ปั๊มน้ำกู้ชาติ

อ่าน: 23104

น้ำท่วมใหญ่ นอกจากเสียหายในวงกว้างแล้ว ยังเป็นไปตามสภาพภูมิประเทศด้วย แผ่นดินไทยไม่ได้เรียบแบนแต๊ดแต๋ แต่มีความลาดเอียงแม้ในเขตที่ราบลุ่ม มีคันนา ถนน คูคลอง เนินเขา ภูเขา มีอาคารบ้านเรือนขวางทางน้ำอยู่ ทำให้น้ำไหลไม่สะดวก การที่น้ำปริมาณมากไหลไปไม่สะดวก ทำให้น้ำยกตัว เอ่อขึ้นล้นตลิ่ง ท่วมเทือกสวนไร่นานและบ้านช่องของชาวบ้าน

น้ำท่วมจะผ่านไปในที่สุด แต่บริเวณที่น้ำท่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นแอ่ง เป็นกะทะ จะยังมีน้ำขังอยู่ ซึ่งจะต้องระบายออก นอกจากนี้ เมื่อน้ำไหลผ่านจากพื้นที่หนึ่งไปยังปลายน้ำ พื้นที่ตามเขื่อนดิน เขื่อนกระสอบทราย ที่ใช้ป้องกันน้ำท่วม จะมีรั่วซึมได้บ้างเป็นธรรมดา บ้านเรือนร้านค้าที่ทำเขื่อนกั้นน้ำเอาไว้ ก็อยู่ในสถานการณ์เดียวกันครับ

เวลาพูดถึงการสูบน้ำออก เรามักจะนึกถึงเครื่องยนต์ ถ้ามีอยู่แล้ว จ่ายค่าพลังงาน/มีพลังงานให้ซื้อได้ ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าไม่มี ลองทำปั๊มกำลังคนดูไหมครับ ใช้ท่อพีวีซีกับวัสดุเหลือใช้ก็พอ

ปั๊มในหนังข้างบน ฝรั่งคนที่ทำบอกว่าปั๊มน้ำได้นาทีละ 50 u.s.gallon หรือ 189 ลิตร หมายความว่าห้องชั้นล่างที่เป็นกำแพงคอนกรีต ที่น้ำท่วมขนาด 4 x 4 เมตรที่น้ำท่วมสูงครึ่งน่อง (คือ 30 ซม.) สูบไป 26 นาที สามารถเอาน้ำออกได้หมดตามทฤษฎีนะครับ

ตรวจผลการคำนวณ พื้นที่หน้าตัดของท่อพีวีซีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง d=4 นิ้ว (0.1 เมตร) กับช่วงชักคือระยะระหว่างเยียดแขนสุดกับดึงเข้ามาใกล้ตัวที่สุดบริเวณหน้าอก เป็นระยะ s=0.5 เมตร นาทีหนึ่ง ดึงคันชักเข้าและผลักออกได้ f=44 รอบ/นาที สามารถดึงน้ำออกไปได้ πd2sf/4 = 172 ลิตร/นาที; น้ำในห้องดังกล่าว มีปริมาตร 4800 ลิตร ก็ต้องใช้เวลาสูบ 28 นาทีครับ — ปลายท่ออันหนึ่งอยู่ที่พื้นห้อง อีกปลายหนึ่งพาดหน้าต่าง หรืออิฐบล็อกที่กั้นประตูออกไป หรือว่าถ้าต่อท่อจากปลายน้ำออก ไปทิ้งนอกห้องก็ได้นะครับ

วิธีการนี้ไม่เหมาะกับน้ำท่วมสูงๆ เนื่องจากใช้กำลังมาก แต่จะช่วยให้ชาวบ้านในพื้นที่เล็กที่น้ำท่วมไม่สูงนักให้พอช่วยตัวเองได้ พอหาที่แห้งได้บ้าง เทียบกับวิธีวิดน้ำที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป วิธีนี้จะเอาน้ำออกไปได้เร็วกว่า (ท่อขนาด 4 นิ้ว ชักหนึ่งครั้ง เอาน้ำออกไป 3.9 ลิตร หนัก 3.9 กก. ซึ่งหากใช้วิธีวิดน้ำหนึ่งครั้ง จะเอาน้ำออกได้น้อยกว่ามากครับ)

คลิปอันล่างแสดงหลักการทำปั๊มอันเล็ก ซึ่งไม่ยากหรอกครับ หาแผนพลาสติกขนาดฟิตพอดีกับท่อ มาเจาะรู แล้วเอาแผ่นปิดที่มีลักษณะอ่อนตัวได้ มาปิดรูไว้ (ใช้แผ่นรองตัดในกรณีที่เจาะรูน้ำรูใหญ่ หรือว่าถ้าเป็นรูเล็กๆ จะใช้อย่างในคลิปคือใช้เทปก็ได้ครับ เจาะรูน้ำหลายรูก็ได้) แผ่นปิดนี้ทำงานเหมือนเช็ควาลว์ [เช็ควาล์ว] ที่ทำให้น้ำไหลเข้าได้ทางเดียว — ทำอย่างนี้สองชุดครับ ชุดหนึ่งจมอยู่ในน้ำที่ปลายท่อ อีกชุดหนึ่งติดอยู่ที่ปลายของคันชัก คันชักไปไหน เช็ควาล์วเคลื่อนไปด้วย

ทีนี้เมื่อกดคันชักลงไป แผ่นปิดเคลื่อนลงไปในท่อ 4 นิ้ว น้ำก็จะดันแผ่นปิดจากข้างล่างขึ้นมาอยู่ในท่อ 4 นิ้ว เมื่อดึงคันชักขึ้น น้ำที่ค้างอยู่ในท่อมีแรงกด จะกดแผ่นปิดให้ปิดไว้ ทำให้น้ำไหลย้อนกลับไปยังบริเวณที่ท่วมไม่ได้ จนเมื่อน้ำเข้ามาค้างอยู่ในท่อมากขึ้นจนถึงรูน้ำออก น้ำก็จะไหลออกไปข้างนอก

« « Prev : ความเป็นธรรมเรื่องพื้นที่น้ำท่วม

Next : คชอ.ภาคประชาชน » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

10 ความคิดเห็น

  • #1 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 28 October 2010 เวลา 0:24

    ปรากฏการณ์ครั้งนี้เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ธรรมชาติ มาบอกให้มนุษย์คิด

    คิดอะไร คิดว่าในอนาคตนั้น ไฟไม่มี น้ำมันหมด เทคโนโลยี่สูง
    ๆใช้ไม่ได่้เพราะไม่มีพลังงาน ก็ต้องหันกลับมาทบทวนความรู้โบราณ
    ที่ห่างหายไปมากแล้ว และทางออกใหม่ๆโดยใช้ความรู้ใหม่ก็น่าจะเป็นแบบนี่คอนเสนอ

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 28 October 2010 เวลา 0:46
    ความรู้ที่ไม่สามารถจะใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ มีค่าน้อยครับพี่ ใน tag เทคโนโลยีชาวบ้าน มีตั้งหลายบันทึกที่เป็นความรู้ระดับมัธยม เอาไปใช้ได้ง่ายครับ

    พระบรมราโชวาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่พระราชทานในปีที่ผมจบการศึกษามา เป็นแรงบันดาลใจอยู่เสมอครับ [พระบรมราโชวาท เกี่ยวกับความรับผิดชอบของผู้มีความรู้]

  • #3 dd_l ให้ความคิดเห็นเมื่อ 28 October 2010 เวลา 7:50

    ได้ประโยชน์จากบันทึกเหล่านี้เสมอ โดยเฉพาะ tag เทคโนโลยีชาวบ้าน ที่เป็นความรู้ระดับมัธยม ทำให้ได้แหล่งข้อมูลสำหรับครูและนักเรียนที่กำลังพัฒนาวิธีการเรียนรู้ด้วยโครงงานกันอยู่ อ้อ..ภาพถ่ายดาวเทียมน้ำท่วม ก็ทำให้ได้ความคิดเกี่ยวกับสื่อเรียนรู้ภูมิศาสตร์เพิ่มค่ะ ขอบคุณมากๆ นะคะ

  • #4 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 28 October 2010 เวลา 19:13
    ขอบคุณครับพี่ ถ้าอ่านแล้วรู้เรื่อง ก็แปลว่าไม่ได้มีอะไรใหม่นะครับท่าน ผอ. เพียงแค่สะกิด+กวนน้ำให้ขุ่น เพื่อจะได้เหลือบเห็นช่องทางเท่านั้นครับ

    ในบรรดาเรื่องที่ผมเขียนนั้น เวลาเอาไปทำ ก็จะต้องแสวงเครื่อง เพราะว่าความพร้อมของแต่ละพื้นที่นั้นไม่เหมือนกัน ตัวบันทึกจึงมักให้หลักการ-หลักคิดไว้ พร้อมทั้งลิงก์ต่างๆ ซึ่งมีรายละเอียดให้ผู้ที่ต้องการเจาะลึก ไปค้นต่อเอาเองได้หากต้องการ ขืนผมเขียนทั้งหมด ผู้อ่านซึ่งมีหลากหลายและมาจากนอกลานปัญญาด้วย ก็อาจจะงงได้ แล้วผมก็จะเขียนไม่ไหวด้วยครับ อะไรไม่เคลียร์/ไม่เห็นด้วย/จะแย้ง ก็ให้ความคิดเห็นมา ผมจะได้เรียนไปด้วยครับ

  • #5 ลานซักล้าง » เหยียบเพื่อชาติ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 14 November 2010 เวลา 0:17

    [...] ผมเคยเขียนถึงปั๊มน้ำกู้ชาติ [...]

  • #6 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 November 2010 เวลา 20:33
    ไชโย น่าตื่นเต้นครับ

    http://www.youtube.com/watch?v=yXQcLouv0mg

  • #7 ลานซักล้าง » วันยาวกับประชุมยาว ประชุมเครือข่ายอาสาฯ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 1 December 2010 เวลา 12:07

    [...] ปั๊มน้ำกู้ชาติในสไลด์ 13 @iwhale และลูกน้องลองทำ ได้ผลสะใจ ประสิทธิภาพสูง ชักน้ำสองครั้งได้น้ำเต็มถัง เบาแรง ต้นทุนราคาซื้อปลีกในกรุงเทพ ประมาณ 500 บาท [...]

  • #8 ปั๊มน้ำกู้ชาติ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 December 2010 เวลา 13:18

    [...] จากบทความปั๊มน้ำกู้ชาติ บล็อกที่เขียนโดยคุณ Logos จากลานปัญญา (@superconductor) หลังจากที่ได้อ่านบทความและดูคลิปตัวอย่างปั๊มน้ำกู้ชาติจากยูทูปนี้เสร็จเรียบร้อย มันเริ่มจากพี่เอ๋อ (@iwhale) สงสัยว่าจะหนักแรงหรือเปล่า ก็เลยให้ทีมงาน Thaiflood ลองทำดู และสืบเนื่องมาจากปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่และบางพื้นที่มีน้ำท่วมขัง ปั๊มน้ำกู้ชาติน่าจะเป็นทางออกที่จะช่วยสูบน้ำออกจากพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมไม่สูงมากนัก และสามารถหาวัสดุ อุปกรณ์เหลือใช้นำมาประยุกต์ให้ ใช้กำลังคนในการใช้งาน ประหยัดพลังงาน สามารถกลายเป็นอุปกรณ์ปั๊มน้ำออกจากบ้านเรือนได้ นอกจากนี้ไม่ใช่แค่ใช้ปั๊มน้ำที่ท่วมออกอย่างเดียว ยังสามารถนำไปใช้ในการทำการเกษตรสูบน้ำเข้าน้ำออกหรือนำไปประยุกต์ใช้อย่างอื่น ประหยัดค่าใช้จ่าย เป็นเทคโนโลยีชาวบ้านที่สามารถประดิษฐ์ได้ด้วยตัวเอง [...]

  • #9 ลานซักล้าง » ชัยภูมิมังกรน้ำ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 11 April 2011 เวลา 20:29

    [...] ดังนั้นก็ควรใช้แว่นขยายส่องสำรวจพื้นที่กันอย่างจริงจัง อะไรที่ขวางทางน้ำ ก็หาทางแก้ไขเสีย ตอนนี้เป็นจังหวะที่ดีที่สุดที่จะเห็นว่าตรงไหนเป็นแอ่ง ถ้าจะรอระเหยหรือซึมลงดินไปเอง จะนานเป็นเดือนครับ (ผมเลิกพูดเรื่องแผนที่สถานการณ์แล้ว เพราะคนที่ควรจะทำ คงไม่เก็ตจริงๆ — แผนที่ที่แสดงขอบเขตของน้ำในช่วงขณะต่างๆ เป็นแผนที่ของระดับไปในตัวนะครับ เอาไว้ประเมินการโยกย้ายน้ำได้ในกรณีที่จำเป็น) — [น้ำท่วมขัง] บทเรียนจากน้ำท่วมปลายปีที่แล้ว ถ้าหากน้ำมีทีท่าจะท่วมขังเป็นเวลานาน ชาวบ้านอาจก่อกำแพงดิน [กระสอบทราย หรือกำแพงน้ำ] ขึ้นมาล้อมรอบบ้าน แล้ว[สูบน้ำออก]พอที่จะมีที่แห้งอยู่อาศัยชั่วคราวได้ เอาน้ำเน่าไปไว้ไกลๆ ครับ [...]

  • #10 ลานซักล้าง » เตรียมการกู้ชาติ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 9 November 2011 เวลา 1:27

    [...] ผมเขียนบันทึกเรื่องปั๊มน้ำกู้ชาติเอาไว้; ด้วยความซน ทีม thaiflood [...]


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.59427618980408 sec
Sidebar: 0.25221991539001 sec