งานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ ๕
อ่าน: 20273ไปเดินมาประมาณสองชั่วโมงครับ อย่าแปลกใจเลยว่าไม่ได้มีอาชีพ หรือหน้าที่การงานเกี่ยวข้องกับทางนี้ แล้วทำไมถึงเปลี่ยนแนวไปได้ ผมไม่ได้เปลี่ยนแนว ชีวิตผมไม่ได้สนใจแต่มุมประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ กับแง่คิดในการบริหารเท่านั้น
ไปอิมแพ็คเพราะจะไปงาน ITU ครับ งานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาตินี้ อยู่ใกล้กัน ไหนๆ ก็ไปงาน ITU อยู่แล้ว ก็เลยแวะไปงานนี้ด้วย
หลักของงานในครั้งนี้ รู้สึกว่าจะเป็นการประชาพิจารณ์ หรือไม่ก็การเผยแพร่ แผนยุทธศาสตร์ชาติ การพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท พ.ศ.2550-2554
- คิดว่างานประสบความสำเร็จในเรื่องจำนวนผู้เข้าชมครับ
- มี “ลาน” ให้ความรู้อยู่สองลาน คือ ลานข้าวพื้นบ้าน-อาหารท้องถิ่น กับลานวัฒนธรรม ๔ ภาค
- ที่เหลือ รอบๆ งาน ก็มีบูธแสดงสินค้า เสื้อผ้า และอาหาร มีส่วนที่เป็นนิทรรศการน้อยไปหน่อย
- วิธีการหาข้อมูล ก็ใช้เดินถามเอาเรื่อยเปื่อย ซึ่งคิดว่าน่าจะมีวิธีเผยแพร่ความรู้ที่ดีกว่านี้
น้ำมันรำข้าวแบบบีบเย็น
น้ำมันรำข้าวเป็นน้ำมันพืชชนิดไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูง (48%) ช่วยลดคอเรสเตอรอล มีสารอื่น (แกมมา โอรีซานอล Gamma Oryzanol) ต่อต้านอนุมูลอิสระ
เครื่องสกัดน้ำมัน โดยมูลนิธิศูนย์สื่อเพื่อการพัฒนา 022795118 022784068
บีบเอาน้ำมันจากรำข้าว และจมูกข้าว ด้วยเครื่องบีบแบบเกลียวอัด (Screw Press) จะได้สารต่างๆ ครบถ้วน ได้แกมมา โอรีซานอลสูงถึง 2% (20,000 ppm)
ใช้เครื่อง 1 แรงม้า (ใช้ไฟบ้าน) กับรำสด (ซึ่งได้มาไม่เกิน 3 ชั่วโมง) ไม่ต้องอบ เพื่อที่จะไม่เพิ่มความเป็นกรด; รำ 100 กก. บีบน้ำมันได้ 3-7 ลิตร ส่วนรำที่เหลือ นำไปเลี้ยงปลา เลี้ยงหมูได้
เครื่องที่สาธิตอยู่ในรูปนี้ ลงทุนไปห้าหมื่นบาท แต่ขายน้ำมันรำข้าวไปเมื่อวานกับวันนี้อีกครึ่งวัน ได้สองหมื่นบาทแล้ว
ผมเดินดูรอบๆ อยู่หลายรอบ ก็ยังงงอยู่ว่าจะมีต้นทุนในการสร้างห้าหมื่นบาทได้อย่างไร!
มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (www.abhaiherb.org)
บูธนี้ มีผู้ที่ผมนับถือฝากมาหาข้อมูล แต่ไปดูแล้ว แทนที่จะเป็นเรื่องพันธุ์ข้าวที่สนใจ กลับกลายเป็นเรื่องสมุนไพรเพื่อความงามไปซะมากกว่า
หน้าบูธ มีคิวยาวเหยียด สงสัยว่าเค้ามีอะไรกัน ก็ไปถาม ได้ความว่าแจกหนังสือครับ มีสามเล่มให้เลือกเล่มเดียวคือ
- สมุนไพรอภัยภูเบศร
- สมุนไพรเพื่อชีวิต
- หญ้า ยา สมุนไพร ใกล้ตัว
ไม่เห็นมีหนังสือพันธุ์ข้าว หรือหนังสือสมุนไพรในนา ที่ได้รับการแจ้งชื่อและไหว้วานให้มาเอาเลยครับ (เดินหาทั่วงานก็ไม่เจอครับ) ผมเลยไปซื้อหนังสือชื่อ “ข้าว ความลับของ…สุขภาพและความงาม” มาให้แทนครับ หนังสือนี้ พลิกๆ ดู ก็ไม่คล้ายจะเป็นเรื่องความงาม แต่เป็นเรื่องประโยชน์ของข้าวซะมากกว่า มีอยู่ 13 บทความสั้นๆ คือ
- ข้าว พืชศักดิ์สิทธิ์ของคนไทย
- ข้าว มิตรกับจิตใจและระบบประสาท
- ข้าว มิตรของระบบทางเดินอาหาร
- ข้าว เพื่อนของคอ
- ขา้ว ยาเย็น แก้ไข้ แก้ร้อนใน
- ข้าว แก้พิษ และทดสอบความเป็พิษ
- ข้าว ยารักษาโรคผิวหนัง
- ข้าว เพื่อความงามของเส้นผม
- ข้าว บำรุงผิว
- ข้าว เป็นลูกประคบ
- ข้าว…สารพันประโยชน์จากข้าว
- ข้าวหมาก
- ข้าว มิใช่เป็นเพียงแค่อาหาร
ชุมนุมพันธุ์ข้าว
“กินข้าวมาทั้งชีวิต ต้องกินให้หลากชนิด ชีวิตจึงสมดุล”
บูธนี้เป็นบูธของหลายมูลนิธิครับ มีการรวบรวมเมล็ดข้าวเปลือกหลากหลายพันธุ์มาแสดง ตั้งแต่เหนือยันใต้ ไม่ขาย ไม่แจก มีข้อมูลแสดงบนบอร์ดนิทรรศการนิดหน่อยครับ (ไม่ได้บ่นนะ) น่าเสียดายที่เมื่อเห็นแล้ว ไม่สามารถต่อยอดหรือทำอะไรต่อได้
- มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) และเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก www.sathai.org 025911195-6
- มูลนิธิชีววิถี (ไบโอไทย) www.biothai.net 029853837-8 Fax 029853836
- แผนงานฐานทรัพยากรอาหาร www.food-resources.org 029853837-8 Fax 029853836
- มูลนิธิชีวิตไท www.rrafa.org 029352981-4 Fax 029352980
- มูลนิธิสายใยแผ่นดิน www.greennet.or.th 022779380-1 Fax 022779654
- มูลนิธิข้าวขวัญ 035597193
- ศูนย์การเรียนรู้โจโก้ (น่าน) www.jokonan.org 054783262
เว็บไซต์ทั้งหมด ผมเปิดดูแล้ว และคิดว่ามีข้อมูลที่น่าสนใจ วิธีนี้อาจจะดีสำหรับการค้นคว้ามากกว่าการให้เจ้าหน้าที่คอยอธิบายครับ
« « Prev : ระงับโกรธ
Next : ข้อพึงระวังของการเผยแพร่ความคิดทางเดียว » »
10 ความคิดเห็น
ตั้งใจจะไปงานนี้เหมือนกันครับ ถ้างานไม่เลิกเสียก่อน
เท่าที่อ่านยั่วกิเลสให้อยากไป
ขอบคุณมากจริงๆ เพิ่งนึกออกว่านักวิชการเกษตร ผู้เชี่ยวชาญพันธุ์ข้าว เป็นคนให้ข้อมูลเกี่ยวกับพันธุ์ข้าวที่สำรวจเมื่อปี 2493 ใน36 ตำบล มี แสนกว่าตัวอย่าง แม้ว่า ่ไม่ได้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ มีพันธุ์ข้าพื้นเมือง ที่น่าสนใจหลายสายพันธุ์ จากทางใต้และอิสาน ต่อมาเภสัชกรของอภัยภูเบศร พูดต่อเนื่องเรื่องผลิตพันธ์ จากข้าวต่อ เลยข้อมูลผิดพลาดขออภัยด้วยค่ะ พี่มีเพื่อนที่ปลูกข้าวส่งมากินเกือบทั้งปี
http://lanpanya.com/linhui08/?p=100#comments
งานดีๆ แบบนี้ทำไมไม่เห็นการประชาสัมพันธ์ทางสื่อโทรทัศน์เลยล่ะครับ
คุณโสทร พี่เองเห็นในรายการไทยมุงของไทยทีวี เลยขอให้คุณ คอนฯไปดูให้หน่อย เพื่อเอามาเล่าให้ชาวลานได้รู้กันค่ะ ถ้าท่านครูบาฯไปดอีกคนู คงจะมีอะไรมาฝากชาวลานอีกค่ะ
เพิ่งรู้ว่าคอนฯ ไปเพราะใคร บ. ก. อิอิ
เพิ่งไปซื้อน้ำมันชามาทดลองใช้ 2 ขวดค่ะ ผลิตภัณฑ์ของไร่ชาน้ำมัน พืชเศรษฐกิจใหม่ สนองพระราชดำริ สมเด็จพระเทพฯ
คุณค่าทางโภชนาการและสารต้านอนุมูลอิสระในข้าวพื้นบ้าน
จากการตรวจวิเคราะห์ข้าวพื้นบ้าน 10 สายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวหน่วยเขือ ข้าวหมอมะลิดั้งเดิม ข้าวหอมทุ่ง ข้าวป้องแอ้ว ข้าวช่อขิง ข้าวเล้าแตก ข้าวก่ำเปลือกดำ ข้าวมันเป็ด ข้าวหอมมะลิแดง และข้าวปกาอำปึล พบว่า มีปริมาณธาตุเหล็กเฉลี่ยอยู่ที่ 0.768 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม มากกว่าค่าเฉลี่ยของข้าวกล้องทั่วไปที่เท่ากับ 0.420 แต่จะพบธาตุสังกะสีและทองแดงน้อยกว่าข้าวกล้องโดยทั่วไป สำหรับเบต้าแคโรตทีนที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดรวมทั้งมะเร็งบางชนิดก็ตรวจพบในข้าวก่ำเปลือกดำ ข้าวหน่วยเขือ ข้าวเล้าแตก ข้าวช่อขิง ข้าวหอมมะลิแดง ข้าวหอมมะลิดั้งเดิม ส่วนลูทีนที่ช่วยป้องกันโรคต้อกระจกในผู้สูงอายุพบมากที่สุดในข้าวก่ำเปลือกดำ ข้าวหน่วยเขือ ข้าวช่อขิง เป็นต้น สำหรับวิตามินอีที่สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดหัวใจวาย ก็พบว่าข้าวพื้นบ้านส่วนใหญ่ที่นำมาตรวจจะมีปริมาณวิตามินอีมากกว่าค่าเฉลี่ยโดยทั่วไป สรุปได้ว่าข้าวหน่วยเขือ ข้าวหอมมะลิแดง เป็นแหล่งที่ดีของธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง และวิตามินอี โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวก่ำเปลือกดำ เป็นข้าวที่มีเบต้าแคโรทีนและลูทีนสูงมาก
กินข้าวหอมมะลิแดงแล้วระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานลดลงจริงหรือไม่ ?
จากการทดสอบพบว่า ข้าวหอมมะลิแดงที่หุงสุกแล้ว มีการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลกลูโคสในช่วงเวลา 20 นาทีแรกและหลังจากย่อยผ่านไป 120 นาทีค่อนข้างช้า แสดงให้เห็นว่าข้าวหอมมะลิแดงน่าจะเป็นข้าวพื้นเมืองที่มีดัชนีน้ำตาลเหมาะกับการส่งเสริมให้ผู้บริโภคที่อยู่ในภาวะปกติ หรือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รับประทานเพราะเมื่อรับประทานข้าวชนิดนี้เข้าไปแล้ว ร่างกายจะมีปริมาณน้ำตาลกลูโคสเพิ่มสูงขึ้นช้ากว่าข้าวเจ้าทั่วไป
นับว่าช่วยให้หูเปิด ตาสว่าง เรื่องข้าวมากขึ้นเลยค่ะ ชื่อข้าวทั้งหลายที่เอ่ยเฉพาะมาไม่รู้จักสักกะชื่อเลยค่ะ รู้จักแต่ข้าวหอมมะลิเท่านั้น ขอบคุณมากค่ะน้อง ให้รางวัลด้วยกอดหนึ่งครั้งนะค่ะ ฝากคุณแม่ช่วยกอดให้ทีน๊า