ชักหน้าไม่ถึงหลัง
อ่าน: 5318สำหรับลูกจ้างกินเงินเดือน ใช้จ่ายเดือนชนเดือน นายจ้างสามารถช่วยเหลือลูกจ้างได้ โดยเพิ่มงวดการจ่ายเงินค่าจ้างขึ้นมา เช่นเดิมจ่ายเดือนละครั้งเมื่อสิ้นเดือน ก็เปลี่ยนเป็นจ่ายเดือนละสองครั้ง ครั้งละครึ่ง ภาษีที่จะต้องหักไว้เพื่อนำส่งสรรพากร ก็อาจจะหักเต็มจำนวนของเดือนนั้นในการจ่ายงวดแรกเลย เพื่อที่งวดหลังจะได้โตกว่างวดแรกสักหน่อย (งวดหลังมักจะต้องไปจ่ายหนี้บัตรเครดิต ค่าสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายรายเดือนอื่นๆ หรือแม้แต่จ่ายหนี้นอกระบบ)
แน่ล่ะ ก็จะได้ยิน “เหตุผล” ว่าไม่มีอารมณ์ งานยุ่ง เอาไว้ก่อน ยุ่งยาก ทำงานซ้ำซ้อนหลายครั้ง และผมแน่ใจที่สุดว่าจะได้ยิน “เหตุผล” ว่าไม่มีระเบียบให้จ่ายได้
เรื่องนี้ให้พิจารณาให้ดี “เหตุผล” เป็นเรื่องที่คนที่ไม่ยอมทำใช้มาอ้าง ที่จะไม่ช่วยคนอื่น (แล้วตัวเองเสียประโยชน์ อย่างน้อยก็ต้องทำงานหนักขึ้น) ต่อให้ไม่มีระเบียบ ก็พิจารณาในแนวนี้ได้เหมือนกัน คนสร้างระเบียบขึ้น ดังนั้นเพิ่มเติม/ใช้ชั่วคราว หรือจะแก้ไขถาวรเลยก็ได้ ถ้าอยากจะทำ
แต่ก็มีอยู่อย่างน้อยสามกรณีซึ่งไม่ควรทำ
- พนักงานในองค์กรไม่ต้องการ — มีจริงๆ นะเนี่ย ผมเคยคิดจะตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ของพนักงาน ซึ่งต้องการชื่อ 80 ชื่อในการเริ่มต้น ปรากฏว่าได้ชื่อไม่ถึง ลืมไปว่ารวยกัน ขนาดมีวงแชร์เล็กๆ สองวง ยังไม่ยอมเปียกันเลย
- มีหลายระบบ เช่นบางคนอยากได้รายสัปดาห์ บางคนอยากได้รายปักษ์ บางคนอยากได้รายเดือน — ให้ไปตกลงกันก่อน ไม่อย่างนั้นงงตาย
- เป็นการฝืนระเบียบ — ต้องไปแก้ไขระเบียบซะก่อนนะครับ อย่ามั่วทำไปเลย จะมีความผิด
ผู้บริหารที่ไม่เดือดร้อนในเรื่องนี้ ก็อาจไืม่เข้าใจความเดือดร้อนของคนที่เดือดร้อน แต่การละเลยเพิกเฉย ก็เหมือนเป็นการผลักเพื่อนพนักงานเข้าสู่วงจรหนี้ แล้วจะเอากำลังใจที่ไหนมาทำงานล่ะครับ
ฝรั่งมีสำนวนว่า to make ends meet แปลว่าใช้จ่ายเดือนชนเดือน; end หมายถึงปลาย(เดือน), ends ก็คือสิ้นเดือนชนกันต้นเดือนถัดไป, ends meet ก็คือเดือนชนเดือน
ดังนั้น ชักหน้าไม่ถึงหลัง ก็คือ cannot make ends meet นั่นเอง
« « Prev : *** ประกาศผลภาพส่งประกวดจาก เฮฯหก และหกกว่าๆ ***
4 ความคิดเห็น
แน่ล่ะ ก็จะได้ยิน “เหตุผล” ว่าไม่มีอารมณ์ งานยุ่ง เอาไว้ก่อน ยุ่งยาก ทำงานซ้ำซ้อนหลายครั้ง และผมแน่ใจที่สุดว่าจะได้ยิน “เหตุผล” ว่าไม่มีระเบียบให้จ่ายได้
คล้ายๆข้าราชการ แหะแหะ
พวกกินเงินเดือนก็ว่าไป
พวกกินเงินดิน ก็ต้องเพาะปลูกพืชผลบนดินให้เขียวงาม
แต่ทุกกลุ่มก็ต้องปรับพฤติกรรมใหม่ ให้พอดู พออยู่ พอไปวัด ไปวา
แต่ถ้าไม่มีที่ไปก็แวะมาที่ลานปัญญานี่แหละดีที่สุด อย่าห้อตะบึงไปไหนไกลเลย
ขี้เกียจหิ้วปีกกลับรัง
ด้วยรักและห่วงใย จากหนุ่มหล่อเหมือนตอไฟลน
ปัญหาก็อยู่ตรงนี้ล่ะครับ
ในส่วนของระเบียบ กฎเกณฑ์ ในทางราชการก็แก้ไขยากค่ะ แถมกฎเกณฑ์บางอย่างยังเป็นกฎเกณฑ์ที่สร้างกันมานานแล้วและมีผลกระทบต่อระบบทั้งประเทศด้วย เข้าใจว่าคงมีทั้งป้องกันและช่วยเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ (แต่บางทีก็เหมือนป้องกันเพราะไม่ไว้ใจกัน) เพราะคนในระบบราชการมีหลากหลายรูปแบบ (ทั้งๆที่ป้องกันแล้ว ยังมีรั่วไหลเยอะแยะ)
แต่เกณฑ์บางอย่างก็ไม่เอื้ออำนวยจริงๆ จึงทำให้เกิดการที่เรียกว่า “ซิกแซก” เกิดขึ้น บางครั้งก็เป็นผลดีต่องาน บางครั้งก็เป็นผลดีต่อบุคคล…อันนี้ต้องดูที่เจตนา
แต่ในส่วนที่เป็นกฎระเบียบของหน่วยงานที่ออกเอง ก็มีการปรับ แก้ไขกันเมื่อพบว่าก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติที่จะช่วยให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ