สิงห์เหนือปะทะเสือใต้

อ่าน: 4138

เม้งบอกว่าจะมาสวนป่ามานานแล้วครับ เลื่อนมาเรื่อยๆ เพราะว่าภารกิจเยอะ จนช่วงสิ้นปีที่แล้ว บอกมาว่าจะมาสวนป่าเป็นครั้งแรกช่วงเดือนเมษายน — เคยมีเหตุการณ์สิงห์เหนือปะทะเสือใต้มาแล้วครั้งหนึ่ง ตอนที่เม้งกลับมาจากเยอรมันหลังจากเรียนจบแล้วเบิร์ดอยู่กรุงเทพพอดี อ้อ…อีกครั้งตอนงานบวชเม้ง

พอใกล้กำหนดสอบถามกำหนดการที่แน่นอนตลอดจนจำนวนคนไป ตอนแรกบอกว่าจะขับรถตามกันมาสองคัน 1,500 กม.จากปัตตานี พอตรวจสอบอีกทีลดเหลือคันเดียว เม้งจะขับ Mu-7 มาเอง มีลุงพูน อาจารย์เศวต ไชยมงคล พร้อมทั้งลูกชาย โก้ กับ กล้า อีกสองหน่วย จะสวนป่าวันที่ 29 เม.ย.-1 พ.ค.

พอหมอเบิร์ดรู้เข้า ก็จะมาเซอร์ไพร้ซ์เม้ง บินไปลงอุบลวันที่ 28 เม.ย. เยี่ยมคุณป้า แล้วเช้าวันที่ 29 ก็ขับรถจากอุบลมาสวนป่า ส่วนเม้งซึ่งออกเดินทางจากปัตตานวันที่ 28 พักกลางทางแถวประจวบคืนหนึ่ง เดินทางมาถึงสวนป่าตอนค่ำของวันที่ 29… ไม่เข้าใจว่าขับรถผ่านสุพรรณได้ยังไง

อ่านต่อ »


โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 25 October 2012 เวลา 13:04 ในหมวดหมู่ ดนตรี ศิลปะ วรรณกรรม บันเทิง #
อ่าน: 7087

โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูหัว… ตัวสะกดคงไว้ตามต้นฉบับ ที่ตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2468

—-

กิจ ๑๐ ประการที่ผู้ประพฤติยังไม่เคยเสียใจ

บัณฑิตวินิจแล้ว แถลงสาร สอนเอย
ทศนฤทุมนาการ ชื่อชี้
เหตุผู้ประพฤติปาน ดังกล่าว นั้นนอ
โทมนัสเพราะกิจนี้ ห่อนได้เคยมี

อ่านต่อ »


โคลงสุภาษิต โสฬศไตรยางค์

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 23 October 2012 เวลา 10:35 ในหมวดหมู่ ดนตรี ศิลปะ วรรณกรรม บันเทิง #
อ่าน: 7274

เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นำมาแสดงในวันนี้เนื่องจากเป็นวันปิยมหาราช

เป็นโคลงเตือนใจ 16 หมวด แต่ละหมวดชี้ 3 ประเด็น ค้น Google ดูแล้ว ไม่ปรากฏเนื้อความให้อ่านได้ เจอแต่ฉบับ pdf ที่ศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหวิทยาลัย ผมจึงนำมาพิมพ์ใหม่โดยคงตัวสะกดไว้ตามแบบเมื่อการพิมพ์ในปี 2468

ปราชญ์แสดงดำริห์ด้วย ไตรยางค์
โสฬศหมดหมวดปาง ก่อนอ้าง
เปนมาติกาทาง บัณฑิต แสวงเอย
หวังสวัสดิ์ขจัดทุกข์สร้าง สืบสร้องกุศล

อ่านต่อ »


กามนิต

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 9 July 2011 เวลา 0:01 ในหมวดหมู่ ดนตรี ศิลปะ วรรณกรรม บันเทิง #
อ่าน: 4262

ผมเชื่อกรรมครับ มีเรื่องสะตอเบอรี่ ที่คนจิตอ่อน ติดดี หลงเชื่อไปโดยไม่ตรวจสอบ ไม่รู้จักฉุกคิด; ก็มาสงสัยว่าคนที่น่าจะดี กลายเป็นอย่างนี้ได้อย่างไร ผมมาปลงใจที่ “อัตตา” ทำให้เพี้ยนไป…

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ มักจะแปลกันว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน แต่แปลได้ว่า อัตตาเป็นที่พึ่งแห่งอัตตา เช่นกัน ทางจิตวิทยาว่าอัตตา(ego)พยายามปกป้องอัตตา พยายามสร้างคุณค่าสนองอัตตา แม้จะไม่จริงก็พยายามจะบอกตัวเองว่าจริง(จนเชื่อเองแฮะ) ซึ่งถ้าไม่เคลมก็คงไม่มีใครว่าอะไร แต่พอเคลมแล้วไม่ตรงกับความเป็นจริง ก็เป็นเรื่องซิครับ… ได้พยายามให้สติหลายครั้งแล้ว กด Like กันเต็มไปหมด แต่ก็ยังทำเหมือนเดิม… คงต้องวางอุเบกขาแล้วปล่อยไป… อุเบกขาไม่ใช่แอ๊บไร้เดียงสา อุเบกขานั้นรู้ผิดรู้ถูก แต่ไม่ยุ่งเรื่องที่ไม่เกิดประโยชน์ เช่นเรื่องอัตตาปลอมๆ… กรุณาอย่าถามว่าเรื่องราวเป็นมาอย่างไร เพราะเรื่องมันยาว ดราม่าไม่มีแบบตอนเดียวจบหรอกครับ ลากกันได้ทีละครึ่งค่อนปี…

กลับมาเรื่องกามนิต ซึ่งเป็นนิยายอิงพุทธศาสนา ข้อมูลจากวิกิพีเดียบอกว่า เรื่องเดิมชื่อ Der Pilger Kamanita แต่งโดยนักเขียนชาวเดนมาร์ก ในปี 2449 ผู้ซึ่ง 11 ปีให้หลัง ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม หนังสือกามนิตได้รับการยกย่องให้เป็นหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน ฉบับภาษาไทยแปลโดย เสฐียรโกเศศ–นาคะประทีป ในปีพ.ศ. 2473 มีรูปประกอบโดยอาจารย์ช่วง มูลพินิจ โดยแปลจากฉบับภาษาอังกฤษ (The Pilgrim Kamanita) ซึ่งแปลมาจากต้นฉบับภาษาเยอรมัน (Der Pilger Kamanita) อีกทอดหนึ่ง

อ่านต่อ »


ดินหรือหัว

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 4 July 2011 เวลา 23:40 ในหมวดหมู่ ดนตรี ศิลปะ วรรณกรรม บันเทิง #
อ่าน: 2522

กว่าจะเป็นชิ้นงาน ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ หรอกครับ
ดินเปลี่ยนเป็นหัว หรือว่าดินยังเป็นดิน


เรื่องเก่าเล่าใหม่: โอลด์ แลง ซายน์

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 5 March 2011 เวลา 4:16 ในหมวดหมู่ ดนตรี ศิลปะ วรรณกรรม บันเทิง #
อ่าน: 3901

เพลงโอลด์ แลง ซายน์ มาจากโคลงเก่าภาษาสก็อต ที่โรเบิร์ต เบิร์นส์​ ผู้เป็นกวี เรียบเรียงไว้จากเพลงพื้นบ้านของสก็อตแลนด์

เนื่องจากมีทั้งรุ่นเพลงพื้นบ้าน รุ่นโคลง รุ่นที่เอาไปทำเป็นเพลง รุ่นแปลเป็นภาษาอังกฤษ และยังที่แปลเป็นภาษาอื่นอีก (เช่นเพลงสามัคคีชุมนุม) การสืบหาต้นฉบับที่แท้จริงถึงจะไม่ยุ่งยาก แต่หาเพลงซึ่งร้องตามเนื้อนั้นไม่ได้เลยครับ

โอลด์ แลง ซายน์ Auld Lang Syne แปลเป็นอังกฤษแบบคำต่อคำว่า Old Long Ago คือเปรียบเสมือนเรื่องราวที่ผ่านพ้นไปนมนานแล้ว บางส่วนยังประทับใจ บางส่วนน่าหวนคำนึงหา เหมือนเพื่อนเก่า ใช้เป็นเพลงปิดงานชุมนุมลูกเสือ (Jamboree) และในหลายๆ ประเทศ เอาไว้ร้องหลังเที่ยงคืนวันขึ้นปีใหม่ (หลังจากเคาน์ดาวน์) ในความหมายที่ว่าควรจะย้อนรำลึก เพื่อกลั่นเอาส่วนที่ดีเก็บไว้…อะไรทำนองนั้น

คลิปข้างล่างนี้ สมาชิกสภาสก็อตแลนด์ร้องร่วมกันเป็นภาษาสก็อตปนอังกฤษ เริ่มด้วยท่อนแรกและไปต่อยังท่อนสุดท้าย

อ่านต่อ »


เอนไซโคลปิเดีย กาแลคติกา

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 31 December 2010 เวลา 0:06 ในหมวดหมู่ ดนตรี ศิลปะ วรรณกรรม บันเทิง #
อ่าน: 3978

เอนไซโคลปิเดีย กาแลคติกา (Encyclopædia Galactica) ปรากฏขึ้นครั้งแรกในนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง Foundation (สถาบันสถาปนา) โดยไอแซค อสิมอฟ เมื่อปีพ.ศ. 2485 ในขณะที่สงครามโลกครั้งที่สอง กำลังดำเนินอยู่อย่างดุเดือด

ในเนื้อเรื่อง มีวิชาอนาคตประวัติศาสตร์​ (Psychohistory) ซึ่งสามารถทำนายภาพใหญ่ของอนาคตได้ อนาคตประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่บนสัจพจน์อยู่สามอย่างคือ

  • พฤติกรรมของประชากรที่นำมาคำนวณในแบบจำลอง ต้องมีขนาดใหญ่พอ
  • ประชากรต้องไม่รู้ผลของการทำนายพฤติกรรมด้วยวิชาอนาคตประวัติศาสตร์ เพื่อไม่ให้เกิดการโน้มน้าวหรือเบี่ยงเบน
  • มนุษย์ชาติเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีสติปัญญาเพียงเผ่าพันธุ์เดียวในแกแลกซี่

ตอนแรกของสถาบันสถาปนา ตีพิมพ์เพียง 6 เดือนหลังจากเพิร์ลฮาร์เบอร์ถูกโจมตี ทำให้สหรัฐเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรกำลังเพลี่ยงพล้ำอย่างหนัก ก็น่าสงสัยเหมือนกันว่าอสิมอฟคิดอย่างไรกับอนาคตของมนุษยชาติ… ตอนนั้นเยอรมันบุกตะลุยเข้ารัสเซีย ยังไม่มีทีท่าจะอ่อนแรง อิตาลีบุกอัฟริกา ญี่ปุ่นบุกจีนและโจมตีสหรัฐในแปซิฟิก ตอนนั้นยังไม่มีข่าวค่ายกักกันชาวยิวโดยนาซี

ในเรื่องสถาบันสถาปนา เอนไซโคลปิเดีย กาแลคติกา เป็นแหล่งรวมความรู้ของมนุษย์ทั้งมวลตั้งแต่อดีตกาล รวบรวมเก็บเอาไว้ที่ “สุดขอบจักรวาล” เพื่อรักษาความรู้ของมนุษยชาติ ซึ่งในขณะนั้นเป็นสังคมที่มีประชากรหนึ่งพันล้านล้านคน และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เนื่องจากอนาคตประวัติศาสตร์ทำนายว่าความรุ่งเรืองของมนุษย์ จะสะดุดลงเป็นพันปี พล็อตเรื่องในเบื้องแรก เขาก็จะพยายามย่นระยะเวลาแห่งยุคมืดนั้นลง

แต่เรื่องราวซับซ้อนตามแบบนิยายที่สนุก วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของ เอนไซโคลปิเดีย กาแลคติกา คือการรวบรวมผู้มีทักษะทางวิทยาศาสตร์สูงเอาไว้ในดาวเคราะห์อันห่างไกล(จากความวุ่นวายทางการเมืองและการช่วงชิงอำนาจ) ด้วยเป้าหมายที่จะพลิกฟื้นความก้าวหน้าอันชะงักงัน และ “อาณาจักร” ของมนุษยชาติ

อ่านต่อ »


เอาภาพ HDR มาทำวิดีโอ

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 12 September 2010 เวลา 0:58 ในหมวดหมู่ ดนตรี ศิลปะ วรรณกรรม บันเทิง #
อ่าน: 3752

HDR หรือ ภาพ High dynamic range มักใช้ในภาพถ่าย ที่ขยายความแตกต่างของช่วงแสงให้กว้างขึ้น โดยการถ่ายรูปหลายๆ รูปจากตำแหน่งและเวลา(เกือบจะ)เดียวกัน โดยเปิดหน้ากล้องรับแสงต่างกัน แล้วใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประมวลผลภาพ ซึ่งจะได้ภาพที่มีรายละเอียดสูงกว่าที่มองเห็นด้วยตาเปล่า เพราะว่าสีที่เบลอไป ถูกยกรายละเอียดให้จัดจ้านมากขึ้น

แต่ว่า ไม่เคยมีใครลองทำ HDR กับวิดีโอ… จนกระทั่งคลิปข้างล่างนี้


พระมหาชนก

อ่าน: 7007

ชื่อโพธิยาลัยนี้ ได้ยินครั้งแรกก็ในหนังสือพระราชนิพนธ์ พระมหาชนก เป็นตอนที่นางมณีเมฆลามาช่วยนำพระมหาชนก ซึ่งว่ายน้ำในมหาสมุทรมาแล้วเจ็ดวัน ขึ้นไปส่งที่เมืองมิถิลาเพื่อทวงคืนราชสมบัติ ดังความตอนหนึ่งว่า

… พร้อมกันนั้น เทวดาก็ได้กล่าวอดิเรกคาถาว่า :

ข้าแต่บัณฑิต วาจาอันมีปาฏิหารย์มิบังควรหายไปในอากาศ. ท่านต้องให้สาธุชนได้รับพรแห่งพระโพธิญาณจากโอษฐ์ของท่าน. ถึงกาลอันสมควร ท่านจงตั้งสถาบันการศึกษาให้ชื่อว่า โพธิยาลัยมหาวิชชาลัย. ในกาลนั้นท่านจึงจะสำเร็จกิจที่แท้.
คำว่า โพธิยาลัย หมายความ ที่อาศัยแห่งแสงสว่าง. คำว่า มหา วิชฺชาลย หมายความที่อาศัยแห่งความรู้อันยิ่งใหญ่. …

ซึ่งวาจาอันมีปฏิหารย์นั้น หมายถึงวิริยบารมี ความเพียรอันยิ่งยวด [อ้างอิง] ดังคำว่า “ท่านใดถึงพร้อมด้วย ความพยายามโดยธรรม ไม่จมลงในห้วงมหรรณพ ซึ่งประมาณมิได้ เห็นปานนี้ ด้วยกิจคือความเพียรของบุรุษ ท่านนั้นจงไปในสถานที่ ที่ใจของท่านยินดีนั้นเถิด.

ยังมีอีกเยอะครับ

… สิ่งที่มิได้คิดไว้จะมีก็ได้ สิ่งที่คิดไว้จะพินาศไปก็ได้ โภคะทั้งหลายของหญิงก็ตาม ของชายก็ตามมิได้สำเร็จด้วยเพียงคิดเท่านั้น …

อ่านต่อ »


สถาบันสถาปนา

อ่าน: 4606

ความประทับใจในวัยเด็กลืมยาก ผมอ่านนิยายวิทยาศาสตร์บันลือโลกชุดสถาบันสถาปนา (the Foundation) เล่มแปลของ Isaac Asimov มาตั้งแต่เรียนมัธยมปลาย

Isaac Asimov เริ่มเขียนนิยายนี้ เมื่ออายุ 22 และแต่งงานในปีนั้น ตอนแรกๆ ตีพิมพ์เป็นเรื่องสั้นๆ ในช่วงที่สงครามโลกครั้งที่สองกำลังดุเดือด — เนื้อเรื่องสนุกดี อ่านแล้วติดจนลืมหนังสือกำลังภายในไปเลยครับ

อ่านต่อ »



Main: 0.26344609260559 sec
Sidebar: 0.70521283149719 sec