เริ่มต้นกับ GIS (4)

อ่าน: 3341

การสร้างเครื่องบิน ก็ง่ายนิดเดียวครับ หาขี้ม้าเลียบค่ายมาสามตอน คิดว่าบรรยายองค์ประกอบครบถ้วนแล้ว บันทึกนี้จะเอา ลำตัว ปิก หาง เครื่องยนต์มาประกอบเป็นเครื่องบิน ถึงจะไม่ได้เรียนอากาศพลศาสตร์หรือการออกแบบเครื่องบินมา แต่ก็พอรู้ว่าลำตัว ปีก หาง เครื่องยนต์ อยู่ตรงไหนของเครื่องบินใช่ไหมครับ

เปิดเว็บของ Open Source Geospatial Foundation (OSGeo) ดู เว็บนี้น่าสนใจในแง่ที่ผู้คนตระหนักว่าควรเลิกเฟอะฟะกันเสียที ถ้าขืนปล่อยให้ต่างคนต่างใช้ข้อมูลกันคนละมาตรฐาน ในที่สุดจะทำงานร่วมกันไม่ได้ แล้วผู้บริโภคก็จะสูญเสียเวลา แรงงาน และเงินมหาศาล เพื่อที่จะทำ Attributes ที่คนอื่นทำไว้แล้วใหม่ เพียงเพราะอ่านข้อมูลที่มีอยู่แล้วไม่ได้

รายชื่อเครื่องมือที่แสดงอยู่ในรูปทางขวา แบ่งเป็นห้าหมวดคือ

  1. Web Mapping — โปรแกรมที่ทำงานบนเว็บ
  2. Desktop Applications — โปรแกรมที่ทำงานบนคอมพิวเตอร์ส่วนตัว
  3. Geospatial Libraries — โปรแกรมเสริมที่ใช้อ่านเขียนดัดแปลงข้อมูลจากรูปแบบต่างๆ
  4. Metadata Catalog — คาตาล็อกของข้อมูลที่ผู้อื่นทำไว้แล้ว
  5. Other Projects — ข้อมูลอื่นๆ

การสร้างเครื่องบิน ก็ง่ายนิดเดียวครับ หาลำตัว หาปีก หาหาง หาเครื่องยนต์ ที่เหมาะกับเรา แล้วเอามาประกอบกัน ส่วนจะรู้ได้ยังไงนั้น มันยากตรงนั้นแหละครับ!

ต้องลองเล่น

อ่านต่อ »


เริ่มต้นกับ GIS (3)

อ่าน: 4793

ลงทุนลงแรงกับ Attributes

ประโยชน์แท้จริงของ GIS ก็อยู่ที่ความรู้ ความเข้าใจ ที่สังเคราะห์ขึ้นมาจาก Attributes นี่ล่ะครับ GIS เป็นเพียงเครื่องมือที่อิงกับแผนที่ ที่เข้ามาช่วยให้เรามองเห็นความเชื่อมโยงของข้อมูลในมิติต่างๆ

ดังนั้น ก่อนจะตัดสินใจได้ว่าจะหาข้อมูลไปทำ Attribute อะไร ก็น่าจะตอบตัวเองก่อนว่าทำไปแล้ว ได้ประโยชน์อะไร; ในระบบ GIS การเพิ่ม Attributes เพิ่ม Layers ทำได้ง่ายมาก (เพราะข้อมูลเก็บในฐานข้อมูลซึ่เรียกใช้สะดวก และใช้คอมพิวเตอร์วาดรูปซึ่งทำได้ง่าย) แต่การเก็บข้อมูลนั้น กลับใช้แรงงาน และเวลาอย่างมากมาย

เมื่อออกไปในพื้นที่เพิ่อเก็บข้อมูล จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทุกครั้ง หากไปครั้งเดียวแต่เก็บข้อมูลได้หลายมิติ ก็จะประหยัดกว่ามาก

การจัดทำระบบ GIS ในเมืองไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของราชการ ใช้วิธีซื้อแหลกกันมาตั้งนานแล้วนะครับ เรื่องที่ผ่านไปแล้วก็ผ่านไปแล้ว การซื้อแหลก มีข้อดีอยู่อย่างหนึ่ง คือระบบมักจะอิงอยู่กับซอฟต์แวร์มาตรฐานไม่กี่ตัว ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ สามารถแบ่งปันแลกเปลี่ยนกันได้ (ถ้าจะทำ)

การเก็บข้อมูล

ดังที่กล่าวไว้ในตอน (1) ข้อมูลที่จะใช้กับ GIS มีสองส่วนคือข้อมูลแผนที่ และข้อมูลเชิงบรรยาย — คือบอกว่าอะไรอยู่ตรงไหน

วิธีเก็บข้อมูลที่เหมาะที่สุด คือวาดแผนที่ กำหนดพิกัดเส้นรุ้ง/เส้นแวงตามมุมของพื้นที่ แล้วจดใส่กระดาษพร้อมข้อมูลเชิงบรรยาย (Attributes) ที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นที่นั้น จากนั้นค่อยนำกลับมาป้อนเข้าคอมพิวเตอร์ที่สำนักงาน.. คืนนี้ ต้องนอนเร็ว พรุ่งนี้ไปหาหมอครับ


เริ่มต้นกับ GIS (2)

อ่าน: 3988

ความคิดเกี่ยวกับ Base Map ราคาถูกในระบบ GIS

บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มี Base Map ที่สามารถนำมาใช้ได้อยู่หลายที่ เช่น Google Maps Yahoo! Maps หรือ Microsoft Virtual Earth ฯลฯ

Base Map เป็นต้นทุนที่อาจจะแพงที่สุดในการทำระบบ GIS เดิมทีจะต้องใช้เครื่องบิน บินถ่าย หรือซื้อภาพถ่ายจากดาวเทียม แล้วนำภาพมาแปลงเป็นพิกัดลงทีละจุด ในเมื่อมี Base Map ให้ใช้อยู่แล้ว การเริ่มต้นระบบ GIS จึงประหยัดเงินและเวลาลงได้มาก

เราดู Base Map จากอินเทอร์เน็ตผ่านเบราว์เซอร์ธรรมดา หมายความว่าถ้าจะใช้วิธีนี้ ก็ต้องมีความเร็วในการเชื่อมต่อไปต่างประเทศที่ดี (ไม่ใช่แค่วงจรที่เชื่อมต่อไปยังไอเอสพีมีความเร็วสูง แต่ต้องดึงข้อมูลจากต่างประเทศผ่านไอเอสพีนั้นได้เร็วจริงด้วย อย่าไปดูแค่คำว่า Hi-speed หรือ Broadband ซึ่งผู้บริโภคถูกหลอกกันมาซะเยอะแล้ว)

Base Map server ที่ต่างประเทศ ส่งรูปมาให้เราเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมเล็กๆ (Tile) แล้วโปรแกรมควบคุม เอา Tile หลายๆ อันมาต่อกันเป็นแผนที่ เราย่อ/ขยาย และกวาดไปดูพื้นที่ข้างเคียงได้ผ่านเบราว์เซอร์ธรรมดา

อ่านต่อ »


เริ่มต้นกับ GIS (1)

อ่าน: 6015

เรื่องนี้ เริ่มที่ไอเดียบรรเจิดในบันทึก คนมีเบอร์ | ปักธงกันหน่อยดีไหม | ถามตรงๆ ^ ^ เป็นความพยายามที่จะอธิบายเรื่องที่(ยัง)จับต้องไม่ได้ ให้ผู้ที่(ยัง)ไม่เคยใช้เข้าใจ — หรือบางทีอาจจะทำให้งงกว่าเก่านะครับ; คำอธิบายนี้ ไม่เหมือนกับในตำรา แต่พยายามจะอธิบายให้เห็นไส้ใน เพื่อที่จะได้พิจารณาเองว่าอะไรทำ อะไรซื้อ — มีหลายตอน ขณะนี้ยังไม่รู้ว่าจะเขียนกี่ตอน

หากท่านผู้รู้ท่านใด มีความเห็นัดแย้ง หรืออธิบายเพิ่มเติม ก็ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ — เราร่วมกันเรียนได้

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) เป็นระบบที่ทำงานด้วยกระบวนการจัดการความรู้ โดยใช้ข้อมูลเชิงแผนที่ (Geospatial Information) ซึ่งเก็บอยู่ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์มาประมวล

สำหรับ Geospatial Information (Geo=ภูมิศาสตร์ spatial=เกี่ยวกับอวกาศ/แผนที่ทางอากาศ Information=สารสนเทศ) มีข้อมูลหลักๆ สองด้านคือ

  • ข้อมูลแผนที่: เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับตำแหน่ง โดยปกติเป็นพิกัด (เส้นรุ้ง,เส้นแวง) เพื่อบอกว่าข้อมูลนั้น อยู่ตรงไหนบนโลก อาจจะเป็นพื้นที่เช่นเขตการปกครอง โฉนด เขตปลูกข้าว, เป็นตำแหน่งเช่นแหล่งท่องเที่ยว ที่ตั้งเอทีเอ็ม โรงเรียน ฯลฯ
  • ข้อมูลเชิงบรรยาย (Attributes): เป็นข้อมูลประกอบอื่นๆ ที่ไม่ใช่พิกัด เช่นจำนวนประชากรภายในเขตการปกครองนั้น เนื้อที่/ปริมาณผลผลิตจากพืชชนิดต่างๆในพื้นที่ เป็นความสูงของระดับพื้นเพื่อดูว่าที่ใดเป็นเขา เป็นอ่างเก็บน้ำ

อ่านต่อ »



Main: 0.11275911331177 sec
Sidebar: 0.16922187805176 sec