ความปรารถนาดีอย่างเดียวไม่ได้ช่วยอะไร

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 19 May 2011 เวลา 2:51 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 2982

เมื่อตอนเกิดสึนามิขึ้นปลายปี 2547 ต้นปี 2548 ก็มีคุณหญิงคุณนายลงไปในพื้นที่ เอาของไปแจกผู้ประสบภัยเยอะแยะ แต่จะไปแจกเฉยๆ เพื่อถ่ายรูป ก็ดูกระไรอยู่ บรรดาไฮโซจึงสำรวจความเสียหาย โอภาปราศรัย ถามไถ่สารทุกข์สุขดิบตามมารยาท คำถามยอดนิยมออกมาในแนว เป็นอย่างไรบ้าง? ใครลงไป ก็ถามคำถามแนวนี้ โดยไม่รู้หรอกว่าคำถามในแนวนี้ hurt มากกว่า help

ทุกครั้งที่ผู้ประสบภัยเล่าถึงความสูญเสีย เขาก็คิดย้อนกลับไปถึงการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก เครื่องมือทำกินบ้านช่องทรัพย์สินเงินทองมลายหายไปหมด — มีชาวบ้านที่สูญเสียสมาชิกของครอบครัวไปทั้งหมด บ่นให้ฟังว่า ลงมาสิบคณะ ทั้งสิบคณะถามแบบเดียวกันหมด พ่อแม่ภรรยากับลูกผมตายสิบเอ็ดครั้ง… ตายจริงครั้งเดียว แต่อีกสิบครั้ง ตายเมื่อผู้ประสบภัยต้องนึกย้อนไปถึงเหตุการณ์ เพื่อที่จะเล่าเรื่องให้ฟัง

แต่ถ้ามองในแง่ของความช่วยเหลือที่เข้าไปในพื้นที่แล้ว ก็จำเป็นต้องรู้ว่าผู้ประสบภัยต้องการให้ช่วยเหลืออะไรเหมือนกัน ไม่อย่างนั้นความช่วยเหลือก็จะต้องอาศัยจินตนาการซึ่งอาจจะไม่ตรงกับความต้องการที่แท้จริงได้

อ่านต่อ »


เหตุเกิดที่กรุงชิง-นบพิตำ

อ่าน: 4751

กรุงชิงมีสภาพเป็นที่ราบผืนเล็กที่ล้อมรอบด้วยภูเขาสูงทุกทิศทาง เคยเป็นฐานการก่อความไม่สงบมาก่อนเนื่องจากเข้าถึงได้ลำบาก — นบพิตำเป็นที่ราบสุดท้ายก่อนเข้าไปกรุงชิง โดยต้องเลาะไปตามโตรกเขา ซึ่งมีทางน้ำไหลอยู่

อ่านต่อ »


เพราะมองข้ามความปลอดภัย

อ่าน: 3172

เมื่อตอนหัวค่ำ คุยกับ ผอ.ศูนย์ข้อมูลและการจัดการความรู้ สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (@MunicipalLeague) บนทวิตเตอร์ ร้อยข้อความเป็นเรื่องให้แล้ว ถ้าห้วนไปบ้าง ก็เพราะข้อจำกัดของความยาวแต่ละข้อความนะครับ

@iwhale: เรื่องเศร้าคือยังไม่ได้ถุงยังชีพ เรื่องเศร้ากว่าคือได้ถุงยังชีพจนล้น ดีที่สุดคือป้องกันให้ไม่ต้องส่งถุงยังชีพอีก #thaiflood

@superconductor: ปัญหา last miles? ชาวบ้านกระจัดกระจายอยู่ตรงไหนบ้างก็ไม่รู้ ขนส่งลำบาก เรือ-รถไม่มี ขนส่งของลำบาก #thaiflood ถ้าไม่รู้ ทำไมไม่รู้

@MunicipalLeague: @superconductor @iwhale ชาวบ้านกระจัดกระจายอยู่ตรงไหนบ้างก็ไม่รู้ขนส่งลำบาก  #thaiflood / ติดต่อเทศบาล อบต.สิคะรู้ทุกหลืบของพท.(มีเบอร์โทรค่ะ)

@superconductor: ควรจะเป็นอย่างนั้นล่ะครับ แต่เห็นเรียกชาวบ้านมารับแจกของ+ซองทุกที… เฮ้อ ว่าจะไม่บ่นแล้วเชียว :)

@MunicipalLeague: แล้วแต่พท.นะคะ ท้องถิ่นก็คนเหมือนกับเรา มีดีบ้างเลวบ้างเป็นธรรมดา แต่ส่วนมากจะโอเคนะคะ เรื่องไหนเป็นประโยชน์ก็ประสานกันนะ

@superconductor: ถนนขาด-ท่วม-เสีย เข้าพื้นที่ลำบาก เรือทานแรงน้ำไม่ไหว ชาวบ้านออกมาลำบาก เสบียงส่งเข้าพื้นที่ลำบากเหมือนกัน คอปเตอร์ไม่พอ — ถ้าจะให้ความช่วยเหลือกระจายได้ แก้ปัญหาโลจิสติกส์+คมนาคมก่อนครับ หรืออพยพชาวบ้านไปที่ปลอดภัย (ที่ไหน? พอไหม?)

@MunicipalLeague: ปัญหาหนึ่งที่สำคัญคือชาวบ้านไม่ยอมย้ายออก หลายพท.ท้องถิ่นแจ้งเตือนหรือเอาเรือเข้าไปรับ ชาวบ้านรวมถึงพระตามวัด — ไม่ยอมอพยพออกมาเพราะห่วงข้าของ พอตกดึกน้ำขึ้นสูงและเชี่ยว ไฟดับ ไปช่วยเพราะอันตรายมาก ปัญหาออกสื่อว่าไม่มีหน่วยไหนไปช่วย — บางแห่งทางขาดชาวบ้านออกมาลำบาก นายกอบต.หรือผู้ใหญ่เป็นตัวแทนออกมารับ แต่คนบริจาคก็อยากเอาไปมอบให้ถึงมือ #ละเหี่ยใจ — ถุงยังชีพมากมาย ต่างคนต่างเอาไปให้ใครๆก็อยากเอาไปให้ถึงมือชาวบ้าน บางแห่งมี500หลัง300หลังแรกได้หลายรอบอีก200ได้1รอบจากเทศบาล

@superconductor: จริงครับ แต่ชาวบ้านเดือดร้อนก็ต้องเข้าไปช่วย ชิมิ สังคมไทยยึดแต่มุมมองของตัวเอง จึงขาดความเข้าใจความจริงจากอีกมุมหนึ่ง

@MunicipalLeague: จริงค่ะ ตอนนี้ที่น่าสงสารที่สุดคือเทศบาลหรืออบต.ที่ไม่รู้จักใคร ขอกาชาดหรือ ปภ.ก็รอขั้นตอน แทบไม่มีถุงยังชีพมาเลย — บางแห่งคอนเนกชั่นดี มีทั้งช่องนู้นนี้ขนมาให้กันเพียบ อย่างทันท่วงที/ ไม่รู้จักคนโทรไปเบอร์กลางก็รอแล้วรออีก

อ่านต่อ »


การ์ตูนร่วมด้วยช่วยป้องกันดินถล่ม

อ่าน: 8689

กรมทรัพยากรธรณี จัดทำการ์ตูนร่วมด้วยช่วยป้องกันดินถล่มเอาไว้สักพักหนึ่งแล้ว เว็บของกรมอยู่ที่ www.dmr.go.th แต่ผมเตือนผู้อ่านที่ชอบค้นไว้ก่อนนะครับ ว่าเว็บนี้ เต็มไปด้วย dead link อย่าหงุดหงิด (เตือนแล้วนะ)

ภาพการ์ตูนที่แสดงในบันทึกนี้ ก็ต้องเล่นกายกรรมแก้ช้าหน่อยครับ ความจริงชี้ไปที่เว็บของกรมก็ได้ครับ แต่ตัวภาพและหนังสือสำคัญขาดหายไป (และช้า)

อ่านต่อ »


แว๊บหนึ่งที่เต้นท์อาสาดุสิต

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 4 April 2011 เวลา 21:04 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3948

วันนี้ไปหาหมอตามนัด เสร็จแล้วก็คิดจะเถลไถลแอบไปเยี่ยมเต้นท์อาสาดุสิต ใจหนึ่งก็จะไปช่วยครับ อีกใจหนึ่งอยากไปตรวจสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ถึงความอลหม่านในการบรรเทาทุกข์ อิอิ

คนอายุเกินกึ่งศตวรรษแล้วร่างกายไม่สมประกอบ ทำอะไรก็เกะกะ แต่ก็ขนเท่าที่ช่วยได้ครับ น้องๆ คงเห็นความเก้งก้าง เลยเรียกไปปรึกษาเสียหลายเรื่อง ซื้อเสื้ออาสาดุสิตมาตัวหนึ่ง ไม่ต้องเลือกเลยครับ เพราะเหลือตัวสุดท้าย (ที่ไม่มีใครเอา)

เต้นท์อาสาดุสิต อยู่ตรงทางลง BTS สถานีศาลาแดง เยื้องกับตึก ภปร. โรงพยาบาลจุฬาฯ ผมถ่ายรูปมาบ้าง แต่ไม่เยอะ เกรงใจ น้องๆ อาสาเค้าทำงานกัน นับถือน้ำใจจริงๆ

อ่านต่อ »


คนหนึ่งคน จะทำอะไรได้

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 3 April 2011 เวลา 12:59 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3805

“คนหนึ่งคน จะทำอะไรได้” ประโยคนี้จะมองเป็นประโยคคำถามก็ได้ หรือจะมองเป็นประโยคบอกเล่าชนิดประโยคความซ้อน(เชิงตัดพ้อ)ก็ได้เช่นกัน

แต่คนหนึ่งคน ไม่สามารถจะทำอะไรเกินกำลังสติปัญญาของคนหนึ่งคนไปได้แน่นอน ไม่ว่ามีเครื่องมือดีขนาดไหน ไม่ว่าจะมีอำนาจขนาดไหน คนแต่ละคน มีชีวิต มีข้อจำกัดเป็นของตัวเอง คนแต่ละคนแตกต่างกัน เพราะแต่ละคนไม่ใช่ผลผลิตทางอุตสาหกรรม มีความสนใจ มีความรู้ความชำนาญแตกต่างกันไป

สำหรับท่านที่ไม่ได้ติดตามสถานการณ์อุทกภัยทางใต้อย่างใกล้ชิด ต้องเรียนว่าสถานการณ์วิกฤตจริงๆ นะครับ ผู้ประสบภัยกระจัดกระจายกันอยู่ในถิ่นฐานของตน ทำให้การเข้าไปช่วยเหลือยากลำบาก เพราะการคมนาคมและระบบโทรคมนาคมถูกตัดขาด แล้วเหตุก็เกิดมาสักอาทิตย์หนึ่งแล้ว แพทย์อาสา พยาบาลอาสา ลงพื้นที่แล้วบอกอ่วม น้ำขาดแคลน อาหารขาดแคลน ยาขาดแคลน สิ่งของประทังชีวิตขาดแคลน เรือขาดแคลน รถขนส่งความช่วยเหลือจากส่วนกลางลงไปในพื้นที่ขาดแคลน และกำลังของอาสาสมัครก็ขาดแคลนเช่นกัน

งานนี้ถ้าทหารไม่ช่วย จะเละยิ่งกว่านี้เยอะ ทางภาครัฐก็ช่วยนะครับ แต่ว่าช้าตามระเบียบราชการ (คือต้องเข้าใจระเบียบราชการด้วย จึงจะรู้ว่ายุ่งยากวุ่นวายขนาดไหน)

รายงานจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ) “๒. พื้นที่ประสบภัย: ๑๐ จังหวัด (จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี ตรัง ชุมพร สงขลา กระบี่ พังงา สตูล และจังหวัดนราธิวาส) ๑๐๐ อำเภอ ๖๔๑ ตำบล ๕,๑๖๙ หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน ๕๗๙,๐๖๒ ครัวเรือน ๒,๐๐๔,๓๕๐ คน” ขณะที่เขียนนี้ ยังไม่มีมาตรการทางภาษีออกมาช่วย หวังว่าจะมีข่าวดีเร็วๆ นี้

อ่านต่อ »


การสื่อสารฉุกเฉิน (2)

อ่าน: 3171

เขียนต่อจากตอน 1 สำหรับสถานการณ์อุทกภัยทางใต้นะครับ

มันไม่มีประโยชน์ที่จะบอกว่าการสื่อสารฉุกเฉินเตรียมเอาไว้นั้นเป็นอย่างไร เวิร์คหรือไม่เวิร์คก็เห็นๆ กันอยู่ แล้วมันก็ไม่มีประโยชน์ที่จะบอกว่าเห็นไหมบอกแล้ว ภัยพิบัติเกิดขึ้นแล้วโดยเราไม่พร้อม

ข้อเท็จจริงอันโหดร้ายก็คือ

  1. การสื่อสารถูกตัดขาด การคมนาคมก็ถูกตัดขาด
  2. ผู้ประสบภัยอยู่กันกระจัดกระจาย ถึงรวมกลุ่มกันได้ ก็ติดต่อขอความช่วยเหลือไม่ได้
  3. ผู้ประสบภัยอยู่ในพื้นที่ก็ช่วยตัวเองไม่ได้ อพยพออกมาก็ไม่มีที่พักพิงชั่วคราว
  4. เมื่อข้อมูลหลั่งไหลออกมา อาจจะแปลกใจในความย่อยยับ
  5. ทั้งหมดนี้ ไม่ใช่เพิ่งจะมาเป็น แต่เป็นมานานหลายรัฐบาลแล้ว

หลักการจัดการภัยพิบัติ มีอยู่ง่ายๆ ว่า Hope for the best, prepare for the worst ญี่ปุ่นมีแผ่นดินไหวระดับ 6-7 ริกเตอร์อยู่บ่อยๆ เขาเตรียมการสำหรับแผ่นดินไหวขนาด 8 ริกเตอร์ แต่ไหวจริงระดับ 9 ริกเตอร์ ดังนั้นจึงเป็นระดับที่เตรียมการไว้ไม่พอ

อ่านต่อ »


ความไม่รู้เป็นภัยอันยิ่งยวด

อ่าน: 3237

เวลาเราพูดถึงการจัดการภัยพิบัติ ก็มักจะเข้าใจไขว้เขวไปถึงการบรรเทาทุกข์ ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งในกระบวนการจัดการภัยพิบัติเท่านั้น

มนุษย์กระจ้อยร่อย ไม่สามารถต่อกรกับภัยขนาดใหญ่เช่นภัยธรรมชาติได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าควรจะปล่อยไปตามยถากรรม — จะอ้างว่าอะไรจะเกิดก็เกิด เหมือนเป็นผู้สูงส่งที่ปล่อยวางได้หมด ก็โอเคนะครับ ส่วนจะเป็นผู้สูงส่งของจริงหรือไม่ ตัวท่านผู้กล่าวคำนี้ รู้เอง

ผมไม่ใช่ผู้สูงส่ง ยังไม่หลุดพ้น ไม่เคลมอะไรทั้งนั้น และยังมีคนที่ห่วงใยอยู่พอสมควร แต่ผมพอมีเบื้องลึกของการจัดการภัยพิบัติเป็นกรณีศึกษาบ้าง การจัดการภัยพิบัติแบ่งคร่าวๆ ได้เป็น 4 ช่วง

ก่อนเกิดภัย

ช่วงก่อนเกิดภัย อาจจะเป็นช่วงที่สำคัญที่สุด จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนจะต้องเข้าใจความเสี่ยงของตัวเอง *ล่วงหน้า* ในยามสงบ เตรียมทางหนีทีไล่เอาไว้ เตรียมพื้นที่ปลอดภัย ฝึกซ้อมอย่างจริงจัง เมื่อเกิดภัยชึ้นแล้ว จะหวังให้ใครมาบอกว่าจะต้องทำอะไรนั้น ไม่เวิร์คหรอกครับ คำแนะนำที่ประกาศออกมาผ่านสื่อ จะเหมาะกับทุกพื้นที่ได้อย่างไร ในเมื่อแต่ละพื้นที่นั้นไม่เหมือนกันเลย แล้วใครจะมารู้ทางหนีทีไล่ดีกว่าคนในพื้นที่

อ่านต่อ »


ข่าวสารเกี่ยวกับภัยพิบัติ

อ่าน: 4287

เนื่องจากข้อจำกัดในพื้นที่ ข่าวตามสื่อมวลชนให้ได้แต่ภาพใหญ่ของความเสียหาย และด้วยวงจรของการทำและนำเสนอ ข่าวตามสื่อก็จะเป็นสถานการณ์ที่ย้อนหลังเสมอ ด้วยลักษณะของการประมวลภาพข่าวและข่าวสาร แต่ก็สามารถจะให้ภาพสุ่มของสถานการณ์ ที่ผู้สื่อข่าวพอจะเข้าไปยังพื้นที่ได้ แต่บริเวณที่ผู้สื่อข่าวเข้าไม่ถึง ก็จะขาดหายไป

ดังนั้นในภัยพิบัติที่เกิดเป็นวงกว้าง จะมีพื้นที่ที่ตกหล่นเสมอ ซึ่งหากว่าเน็ตยังอยู่ ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ยังอีกมีทวิตเตอร์เป็นช่องทางหนึ่ง ที่จะรายงานสถานการณ์ที่แท้จริงออกมาสู่โลกภายนอกได้ แต่หากเน็ตไม่อยู่แล้ว ข่าวสารยังต้องอาศัยทีมสำรวจส่วนหน้า บุกลงไปในพื้นที่ซึ่งมักจะมีปัญหาเรื่องความทั่วถึงและความล่าช้า ซึ่งภัยพิบัติทำให้เข้าพื้นที่ได้ลำบาก

นี่จึงเป็นที่มาของการสื่อสารฉุกเฉิน แต่ถึงแม้เมืองไทยจะมีหน่วยงานภายใต้กระทรวงไอซีทีและกทช.ที่ทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง ขอบเขตยังจำกัดอยู่แค่การนำระบบสื่อสาร ให้กลับมาอยู่ในสภาพพร้อมใช้เท่านั้น

การสื่อสารที่ดีจะต้องเข้าใจตรงกันทั้งผู้ส่งและผู้รับ ข่าวสารเกี่ยวกับภัยพิบัติ ควรจะมีทั้งตำแหน่ง(พิกัด) เวลา สถานการณ์ ความช่วยเหลือที่ต้องการ และประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ เพื่อที่ว่าความช่วยเหลือที่ส่งไปยังพื้นที่ จะไม่น้อยเกินไป(จนเกิดการแย่งชิงแตกแยกในชุมชน) หรือมากเกินไป(แล้วผู้ประสบภัยนำไปขายทำให้ผู้บริจาคเกิดความเสียใจ) — ทวิตเตอร์ดูเหมาะดี ส่งจากโทรศัพท์มือถือจากพื้นที่ประสบภัยก็ได้ แต่ก็มีปริมาณการรีทวิตมากมายจนข้อความสำคัญจางหายไปหมด ประกอบกับมีความยาวจำกัด จึงขาดความแม่นยำ

อ่านต่อ »


แก้ไขหรือรอไป

อ่าน: 3205

เน็ตผมเจ๊งครับ ต่อผ่านมือถือได้แต่ไม่ถนัด ดังนั้นจะไม่เขียนอะไรยาวมากๆ

น้ำท่วมหาดใหญ่ ถ้าท่วมแล้ว การแก้ไขโดยการเร่งระบายน้ำนั้น น่าจะถูกต้อง แต่ถ้าชลอน้ำเอาไว้ไม่ให้ท่วมเลย น่าจะดีกว่า

น้ำป่าไหลหลากจากเทือกเขาบรรทัดเข้าสู่นครศรีธรรมราช-พัทลุง และอาจจะไปยังจังหวัดอื่นๆ เกิดจากฝนตกลงกลางคาบสมุทรซึ่งเป็นภูเขา ภูเขาเป็นพื้นที่รับน้ำ ปริมาณน้ำฝนตกวันละ 100-200 มม. คูณกับพื้นที่ภูเขากลายเป็นปริมาตรน้ำมหาศาล แต่น้ำไหลลงสู่ที่ต่ำ ก็จะไหลลงไปรวมกันในโตรกเขา ตามลุ่มน้ำลำธาร และไหลต่อไปยังชุมชน และเมืองซึ่งมักตั้งอยู่ใกล้ทางน้ำเสมอ… เป็นอาการเดียวกับหาดใหญ่ สุโขทัย บางระกำ-พิษณุโลก บางบาล-อยุธยา เมื่อมีฝนตกหนักอีก ผลอย่างนี้ก็จะเกิดอีก

พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่กว่าสองพันตารางกิโลเมตร ฝนตกหนัก 600 มม.ในเจ็ดวัน คิดเป็นปริมาณน้ำ 1,200 ล้านลูกบากศ์เมตร ถ้าดินและป่าดูดซับหรือชลอไว้ได้ครึ่งหนึ่ง น้ำที่เหลือ 600 ล้านลูกบากศ์เมตร ไหลไปทางปากช่องในเวลาอันรวดเร็ง ลงเขื่อนลำตะคองซึ่งมีความจุ 300 ล้านลูกบากศก์เมตร ลำตะคองจะไปรับได้ยังไงไหวล่ะครับ น้ำล้นเขื่อน แล้วอะไรที่อยู่ใต้เขื่อน ก็ท่วมแหลกราญกันไป

ฝนตก จะไปห้ามคงยาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าทำอะไรไม่ได้ซะทีเดียวหรอกครับ สำคัญอยู่ที่ว่าทำอะไรหรือเปล่าต่างหาก หรือว่าจะรอให้น้ำท่วมเสียก่อนแล้วจึงจะช่วยเหลือ

จะแก้ปัญหาน้ำของพื้นที่อะไรก็ตาม ลองดูไปทางต้นน้ำซิครับ



Main: 0.075399875640869 sec
Sidebar: 0.21283411979675 sec