Teach & Learn

อ่าน: 3768

 


ความรู้อาจเรียนทันกันหมด

อ่าน: 6248

ประมาณปี 2526 ผมเป็นหัวหน้าเด็กอยู่ในบริษัทดาวรุ่งแห่งหนึ่ง เป็นกิจการที่ทำเรื่องที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่ทัศนคติของสังคมในขณะนั้น ไม่เชื่อถือฝีมือคนไทย งานที่ทำจึงมีแต่บริษัทฝรั่งบางแห่งที่ให้โอกาส ต่อมาเมื่อบริษัทไม่ประสบความสำเร็จในทางธุรกิจ ก็ถูกซื้อไปโดยกลุ่มการค้า ในวิสาหกิจขนาดยักษ์ของไทย ซึ่งในปัจจุบันไม่มีกลุ่มนี้ีแล้ว

เมื่อถูก take over บริษัทยักษ์ก็ส่งคนเข้ามาจัดการ โดยส่งคนเก่งๆเข้ามาดูหลายคน รวมทั้งเด็กปั้นผู้หนึ่ง ซึ่งจบเกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญทองด้วย — เผอิญเรียนรุ่นเดียวกันแต่คนละมหาวิทยาลัย จึงเป็นคนร่วมสมัย อายุเท่ากัน เรียนเร็วเหมือนกัน เลยคุยกันได้ถูกคอ และเป็นโอกาสดีอันหนึ่งในชีวิตของผม

เป็นที่น่าสังเกตว่าบริษัทที่ยิ่งใหญ่อย่างบริษัทยักษ์รายนี้ มีการ identify คนที่มีศักยภาพไว้เป็นรุ่นๆ ให้โอกาส ให้ประสบการณ์ อบรม-สั่งสอน-ถ่ายทอดกันมาอย่างเป็นระบบ และทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง

เพื่อนได้รับคำชี้แนะจากผู้ใหญ่ระดับสูงให้พิจารณาดูกระบวนการเรียนรู้ตามระบบ เช่นเรียนวิศวะ อ่านหนังสือวิชาพื้นฐานประมาณ 50 เล่ม(ในสี่ปี) เรียนโทอาจจะประมาณ 20-30 เล่มในวงที่แคบลง พอปริญญาเอกอาจจะเป็น 20-30 เล่มในเรื่องเฉพาะที่สนใจ — ถึงตัวเลขคลาดเคลื่อนไปก็ไม่แปลก แนวคิดยังเป็นเช่นเดิม

เมื่อเริ่มทำงาน หากอ่านหนังสือ-ด้วยอัตราที่ช้ามาก-เดือนละ 1 เล่ม แต่อ่านจนเข้าใจ ไม่ฉาบฉวย-ไม่อ่านผ่านๆไป รู้จักเลือกหนังสือ เพิ่มพูนความรู้ให้กว้างขวางในหลายๆด้าน หัดคุยกับคนที่มีความเชี่ยวชาญในหลายๆแขนงจนแตกฉาน กว่าจะเกษียณอายุ ก็อาจจะอ่านไปแล้วพอๆกับจำนวนหนังสือสำหรับการเรียน ตรี-โท-เอก กว่าห้ารอบ; จริงอยู่ที่ว่าคงไม่เหมือนกับการเรียนจริงๆ ห้ารอบ แต่ท่านผู้อ่านคงได้ไอเดียว่าผมพยายามจะชี้ประเด็นอะไร

อ่านต่อ »


แบบทดสอบ Multiple Intelligences

10 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 7 October 2008 เวลา 0:15 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 5118

มีทฤษฎีการศึกษาอันหนึ่ง ซึ่งถูกพัฒนาโดยอาจารย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดชื่อ Howard Gardner ในปีพ.ศ. 2527 ซึ่งบอกว่า “แทนที่จะสร้างหลักสูตรมาตรฐานอันเดียวแล้วใช้กับนักเรียนทุกคน โรงเรียนควรจะปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้เข้ากับนักเรียนทุกคนได้” — The theory suggests that, rather than relying on a uniform curriculum, schools should offer “individual-centered education”, with curriculum tailored to the needs of each child.

เราอาจจะรู้จักความคิดนี้ในชื่อของ Child-centered ที่เคยมีเด็กเรียกว่าควายเซ็นเตอร์ ความคิดอันนี้ดูเหมือนจะเป็นภาระหนักของการจัดการเรียนการสอน แต่ผมคิดว่าตัวทฤษฎี เข้าท่าเหมือนกันนะครับ

เค้าบอกว่าคนเรามีทักษะ(ความฉลาด)ที่ต่างกัน จึงมีความถนัดในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ดังนั้นหลักสูตรที่บังคับให้ผู้เรียนเรียนรู้ในแบบใดแบบหนึ่ง ก็อาจจะไม่ได้ผลเพราะว่าวิธีการนั้นเข้ากับทักษะของผู้เรียนไม่ได้

Howard Gardner แบ่งทักษะการเรียนออกเป็นหลายแบบ แต่เดิมทีมี 7 แบบครับ

  1. Linguistic ความสามารถทางภาษา กวี สุนทรียภาษา
  2. Logical-Mathmatical ตรรกะและความสามารถทางคณิตศาสตร์
  3. Musical ความสามารถทางดนตรี จังหวะ
  4. Bodily-Kinesthetic ความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย สัมผัส
  5. Spatial-Visual ภาพ และจินตภาพ
  6. Interpersonal ความสามารถในเข้าใจผู้อื่น
  7. Intrapersonal ความเข้าใจตนเอง

ดาวน์โหลดแบบทดสอบ (Microsoft Excel) กรอกตัวเลข 1 ถึง 4 ในแต่ละช่อง — ผลการทดสอบของผมอยู่ในรูปข้างล่างครับ แต่ละแท่งเต็ม 40


Alan Kay: A powerful idea about teaching ideas

อ่าน: 3380

การใช้ OLPC กระตุ้นจินตนาการและการเรียนรู้


Sir Ken Robinson: Do schools kill creativity?

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 5 August 2008 เวลา 3:48 ในหมวดหมู่ การศึกษา การเรียนการสอน #
อ่าน: 3901

ตลกแต่เจ็บแสบมากสำหรับระบบการศึกษา ช่วงที่สองกับสาม


จบการศึกษา ไม่ใช่เรียนจบแล้ว

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 30 July 2008 เวลา 11:50 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 3212

พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วันพฤหัสบดี ที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๑

                ข้าพเจ้ามีความยินดี ที่ได้มาทำพิธีมอบปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่นและได้ทราบว่ากิจการของมหาวิทยาลัยดำเนินก้าวหน้าไปด้วยดีทุกด้าน. ขอแสดงความชื่นชมกับผู้ทรงคุณวุฒิและบัณทิตทุกคน ที่ได้รับเกียรติและความสำเร็จ ทั้งขอขอบใจมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก ที่มอบปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แก่ข้าพเจ้า.

                เมื่อครั้งที่บัณฑิตยังศึกษาเล่าเรียนอยู่นั้น ย่อมคุ้นเคยกับการมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำช่วยเหลือ แต่เมื่อศึกษาสำเร็จและออกไปปฏิบัติหน้าที่การงานด้วยตนเอง บางคนอาจรู้สึกว้าเหว่อยู่บ้าง ที่ไม่มีครูบาอาจารย์คอยประคับประคองชี้แนะ. ความจริงข้อนี้มิใช่เรื่องที่ควรวิตกกังวลให้มากเกินไป เพราะงานที่ท่านจะไปทำนั้นปรกติมิใช่งานที่จะทำคนเดียว หากจะต้องร่วมมือกับผู้อื่นฝ่ายอื่นอีกมาก. บรรดาผู้ร่วมงานเหล่านั้นย่อมมีทั้งผู้มีความรู้ความสามารถมากกว่า และผู้มีความรู้ด้อยกว่าแต่มากด้วยประสบการณ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้มีอาวุโส ที่ท่านจะนับถือเป็นครูในอันที่จะเรียนรู้และขอคำปรึกษาได้เป็นอย่างดี. อีกอย่างหนึ่ง การทำงานร่วมกับผู้อื่นนั้น ที่จะให้เป็นไปโดยราบรื่น ปราศจากปัญหาข้อขัดแย้งย่อมเป็นไปได้ยาก เพราะคนจำนวนมากย่อมมีความคิดความต้องการที่แตกต่างกันไป มากบ้าง น้อยบ้าง. ท่านจะต้องรู้จักอดทนและอดกลั้น ใช้ปัญญา ไม่ใช้อารมณ์ ปรึกษากัน และโอนอ่อนผ่อนตามกันด้วยเหตุผล โดยถือว่าความคิดที่แตกต่างกันนั้น มิใช่เหตุที่จะทำให้ข้อขัดแย้งโต้เถียงเพื่อเอาแพ้เอาชนะกัน แต่เป็นเหตุสำคัญที่จะช่วยให้เกิดความกระจ่างแจ้งทั้งในวิถีทางและวิธีการปฏิบัติงาน. ถ้าบัณฑิตจะมีความคิดเห็นและปฏิบัติได้ดังที่กล่าวนี้ ก็เชื่อว่าจะสามารถดำเนินชีวิตและกิจการทุกอย่างให้ราบรื่นและมั่นคง จนบรรลุความสำเร็จพร้อมทั้งความเจริญก้าวหน้าได้ดังที่มุ่งหวัง.

                ขออวยพรให้บัณฑิตใหม่ทุกคน และผู้มาร่วมประชุมทุกท่าน ประสบความสุข ความสำเร็จ และความสวัสดีโดยทั่วกัน.



Main: 0.67508411407471 sec
Sidebar: 0.56132984161377 sec