ขอบเขตของมุมมอง
อ่าน: 3325คนเราโดยปกติก็มองไปไม่ได้เกินระยะที่สายตามองเห็นหรอกครับ แต่ด้วยความสนใจใคร่รู้ เราจึงบริโภคข่าวสารซึ่งเป็นข้อมูลมือสอง เราดูโทรทัศน์ ดูคลิป อ่านหนังสือ เม้าธ์ในเฟสบุ๊คและเว็บบอร์ด แล้วเราก็รีบร้อนตัดสินประหนึ่งว่าไปรู้ไปเห็นมาด้วยตนเอง
ข่าวสารมือสองที่ผ่านสื่อ โดยทั่วไปจะพออนุมาณได้ว่าเป็นไปโดยจริยธรรมของสื่อ (ซึ่งบางทีก็อนุมาณอย่างนั้นไม่ได้เหมือนกัน) เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น แต่ข้อเท็จจริงนั้นขึ้นกับมุมมองเหมือนกัน สิ่งที่เราเห็นเป็นเพียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยที่เราไม่รู้เรื่องราวเบื้องหลัง
ข่าวตามสื่อมวลชนกว้างได้แค่ผู้สื่อข่าวไปถึงเท่านั้น มีหลายสถานีที่พยายามเชิญชวนลักษณะของสื่อพลเมือง ซึ่งก็เป็นความพยายามที่ดีครับ แต่ผมคิดว่ายังดีกว่านั้นได้อีก คือลักษณะของสื่อพลเมือง เป็นการเสนอเหตุการณ์จากผู้ประสบเหตุแต่สถานีเป็นผู้เลือกสรรว่าจะนำเสนออะไร แต่สถานีโทรทัศน์มีเวลาออกอากาศที่จำกัด แม้จะใช้กับหนังสือพิมพ์ ก็ติดขัดที่เนื้อที่ในการตีพิมพ์อีกด้วย
การที่มีการเลือกสรรข่าวที่จะนำเสนอ หมายความว่าจะมีข้อเท็จจริงบางส่วนที่หายไป เช่นเดียวกับการรายงานเหตุการณ์น้ำท่วมของระบบราชการ แต่ลักษณะที่ “ไว้ใจ” รายงานของผู้ประสบเหตุ และ “ไว้ใจ” ผู้บริโภคข่าวสารว่าสามารถประเมินสถานการณ์ได้เองก็มีตัวอย่างอยู่หลายอัน
- http://www.ismyhouseflooded.com/
- http://gamling.org/
- http://teamthailand.kapook.com/ (แนะนำ)
- http://form.thaiflood.com/ (แนะนำว่าเมื่อเข้าไปช่วยเหลือแล้ว กรุณามาอัพเดตด้วย จะได้ไม่ซ้ำซ้อน)
ในส่วนของเครื่องมือวัดซึ่งหลายๆ หน่วยงานต่างก็มีเครื่องมือวัดที่ให้ภาพส่วนหนึ่งของสถานการณ์ แต่ไม่สามารถนำมารวมกันเป็นภาพใหญ่ได้ ก็มีตัวอย่างเช่น
ลักษณะของ crowd-sourcing เรื่องเหตุการณ์ที่ดี จะต้องพยายามตัดความคิดเห็นของผู้รายงานออกให้ได้มากที่สุด แต่เอาภาพ เสียง วิดีโอคลิป ตำแหน่ง สถานการณ์ที่เกิดขึ้น มาใส่แทน โดยผู้ชมพิจารณาเอาเอง (ไม่ต้องคิดแทน และไม่ต้องสั่งการ ยิ่งไม่เข้าใจ/ไม่รู้เรื่อง ก็ยิ่งไม่ควรสั่งครับ แค่อำนวยการ ปลดล็อคให้งานเดินได้ก็พอแล้ว)
« « Prev : บำบัดน้ำเสีย เติมออกซิเจนในน้ำ
Next : ธุรกิจจิ๋ว ในฐานะจุดเริ่มต้นของการฟื้นฟู » »
ความคิดเห็นสำหรับ "ขอบเขตของมุมมอง"