ตู้เย็นจำเป็น
อ่าน: 4586องค์กรอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้แนะนำวิธีลดอุณหภูมิพืชผลทางการเกษตรไว้ในเว็บ Small-Scale Postharvest Handling Practicesซึ่ง ผมเลือกแปลมา ทุกวิธี ใช้หลักการ Evaporative Cooling ซึ่งอาศัยการระเหยของน้ำ มาลดอุณหภูมิได้บ้าง บางทีได้ 1-2°C บางทีอาจได้ถึง 5-6°C แล้วแต่สภาพแวดล้อมครับ
กระท่อมฟาง พรมน้ำให้เปียกตั้งแต่ช่วงเช้า พอแดดร้อนขึ้น น้ำระเหย ก็จะดูดความร้อนออกไป ทำให้อุณหภูมิในห้องเก็บพืชผล เย็นกว่าอากาศข้างนอก | |
ปล่องด้านบนดูดลมออก ในกรณีนี้ใช้กังหันลมขนาดจิ๋ว เมื่อดูดลมออก ก็ต้องมีลมไหลเข้าไปทดแทนซึ่งมาจากภายนอก แทนที่จะให้ลมพัดเข้าไปเฉยๆ ให้เอาถ่านที่รดน้ำจนเปียกใส่ไว้ระหว่างตะแกรงสองชั้น เพื่อให้ลมที่ไหลเข้าไป วิ่งผ่านถ่านเปียก เมื่อน้ำที่ถ่านเปียกเปลี่ยนเป็นไอ ก็จะดูดความร้อนออกไป ทำให้ลมที่ไหลเข้าไปทดแทน มีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิข้างนอก | |
เอาผ้าเปียกล้อมรอบพื้นที่ที่จะทำความเย็นไว้ ความร้อนไหลออกด้านบน อากาศที่ไหลผ่านผ้าเปียก จะเย็นลง | |
หลักการเดียวกัน “ตู้เย็น” แบบนี้ ใช้ในฟิลลิปปินส์ สามารถยืดอายุมะเขือเทศ หริกหวาน ฯลฯ ได้เป็น 3 สัปดาห์ (ใช้โครงเหล็กกันสนิม) |
« « Prev : บรรยาย
3 ความคิดเห็น
ผมเคยเห็นที่สวนอ้ายสี วังเวียง
ใช้บ้านดิน ต่อท่อรับไอน้ำจากบ่อน้ำที่ขุดอยู่ใกล้ๆ ท่อผ่านเข้าตัวบ้านดินแล้วไปเปิดปลายที่หลังคา
สอบถามได้ความว่า สามารถเก็บมะนาวได้หลายเดือนครับ
มีแผนจะไปแอบลักจำอีกรอบ ทีมงานคนลาวที่นี่ผมกำหนดให้ต้องผ่านการฝึกงานที่สวนอ้ายสีหนึ่งเดือน
คงมีโอกาสไปดัดแปลงเตาถ่านเก่า ที่สวนป่าครับ
หลวงน้าของเม้งที่วัดยางนา(จำชื่อวัดไม่ค่อยได้ค่ะ) เคยทำแบบใส่ตุ่ม/โอ่ง มีทรายชื้นอยู่รอบ ๆ และกระสอบ/ผ้าหนา ๆ เปียก ๆ คลุม เป็นตู้เย็นธรรมชาติก็ใช้ได้ดีนะคะ แอฟริกาใช้เป็นที่แรกเลยมั้ง (จำไม่ได้ชัดเพราะนานแล้ว แต่เหมือนจะได้รางวัลอะไรด้วยแหละค่ะ)
#2 แอฟริกาใช้วิธีนี้กันมาก เพราะอากาศแห้ง จึงลดอุณหภูมิได้หลายองศา ใช้สำหรับการถนอมอาหารซึ่งหามาได้อย่างยากเย็น ประกอบกับไฟฟ้าก็มีไม่ค่อยทั่วถึง จึงเป็นเทคโนโลยีชาวบ้านที่เหมาะสมนะครับ