พลังงานลม (1)

โดย Logos เมื่อ 28 November 2009 เวลา 0:18 ในหมวดหมู่ พลังงาน #
อ่าน: 5451

พลังงานจากลมเป็นพลังงานสะอาด กล่าวคือไม่สร้างก๊าซเรือนกระจก แต่ปัญหาคือเมืองไทยไม่ได้ตั้งอยู่ในเขตที่มีลมแรง

ที่จริงแล้ว พลังงานลมคือพลังงานจลน์ของอากาศ kWh = (1/2)(ρ)(v3)(A)(E)(H)

  • ρ (rho) คือความหนาแน่นของอากาศ ซึ่งมีค่า 1.165 kg/m3 ที่อุณหภูมิ 30°C และระดับน้ำทะเลปานกลาง
  • v คือความเร็วของกระแสอากาศ
  • A คือพื้นที่หน้าตัดของเครื่องแปลงพลังงาน (กังหันปั่นไฟ)
  • E คือประสิทธิภาพในการดักจับพลังงานจลน์จากการไหลของกระแสอากาศ คิดต่อหน่วยพื้นที่(ให้เป็นหน่วยเดียวกับหน่วยของ A เช่นตารางเมตร) ค่าของ E ในทางทฤษฎีจะไม่สามารถเกิน 59.3% ซึ่งเรียกว่า Betz Limit ตัว E นี้ ในอุตสาหกรรมพลังงานลมเรียกว่าสัมประสิทธิ์กำลัง (Power Coefficient)
  • H คือจำนวนชั่วโมงที่ปั่นไฟได้

กำลังไฟฟ้าที่ปั่นได้ ยังไงก็ไม่มีทางเกิน พลังงานจลน์ (1/2mv2) ที่เคลื่อนผ่านพื้นที่หน้าตัดของกังหันลม แต่ m = ρvA ดังนั้น W = 1/2ρv3A จะเห็นว่ากำลังไฟฟ้า แปรผันตาม v3 ดังนั้นยิ่งลมแรง ก็จะยิ่งได้กำลังไฟฟ้ามาก เรามักจะเห็นว่าผู้ใช้พลังงานลม พยายามยกกังหันลมไปไว้ในที่สุงที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วยเหตุผลนี้ ยิ่งสูงก็ยิ่งลมแรง ตาม Wind Profile Power Law

« « Prev : บาดเลยนะเนี่ย: ความยับยั้งชั่งใจ

Next : พลังงานลม (2) » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "พลังงานลม (1)"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.43291783332825 sec
Sidebar: 0.16642904281616 sec