นิสิต SAR จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 58

อ่าน: 2751

นิสิตในสำนักงานคณะกรรมการศึกษาวิจัยทรัพยากรการเกษตร (SAR ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจาก OCARE) เป็นรุ่นที่สามที่มาส่วนป่า แต่เป็นรุ่นที่สี่ของคณะ (รหัส 56) ซึ่งประกอบไปด้วยนิสิต 48 คน อาจารย์ 4 ท่าน รวมท่านคณบดีด้วย และเจ้าหน้าที่อีก 1 ท่าน เป็นบัณฑิตรุ่น 1 ของ OCARE ซึ่งมาเยือนสวนป่าระหว่างวันที่ 5-7 มิย 58

วันแรก คณะเดินทางมาจากสระบุรี มาถึงแล้วพักรัปทานอาหาร ก่อนฟังครูบาคุยสักครู่ แล้วเริ่มเรียนกับผมเลยครับ คุยกันเรื่องการเรียนรู้ที่สวนป่า ซึ่งชวนสังเกตรื่องเกี่ยวกับชีวิต ไม่จัดเป็นวิชา ไม่มีหลักสูตร ต้องสังเกตและจับประเด็นเอาเอง เห็นไม่เหมือนกัน ได้ไม่เท่ากัน ก็ไม่เป็นไร แล้วเราก็คุยกันเรื่องความมั่นคงสามแนวทาง อาหาร น้ำ พลังงาน ทำไมจึงสำคัญแบบคอขาดบาดตาย คุยกันเรื่องไบโอชาร์ในฐานะของเครื่องมือปรับปรุงดิน กับเรื่องโซลาร์เซล อย่างละนิดหน่อย แล้วคุยเรื่องการเริ่มต้นออกไปอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ไม่มีน้ำ ไม่มีไฟ ทำอย่างไรจึงจะเริ่มต้นได้ แล้วปล่อยกลับไปเก็บของเข้าที่พัก แล้วกินข้าวเย็นกัน… มีถอดบทเรียนกันเองทุกคืนหลังอาหารเย็นครับ

อ่านต่อ »


สิงห์เหนือปะทะเสือใต้

อ่าน: 3993

เม้งบอกว่าจะมาสวนป่ามานานแล้วครับ เลื่อนมาเรื่อยๆ เพราะว่าภารกิจเยอะ จนช่วงสิ้นปีที่แล้ว บอกมาว่าจะมาสวนป่าเป็นครั้งแรกช่วงเดือนเมษายน — เคยมีเหตุการณ์สิงห์เหนือปะทะเสือใต้มาแล้วครั้งหนึ่ง ตอนที่เม้งกลับมาจากเยอรมันหลังจากเรียนจบแล้วเบิร์ดอยู่กรุงเทพพอดี อ้อ…อีกครั้งตอนงานบวชเม้ง

พอใกล้กำหนดสอบถามกำหนดการที่แน่นอนตลอดจนจำนวนคนไป ตอนแรกบอกว่าจะขับรถตามกันมาสองคัน 1,500 กม.จากปัตตานี พอตรวจสอบอีกทีลดเหลือคันเดียว เม้งจะขับ Mu-7 มาเอง มีลุงพูน อาจารย์เศวต ไชยมงคล พร้อมทั้งลูกชาย โก้ กับ กล้า อีกสองหน่วย จะสวนป่าวันที่ 29 เม.ย.-1 พ.ค.

พอหมอเบิร์ดรู้เข้า ก็จะมาเซอร์ไพร้ซ์เม้ง บินไปลงอุบลวันที่ 28 เม.ย. เยี่ยมคุณป้า แล้วเช้าวันที่ 29 ก็ขับรถจากอุบลมาสวนป่า ส่วนเม้งซึ่งออกเดินทางจากปัตตานวันที่ 28 พักกลางทางแถวประจวบคืนหนึ่ง เดินทางมาถึงสวนป่าตอนค่ำของวันที่ 29… ไม่เข้าใจว่าขับรถผ่านสุพรรณได้ยังไง

อ่านต่อ »


โลกร้อน น้ำแข็งละลาย น้ำท่วมโลก

อ่าน: 4230

น้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลาย ไม่ได้ทำให้น้ำทะเลสูงขึ้น ก้อนน้ำแข็งที่ลอยอยู่ในน้ำทะเลด้วยตัวของมันเองเช่นที่ขั้วโลกเหนือ เมื่อละลายแล้วจะไปแทนที่ปริมาตรก้อนน้ำแข็งส่วนที่เคยจมอยู่; ส่วนน้ำแข็งที่ขั้วโลกใต้นั้น หากละลาย ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นเพราะขั้วโลกใต้เป็นแผ่นดินที่มีน้ำแข็งปกคลุม เมื่อน้ำแข็งที่ขั้วโลกใต้ละลาย ปริมาตรน้ำในมหาสมุทรจะสูงขึ้น

จากดาวเทียมสำรวจโลก พบว่าน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือละลายไปเยอะแล้ว แต่ที่ขั้วโลกใต้กลับมีน้ำแข็งเพิ่มขึ้น

ซึ่งเรื่องของน้ำแข็งมีความสำคัญในแง่ที่ว่า น้ำแข็งเป็นสีขาวสามารถสะท้อนแสงอาทิตย์ออกไปนอกอวกาศได้ดีกว่าผืนน้ำหรือผืนดิน หากน้ำแข็งละลายมาก โลกจะสะท้อนพลังงานจากดวงอาทิตย์ออกไปในอวกาศได้น้อยลง ทำให้พลังงานจากดวงอาทิตย์กลายเป็นความร้อนสะสมอบอวลอยู่ในบรรยากาศ และทำให้โลกร้อนมากขึ้น

อ่านต่อ »


ถอดบทเรียนการทำหนังสือ โมเดลบุรีรัมย์

อ่าน: 10563

เมื่อวาน ส่งต้นฉบับไปโรงพิมพ์และสั่งพิมพ์แล้ว ก็เป็นอันว่ากระบวนการทำหนังสือโมเดลบุรีรัมย์เล่มนี้ จบลงเพราะทำอะไรอีกไม่ได้แล้ว

หนังสือเล่มนี้เป็นเล่มที่ 4 ที่ผมทำทั้งกระบวนการ เขียน-เลือก-รวบรวม-ทำปก-จัดรูปเล่ม-แต่งรูปประกอบ-เรียงพิมพ์-ตรวจ-แก้-ส่งโรงพิมพ์ หนังสือคงจะพิมพ์เสร็จและจัดโดยส่งมาที่ VBAC ได้ในวันที่ 3 ก.ค. หนึ่งวันก่อนการเปิดตัวในงานอะไรสักอย่างของสภาการศึกษา ที่ทำเนียบรัฐบาล

เพื่อให้เข้าใจกระบวนการทำหนังสือแบบของผมเอง ดูได้จากบันทึกเก่าครับ — ควรอ่านทั้งสองบันทึกก่อนอ่านบันทึกนี้ต่อไป

อันนี้แถม

ที่จริงเมื่อวานซืน ไปส่งต้นฉบับที่โรงพิมพ์มาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ว่าเนื่องจากก่อนไปส่ง มีการแก้ไขที่ฉุกละหุกมาก แล้วมีจำนวนสั่งพิมพ์ที่มากพอสมควร ผมจึงไม่แน่ใจว่าต้นฉบับนั้นจะมีคุณภาพที่จะพิมพ์ได้ แม้ว่าเวลาจะกระชั้นชิดมาก แต่ก็นัดแนะกับโรงพิมพ์ว่าวานนี้ จะต้องขอตรวจปรู๊ฟก่อน แม้จะเสียเวลา โรงพิมพ์พูดไม่ออก ซึ่งเราก็เข้าใจว่าเวลาไม่มีแล้ว

ดังนั้นเมื่อกลับมาบ้านเมื่อวานซืน จึงลงมือตรวจต้นฉบับอีกครั้งหนึ่งร่วมกับคณะบรรณาธิการ คือครูปู หมอเบิร์ด และฝน ถ้าตรวจแก้ได้เมื่อคืนทั้งหมด เช้าขึ้น เอาต้นฉบับอันใหม่ไปให้โรงพิมพ์แล้วสั่งพิมพ์เลย จะประหยัดเวลาได้มากกว่าไปตรวจปรู๊ฟที่โรงพิมพ์แล้วแก้ไข

ในการตรวจแก้ขั้นสุดท้าย มีรายการส่งมาแก้ไขตลอดช่วงค่ำ แต่เวลาสำคัญคือตั้งแต่ช่วงห้าทุ่มจนแปดโมงเช้า ผมมีโอกาสอีกรอบหนึ่งที่ได้แก้ไขเรื่องการแบ่งคำทางขอบขวาของหน้า และการจัดรูปประโยคใหม่ทั้งเล่ม โปรแกรมเรียงพิมพ์ตัดคำได้ดีครับ แต่ตัดประโยคไม่ดี ต้องมาไล่ปรับเองทั้งเล่ม

ผมตรวจแก้มาทั้งคืน คิดว่าโอเคแล้ว แปดโมงเช้าจึงเตรียมดิสก์เพื่อส่งโรงพิมพ์ เจอรายการแก้ไขหมอเบิร์ดสุดละเอียดอีก ก็เลยแก้อีกครับ

แก้ไปจน 9 โมง มีความเห็นร่วมกันว่าพอแล้ว ต้องเตรียมดิสก์ไปส่งโรงพิมพ์แล้ว ถ้าทำจนสมบูรณ์แบบ จะเป็นการผิดปกติ ความสมบูรณ์แบบไม่มีประโยชน์อะไรเลยถ้าส่งงานไม่ได้ แต่เชื่อว่าด้วยความทุ่มเทของคณะบรรณาธิการที่ทำอย่างเต็มที ทำให้หนังสือนี้ มีคุณภาพดีเกินพอที่จะตีพิมพ์แล้ว

ผมได้อ่านหนังสือนี้หลายรอบมากๆ ชอบทั้งเนื้อหา ชอบทั้งความไหลลื่นของเรื่อง (คนเรียงเรื่องเก่ง) ชอบรูปประกอบ (คนถ่ายรูปเก่ง และคนเลือกรูปมาใช้เก่งมาก) อ่านไปทุกรอบ สะดุดใจประเด็นความรู้ใหม่ทุกรอบ

อ่านต่อ »


บ่อปลาและแปลงผักในป่าคอนกรีต

อ่าน: 6929

หลายปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไม่ดีทั่วโลก บ้านเรารับข่าวสารแต่มักจะไม่เข้าใจเนื้อแท้ของข่าวว่ามีอะไรซ่อนอยู่บ้าง

เศรฐกิจโลกไม่ดีมาหลายปีแล้วครับ อัตราคนว่างงานในสหรัฐไม่ได้ดีขึ้นอย่างที่เข้าใจกัน เนื่องจากปลายช่วงรัฐบาลบุชผู้ลูก มีการเปลี่ยนแปลงการนับจำนวนผู้ว่างงานเป็นจำนวนผู้รับสวัสดิการการว่างงานจากรัฐ แต่ว่ารัฐจ่ายสวัสดิการนี้เพียงปีเดียว ถ้าในหนึ่งปียังหางานไม่ได้ ก็จะไม่นับเป็นผู้ว่างงานอีกต่อไปเนื่องจากไม่ได้รับสวัสดิการการว่างงานจากรัฐอีกแล้ว สหรัฐพิมพ์ธนบัตรเท่าไรก็ได้ เอาไปซื้อน้ำมัน โอเปคไม่ใช่ว่าไม่รู้ว่านี่มันแบ๊งค์กงเต็ก แต่ไม่มีเงินสกุลใหญ่อื่นๆ ที่มีความมั่นคงพอ จะสังเกตได้ว่าเศรษฐีอาหรับเอาเงินไปซื้อห้างสรรพสินค้า โรงแรม หรือแม้แต่ทีมฟุตบอล ทั้งนี้เพื่อเปลี่ยนเงินสดไปเป็นสินทรัพย์อย่างอื่นเผื่อว่าระบบเงินตราจะมีปัญหาหนัก

ทั้งในอเมริกาและยุโรป นอกจากความเชื่อในกระแสโลกวิบัติปี 2012 แล้ว ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาความอยู่รอดของยูโรโซน ปัญหาการขาดดุลย์การค้าที่กลับเพิ่มขึ้นอีกของญี่ปุ่น อัตราการว่างงานในสหรัฐและยุโรป เงินเฟ้อ ประเทศล้มละลาย แต่ที่สำคัญที่สุดคือราคาน้ำมันผันผวน ทำให้ผู้คนเริ่มระแวงว่าเมื่อระบบโลจิสติกส์มีปัญหา แหล่งผลิตทางอุตสาหกรรมจะมีปัญหาสองเด้ง คือการขนส่งวัตถุดิบเข้ามาผลิตไม่ได้และส่งสินค้าที่ผลิตแล้วไปขายไม่ได้เช่นกัน พื้นที่เกษตรกรรมก็เช่นกัน ถ้าราคาน้ำมันผันผวนมาก เครื่องจักรกลการเกษตรทำงานไม่ได้ จะไม่มีแรงงานเพียงพอที่จะเก็บเกี่ยว และจะไม่สามารถขนพืชผลไปขายได้

แล้วเมืองจะอยู่รอดได้อย่างไร ถ้าไม่สามารถส่งสินค้าและอาหารจากแหล่งผลิตสู่เมือง คำว่าเมืองไม่ใช่กรุงเทพนะครับ ชุมชนต่างๆ ที่มีความสะดวกสบายแต่ไม่สามารถผลิตอาหารเลี้ยงตัวเองได้ เป็นอาการเดียวกันหมด

บันทึกนี้เสนอวิธีการปลูกพืชอาหารและเลี้ยงปลา โดยอาศัยพึ่งพากันและกัน เรียกว่าระบบ Aquaponics

อ่านต่อ »


เปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นน้ำมัน

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 8 April 2012 เวลา 12:04 ในหมวดหมู่ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม #
อ่าน: 5449

ในงานเฮเก้า หมอจอมป่วนพูดถึงการจัดการขยะของสวนป่า ให้ความรู้เรื่องเปลี่ยนเศษใบไม้และขยะอินทรีย์ไปหมักเป็นปุ๋ยหมัก ซึ่งหมอทำเรื่องนี้มานาน ได้รับรางวัลและการยกย่องต่างๆ มากมาย รวมทั้งได้ทิ้ง powerpoint file ที่ใช้อบรมทั่วประเทศไว้กับครูบาทั้งชุด ผมคิดว่าครูบาคงทำไปตามนั้นละครับ เนื่องจากมีเศษไม้เศษใบไม้เยอะแยะเลย ขณะนี้สวนป่าใช้วิธีฝังกลบในที่ต่ำ (เลยโรงอัดอิฐไปอีก) บ่อหมักปุ๋ยต้องแก้ไขนิดหน่อยตามคำแนะนำของหมอ หมอแนะให้เอา biomass ไปทำ gasification ด้วย

ส่วน(อดีต)นายกเทศมนตรีท่านชอบไอเดียการเปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นน้ำมัน บันทึกนี้เอาตัวอย่างของกระบวนการอย่างหลังมาให้ดูครับ เป็นคลิปที่มหาวิทยาลัยสหประชาชาติ (UNU) ผลิตขึ้นเผยแพร่

อ่านต่อ »


ร่อนแปลงปลูก

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 29 February 2012 เวลา 14:36 ในหมวดหมู่ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม #
อ่าน: 2982

หากว่ารากพืชจะทำงานได้ ปลายรากก็ต้องชอนไชไปตามดินได้ โดยทั่วไปเราจะพรวนดินหรือใช้เครื่องตีดิน

แต่ในกรณีที่ดินแข็งมากจนเป็นดินดาน จนบางทีแม้จะขุดด้วยเครื่องมือก็ยังไม่ไหว แล้วรากพืชจะไชดินไหวได้อย่างไรครับ น้ำใต้ดินที่จะช่วยทำให้ดินอ่อนเพื่อที่ปลายรากพืชจะทำงานตามธรรมชาติได้ ก็ไม่สามารถจะขึ้นมาสู่บริเวณของปลายรากพืชได้ จึงต้องพึ่งการให้น้ำทางผิวดินอย่างเดียว ซึ่งการให้น้ำทางผิวดินนี้ น้ำส่วนหนึ่งจะระเหยไปในอากาศ และมีน้ำจำนวณน้อยที่ปลายรากพืชนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรงครับ

เช่นเดียวกับการแสวงหาคำตอบต่างๆ จะไม่มีคำตอบเดียวที่ใช้ได้ครอบจักรวาล การปลูกพืชก็เช่นกัน ไม่จำเป็นต้องเตรียมแปลงปลูกอยู่ในระดับผิวดินหรอกครับ

คลิปอันนี้เป็นวิธีร่อนดิน (ที่ผสมกับปุ๋ยหมัก) ให้ร่วน แล้วยกแปลงปลูกให้สูงขึ้นมาจากผิวดินเล็กน้อย เมื่อรดน้ำแล้ว น้ำซึมลงไปในผิวดินได้ดี ระเหยไปในอากาศน้อย

อ่านต่อ »


ถนนสูง เขื่อนยาว

อ่าน: 2649

การเปลี่ยนแปลงใดๆ มีผลกระทบต่อเนื่องต่อสิ่งที่อยู่รอบๆ เสมอ

รัฐบาลมีดำริจะสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมโดยยกถนนขึ้นอีก 1 เมตร และสร้างคันกั้นน้ำรอบเขตเศรษฐกิจสำคัญ เช่นนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างที่เขียนในบันทึกที่แล้วว่าผมคิดว่าเป็นสิทธิที่จะป้องกันชีวิตและทรัพย์สินครับ

แต่ในทำนองกลับกัน ก็อยากให้เรียนรู้จากบทเรียนของเขื่อนป้องกันสึนามิในญี่ปุ่นด้วย แม้ตามสถิติแล้ว ไม่น่าจะมีสินามิสูงเกิน 10 เมตร แต่เมื่อเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงผิดปกติและเกิดสึนามิตามมา คลื่นข้ามเขื่อนเข้ามาทำลายบ้านเมืองได้ เมื่อข้ามเข้ามาแล้ว น้ำกลับออกไปลงทะเลไม่ได้เนื่องจากมีเขื่อนขวางอยู่ ต้องค่อยๆ ระบายน้ำออก ซึ่งก็ยังดีที่ว่าแผ่นดินบนฝั่งอยู่สูงกว่าทะเลเสมอ จึงใช้แรงดึงดูดระบายน้ำได้

แต่กรณีของที่ราบลุ่มภาคกลางนั้น บางแห่งมีสภาพเป็นแอ่ง ปิดล้อมด้วยความสูงต่ำของภูมิประเทศ บางทีก็ด้วยถนน แม้ปริมาณน้ำส่วนใหญ่ผ่านไปหมดแล้ว แต่ก็ยังมีน้ำค้างทุ่งอยู่ในหลายอำเภอ ปัจจุบันน้ำลดลงแต่ยังไม่แห้ง พื้นที่ยังใช้เพาะปลูกไม่ได้ ทำการฟื้นฟูไม่ได้ ไม่รู้ว่าจะต้องรอไปถึงเมื่อไร ตอนนี้เท่าที่ทราบ รอน้ำระเหยไปตามธรรมชาติหรือไม่ก็ต้องจ่ายค่าพลังงานสำหรับสูบน้ำเองนะครับ

ถ้ายกระดับของ “เขื่อน” ขึ้นอีกหนึ่งเมตร แล้วกั้นน้ำไม่ให้ข้ามสันเขื่อนมาได้ จะมีอานิสงส์ดีคือจะไม่เกิดอาการน้ำค้างทุ่งแบบนี้อีก แต่ในทำนองกลับกัน ถ้าเกิดฝนตกหนัก หรือน้ำหลากข้ามสันเขื่อนเข้ามาได้ จะเกิดอาการน้ำค้างทุ่งสูงขึ้นอีกหนึ่งเมตร ท่วมหนักและยาวนาน พื้นที่หลังแนวถนนเขื่อน จะอยู่อาศัยไม่ได้เลย เพราะน้ำจะท่วมลึกขึ้นอีก 1 เมตร

อ่านต่อ »


โรงเพาะเห็ด

อ่าน: 5707

คืนนี้ครูบาโพสต์รูปเห็ด แล้วบอกว่า “เกิดทั่วไปแล้วตอนนี้ ขอเพียงมีความชื้นพอดี เห็ดก็เกิดได้ทั้งปี เห็ดทำหน้าที่อะไรบ้าง มนุษย์ยังรู้ไม่หมด เป็นเครื่องมือวัดความชื้นในอากาศในดินได้ด้วย”

เมื่อสามปีครึ่งที่ผ่านมา ไปเที่ยงงานพฤกษาสยามแล้วไปเจอระบบให้น้ำฝอยพร้อมทั้งกระโจมเพาะเห็ดครับ [เที่ยวงานพฤกษาสยาม (2)] ด้วยความที่เราไม่รู้เรื่องก็ต้องศึกษาไปทั่ว พบคำแนะนำหลายอย่าง แต่สองเรื่องซึ่งดูจะสำคัญที่สุดคือ ความชื้น และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์

ชาวฟาร์มเห็ดให้ความสำคัญกับความชื้น แต่ไม่ค่อยสนใจตัวหลัง ดังนั้นกระโจมเห็ดจึงมักตั้งอยู่กับพื้น อัดละอองน้ำเยอะๆ ให้ชื้นเข้าไว้


(ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต)

อ่านต่อ »


มุมมองผู้บริโภคและพลเมืองต่อแผนแม่บทฯ กสทช.

อ่าน: 3794

สำนักงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (สำนักงาน กสทช.) จะจัดเวทีสัมนาและรับฟังความคิดเห็นในวันพฤหัสบดีที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น. เป็นเรื่อง (ร่าง) แผนแม่บทฯ 3 ฉบับ มีเวลารับฟังความคิดเห็น 35 45 และ 30 นาที ตามลำดับสำหรับร่างแผนแม่บททั้งสามฉบับ ซึ่งคงมีผู้เชี่ยวชาญไปปล่อยของเยอะแยะ คงไม่เหลือเวลาสำหรับผู้บริโภคและพลเมืองคนหนึ่งซึ่งไม่ได้ทำธุรกิจนี้อีกแล้วมั๊งครับ (รู้ว่าคิดไปเอง…แต่ก็คิดอยู่ดี)

อย่างไรก็ตาม ทั้งในฐานะของผู้บริโภคและพลเมือง ผมก็มีความคิดเห็นต่อบางส่วนของแผนแม่บทดังกล่าวบ้างเหมือนกัน อยากจะใช้พื้นที่ตรงนี้เขียนเอาไว้ โดยมองจากบางประเด็นซึ่งสำนักงาน กสทช.ได้เผยแพร่เอกสารไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง (ร่าง) แผนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง และบริการเพื่อสังคม (พ.ศ. 2555-2559)

อ่านต่อ »



Main: 1.1545481681824 sec
Sidebar: 0.46020603179932 sec