Copenhagen Consensus

โดย Logos เมื่อ 18 August 2010 เวลา 18:53 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 2746

ผมนึกถึงเรื่องนี้ขึ้นมาได้เมื่อกลับไปดูบันทึกเก่าใน GotoKnow.org ซึ่งเคยเขียนไว้สองปีก่อนว่า

ปัญหาโลกพิกลพิการ: Copenhagen Consensus 2008

เมื่อวานนี้ ทีม Google Earth Outreach จาก Google.org ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่บริหาร Google Foundation ได้มาเยี่ยมทีมงาน OpenCARE แรกทีเดียว เค้ามาเพื่อจะนำเทคโนโลยีมาให้ แต่กลับไปด้วยความประหลาดใจ (ปนประทับใจ) ในสิ่งที่เราทำ มีอยู่แล้ว และแผนงานที่จะทำต่อ เค้าบอกว่าจะแนะนำ CEO ของ International NGO ขนาดยักษ์ให้อีกสององค์กร

ชื่อ Google.org ผมไม่ได้สนใจมาก่อน; คือรู้ว่า Google ให้ความช่วยเหลือในเชิง CSR อยู่หลายอย่าง แต่ไม่เคยรู้มาว่าตั้งมูลนิธิทำอย่างจริงจัง

In 2004, when Google founders Larry Page and Sergey Brin wrote to prospective shareholders about their vision for the company, they outlined a commitment to contribute significant resources, including 1% of Google’s equity and profits in some form, as well as employee time, to address some of the world’s most urgent problems. That commitment became Google.org.

ก็เลยแวะไปดูเว็บไซต์ของเขาซะหน่อย เจอเรื่อง Copenhagen Consensus น่าสนใจ

ตลอดสองปีที่ผ่านมา นักเศรษฐศาสตร์กว่า 50 คนทั่วโลก ช่วยกันศึกษาว่าโลกกำลังเผชิญปัญหาร้ายแรงอะไรบ้าง ซึ่งในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นักเศรษฐศาสตร์ระดับหัวกะทิ 8 ท่าน (ซึ่ง 5 ท่านได้รับรางวัลโนเบลมาแล้ว) ได้มาประชุมกันเพื่อพยายามแยกแยะ จัดลำดับความสำคัญปัญหาร้ายแรงของโลกที่ต้องการการแก้ไขโดยด่วน 10 อันดับ ได้แก่

Copenhagen Consensus เริ่มมาเกือบสิบปีแล้ว ด้วยคำถามอันลือลั่น

ถ้ามีเงินจะบริจาคเจ็ดหมื่นห้าพันล้านเหรียญสหรัฐสำหรับแก้ปัญหาเร่งด่วนและร้ายแรง ท่านจะทำอะไร? และเริ่มอย่างไร?

ซึ่งต่อมาในปี 2551 ก็กลายเป็นที่มาของรายการทั้ง 10 ที่แสดงไว้ข้างบนครับ; ทั้งสิบปัญหา ไม่ใช่ปัญหาทั้งหมด แต่มีความเร่งด่วนและร้ายแรง เป็นภัยคุกคามต่อความเป็นปกติสุขของชีวิต ไม่ขึ้นกับความแตกต่างใดๆ ของมนุษย์

ทุกเรื่องใหญ่เกินตัวทั้งนั้น ปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่เพิ่งเกิด แต่หมักหมมมานานแล้ว ซึ่งปัญหาต่างๆ มีความรุนแรงขึ้นตามลำดับเพราะความชุ่ยและการเพิกเฉยละเลยของเราเอง จนปัญหาทวีความรุนแรงขึ้นมาก อีกไม่กี่ปี ประชากรโลกก็จะเป็นเจ็ดพันล้านคนแล้ว พื้นที่เพาะปลูกไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่น้ำจืดกลับมีน้อยลง ฯลฯ

ไม่น่าจะมีมนุษย์กระจ้อยร่อยคนไหน จะแก้ไขได้หรอกครับ เรื่องพวกนี้ต้องช่วยกันคิด *และ* ช่วยกันทำ ถ้ามัวแต่คิด มัวแต่พูด มัวแต่ชี้นิ้ว ไม่ได้แก้ปัญหาอะไรเลย

There was an important job to be done and Everybody was sure that Somebody would do it.

Anybody could have done it, but Nobody did it.

Somebody got angry about that because it was Everybody’s job.

Everybody thought that Anybody could do it, but Nobody realized that Everybody wouldn’t do it.

It ended up that Everybody blamed Somebody when Nobody did what Anybody could have done.

ช่องว่างระหว่างความรู้และการกระทำ

วันนี้ ตัวเราอาจรอด ยิ่งมีเงินยิ่งรู้สึกว่าจะรอด (ลืมไปว่าถึงมีเงิน แต่ไม่มีคนขายอะไรให้ ก็ไม่รอดเหมือนกัน) แล้วลูกหลานล่ะครับ จะรอดไหม

« « Prev : ทะเลใต้

Next : 3 x 3 x 3 กับความเป็นนาย » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น

  • #1 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 18 August 2010 เวลา 19:45

    ถ้าเป็นประเทศไทย ต้องเติมอีกข้อหนึ่ง
    ประชากรดื้อตาใส
    อะไรก็ไม่เอา ไม่ทำ ฉันจะสนุกสบายๆ
    อยากอยู่เฉยๆแล้วให้มันเจริญเอง

  • #2 freemind ให้ความคิดเห็นเมื่อ 18 August 2010 เวลา 20:43

    แวะมาอีก…
    มาบอกว่า ดีจังอ่านง่ายขึ้นเิยอะ อ่านครั้งแรก ตาลายเลย
    เลยไม่ค่อยกล้าพูดอะไร เพราะทำอะไรได้น้อยมาก ๆ

    แต่ชอบ…นี่เลย… It ended up that Everybody blamed Somebody when Nobody did what Anybody could have done

  • #3 BM.chaiwut ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 August 2010 เวลา 7:07

    สิ่งสำคัญที่ต้องกระทำ และทุกคนบอกว่าใครบางคนก็ทำได้

    ใครบางคนพอจะทำได้ แต่ไม่มีใครทำ

    บางคนจึงโกรธ เพราะมันเป็นงานของทุกคน

    ทุกคนบอกว่าใครบางคนก็สามารถทำได้ แต่ก็ไม่มีใครเข้าใจว่า ทุกคนไม่ได้กระทำเลย

    สรุปว่า ทุกคนตำหนิใครบางคน เมื่อไม่มีใครทำในสิ่งที่ใครก็สามารถทำได้

    (ลองแปลรีบด่วน ใครผ่านมาช่วยตรวจด้วย)

    เจริญพร

  • #4 ป้าจุ๋ม ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 August 2010 เวลา 10:18

    “It ended up that Everybody blamed Somebody when Nobody did what Anybody could have done” มันก็เป็นเช่นนั้นแลค่ะ เป็นจริงตามที่ท่านพระพุทธทาสได้กล่าวให้สติพวกเราไว้ตลอดเวลาค่ะ

    บ้างก็กล่าวว่าคนที่ไม่ทำอะไรเลยก็จะไม่มีข้อผิดพลาดเลย…แต่คิดให้ดีๆคนแบบนั้นมีคุณค่าต่อตัวเองและสังคมโลกไหมละคะ?

    การทำอะไรเพื่อส่วนรวมให้ได้ดีนั้น ป้าจุ๋มคิดว่าน่าจะเริ่มที่ตัวเองก่อน…สร้างฐานของตัวเองให้มั่นคงก่อน ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีก่อน โดยการสร้างunitของครอบครัวตัวเองและคนรอบข้างให้ดีและมั่นคงก่อน มีเมตตากรุณาและน้ำใจต่อคนรอบข้างก็เป็นการช่วยสังคมไปในตัวแล้วละคะ (หากทุกคนและทุกครอบครัวทำได้ปัญหาสังคมไม่มีแน่นอนค่ะ)

    และสุดท้ายเมื่อพร้อมมากขึ้นไปอีกก็ช่วยเหลือส่วนรวมได้ดียิ่งขึ้นไปอีกค่ะ(เพราะฐานมั่นคงค่ะ) นี่คิดตามความเป็นจริงค่ะ เพราะถ้าตัวเองยังเอาตัวเองไม่รอดก็ยากส์ที่จะไปช่วยใครได้ เพราะไม่ว่าการทำอะไรหรือสร้างอะไรก็ตามหากฐานแกว่งแล้วก็คงไปรอดยากส์ค่ะ…

    การแก้ปัญหาบ้านเมืองเราทุกวันนี้มักแก้ที่ปลายเหตุ…และคนที่มีอำนาจสั่งการที่คิดว่าจะมาแก้ปัญหานั้นบางคนก็ไม่ได้ทำตัวให้เป็นที่น่าเชื่อถือนัก

    ลองเจาะลึกไป มักเป็นการทำเอาหน้าเสียมากกว่า(เอาแต่ดีใส่ตัว)เห็นแก่ตัว เอาตัวเองเป็นที่ตั้งและอีกอย่างเห็นชัดเลยว่ามีกิเลสตัณหามาครอบคลุม บังตาบังใจและขาดความละอายมากขึ้น เมื่อคนรู้ความจริงก็จะเสื่อมศรัทธา…ก็ไปไม่รอด…
    อมิตพุทธ…บ่นแต่เช้าเลยค่ะ ต้องขออภัย


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.098065853118896 sec
Sidebar: 0.13428807258606 sec