส้นแวงเปลี่ยนแปลงไป วงโคจรค้างฟ้าของดาวเทียมจะเปลี่ยนแปลงด้วย (ดาวเทียมจะไม่อยู่นิ่ง) ไม่ต้องไปห่วงธุรกิจทีวีดาวเทียมซึ่งจะโรเจอร์ไปทันทีหรอกครับ ห่วงตัวเองดีกว่า น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นในมหาสมุทร จะเพิ่มความเค้นต่อแผ่นเปลือกโลก อาจเกิดการขยับยืดแข้งยืดขาเป็นแผ่นดินไหวมากผิดปกติ รอยแยกที่สงบมานานแล้ว อาจขยับด้วย

หนุกหนาน หนุกหนาน… แล้วเราทำอะไรกันได้บ้างครับ


รีไซเคิลดวงอาทิตย์

อ่าน: 4376

เมื่อหลายปีก่อน มีโฆษณาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เรื่องโรงผลิตไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับที่เขื่อนลำตะคอง ผมชอบโฆษณานั้นมากครับ เป็นการใช้หลักคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์มาแก้ปัญหาความต้องการไฟฟ้าสูงในช่วงหัวค่ำ แถมด้วยการสื่อสารกับประชาชนด้วยคำพูดง่ายๆ ว่า “รีไซเคิลน้ำ”

มีเอกสารจากเว็บของเทศบาลนครราชสีมาอ้างอิงได้ว่า

เขื่อนลำตะคองเป็นเขื่อนแห่งแรกที่กรมชลประทาน กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ(ปัจจุบันสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) ได้วางแผน สำรวจ ออกแบบรายละเอียด ออกแบบและก่อสร้างเอง โดยไม่ได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ เริ่มก่อสร้างเขื่อนในปี พ.ศ. 2507 กั้นลำตะคองบริเวณบ้านคลองไผ่ ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว เป็นเขื่อนดินสูง 40.3 เมตร ยาว 521 เมตร เก็บกักน้ำได้ประมาณ 324 ล้านลูกบาศก์เมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2512 สิ้นงบประมาณก่อสร้าง 236 ล้านบาท ใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม เพื่อการอุปโภค-บริโภค และเพื่อป้องกันน้ำท่วม พื้นที่ชลประทานได้รับประโยชน์จากเขื่อนลำตะคองมากกว่า 127,540 ไร่

ภายหลังต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2538 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการก่อสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังน้ำลำตะคองแบบสูบกลับบริเวณเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอปากช่องและอำเภอสีคิ้ว เป็นโครงการสะสมพลังงานไฟฟ้าในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าน้อย(Off Peak) นำมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าทดแทนในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง(Peak Demand ) โดยการสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำลำตะคองของ กรมชลประทานขึ้นไปเก็บไว้ชั่วคราวที่อ่างเก็บน้ำที่สร้างขึ้นใหม่บนเขา เขื่อนลั่นและปล่อยน้ำกลับมาในอ่างเก็บน้ำลำตะคองเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าในช่วง ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงช่วงตั้งแต่ 18.30-21.30 น. บริเวณที่เป็นโรงผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งอยู่บนเขายายเที่ยง เขตอำเภอสีคิ้ว และได้มีการปลูกต้นไม้ทดแทนพื้นที่ป่าที่เสื่อมโทรมลงไป พร้อมกับการสร้างสวนสาธารณะขึ้นบริเวณใกล้สำนักงานโครงการริมถนนมิตรภาพ ทำให้ทัศนียภาพเหนือเขื่อนลำตะคองมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น ทำให้ลำตะคองกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา

บริเวณเขื่อนลำตะคองซึ่งเป็นจุดสูบน้ำ เพื่อผลิตน้ำประปาหล่อเลี้ยงประชาชนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา น้ำเหนือเขื่อนได้รับสารอาหารประเภทฟอสเฟต และไนเตรตที่ถูกระบายลงมาจากเทศบาลตำบลปากช่องในปริมาณสูง จากการเปรียบเทียบความเข้มข้นของปริมาณสารอาหารดังกล่าวกับแหล่งน้ำอื่นๆประมาณได้ว่า น้ำในเขื่อนลำตะคองมีปริมาณฟอสเฟตสูงกว่าลำน้ำอื่นๆมากกว่า 2 เท่า และมีปริมาณไนเตรตสูงกว่า 10เท่า ความเข้มข้นของสารอาหารทั้งสองชนิดนี้ในแหล่งน้ำมีแนวโน้มจะก่อให้เกิดการ เจริญเติบโตอย่าผิดปกติของพืชน้ำและเป็นอุปสรรคต่อการผลิตน้ำประปา

สำหรับการผลิตไฟฟ้าในช่วงกลางวัน ซึ่งมีความต้องการไฟฟ้าน้อยกว่านั้น ถ้าผลิตออกมาแล้ว เก็บไว้ไม่ได้ เอาไฟฟ้าส่วนเกินไปทยอยสูบน้ำขึ้นไปไว้ยังเขื่อนบนเขา ซึ่งปล่อยน้ำลงมาผลิตไฟฟ้าในช่วงหัวค่ำซึ่งมีความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงกว่า เปลี่ยนไฟฟ้าเป็นพลังงานศักย์ แล้วเอาพลังงานศักย์มาเปลี่ยนกลับเป็นพลังงานไฟฟ้า

สำหรับพลังงานแสงจากดวงอาทิตย์แล้ว อาจคิดได้แบบเดียวกัน!

ถาม: แล้วเมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว จะไปเอาแสงมาจากไหน!
ตอบ: เอาแสง/ความร้อนของดวงอาทิตย์มาใช้ตรงๆ ไม่ได้หรอกครับ แต่เปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานอื่น แล้วเอามาแปลงกลับเป็นรูปที่ต้องการได้ — นั่นไงครับ ถึงได้เรียกว่าการ“รีไซเคิลดวงอาทิตย์”

อ่านต่อ »



Main: 0.080933094024658 sec
Sidebar: 0.16529083251953 sec