บรรยาย

อ่าน: 3509

เมื่อคืนนี้ ทวิตไปว่าทั้งโลกไม่มีใครรู้เรื่องที่พูดดีเท่าเรา ความสำเร็จของการพูดไม่ใช่ทำให้คนอื่นรู้เท่าเรา แต่ให้เขาคิดพิจารณาในประเด็นที่เราชี้”

ในทวิตเตอร์ จำกัดความยาวของข้อความไว้ที่ 140 ตัวอักษร จึงเขียนได้แค่นั้น ขออธิบายเพิ่มดังนี้ครับ

โดยทั่วไปนั้น การบรรยายเป็นการสื่อสารทางเดียว มักจะถูกเข้าใจว่าเป็นการสื่อความให้ผู้ฟัง มีความรู้เหมือนกับที่ผู้บรรยายพยายามจะถ่ายทอด — ความคิดแบบนี้มีปัญหาพื้นฐานอยู่ที่ว่า หากการถ่ายทอดมีประสิทธิภาพเต็มร้อย โลกนี้ก็ไม่ก้าวหน้า เพราะไม่มีความรู้ความคิดใหม่ๆ เกิดขึ้น แต่หากถ่ายทอดได้ไม่เต็มที่ โลกกลับเดินถอยหลัง เสื่อมลงไปเรื่อยๆ ผู้ฟังรอคอยของตาย พอฟังจบ นึกว่ารู้แต่ที่จริงไม่รู้เพราะไม่เคยทำ จึงยังรอแต่คำสั่งเหมือนเดิม ปลอดภัย/แน่นอน/มีคนอื่นรับผิดชอบแทน ไม่รู้จักคิดเอง จึงไม่ทำในสิ่งที่ควรทำ [อยากให้ฟัง ดร.วรภัทร์​ ภู่เจริญ พูดถึงคำว่าลูกอีแร้ง ตอนท้ายคลิปที่ 1 กับต้นคลิปที่ 2 แต่ถ้ามีเวลา ก็ดูตั้งแต่ต้นจนจบก็แล้วกันครับ]

ความสำเร็จในการบรรยาย จึงไม่ใช่การทำให้คนอื่นรู้เท่ากับที่เรารู้-เหมือนกับการจับความรู้ในสมองเราไปยัดใส่สมองผู้ฟัง วัดผลไม่ได้ด้วยเสียงปรบมือ จำนวนผู้เข้าฟัง หรือคำยกย่อง

ความสำเร็จในการบรรยาย สำหรับผู้ฟังคือการได้ประเด็นจากการฟังการบรรยายไปคิดพิจารณาต่อ เอาไปใช้ได้ สำหรับผู้บรรยายคือการทำให้ผู้ฟังคิดและพิจารณาในประเด็นที่เราพยายามชี้ให้เห็น อธิบายด้วยเหตุ ด้วยผล ด้วยการเปรียบเทียบ ด้วยตัวอย่าง ถ้าคิดเอาเองก็พูดให้ชัดว่าเป็นความเห็น ให้เกียรติผู้ฟัง แล้วก็ไม่จำเป็นต้องสรุปให้แบบแม่อีแร้ง — แยกแยะการรับรู้กับการเรียนรู้ออกจากกัน — อย่าพอใจแค่สาระของการบรรยาย ให้ดูว่าช่วยผู้ฟังให้เข้าใจแก่นสาร+ความหมายมากขึ้นได้อย่างไรครับ อย่าทำเหมือนรายการเล่าข่าว

หากจะฟังทั้งหมด คลิกตรงนี้ครับ

« « Prev : แอร์ปอดบวม

Next : ตู้เย็นจำเป็น » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น

  • #1 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 22 February 2010 เวลา 17:57

    เห็นด้วยๆ จึงมาแสดงตัวยกมือหนับหนุน แบบไม่ใช่ขาเชียร์…มีความยากอีตรงที่…คนฟังเขาเชื่อตัวเขาว่า…การรับรู้และการเรียนรู้…เป็นเรื่องเดียวกัน….คนพูดจึงยังคงใช้ความพยายามต่อไปกับการคุย…ถ้าคาดหวังก็เหนื่อยหน่อย…ถ้าไม่คาดหวังก็สบายๆหน่อย…เป็นความคาดหวังจากคนอื่น…ที่คนๆหนึ่งข้างในตัว…นำพาไป….ซึ่งก็ได้เรียนเหมือนกัน..เรียนแล้วก็ได้รู้

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 22 February 2010 เวลา 18:28
    การบรรยายแบบที่คนฟังต้องการสูตรสำเร็จนี้ พบและคุ้นเคยกันมาตั้งแต่เด็กครับ คือการสอนในระบบการศึกษาไทย ออกไปในแนวบริกรรม…จงรู้…จงรู้…จงรู้ ถ้าเชื่อตามที่บอกนี้เรียกว่ารู้ ท่องไป…ท่องไปเรื่อยๆ แล้วมาสอบ มีหลักสูตรกำกับ มีความเชื่อของครูเป็นขอบเขตของความถูกต้อง ตอบไม่ตรงก็ซวยไป

    การศึกษาไทย ไม่ได้ฝึกทักษะให้คิดแย้ง จึงไม่ค่อยมีทักษะในการแย้ง หรือจัดการความขัดแย้ง ใครแย้ง กลายเป็นศัตรูไปหมด

    ปัจจุบัน คนจะเป็นกูรูกลับต้องกล่าวอ้างเพิ่มเครดิตให้กับตนเอง แทนที่จะเป็นผู้อื่นยกให้เป็นผู้รู้เองจากการที่ได้ฟังข้อคิดดีๆ อาการที่ต้องบอกคนอื่นว่าตนเองดีนั้น ท่าทางเหมือนไม่ดีจริงนะครับ ถ้าดีจริงคนอื่นควรจะมองเห็นได้ชัดเอง… ซึ่งนั่นก็นำกลับมาสู่วัตถุประสงค์ของการบรรยาย ว่าผู้บรรยายคิดว่าคืออะไรกันแน่ แล้วทำได้อย่างนั้นหรือเปล่า

  • #3 จอมป่วน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 22 February 2010 เวลา 23:34

    การบรรยายในบางกรณีก็ยังมีประโยชน์  แต่บางครั้งวิธีอื่นก็อาจได้ผลดีกว่า  ต้องพิจารณาเป็นกรณีไปครับ  อิอิ

  • #4 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 23 February 2010 เวลา 0:13
    ก็เห็นด้วยกับหมอจอมป่วนครับ เพียงแต่ว่าการบรรยายแบบที่คุ้นเคยกันนั้น มีอยู่มากมาย(เกินไป)อยู่แล้ว แต่แบบอื่นๆ ยังมีน้อยอยู่

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.20248603820801 sec
Sidebar: 0.22605204582214 sec