ภาพถ่ายดาวเทียม
บ่ายวันนี้ พาผู้ใหญ่จากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ไปพบผู้ใหญ่ในกรมราชองครักษ์ ระหว่างนั่งฟังท่านคุยกัน ได้เรียนรู้ถึงข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมของจีน ซึ่งเปิดให้ใช้ได้ฟรี เรียกว่า “FY2C” ครับ — เป็นภาพที่หน่วงเวลา 2 ชั่วโมง ถ่ายมาเป็น snapshot รายชั่วโมง เช่นภาพ IR (ดูเมฆ ฝน หิมะ) เมื่อเวลา 8.01 UTC (14.01น. เวลาประเทศไทยวันนี้)
นึกถึงวิชาดูเมฆที่อาจารย์ไร้กรอบบรรยายให้ฟังที่เฮฯเจ็ด อิอิ
ข้อมูลนี้ ผมดูดมาจากคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งฮ่องกง น่าจะเอาไว้ดูเมฆที่ระยะไกลเกินขอบฟ้าได้
ส่วนวิชาดูเมฆนั้น ผมค้นข้อมูลเบื้องต้นแล้ว และจะเขียนอีกบันทึกหนึ่งครับ
« « Prev : ช่องว่างระหว่างความรู้และการกระทำ
6 ความคิดเห็น
กำลังอยากเรียนอยู่เลยครับ ขอติดตามข้อมูลก่อนนะครับ ว่าแต่ว่า วันนี้คุณรอกอดได้พักบ้างไหมเนี่ย
[...] เพียงแต่อ่านบันทึก ภาพถ่ายดาวเทียมของรอกอด [...]
ถึงจะไหว แต่ก็ไม่ควรใช้งานเขาหนักเกินนะครับ .. ของที่ยืมเขามาต้องถนอมหน่อย .. ก็ร่างกายนี้นั่นแหละครับ ของเราซะที่ไหนล่ะ
อืม! นึกถึงขงเบ้งค่ะ
การดูเมฆนั้นมันแตกต่างกันค่ะ อยู่ที่จุดทีเรามองทั้งมุมเงย มุมอาซิมุธ รูปของเมฆก็จะมีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกัน โดยเฉพาะแหงนหน้ามองทัองฟ้าดูเมฆชนิดเดียวกัน กับมองดิ่งจากอากาศ หรือ อวากาศ หรือแม้แต่มองแบบ เพิสเปคถีบ ขึ้นอยู่กับว่ามองเมฆ เพื่ออะไร? เพื่อสุนทรียภาพ หรือเพื่อหน้าที่ ที่ต้องเตือนภัยค่ะ ติดตามสภาพอากาศ พยากรณ์อากาศในระดับไหน มันมีปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย ขึ้นอยู่กับว่าการได้รับการฝึกฝนมาด้านไหเพื่อใช้งานอะไร ฉะนั้นข้อมูล ข่าวสาร ควรพิจารณาว่าจากไหน เพื่ออะไร ทำไม ควรมีการพิจารณาให้ถี่ถ้วนด้วยเหตุและผล เชื่อหรือไม่เชื่อเป็นสิทธิส่วนบุคคล ไม่รู้แล้วถามเป็นเรื่องน่าชื่นชมยิ่งค่ะ จงตระหนักแต่อย่าตระหนก