คชอ.ภาคประชาชน
รัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมการอำนวยการกำกับติดตามช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (คชอ.) ขึ้นดูแลประสานงานการช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสบอุทกภัย — อันนี้ไม่ว่าอะไรหรอกครับ ด้วยโครงสร้างในระบบราชการ ก็จะต้องมีอะไรทำนองนี้แหละ; พวกเราชาวบ้านทั่วไป เรียนรู้จากประสบการณ์มาตั้งแต่เกิด มักจะมีความเห็นวิพากษ์วิจารณ์กันสนุกปาก สนุกนิ้วไปต่างๆ นานา ไม่ว่ารัฐบาลไหนก็อย่างนี้แหละ — น่าเสียดายที่เรามักไม่ค่อยเรียนรู้ข้อจำกัดของระบบราชการ และเรารอคอยความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ ซึ่งก็คงจะ too little too late ตามเคย (ว่าแล้วผมก็คาดเดาซะเอง… เฮ้อ)
ระบบการสั่งการของรัฐบาลหรือองค์กรขนาดใหญ่ มีปัญหาแบบเดียวกัน คือผู้ที่อยู่บนยอดดอย เห็นภาพใหญ่ แต่มักจะเผลอออกคำสั่งโดยละเอียด ซึ่งกลับไม่เกิดประโยชน์ต่อพื้นที่ที่อยู่กันคนละบริบท ผู้ที่อยู่ระดับสูงควรกระจายอำนาจการตัดสินใจ จัดสรรทรัพยากรลงไปยังพื้นที่ ให้อำนาจการตัดสินใจ ไว้ใจ สั่งการจากหน้างาน จากคนที่เข้าใจสถานการณ์และข้อจำกัดในพื้นที่ ติดอาวุธให้เขา ให้โอกาสเขาทำงานได้อย่างที่ควรจะทำ — ข้อมูลที่เขาส่งขึ้นไป เวลาประดังกันมาจากหลายพื้นที่ ก็จะถูกกรอง ถูกจัดหมวดหมู่เข้าไปในภาพใหญ่ ทำให้สถานการณ์ฉุกเฉินมักจะไม่ได้รับการแก้ไขหรอกครับ (แต่ต้องรายงานนะ) ธรรมชาติของการรวบรวมเป็นอย่างนั้นเอง
คชอ.จึงควรดูเรื่องกำกับทิศทาง-ตรวจสอบ-จัดสรรทรัพยากร มากกว่าสั่งการครับ — คราวสึนามิสั่งละเอียดไปหน่อย อาจเป็นเพราะเกิดขึ้น 21 วันก่อนการเลือกตั้งใหญ่
เมื่อคืนนี้ @iwhale โทรมาชวนไปประชุม คชอ.ภาคประชาชน ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะเป็นอย่างไร [@iwhale อธิบาย] แต่เรื่องตามไปดูแห่นี่ ชอบอยู่แล้วครับ จึงแอบหนีออกไปประชุม ได้เจอตัวจริงมากมาย ได้คุย ได้แลกเปลี่ยนกันด้วย (แต่ว่าไม่มีใครได้นามบัตรผมเนื่องจากไม่พก ฮา) — เฉพาะรายชื่อที่ได้รับแจกมา ก็ 31 ชื่อ จาก 16 กลุ่ม (มีภาครัฐกลุ่มเดียวคือ สสส. ในฐานะเจ้าของสถานที่และผู้ห่วงใยสถานการณ์)
มีข้อมูลใหม่ที่คุณปรีดา ลิ้มนนทกุล @peedano แจ้งไว้ ว่าการขอรับความช่วยเหลือผ่าน สายด่วน โทร.1111 มีอาสาสมัครคนพิการ ช่วยแปลงเป็นพิกัด ซึ่งจะทำให้ส่งความช่วยเหลือเข้าได้ตรงจุด ค้นหาเส้นทางเข้าพื้นที่ประสบภัยได้ง่ายขึ้น จัด”สาย”ของความช่วยเหลือได้ อันนี้เป็นประโยชน์มากครับ
ข้อความเหล่านี้ แงะมาจาก timeline ของ @iwhale ซึ่งทวิตระหว่างประชุมนะครับ
ประชุมหาทางสร้างระบบสนับสนุนอาสาสมัครในการทำงานโดยสสส. #thaiflood
แนวคิดการจัดตั้ง คชอ.ภาคประชาชน http://slidesha.re/crisisthai #thaiflood
กำลังฟังเรื่องนักการเมืองท้องถิ่นเอาหน้า ขึ้นป้ายใหญ่โต เอาของรับบริจาคที่รับมาติดสติกเกอร์โฆษณาตัวเองก่อนแจก #thaiflood
ผู้พูดออกชื่อนามสกุลนักการเมืองชัดเจน ทั้งๆที่มีการอัดวิดีโอไว้ตลอดการแชร์ข้อมูล #thaiflood
ดร.สมิทธกำลังแชร์ข้อมูล #thaiflood http://twitpic.com/31ilvr
“คนไทยเป็นคนมีน้ำใจ แต่การจัดการที่ไม่ดีจะบั่นทอนน้ำใจนั้น เช่นการถูกแย่งของบริจาคเอาหน้า” คุณอิสรา @volunteerclub #thaiflood
“แผนที่สถานการณ์ที่อัพเดตอยู่ตลอดเวลา เป็นเรื่องที่สำคัญมากในการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ” @superconductor #thaiflood
“ถ้าจะช่วยเหลืออย่างถูกต้องจริงๆ ควรทำบัญชีของรับและส่งถึงมือใครจดหมดให้โปร่งใสขึ้นเว็บเลยยิ่งดี” @superconductor #thaiflood
คุณตฤณพูดแนวคิด Open Data อยากเข้าถึงข้อมูลดิบที่รวดเร็วจากภาครัฐ ประชาชนมีสิทธิวิเคราะห์และตัดสินใจได้เอง #thaiflood
รองผู้จัดการ สสส. แจ้งว่าจะเข้าไปทำงานร่วมกับภาครัฐเพื่อประสานให้ข้อมูลออกมาถึงประชาชน ขึ้นมาที่เว็บ #Thaiflood
พี่โต้ง @1500miles กำลังเล่าประสบการณ์ทำงานแนวหน้า #1500miles #TWT4TH #thaiflood http://twitpic.com/31ip0m
ประสบการณ์น้ำท่วมเริ่มหลั่งไหล ออกมาจากปากคำของผู้รู้และผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์จริง หาฟังได้ยากทางทีวี #thaiflood
ชาวบ้านที่โคราชใช้เรือยาวช่วยกันพาย ไปไหนมาไหนได้ทีละเยอะๆ ชาวโคราชไม่อดอาหารเพราะกินกล้วยและจับปลาได้ (via @1500miles )
วันนี้ทาง สสส. ช่วยจัดกระบวนการ เชื่อมโยงกลุ่มอาสาสมัครให้ยกระดับขึ้นเป็นเครือข่ายพลังสังคมที่ยั่งยืนต่อไป #thaiflood
คุยประเด็น “ต่อมืออาสา” จะหนุนอย่างไรให้อาสาสมัครทำงานได้ดีขึ้น? #thaiflood
“เครือข่ายองค์กรชุมชน รวมตัวช่วยน้ำท่วมได้เร็ว รัฐควรสนับสนุนเรื่องชุมชนช่วยชุมชน” คุณปรีดา มูลนิธิชุมชนไทย #thaiflood
เจอตัวจริง @puukikika #ArsaDusit วันนี้สวย (ไม่โทรมเหมือนวันจัดของ) อิๆ http://twitpic.com/31j09h
สุดหล่อ #twt4th @9jax เสนอไอเดียให้สอนการใช้ทวิตเตอร์ให้ผู้นำชุมชนได้ใช้ http://twitpic.com/31j0r4
เตรียมเปิดวอร์รูมภาคประชาชน 24 ชั่วโมง อยากได้โรงแรมที่ราคาปานกลาง เดินทางสะดวก อินเทอร์เน็ตเร็ว ที่ไหนดีครับ? #thaiflood
ผู้ร่วมประชุมวันนี้ 31 ท่าน พิมพ์ชื่อเบอร์โทรแจกกันหมด รายชื่อ(ไม่มีเบอร์โทร) ตามอ่านได้ที่บล็อคของ @iPattt #thaiflood
เครือข่ายอาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติภาคประชาชน พร้อมลุย! #thaiflood http://twitpic.com/31j81c
อันนี้แถมให้ครับ: เครือข่ายอาสาภัยพิบัติมี Pantip.com ร่วมผลักดันโดยพี่วันฉัตรแจ้งมาแล้วครับ #ThaiFlood
เพราะว่าอธิบายแทนท่านอื่นไม่ได้ ข้างบนมีประเด็นของผมสามข้อความครับ:
- ผมตั้งข้อสังเกตว่าอุทกภัยเคลื่อนย้ายตามมวลน้ำ จึงเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ ดังนั้นแผนที่สถานการณ์จึงต้องปรับปรุงไปตลอดเวลา จะช่วยให้รู้ว่าพื้นที่ใดกำลังประสบภัย มีประชากรอยู่เท่าไหร่ เตรียมอาหารเท่าไหร่ จะนำความช่วยเหลือเข้าไปอย่างไร/ใช้เส้นทางไหน พื้นที่ใดเริ่มฟื้นฟูได้แล้ว พื้นที่ใดจะต้องเตรียมการรับภัย ฯลฯ จัดตั้งศูนย์กระจายความช่วยเหลือตรงไหนดี (ไม่ควรขนจากกรุงเทพทั้งหมด) ?ไปรถไฟได้ไหม? หรือขนด้วยรถเทรลเลอร์ใหญ่ได้ไหม/ถนนพอหรือไม่ แล้วเอาไปลงในพื้นที่ แจกจ่ายจากศูนย์กระจายความช่วยเหลือในพื้นที่ ซึ่งวิ่งเข้าออกได้ถี่กว่าไปกลับกรุงเทพ ควบคุมไม่ให้รั่วไหลอย่างไร — ข้อมูลของชาวบ้านที่ดีที่สุดอยู่ที่กระทรวงสาธารณสุข ไม่ใช่มหาดไทย ถ้าวางแผนช่วยเหลือโดยเริ่มต้นด้วยข้อมูลที่ไม่ถูกต้องแล้ว ไม่ไปไหนหรอกครับ
- แม้ว่าจะเคยเป็นกรรมการผู้จัดการรัฐวิสาหกิจ และเป็นซีอีโอบริษัทจดทะเบียน แต่ผมไม่เชื่อเรื่องการรวมศูนย์อำนาจหรอกนะครับ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าปล่อยให้ไปเถิดเทิงกันได้ตามสบาย จะต้องมีระบบควบคุมที่รัดกุมเพียงพอ ใน timeline ข้างบนมีตัวอย่างของการที่นักการเมืองบางคน กระทำการน่าเกลียด เบียดบังน้ำใจของคนไทยที่ส่งไปช่วยพี่น้อง ให้กลายเป็นผลประโยชน์ส่วนตน ศูนย์รับบริจาคและศูนย์กระจายความช่วยเหลือ จะต้องมีบัญชีคุม — ต้องไม่ลืมว่าสิ่งของและปัจจัยทั้งหลาย เป็นน้ำใจของผู้บริจาคไปยังผู้ประสบภัย ผู้ที่ทำงานอาสาอยู่ตรงกลาง เป็นเพียงทางผ่านเท่านั้น อย่าให้ตกหล่นสูญหายหรือใช้ผิดวัตถุประสงค์ครับ; ประเด็นของคุณรัฐภูมิก็ดีมาก อาสาสมัครมากันเอง ด้วยค่าใช้จ่ายของตัวเอง รถที่ขับกันมา พังทุกคัน พารามอเตอร์(ร่มบิน)เปียก+เครื่องเสีย ฯลฯ มีใครดูแลเขาบ้างไหม? ตีค่าน้ำใจเขาอย่างไร?
- เรื่อง Open Data ก็เป็นสิ่งที่มูลนิธิโอเพ่นแคร์ทำอยู่และทำอยู่เรื่องเดียวครับ เรื่องนี้มีผลในวงกว้างมาก เมืองไทยน่าจะมีมานานแล้ว; เมืองไทยมี พรบ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540 แต่ตาม พรบ.นี้ ชาวบ้านต้องร้องขอข้อมูล แทนที่ว่าข้อมูลซึ่งจัดทำมาด้วยงบประมาณแผ่นดิน จะเป็นข้อมูลสาธารณะ เปิดเผยให้ทุกคนได้เข้าถึงได้ กลายเป็นว่าถ้าอยากได้ ต้องเขียนคำร้องขอ จึงจะพิจารณา — ซึ่งก็ยังไม่แน่ว่าจะได้
ผมคิดต่างจาก public sentiment ที่ค่อนข้างจะตำหนิที่ไม่มีการเตือนภัยล่วงหน้า ถ้าถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะเตือนภัยล่วงหน้า ก็ต้องตอบว่า “น่าจะ” ครับ แต่โดยข้อเท็จจริง เรื่องนี้ไม่เกิดเนื่องจากโครงสร้างระบบราชการเองที่ทำงานเป็นไซโล ติดต่อข้ามกรม ข้ามกระทรวงเป็นเรื่อง “ลำบาก” ต้องไปอ้อมที่ปลัดกระทรวง ดังนั้นส่วนราชการ ก็ทำงานคล้ายอาการฝาชีครอบแมลงวัน คือไม่มีแมลงวันตัวใดผ่านเข้าไปในภายในฝาชีได้ แถมแมลงวันภายในฝาชีก็บินวนเวียนติดแหงกอยู่อย่างนั้น ออกไปไหนไม่ได้เช่นกัน
คราวนี้ผมไม่โทษหน่วยงานรัฐหรอกครับ มันเกิดขึ้นแล้ว เป็น past tense เปลี่ยนแปลงไม่ได้ หวังว่าจะได้บทเรียนราคาแพง ที่มีค่าเสียหายเป็นชีวิตชาวบ้าน อาชีพการงานของคนเป็นล้านคน แล้วยังค่าความเสียหายอีกเป็นหมื่นล้าน
ผมหวังว่าชาวเมือง (ไม่เฉพาะกรุงเทพและปริมณฑล) จะหันไปมองรอบๆ ตัวมากขึ้นบ้าง ทำให้เหมือนกับเมืองไทยเป็นบ้านของเราจริงๆ อะไรที่ต้องทำ ก็ทำเสีย เลิกชี้นิ้ว เลิกโบ้ย เลิกตำหนิกัน การกระทำอย่างนั้น ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นมาหรอกครับ
ถ้าทำแบบเดิมมาตั้งนานแล้ว ผลลัพท์ยังไม่ดี เรายังจะดันทุรังทำแบบเดิม แต่หวังให้ผลลัพท์ออกมาดี สมเหตุผลหรือครับ?
1 ความคิดเห็น
[...] เขียนบ่นไว้ในบันทึกที่แล้ว เรื่องการกระจายอำนาจ กระจายทรัพยากรออกไปช่วยพื้นที่ต่างๆ ทั้งที่ประสบภัยแล้ว และกำลังจะประสบภัย พอไปคุยกันนี้ก็ได้ข้อมูลใหม่จาก “คนนอก” ที่เข้าไปช่วย (ไม่ใช่คนที่เกี่ยวข้องกับรัฐ) ว่าที่จริงรัฐบาลพยายามทำอย่างนั้นอยู่แล้ว เพียงแต่ติดขัดระเบียบราชการ ซึ่งเขียนไว้แน่นปั๋งเหมือนกำแพง มีตัวอย่างจริงคือเทศบาลแห่งหนึ่งทางภาคเหนือ ส่งเครื่องมือมาช่วยสร้างคันดินในภาคกลาง กลับมีปัญหากับหน่วยงานตรวจสอบทันที เนื่องจากอยู่นอกขอบเขตอำนาจ เรื่องนี้มีวาระจะเข้าคณะรัฐมนตรีเพื่อผ่อนคลายระเบียบในการประชุมครั้งหน้า ทรัพยากรของทางภาครัฐ กระจายออกพื้นที่ที่ยังไม่กระทบเพื่อเตรียมรับสถานการณ์ การระดมทรัพยากรกลับมาช่วยพื้นที่ที่กำลังได้รับผลกระทบ จึงขลุกขลักอยู่บ้าง… เรื่องนี้เป็นบทเรียนว่าแม้แต่ความจริง ก็มีหลายมุมมอง หากไม่เข้าใจ ควรถาม ไม่ใช่คิดเอาเอง [แต่บันทึกที่แล้ว ผมไม่ลบหรอกนะครับ] [...]