รีไซเคิลดวงอาทิตย์

อ่าน: 4233

เมื่อหลายปีก่อน มีโฆษณาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เรื่องโรงผลิตไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับที่เขื่อนลำตะคอง ผมชอบโฆษณานั้นมากครับ เป็นการใช้หลักคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์มาแก้ปัญหาความต้องการไฟฟ้าสูงในช่วงหัวค่ำ แถมด้วยการสื่อสารกับประชาชนด้วยคำพูดง่ายๆ ว่า “รีไซเคิลน้ำ”

มีเอกสารจากเว็บของเทศบาลนครราชสีมาอ้างอิงได้ว่า

เขื่อนลำตะคองเป็นเขื่อนแห่งแรกที่กรมชลประทาน กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ(ปัจจุบันสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) ได้วางแผน สำรวจ ออกแบบรายละเอียด ออกแบบและก่อสร้างเอง โดยไม่ได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ เริ่มก่อสร้างเขื่อนในปี พ.ศ. 2507 กั้นลำตะคองบริเวณบ้านคลองไผ่ ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว เป็นเขื่อนดินสูง 40.3 เมตร ยาว 521 เมตร เก็บกักน้ำได้ประมาณ 324 ล้านลูกบาศก์เมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2512 สิ้นงบประมาณก่อสร้าง 236 ล้านบาท ใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม เพื่อการอุปโภค-บริโภค และเพื่อป้องกันน้ำท่วม พื้นที่ชลประทานได้รับประโยชน์จากเขื่อนลำตะคองมากกว่า 127,540 ไร่

ภายหลังต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2538 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการก่อสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังน้ำลำตะคองแบบสูบกลับบริเวณเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอปากช่องและอำเภอสีคิ้ว เป็นโครงการสะสมพลังงานไฟฟ้าในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าน้อย(Off Peak) นำมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าทดแทนในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง(Peak Demand ) โดยการสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำลำตะคองของ กรมชลประทานขึ้นไปเก็บไว้ชั่วคราวที่อ่างเก็บน้ำที่สร้างขึ้นใหม่บนเขา เขื่อนลั่นและปล่อยน้ำกลับมาในอ่างเก็บน้ำลำตะคองเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าในช่วง ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงช่วงตั้งแต่ 18.30-21.30 น. บริเวณที่เป็นโรงผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งอยู่บนเขายายเที่ยง เขตอำเภอสีคิ้ว และได้มีการปลูกต้นไม้ทดแทนพื้นที่ป่าที่เสื่อมโทรมลงไป พร้อมกับการสร้างสวนสาธารณะขึ้นบริเวณใกล้สำนักงานโครงการริมถนนมิตรภาพ ทำให้ทัศนียภาพเหนือเขื่อนลำตะคองมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น ทำให้ลำตะคองกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา

บริเวณเขื่อนลำตะคองซึ่งเป็นจุดสูบน้ำ เพื่อผลิตน้ำประปาหล่อเลี้ยงประชาชนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา น้ำเหนือเขื่อนได้รับสารอาหารประเภทฟอสเฟต และไนเตรตที่ถูกระบายลงมาจากเทศบาลตำบลปากช่องในปริมาณสูง จากการเปรียบเทียบความเข้มข้นของปริมาณสารอาหารดังกล่าวกับแหล่งน้ำอื่นๆประมาณได้ว่า น้ำในเขื่อนลำตะคองมีปริมาณฟอสเฟตสูงกว่าลำน้ำอื่นๆมากกว่า 2 เท่า และมีปริมาณไนเตรตสูงกว่า 10เท่า ความเข้มข้นของสารอาหารทั้งสองชนิดนี้ในแหล่งน้ำมีแนวโน้มจะก่อให้เกิดการ เจริญเติบโตอย่าผิดปกติของพืชน้ำและเป็นอุปสรรคต่อการผลิตน้ำประปา

สำหรับการผลิตไฟฟ้าในช่วงกลางวัน ซึ่งมีความต้องการไฟฟ้าน้อยกว่านั้น ถ้าผลิตออกมาแล้ว เก็บไว้ไม่ได้ เอาไฟฟ้าส่วนเกินไปทยอยสูบน้ำขึ้นไปไว้ยังเขื่อนบนเขา ซึ่งปล่อยน้ำลงมาผลิตไฟฟ้าในช่วงหัวค่ำซึ่งมีความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงกว่า เปลี่ยนไฟฟ้าเป็นพลังงานศักย์ แล้วเอาพลังงานศักย์มาเปลี่ยนกลับเป็นพลังงานไฟฟ้า

สำหรับพลังงานแสงจากดวงอาทิตย์แล้ว อาจคิดได้แบบเดียวกัน!

ถาม: แล้วเมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว จะไปเอาแสงมาจากไหน!
ตอบ: เอาแสง/ความร้อนของดวงอาทิตย์มาใช้ตรงๆ ไม่ได้หรอกครับ แต่เปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานอื่น แล้วเอามาแปลงกลับเป็นรูปที่ต้องการได้ — นั่นไงครับ ถึงได้เรียกว่าการ“รีไซเคิลดวงอาทิตย์”

รูปแบบที่เหมาะสมที่สุดคือเลียนแบบธรรมชาติครับ ประสิทธิภาพสูง และยั่งยืนมานานกว่ามนุษยชาติ

การสังเคราะห์แสงของพืชนั้น ในมุมหนึ่งคือการใช้แสง เปลี่ยนน้ำ (H2O) ซึ่งดูดซึมมาทางรากไปใช้ แล้วปล่อยออกซิเจน (O2) ทิ้งออกมา เอาไฮโดรเจน (H) ไปใช้ในการสร้างสารประกอบไฮโดรคาร์บอนต่างๆ เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต

แต่มนุษย์สุดวิเศษนั้น เลียนแบบธรรมชาติไม่เหมือน อีกทั้งประสิทธิภาพไม่ดีพอ เพราะเราไม่เคารพธรรมชาติ จึงไม่เข้าใจธรรมชาติดีพอ แต่ก็ยังพอทำอะไรได้บ้างเหมือนกัน

เช่น ผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ครับ ส่วนที่เหลือใช้ในเวลากลางวัน ก็เอาไปแยกน้ำด้วยไฟฟ้า (Electrolysis) แยกเป็นไฮโดรเจน และออกซิเจน เมื่อจะใช้ ก็เอามาจุดระเบิดรวมกัน กลายเป็นน้ำ แถมได้กำลังกลออกมาด้วย

กระบวนการนี้คงไม่มีประสิทธิภาพเท่าไหร่หรอก แต่จะทำให้เราสามารถเก็บพลังงานแสงจากดวงอาทิตย์ โดยเปลี่ยนเป็นพลังงานเคมี แล้วปล่อยออกมาในเวลาที่ต้องการได้ ถ้าไม่เอาไฮโดรเจหรือออกซิเจนไปใช้เลย ระบบนี้ก็สามารถจะทำเป็นระบบปิดที่ยั่งยืนได้ แต่ถ้าเอาไฮโดรเจนหรือออกซิเจนไปใช้ ก็ต้องเติมน้ำลงไป แล้วต้นทุนไม่รวมการลงทุนเครื่องมือครั้งแรก น่าจะต่ำนะครับ

หรือ ต้มน้ำร้อนไว้ในเวลากลางวัน แล้วเก็บไว้ไม่ให้สูญเสียความร้อน เพื่อเอาไปใช้ในเวลากลางคืน ก็เป็นอีกวิธีง่ายๆ นะครับ

แทนที่จะคิดอะไรยากๆ (แล้วท้อแท้ด้วยเงื่อนไขต่างๆ มากมาย จึงไม่ลงมือทำอะไรเลย) เราดูอะไรที่ง่ายๆ หน่อยดีไหมครับ

« « Prev : พระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติของรัชกาลที่ ๗

Next : ชาตินั้นเปรียบได้กับชีวิตคน » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

5 ความคิดเห็น

  • #1 aram ให้ความคิดเห็นเมื่อ 16 June 2009 เวลา 1:08

    อ่านแล้วอยากเล่นกับน้ำจังครับ ..
    ..วันก่อนที่เชียงใหม่นำรถที่ใช้น้ำธรรมดาแปลงให้เป็นพลังงานเชื้อเพลิงไฮโดรเจน ร่วมกับเครื่องยนต์มาโชว์  ใช้ได้กับเครื่องเบนซินและดีเซล บอกว่าช่วยประหยัดน้ำมันลงได้สูงสุด 45 %  ราคาโปรโมรชั่น 19,900 บาท   อู่อยู่ที่หนองหอยเชียงใหม่..

  • #2 aram ให้ความคิดเห็นเมื่อ 16 June 2009 เวลา 1:11

    จะลองไปทำกังหันน้ำก้นหอยดูครับ..เริ่มจากอันเล็กๆก่อน

  • #3 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 16 June 2009 เวลา 1:33
    กังหันน้ำ เป็นเรื่องที่ง่าย น่าทดลองครับ แต่ก็ต้องมีน้ำไหล เสียดายที่แถวโรงเรียนไม่มีคลองจะลอง

    แต่ถ้าใช้สระว่ายน้ำ ก็ต้องใช้จินตนาการกันหน่อย แต่ว่าน่าสนใจในแง่ที่เป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ หรือกิจกรรมในค่ายครับ เอาไว้วันหลังถ้าบรรดาครูบุกไปสวนป่า เราไปสร้างกันในสระน้ำข้างลานไผ่ก็ได้ครับ เอาประสบการณ์กลับลำพูน ทิ้งกังหันไว้ให้คนมาสวนป่าศึกษาดู

  • #4 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 16 June 2009 เวลา 4:39

    รีไซเคิล ความรัก อิอิ

  • #5 ลานซักล้าง » คุ้นเคยจนนึกว่ารู้ แต่ที่จริงไม่ได้ตระหนักเลย ให้ความคิดเห็นเมื่อ 2 February 2010 เวลา 2:10

    [...] กฟผ.มากครับ เคยเขียนบันทึกไว้; ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ [...]


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.73348712921143 sec
Sidebar: 0.37282395362854 sec