สะพานแคล็พเพอร์
อ่าน: 4296ขณะนี้มีหย่อมความกดอากาศกำลังแรง อยู่ในมหาสมุทรอินเดียและในจีนตอนใต้ ทำให้เกิดร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรง พาดผ่านภาคเหนือและอีสานเหนือ อาการอย่างนี้จะมีฝนตกหนักโดยไม่มีลม กล่าวคือฝนตกไม่เลิก และอาจจะทำให้น้ำท่วมอีก — ในส่วนของการบรรเทาทุกข์นั้น มักจะมีผู้ประสบภัยตกหล่น เนื่องจากโลกภายนอกไม่สามารถส่งความช่วยเหลือเข้าไปได้ บางทีไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าเกิืดอะไรขึ้นในพื้นที่ที่ถูกตัดขาด
ผมลองมาหาดูว่าพอมีอะไรที่ชาวบ้านจะเตรียมตัวไว้ก่อน และทำเองได้โดยไม่เป็นภาระหนักเกิดไปหรือไม่ ก็มาคิดถึงสะพานเฉพาะกิจซึ่งใช้ข้ามน้ำที่ไหลเชี่ยวในช่วยที่เกิดอุทกภัย และสามารถรื้อถอนออกเมื่อภัยผ่านไป (แถมรีไซเคิลไว้ใช้ในครั้งต่อๆ ไป หรือให้หมู่บ้านข้างเคียงยืมไปใช้) ก็มาดู List of bridge types ใน wikipedia และติดใจสะพานแคล็พเพอร์ครับ
สะพานแคล็พเพอร์เป็นสะพานที่มีตอหม้อโผล่อยู่เหนือน้ำ (แหงล่ะ) แล้วมีกระดานพาดอยู่ระหว่างตอหม้อ ถึงน้ำจะท่วมสูงจนรถขนของผ่านไม่ได้ แต่เรายังใช้พลังมดขนของข้ามน้ำไปสู่หมู่บ้านที่ถูกตัดขาดได้ (เช่นยอมแบกของร้อยเมตรข้ามถนนที่น้ำท่วมสูง ไปสู่ที่แห้งเพื่อใช้รถอีกคันหนึ่ง ขนต่อเข้าหมู่บ้าน)
[ภาพของ Clapper bridge แบบต่างๆ]
แต่การที่จะไปหาหินที่ได้ขนาดมาวางนั้น ไม่เหมาะกับทุกพื้นที่
ถ้าใช้คอนกรีตทำ ก็คงไม่เลวหรอกครับ ไม่ต้องทำเป็นก้อนตันเพื่อประหยัดต้นทุน หากใช้คอนกรีตมวลเบาได้ ก็จะขนย้ายได้สะดวกขึ้นแต่ยังมีความแข็งแรง(เกือบ)ดังเดิม
ส่วนกระดาน ก็ทำเป็น slap ยาวสักเมตรสองเมตร วางตอหม้อทุกระยะของ slap ยาวไปได้เท่าที่มีของ
หากน้ำหนักมาก (หรือสูงมาก) ต้องเผื่อทางกว้างด้วยนะครับ เพราะแรงกดคิดเป็น กิโลกรัมต่อพื้นที่ (และช่วยในเรื่องเสถียรภาพ)
Next : กระชุหิน » »
3 ความคิดเห็น
รูปสะพานที่ลงมาให้ดูจนจุใจ
แสดงว่าพื้นที่มีปัญหาเรื่องร่องน้ำ น้ำหลาก
คนโบราณแก้ไขปัญหาด้วยตนเองไว้ล่วงหน้า
ส่วนในของบ้านเราเพิ่งจะเจอปัญหานานๆครั้งๆ ต่อๆไปถ้าเจอบ่อยๆ ความคิดหลังน้ำท่วมน่าจะเกิดขึ้นภายในชุมชน ถ้ามีความคิดเรื่องพึ่งตนเอง เราจะเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมเชิงรุก แต่ถ้าคิดแต่จะแหกปากร้องขอคนนอก ขอรัฐบาล โยนภาระให้คนอื่นเหมือนที่รัฐฯกำลังสร้างค่านิยมแบบงอมืองอเท้า พลังประชาสังคมท้องถื่นก็จะเงียบจ้อยไปอย่างน่าเวทนา
สังคมไทยมักอ้างว่าทุกข์ยากแสนสาหัส ยุ่งจนไม่มีเวลาทำอะไร รวมทั้งพาตัวเองออกจากความทุกข์นั้นด้วย จึงคิดแบบเก่า ทำแบบเก่า แต่หวังผลที่ดีขึ้น โดยไม่มีการฉุกคิด ไม่มีการเรียนรู้ (และกลัวผิด) น่าเสียดายเวลาครับ… เหมือนการเตือนภัย ถ้าเตือนแล้วไม่ทำอะไร จะรอลุ้นอย่างเดียว อย่างนี้เตือนหรือไม่เตือนก็ไม่ต่างกันครับ
[...] ผมเขียนบันทึกเรื่อง [สะพานแคล็พเพอร์] คิดว่านำมาใช้ได้ [...]