กังหันน้ำก้นหอย (2)

อ่าน: 25232

กังหันน้ำก้นหอย เป็นการใช้กฏของบอยด์ (หรือกฏของก๊าซ) ซึ่งเป็นความรู้ระดับมัธยมปลาย มาประยุกต์ใช้ สร้างความดันขึ้นในท่อ เพื่อยกน้ำขึ้นสูง

วัสดุหลักในการสร้างกังหัน มีท่อสายยาง กันหันน้ำ หัวตักน้ำ แป๊บเหล็กเป็นแกนหมุน และที่ทำเองได้ยากคือโรตารี่ยูเนี่ยน (rotary union บางทีเรียก rotary joint หรือ spiral เป็นท่อที่ปลายทั้งสองข้างหมุนจากกันได้อย่างอิสระ โดยของเหลวที่อยู่ภายในท่อไม่รั่วออกมา)

กังหันน้ำหมุนไปตามการไหลของกระแสน้ำ โดยหัวตักน้ำมีขนาดใหญ่กว่าสายยาง

เมื่อกังหันหมุนไป น้ำจะถูกตักส่งเข้าไปในสายยาง เมื่อหมุนไปเรื่อยๆ น้ำที่ถูกตักในรอบที่แล้ว ก็จะถูกส่งไปยังขดต่อไป ใกล้จุดศูนย์กลางของกังหันมากขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อไปถึงขดในสุด ก็จะถูกส่งเข้าไปที่แป็บเหล็กที่เป็นแกนหมุน น้ำไหลออกมาจากกังหันผ่านแกนหมุน

ในรูปจะเห็นท่อที่ตั้งฉากกับกังหันอยู่สองท่อ ท่อล่างที่เป็นแกนหมุนของกังหัน ส่งน้ำออกมาด้วย ส่วนท่อบน ปั่นเอากำลังกลจากการหมุนของกังหัน มีการทดเฟืองเพื่อเพิ่มความเร็วในการหมุน

กังหันน้ำแบบนี้ ทำงานที่ความเร็วต่ำ จึงไม่ต้องการกระแสน้ำเชี่ยว แต่น้ำต้องไหลเพื่อหมุนกังหันไปเรื่อยๆ

กังหันจะส่งทั้งน้ำและอากาศไปยังขดถัดๆ ไป และสลับกันไปตามการหมุนของกังหัน

กลุ่มรูปข้างล่าง แสดงให้เห็นว่ากังหันน้ำก้นหอย เป็นเทคโนโลยีง่ายๆ ชาวบ้านสามารถสร้าง/จัดหาเองได้

ในตัวอย่างนี้ ลำคลองชลประทาน ใช้กังหันขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 เมตร ใช้สายยางพลาสติกขนาด 50 มม. พันด้านละสามขด แล้วนำมาต่อกับแกนหมุนที่รับน้ำหนักกังหันเป็นท่อเหล็กขนาด 75 มม. (แล้วลดขนาดลงก่อนต่อกับ rotary union เหลือ 50 มม.) วัดความเร็วกระแสน้ำไหลได้ 1 เมตร/วินาทีและวัดได้ว่ากังหันหมุนเพียง 3.2 รอบ/นาที โดยกังหันนี้ส่งน้ำขึ้นไปบนถังเก็บได้สูง 8 เมตร

ประโยชน์ที่เห็นชัดคือการยกน้ำขึ้นจากลำธารขึ้นไปใช้บนตลิ่ง โดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าหรือน้ำมัน

« « Prev : กังหันน้ำก้นหอย (1)

Next : กังหันน้ำก้นหอย (3) » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

10 ความคิดเห็น

  • #1 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 10 April 2009 เวลา 19:08

    เป็นความฉลาดแบบง่ายๆที่คิดไม่ถึง เหมาะสมยุคประหยัดพลังงานนี้จริงๆ จะจำเอาไปคิดต่อ

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 10 April 2009 เวลา 19:57
    รอตอนต่อไปนิดนึงครับพี่ ยังมีประเด็นเรื่องประสิทธิภาพในการออกแบบ/สร้าง พร้อมทั้งเหตุผลครับ

    วันนี้ฝนตก เน็ตเจ๊ง และเหนื่อย เลยยังไม่อยากเขียนให้จบครับ

  • #3 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 10 April 2009 เวลา 20:43

    http://lanpanya.com/seasonschange/files/2009/04/e0b8a0e0b8b2e0b89ee0b899e0b8b4e0b988e0b8871-small.jpg

    ที่แม่น้ำหมัน อ.ด่านซ้าย จ.เลย จะมีพัดน้ำ วิดน้ำจากแม่น้ำหมันเข้านา เป็นภูมิปัญญาโบราณส่วนประกอบทั้งหมดทำจากไม้ไผ่และไม้เนื้อแข็งค่ะ

    เริ่มจากการตัดไม้ไผ่ทำเป็นฝายในน้ำ ให้น้ำไหลออกช่องทางเดียว(เพิ่มแรงดันน้ำ) แล้วสร้างวงล้อหน้าตาคล้ายชิงช้าสวรรค์ มีดุมเป็นไม้เนื้อแข็งมัดกับบั้ง(กระบอกไม้ไผ่)เพื่อใช้ตักน้ำ เชื่อมรางรินเพื่อรองรับน้ำจากบั้ง เพื่อให้ไหลเข้านาหรือพื้นที่ที่ต้องการ

    ยืนดูเทคโนโลยีอันนี้อยู่นานด้วยความรู้สึกว่าเป็นความผูกพันระหว่าง น้ำ ต้นไผ่ คน ป่าไม้และการแบ่งปันที่น่าดูอีกแห่งหนึ่งเชียวล่ะค่ะ นำมาฝากเผื่อจะปิ๊งไอเดียอะไรต่อหลังจากหายเหนื่อยแล้ว ^ ^

  • #4 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 10 April 2009 เวลา 20:50

    ลืมบอกไปว่าตัวบั้ง(กระบอกไม้ไผ่ผ่าซีก) ต้องเอียงเล็กน้อยนะคะ ถึงจะเทน้ำลงรางรินได้

  • #5 Lin Hui ให้ความคิดเห็นเมื่อ 10 April 2009 เวลา 20:57

    ชอบหอยโข่งยักษ์ชักน้ำขึ้นเขาจังเลย

  • #6 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 10 April 2009 เวลา 21:00
    ขอบคุณครับ จากรูปใน #3 น้ำจะไม่สูงกว่าความสูงของกังหัน ยังเป็นหลักการของแรงโน้มถ่วงธรรมดาที่ไม่ได้เพิ่มแรงดันน้ำครับ แต่การทำกังหันวิดน้ำอย่างที่เลย (และที่อื่นๆ) นี้ ดีในแง่ที่ใช้วัสดุท้องถิ่นทั้งหมด เป็นการออกแบบที่น่าจะมีมานานเป็นพันปี เคยเห็นที่เมืองเก่าลี่เจียง ที่อินเดีย (อาจจะมีรูปถ่ายจากจีน แต่ขอค้นก่อนครับ) เคยเห็นรูปในหลายประเทศครับ

    วิธีการที่เสนอในบันทึก มีการใช้แรงโน้มถ่วง อัดอากาศในสายยาง เพิ่มความดัน จึงส่งน้ำขึ้นไปได้สูงกว่าความสูงของกังหัน(มาก)

    สายยางรดน้ำที่ขายกันในตลาดทนความดัน 5 บาร์ (5 เท่าของความดันบรรยากาศ) เรา*อาจ*ออกแบบให้อัดอากาศสัก 3 บาร์ได้อย่างปลอดภัย; ความดัน 3 บาร์ หมายความว่าส่งน้ำขึ้นไปสูง 100 ฟุต หรือ 30 เมตร โดยไม่ใช้ไฟฟ้าหรือน้ำมัน

  • #7 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 10 April 2009 เวลา 21:42
    #4 ข้อเสนอในการปรับปรุงคือผมจะสร้างฝายเบนน้ำ (weir) คือกั้นทางน้ำ ‘ฝั่งโน้น’ เสียครึ่งหนึ่ง อันนี้ไม่มีการเปลี่ยนทางน้ำนะครับ แต่บังคับน้ำปริมาณมากมาปั่นกังหัน แทนที่จะปล่อยให้ไหลไปเฉยๆ โดยไม่ได้ทำอะไร
  • #8 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 11 April 2009 เวลา 0:23

    รูปที่เบิร์ดเอา่มาให้ดูนั้นทางอีสานเรียก “หลุก” สมัยก่อนที่เทคโนโลยียังไม่สูง ชาวบ้านใช้วิธีนี้ ปัจจุบันเหลือน้อยเต็มทีแล้ว อาจจะมีบางแห่งในรีสอร์ท ซึ่งกลายเป็นเครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์ ของเก่าไปแล้ว  ทางเหนือโบราณก็ใช้กันมาก  ปัจจุบันก็น่าจะมีหลงเหลืออยู่  ด้วยหลักการเดียวกันแต่ดัดแปลงให้รายละเอียดแตกต่างกัน  ที่อีสานมีที่โคราชแถบเขาใหญ่ จำไม่ได้ตรงไหน..

    สมัยอยู่สะเมิงเคยเอาเครื่องมืออีกชนิดหนึ่งอาศัยกระแสน้ำผ่านปั้มอัดแรงเพื่อดัดน้ำเข้าท่อและสามารถยกระดับน้ำขึ้นสูงเป็นสิบเมตร  เครื่องมือนี้เขาเรียก “ไฮดรอลิค แรม”  แต่ต้องอาศัยกระแสน้ำที่แรง เช่นน้ำบนภูเขาที่มี Head ต่างกันสูงๆ

  • #9 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 11 April 2009 เวลา 7:41
    ไฮดรอลิคแรม ‘ตำน้ำ’ กระเด็นออกมาข้างนอก มีความสึกหรออันเกิดจาก back pressure ครับ เรื่องนี้มีต่อคิวอยู่เหมือนกัน
  • #10 abdoo ให้ความคิดเห็นเมื่อ 11 April 2009 เวลา 20:14

    อยากช่วยงานพัฒนากังหันก้นหอยนี้ครับ ท่านใดมีสถานที่เหมาะสม และอยากพัฒนาตันแบบกังหันนี้เพื่อประโยชน์ของเกษตรกรบ้านเรา และคุณ Logos เห็นด้วย ผมขอเสนอตัวทำกังหันต้นแบบด้วยครับ

    Abdoo


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 3.0429990291595 sec
Sidebar: 0.42241787910461 sec