บ่ายหนึ่งกับ ดร.ก้องภพ อยู่เย็น

อ่าน: 4466

บ่ายวันนี้ @iwhale เชิญ ดร.ก้องภพ อยู่เย็น มาใน closed group meeting เพื่อมาบรรยายเกี่ยวกับภูมิอวกาศ (Space Weather) และข้อสังเกตเกี่ยวกับผลกระทบต่อโลก

ผมเห็นว่าเป็นโอกาสดีที่จะได้ฟังคำอธิบาย แม้ว่าจะเห็นข้อมูลบางส่วนแล้ว ก็เลยชวนผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือสองท่านไปฟังด้วย คือ @htk999 และ @romhiranpruk ไปเริ่มศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ต่อจากความสนใจส่วนตัวของ ดร.ก้องภพ

การบรรยายครั้งนี้ (ผม)ไม่ได้ถือเรื่องการทำนายเป็นสาระสำคัญ แต่พบว่าการตรวจวัดหลายอย่างที่เข้ามาจากอวกาศ ไกลกว่า magnetosphere ของโลก มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงบางอย่างบนโลก เช่นแผ่นดินไหว ลมฟ้าอากาศแปรปรวน ฯลฯ

เพื่อทดสอบสมมุติฐาน จึงมีการระบุวันให้สังเกต ซึ่งบางส่วนของผู้ที่ได้รับข้อมูล อาจเกิดการตีความว่าเป็นการทำนายภัยพิบัติ ซึ่งโดยนิยามแล้วไม่ใช่นะครับเนื่องจากไม่ได้ระบุสถานที่และเวลา — อย่างไรก็ตาม ที่ระบุวันล่วงหน้ามาก็ถูกมากกว่าผิด เมื่อศึกษาย้อนกลับไปในอดีต พบ correlation อย่างมีนัยสำคัญเหมือนกัน

แน่ละครับ เวลามองเหตุการณ์ย้อนหลัง เราก็มักจะหาเหตุผลมาอธิบายได้ — ก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน ว่าแล้วมันเป็นปัญหาอะไร!!! — อธิบายได้ก็ดีแล้วไงครับ ถ้านำคำอธิบายมาระบุช่วงเวลาที่ต้องระวัง ก็ยิ่งดีใหญ่เลย รู้ตัว ดีกว่าไม่รู้ตัว

อย่างไรก็ดี ความเข้าใจของมนุษย์ต่อธรรมชาตินั้นยังน้อยนัก อาจจะไม่มีปรากฏการณ์อย่างเดียว ที่สามารถอธิบายช่วงเวลาที่เสี่ยงต่อภัยพิบัติทุกอย่างได้อย่างสมบูรณ์ แต่ถ้ามีแบบที่มี correlation สูง ผมว่าน่าสนใจมากครับ ที่จริงการบรรยายนี้ เป็นเรื่องของการสังเกตและ correlation ทั้งนั้นเลยครับ

สำหรับสไลด์ ดร.ก้องภพไม่ได้ทิ้งไว้ให้เนื่องจากจะรีบไปธุระต่อ ก็เลยเอาสไลด์เก่ามาปะให้ดู ซึ่งที่บรรยายวันนี้ มีงอกมาอีกหลายสไลด์ครับ แต่ว่าผมไม่แตกฉานพอจะอธิบาย การบรรยายยาวหลายชั่วโมง เขียนไม่ไหว แถมอาจตกหล่นอีกด้วย

Space weather and potential impact on earth’s climate dec 19 10 v2

จุดสังเกต โดยคร่าวๆ มี

  • ดวงอาทิตย์: Solar activities / Coronal mass ejection (CME) / Geomagnetic storm
  • การเรียงตัวของดาวเคราะห์: ที่สังเกตดู การเรียงตัวของดาวเคราะห์ชั้นในๆ (ไปถึงดาวพฤหัส) ส่งผล — เรื่องนี้อาจเป็นความบังเอิญที่เกิดขึ้นบ่อย ซึ่งเวลาตรวจสอบย้อนหลังก็มักจะเจอ
  • ตำแหน่งของดวงจันทร์ขณะเกิดแผ่นดินไหว: ที่สังเกต พบว่าดวงจันทร์มักอยู่ใกล้ๆ จุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหว

เชื่อโดยไม่ได้พิจารณา กับปฏิเสธโดยไม่ได้พิจารณา อันตรายพอกันนะครับ

สไลด์ 124: 2011-02-17 2011-04-17 2011-05-08…16 2011-08-10 2011-10-20…27 2011-12-31

« « Prev : ถ้าจะมีอนาคต ต้องผ่านปัจจุบันให้ได้ก่อน

Next : หากเดินทางไปซื้อของไม่ได้… » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

5 ความคิดเห็น

  • #1 ทวิช จิตรสมบูรณ์ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 9 January 2011 เวลา 12:27

    เรื่องการทำนายด้วยวิทยาศาสตร์กับหมอดูมักมีอะไรคล้ายกัน คือ สหสัมพันธ์ที่ว่านั้นมัก “เลือก” เอามาแต่ในส่วนในช่วงที่เข้ากันได้ดี ส่วนช่วงที่เข้ากันได้ไม่ดี ก็มักไม่นำมาพิจารณา พูดง่ายๆ มักมีความลำเอียงแหละครับ

    ผีเสื้อกระพือปีกในปักกิ่ง ทำให้เกิดพายุในนิวยอร์คได้ในบางครั้ง แต่ถามว่าแล้วผีเสื้อกีล้านตัวมันกระพือปีกในปักกิ่งวันละกี่พันล้านครั้งแล้วมันเกิดพายุในนิวยอร์คกี่ครั้งจากการนี้ แทบไม่มีสหสัมพันธ์อะไรเลย แต่มันก็กลายมาเป็นทฤษฎีเคออสได้จนวันนี้

    ในทางตรงข้าม ผมอยากถามว่าอะไรเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน มันเป็นไปได้ไหมว่า สิ่งบอกเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงภูมิกาศในโลกต่างหากเล่าที่เหนี่ยวนำให้เกิด disturbance ในสนามแม่เหล็กอวกาศ and not the other way around  เช่น มันเกิดแรงกด อุณหภูมิในบางแห่ง ทำให้สนามแม่เหล็กโลกกระเพื่อม มันก็ส่งสัญญาณออกไปในอวกาศ จากนั้นแรงกด อุณหภูมิดังกล่าวก็ส่งผลให้เกิดพายุ น้ำท่วม ในโลกในเวลาต่อมา แล้วเราก็ไปสรุปว่าอวกาศส่งสัญญาณมาให้เรา ทั้งที่เรานี่แหละส่งสัญญาณให้อวกาศ

    อิๆ แย้งเล่น หนุกๆ เป็นการลับสมอง

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 9 January 2011 เวลา 18:19
    งั้นตอบแบบสนุกๆ แบบที่พี่ก็รู้อยู่แล้วนะครับ ว่าผีเสื้อกระพือปีกไม่มีพลังงานพอที่จะทำให้เกิดพายุได้ ตามกฏข้อแรกของเทอร์โมไดนามิกส์

    ผมคิดว่ายากที่ระบบอันซับซ้อนอย่างธรรมชาติ จะประพฤติตัวเป็นสมการเชิงเส้น y = ax+c ทำให้ทำนายได้ด้วยตัวแปรเพียงตัวเดียว (โลกวิสัยเป็นอจิณไตย)

    แต่ถ้ามีอะไรที่พอจะเตือนให้รู้ล่วงหน้าได้บ้าง เช่นถ้ารู้ว่าวันนี้อากาศจะเย็นมาก ก็จะได้แต่งตัวให้เหมาะสมครับ ส่วนการรู้่ว่าอากาศจะเย็นมาก จะใช้วิธีโบราณลากเส้น isobar จะใช้การคำนวณ จะดูเมฆดูลมอย่างขงเบ้ง ก็สุดแต่จะใช้กัน

    วิทยาศาสตร์เองก็มีสมมุติฐานเยอะนะครับ บรรดาโมเดลต่างๆ เช่นโมเดลของอะตอม ไม่ได้เป็นเหมือดดาวเทียมโคจรรอบโลก อนุภาคมีเกิดดับสลับกันไป ถ้าจะมีสมมุติฐานเพิ่มอีกสักอย่างหนึ่ง แล้วเราคอยสังเกต พิสูจน์ ปรับปรุง ก็ไม่น่าจะเสียหายอะไรนะครับ ถ้าเกิดถูกขึ้นมา แล้วคนในพื้นที่เสี่ยงเช่นตามชายฝั่งทะเลหรือแถวรอยแยก ได้รับการเตือนให้ตระหนักถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น วิธีการและเส้นทางหลบหนีสู่ความปลอดภัย รักษาชีวิตคนได้ ก็คุ้มครับ

  • #3 ทวิช จิตรสมบูรณ์ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 9 January 2011 เวลา 19:56

    ทฤษฎี chaos มันก็ไม่เชิงเส้นอยู่แล้วแหละครับ เพราะตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า input นิดเดียว แต่ out put มหาศาล มันอาจไม่ violate กฎข้อที่หนึ่งเนื่องเพราะมันตั้งอยู่บนขอบของความ ไม่เสถียร นะครับ เช่น ช้างกำลังป่วยหนัก มียุงมากัดเพิ่มอีกนิดเดียว ช้างก็ล้มได้

    E=mc^2 ก็ไม่เชิงเส้น

    กฎรวยแล้วไม่โกง ก็อาจเป็นกำลังสองผกผัน ได้นะครับ

    พลังงานหัวใจในการสูบส่งเลือดก็กฎกำลังสามต่อความใสของเลือด

    “ความคุ้ม” คืออะไร ผมว่ามันสุดแล้วแต่ปัจเจกจะนิยาม เช่น ชาวบ้านโนนหมากมุ่นออกมาต่อต้านคนไทยกลุ่มหนึ่ง (ที่ชื่อกลุ่มออกจะโจ่งแจ้งไปหน่อย) ที่จะไปเรียกร้องดินแดนให้พวกเขานั้น พวกเขาออกมาต่อต้าน หาว่าไม่คุ้ม ส่วนพวกเรียกร้องคิดว่า “คุ้ม” ก็ชักคะเย่อกันไป   …คนขายยาบ้าก็ว่ากำไรที่ได้มันคุ้มต่อการสียงต่อการถูกตำรวจจับ ส่วนตำรวจก็ว่ามันคุ้มที่ติดสินบทสอบเข้ามาเป็นตำรวจเพราะมันมีผลประโยชน์มาก

    ผมใช้เวลาออกมาโพสต์นี้ผมก็คิดว่ามันคุ้มนะครับ อิๆ

    ขอบคุณครับที่ให้โอกาสเสนอแนวคุ้ม

  • #4 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 9 January 2011 เวลา 22:30
    อืม ใช่ครับ ผมไม่ควรใช้คำว่าสมการเชิงเส้น ในเมื่อจะหมายถึงสมการที่มีตัวแปรตัวเดียว y=f(x)
    [รูปประจำตัว]
  • #5 ลานซักล้าง » ภัยอะไรน่ากลัว (2) ให้ความคิดเห็นเมื่อ 8 May 2011 เวลา 23:22

    [...] ดร.ก้องภพ อยู่เย็น มีปรากฏการณ์อยู่สามอย่างใหญ่ๆ คือ [...]


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.33829998970032 sec
Sidebar: 0.1471049785614 sec