Pulser Pump

อ่าน: 7337

Pulser pump เป็นการเปลี่ยนพลังงานศักย์เป็นพลังงานจลน์

พูดเป็นภาษามนุษย์คือเป็นปัมป์ที่ไม่มีส่วนเคลื่อนไหว ใช้อากาศดันน้ำขึ้นสูง ไปเก็บไว้ในถังเก็บเพื่อเอาไปรดน้ำต้นไม้ โดยไม่ใช้ไฟฟ้าหรือน้ำมัน มีความทนทานสูงมาก

น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ด้านเหนือเขื่อน (ทางซ้ายในรูป มีท่อให้น้ำไหลลง โดยปลายท่อด้านบนอยู่ใกล้ผิวน้ำ ทำให้น้ำดูดฟองอากาศลงไปในท่อด้วย เมื่ออากาศลงไปปลายท่อ อากาศก็พยายามลอยขึ้นตามธรรมชาติ ก็จะถูกเก็บอยู่ในช่องเก็บอากาศเพื่อสร้างแรงดันอยู่ใต้เขื่อน จนมากขึ้นๆ พอมาเจอทางออกตรงท่อเล็กตรงกลางสันเขื่อน ก็จะพยายามหนีออก โดยดูดเอาน้ำขึ้นไปด้วย โผล่พรวดขึ้นมาด้วยความแรง (น้ำสลับกับอากาศ) ทำให้ Pulser pump สามารถยกน้ำขึ้นสูงกว่าสันเขื่อนได้ อันเป็นผลลัพท์ของปัมป์ที่เราต้องการ

ทางส่วนใต้เขื่อน ท่อน้ำออกอยู่ต่ำกว่าท่อที่อากาศหนีออก จึงปล่อยเฉพาะน้ำออกไปทางด้านขวา

ยิ่งกว่านั้น ปลายปล่องด้านน้ำไหลลงไปใต้เขื่อน หาก “ลอย” อยู่ใกล้ระดับผิวน้ำได้ ก็จะสามารถปรับตัวเองให้ใช้งานได้อัตโนมัติ โดยขึ้นกับระดับน้ำต้นทุนหน้าเขื่อน

Pulser pump ในหนังตัวอย่างข้างล่าง มีอายุเกือบ 20 ปีมาแล้ว และยังใช้งานได้อยู่ *แต่เป็นปัมป์ที่มีเสียงดัง*

ข้อมูลเพิ่มเติม:

« « Prev : ฉายเดี่ยว

Next : โลกร้อน (2.4.1) » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

10 ความคิดเห็น

  • #1 Lin Hui ให้ความคิดเห็นเมื่อ 22 February 2009 เวลา 8:53

    น่าสนใจมากๆ ค่ะ สนใจวิธีคำนวน พื้้นที่ และ ปริมาณน้ำปริมาณ ขนาดท่อเหล็กที่จะให้น้ำดันขึ้นไป รัศมีที่น้ำกระจายออกไป ขนาดพื้นที่กักเก็บน้ำเหนือเขื่อนด้วยค่ะ ขนาดท่อที่นำน้ำเข้า และ ออกไปกักเก็บ ดูจากภาพ เป็นคูน้ำเล็กๆเท่านั้นเอง อยากเห็น การออกแบบของคุณ Logos พี่จะเป็นลูกมือให้ค่ะ

  • #2 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 22 February 2009 เวลา 11:06

    พี่เคยผ่านตาเรื่องนี้แล้วเอ๊ะ ด้วยมีคำถามเรื่องหนึ่ง คำถามนั้นเกี่ยวกับแรงดันนี่แหละค่ะ ดูเหมือนเรื่องนี้นะมันง่ายๆทำได้ แต่ความง่ายก็ต้องการความรู้ค่ะว่า การกำหนดกะเกณฑ์ระดับต่ำสูงของอะไรๆที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งขนาดท่อที่พี่หลินเอ่ยถึงนะ มันมีหลักคิดเพื่อนำมาซึ่งข้อสรุปอย่างไร มีข้อมูลอะไรอีกที่ควรรวบรวมมาเพื่อทำให้เกิดข้อสรุป

    ลงมือลองมันดีตรงที่ได้ลงมือ แล้วเรียนรู้ไปแก้ไขปรับปรุงไป ซึ่งดีสำหรับในสเกลเล็กๆ ส่วนในสเกลใหญ่หน่อยคำตอบในสเกลเล็กที่ได้อาจจะไม่ช่วยให้ได้ความรู้ทั้งหมดนะค่ะนี่ 

    แต่อย่างไรลงมือลองก็ดีกว่าไม่ลองเนอะ

  • #3 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 22 February 2009 เวลา 13:23

    ค้น Google เค้ามีโปรแกรมคำนวณ จากผลของการทดลองของผู้สร้างครับ ผมดูหลักการแล้วคิดว่าโปรแกรมนี้ใช้ไม่ได้

    แต่ถ้าให้ลองย้อนรอยหลักการ ผมจะคิดแบบนี้ครับ

    1. จะส่งน้ำขึ้นสูงได้แค่ไหน แล้วแต่ความดันใน chamber ใต้ดิน ซึ่งถ้าใช้พื้นที่หน้าตัดของท่อที่ส่งน้ำขึ้นให้เล็ก ก็จะส่งน้ำขึ้นได้สูง แต่พื้นที่น้อย ปริมาณน้ำก็น้อยไปด้วย
    2. ความดันใน chamber ใต้ดิน ขึ้นกับปริมาณอากาศที่ท่อ intake นำจากบรรยากาศเหนือฝายลงไปใน chamber ซึ่งตรงนี้ ไม่สามารถจะคำนวณปริมาณได้ ต้องใช้การทดลอง
    3. ตำแหน่ง chamber จะอยู่ลึกกว่าระดับน้ำหลังฝาย เราใช้ระดับน้ำด้านหลังฝาย สร้างแรงดันให้อากาศใน chamber ได้ด้วยครับ
    4. ตามข้อ 3 อากาศในท่อนำน้ำและอากาศขึ้นมา จะมีแรงดันอยู่ นำมาเข้าถังแยก เช่นอาจจะนำมาเข้าขวดพลาสติกที่แขวนกลับหัว เจาะรูเข้าตรงก้นขวด น้ำตกลงตามความโน้มถ่วงแล้วไหลออกที่จุกขวด อากาศลอยอยู่ข้างบน มีแรงดัน เอาไปเป่าฟองอากาศเลี้ยงปลา หรือเป่าเข้าถังหมักแบบ aerobic
  • #4 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 22 February 2009 เวลา 14:24

    พี่ว่านอกจากหลักการที่ว่ามาแล้ว มีตัวแปรอื่นที่ควรคำนึงและหาข้อมูล ด้วยว่าความดันที่ต้องการใช้ประโยชน์มาจากเรื่องอากาศ ฉะนั้นนอกจากเรื่องระดับความต่าง ขนาด และ แรงโน้มถ่วงที่ทำให้เกิดความดันแล้ว อีกเรื่องที่เกี่ยวคือ อุณหภูมินะค่ะ ว่าส่งผลต่างมากน้อยแค่ไหน ระหว่างอากาศใต้ดินที่เย็นกว่ากับอากาศบนดิน(ในท่อ)ที่ร้อนกว่า อย่างไหนเสริม อย่างไหนต้านค่ะ รู้แต่หลักๆงูๆปลาๆที่ผ่านมาสนใจอยู่หรอกแต่แล้วก็วาง….แฮ่ๆๆๆ

  • #5 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 22 February 2009 เวลา 20:42
    อุณหภูมิมีผลกับก๊าซครับ แต่ด้วยความลึกประมาณ 2.5 เมตร อุณหภูมิไม่แตกต่างมากจนมีนัยสำคัญ — ลึกกว่านั้น อากาศที่ลงไปพร้อมกับน้ำขาเข้า อาจย้อนกลับขึ้นมาถ้าน้ำไม่แรงพอ
  • #6 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 22 February 2009 เวลา 23:08

    อืม อย่างนี้ตรงปลายท่อพ่น น่าจะใช้เจ้าตัวพ่นชื่ออะไรนะจำไม่ได้แล้วที่จะเอาไปลองแต่ไม่ได้ลองมาประยุกต์ใช้แรงดันน้ำพ่นเป็นฝอยละอองแทนใช้แบตได้เนอะ

  • #7 aram ให้ความคิดเห็นเมื่อ 23 February 2009 เวลา 0:50

    น่าสนใจมากๆครับ เพราะตอนนี้ผมก็กำลังหาวิธีรดน้ำ ต้นไม้ที่ประหยัดทั้งพลังงาน และเวลาของคนงานด้วยครับ
     ผมเข้ามาอ่านลานซักล้าง  เรื่อง Pulser pump   พอดีทีวีช่อง NBT ก็นำเสนอรายการ สัมมนาทัศน์เกี่ยวกับ การใช้พลังงานน้ำธรรมชาติสูบน้ำ คล้ายๆกัน   เป็นของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี           เรียกชื่อว่าเครื่องตะบันน้ำ    เครื่องนี้จะเพิ่มแรงส่งน้ำโดยการใช้วาล์วปิดทางผ่านน้ำเพื่อเพิ่มแรงส่ง หรือแรงดันน้ำกระแทกเพื่อให้ย้อนขึ้นถังเก็บให้มากขึ้น แรงขึ้นครับ   
         
    http://cpm-cm.com/webboard/index.php?topic=72.0

  • #8 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 23 February 2009 เวลา 1:03
    เครื่องตะบันน้ำ/Hydraulic Ram ผมยังสองจิตสองใจครับ ศึกษาการทำงานไว้แต่ยังไม่ได้เขียนบันทึก

    คือมันมีส่วนเคลื่อนไหว และมีแรกกระแทกย้อนกลับ ซึ่งอาจจะทำให้อายุการใช้งานสั้นลง แต่ในขณะที่ยังใช้ได้ ก็ใช้ได้ดีครับ ทำเองได้ ซ่อมเองได้

  • #9 ตาหยู ให้ความคิดเห็นเมื่อ 23 February 2009 เวลา 16:11

    กำลังปั๊มน้ำให้แม่พอดีเลยครับ
    แต่ตอนนี้มาปั๊มสมองผมก่อนแล้ว

  • #10 ลานซักล้าง » Trompe ให้ความคิดเห็นเมื่อ 24 February 2009 เวลา 0:10

    [...] ก็เป็นเช่นเดียวกับ Pulser pump คือจะเป็นอากาศที่มีความดัน [...]


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.14213609695435 sec
Sidebar: 0.13087391853333 sec