พระราชดำรัสบวงสรวงกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 21 March 2012 เวลา 15:57 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 4515

ไปเห็นหลักธรรมในเฟสบุ๊คที่ตัดตอนมาจากพระราชดำรัสครับ จึงไปค้นพระราชดำรัสองค์เต็มมาแสดงไว้ เพื่อให้เข้าใจบริบททั้งหมดครับ

ช่วงนั้นเป็นช่วงงานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ผมจบปริญญาตรีแล้ว ทำงานหาประสบการณ์อยู่ ยังไม่ได้เรียนต่อ

อ่านต่อ »


พระราชดำรัสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ปีกาญจนาภิเษก

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 4 January 2012 เวลา 0:53 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 2532

พระราชดำรัส
พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้า ฯ ถวายชัยมงคล
ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
วันศุกร์ ที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙

ขอขอบใจท่านทั้งหลายที่มาในวันนี้ เพื่อมาอวยพรวันเกิด โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวคำอวยพรนั้นในนามของทุกๆ คน ที่มาในชุมนุมนี้. การที่นายก ฯ ได้บอกว่าข้าพเจ้าได้ช่วยให้ประเทศชาติและประชาชนมีความเจริญนั้น ก็ขอยืนยันว่า ถ้าทั้งเจ้าหน้าที่ ทั้งผู้ที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ ไม่ได้ช่วยกัน ร่วมมือ ร่วมแรงกัน ทำให้กิจการต่างๆ ลุล่วงไปโดยดี ก็จะไม่สามารถที่จะทำให้ประชาชนมีความก้าวหน้าอย่างที่เป็นตามรายงานของนายก ฯ.

ข้อนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะว่าถ้าแต่ละคนทำงานคนละทาง แม้จะตั้งใจทำก็จะไม่มีผลสำเร็จ เพราะว่าเหมือนดึงกันไปคนละทิศคนละทาง มันก็อยู่กับที่ หรือบางทีก็ไม่ใช่อยู่กับที่ ก็เสื่อมลงไปได้. ฉะนั้นข้อสำคัญที่สังคมไทยยังอยู่ ก็เพราะว่าส่วนมากผู้ที่มีงานทำ ทั้งในทางด้านราชการ และเอกชน ได้พยายามทำไปในทิศทางเดียวกัน ถึงทำให้ประเทศไทยยังอยู่. ในโลกนี้ประเทศอื่นๆ กำลังปั่นป่วนมาก และคนไทยทุกคนก็คงเป็นห่วงว่าประเทศไทยจะอยู่หรือจะไป. ฉะนั้นเป็นการยืนยันว่าเมืองไทยยังพอที่จะไปได้ ก็เพราะความตั้งใจร่วมกันของทุกคนในชาติ. ข้อนี้ไม่อยากจะพูดมากเกินไปเพราะว่าแต่ละคนก็มีงาน ถ้าไปเตือนให้ร่วมมือกันอาจจะรำคาญ รำคาญแล้วไม่ทำ.

อ่านต่อ »


ขนของบนน้ำ

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 6 September 2011 เวลา 1:58 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 4813

การมีความรู้ ไม่ใช่ว่าจะหาทางออกของปัญหาเจอ แต่การใช้ความรู้นั้น จะทำให้มีทางเลือกของทางออกมากขึ้น ซึ่งถ้าอดทนพอก็คงจะหาทางออกจนได้เอง (หรือเรียนรู้ที่จะหาทางออกจนได้) ส่วนการไม่มีความรู้ พบเห็นได้ทั่วไปคือใช้เงินซื้อไงครับ คนไทยเก่งเรื่องใช้เงินแต่ไม่ใช้ความรู้อยู่แล้ว

น้ำท่วมคราวนี้ คงจะยาวนาน น้ำไม่ได้อยู่นิ่งๆ แต่ไหลไปเรื่อย จากที่สูงไปยังที่ต่ำ — น้ำท่วมทางเหนือ มาเร็ว ไปเร็ว ต้องการปฏิบัติการที่รวดเร็ว และเมื่อน้ำไปแล้ว งานก็ไม่จบเพราะน้ำมาแรง บ้านเรือนไร่นาเสียหาย ยังต้องฟื้นฟูกันอีกนาน

มื่อน้ำเริ่มไหลลงมาสู่ภาคกลางซึ่งมีความลาดเอียงต่ำกว่า น้ำจะแผ่ออกท่วมเป็นวงกว้าง และท่วมอยู่นาน หมายความว่ามีชาวบ้านติดเกาะ หรือต้องทิ้งถิ่นฐานเป็นเวลานาน จึงต้องหาทางออกเรื่องโลจิสติกส์ของการส่งกำลังบำรุงไว้ด้วย ไม่ใช่คิดแค่ของที่จะนำไปส่ง ไม่มีประโยชน์อะไรที่ส่งของไปกองไว้แล้วเอาไปส่งให้ชาวบ้านไม่ได้

ยิ่งกว่านั้น มวลน้ำจะเคลื่อนลงต่ำไปเรื่อยๆ เป็นวงกว้างด้วย ดังนั้นจึงต้องมีวิธีการขนของไปบนน้ำ ที่เคลื่อนย้ายสะดวก ราคาถูก และประหยัดพลังงาน อย่าลืมว่าพื้นที่น้ำท่วมหาน้ำมันเติมได้ยาก

แรกทีเดียว ผมนึกถึงเรือ catamaran (เรือแบบหลายลำตัว) เหมือนรูปทางขวา มีเสถียรภาพสูง ไม่พลิกล่มง่าย ต้านน้ำน้อย

แต่ดูให้ละเอียดแล้ว แพ catamaran น่าจะ practical กว่าเยอะ เงินเท่ากันสร้างได้หลายลำมากกว่าเรือ เบา ถอด+ประกอบง่าย แข็งแรง สะดวกกับการขนย้ายมากกว่าเรือมาก เพียงแค่ยึดลำเรือ (hull) ไว้ด้วยท่อแข็ง น่าจะทำได้ง่ายๆ ครับ ส่วนพื้นที่บรรทุกนั้น ก็อยู่ด้านบนระหว่างท่อที่ยึดลำเรือ

อ่านต่อ »


กว่าจะได้ความรู้มา

อ่าน: 2978

พระราชดำรัส
ในโอกาสที่ประธานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นำผู้เข้าร่วมสัมมนา
และบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวของเฝ้า ฯ เพื่อรับพระราชทานพระบรมราโชบายเกี่ยวกับการดำเนินงานในช่วงต่อไป
ณ ศาลาดุสิดาลัย
วันศุกร์ ที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๓๑

วันนี้ก็ขอพูดแบบที่เคยทำในระยะที่ผ่านมา คือโดยมากให้ความเห็น ก็ให้ความเห็นตอนที่ไปเยี่ยมศูนย์ศึกษา หรือตอนที่ไปในภูมิประเทศ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าถ้าหากว่าจะมาให้ปาฐกถาเรื่องอะไรก็ตามอย่างนี้ต่อที่ประชุมก็ไม่คอยถนัดนัก แล้วก็ไม่ทราบว่าจะมีประโยชน์หรือไม่ ฉะนั้นที่จะพูดนี้ก็พูดเหมือนเวลาไปเยี่ยมศูนย์ศึกษา

ข้อแรก เรื่องคำว่าศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องจากพระราชดำรินั้น คำนี้ทำให้เข้าใจว่าเป็นการศึกษาการพัฒนาที่เป็นเรื่องของพระราชดำริ ซึ่งไม่ใช่อย่างนั้น อันเนื่องมาจากพระราชดำริ หมายความว่าทั้งอันนี้เป็นศูนย์ศึกษา ทั้งอันนี้เป็นพระราชดำริ แล้วที่ดำเนินงานก็ดำเนินงานตามที่มีพระราชดำริ แต่ชื่อของกิจการก็ชื่อเพียงว่าศูนย์ศึกษาการพัฒนา ซึ่งหมายความว่าเป็นศูนย์หรือเป็นแห่งหนึ่งที่รวมการศึกษาเพื่อดูว่าทำอย่างไรจะพัฒนาได้ผล และแม้กระนั้นที่ตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนานี้มิได้ตั้งชื่อก่อน ได้ตั้งศูนย์ก่อนถึงได้ให้ชื่อว่า ศูนย์ศึกษาการพัฒนา ซึ่งหมายความว่าได้ตั้งกิจการอย่างหนึ่ง และได้ตั้งชื่อซึ่งจะชี้ว่าศูนย์หรือกิจการนี้ทำอะไร

มีคนที่เข้าใจว่าศูนย์ศึกษาการพัฒนานั้น เป็นเหมือนสถานีทดลองหรืออีกอย่างหนึ่งก็เป็นวิทยาลัย ทั้งสองอย่างนี้ไม่ใช่ เป็นสถานที่ที่ผู้ที่ทำงานในด้านพัฒนาจะไปทำอะไรอย่างหนึ่งหรือจะเรียกว่าทดลองก็ได้ เมื่อทดลองแล้วจะทำให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในวิชานั้นได้สามารถเข้าใจว่าเขาทำอะไรกัน อันนี้ก็เป็นประโยชน์อย่างหนึ่งที่จะได้จากกิจการศูนย์ศึกษาการพัฒนา คือเป็นการทำอะไรของฝ่ายหนึ่ง และทำให้ฝ่ายอื่นได้เข้าใจว่าคนอื่นเขาทำอะไรกัน เรียกว่าเป็นการทำให้เจ้าหน้าที่ด้านพัฒนาได้มีการร่วมมือสอดคล้องกัน อันนี้ก็เป็นข้อแรกที่สำคัญที่ว่าไม่ใช่สถานีทดลอง ก็เพราะว่าสถานีทดลองในด้านต่างๆ ก็มีอยู่มากแล้ว เช่น ทดลองเพาะพันธุ์ต่างๆ ทดลองพันธุ์ข้าว เป็นต้น นี้มีอยู่หลายแห่งแล้วและทำงานได้ดีมาก ได้ผลได้ประโยชน์มาก

อ่านต่อ »


วัดมงคลชัยพัฒนา สระบุรี

อ่าน: 3975

สืบเนื่องจากบันทึกที่แล้ว จะถวายพระในวันศุกร์ แต่ว่าวัดมีงานใหญ่ เกรงว่าจะไม่สะดวกสำหรับพ่อแม่ซึ่งอายุมากแล้ว

วันนี้ก็เลยชวนกันนำพระไปถวายที่วัดมงคลชัยพัฒนาในตอนบ่ายเลยครับ (14.60216°N, 100.90844°E) วัดนี้มีทั้งปริยัติและปฏิบัติ แต่เนื่องจากไม่ได้นัดไว้ล่วงหน้า ท่านเจ้าอาวาสไปปากช่องเพื่อนำอะไรบางอย่างกลับมาในงานของวัดในวันศุกร์ แต่เจ้าหน้าที่ของวัดได้ต่อโทรศัพท์ให้คุยกับเจ้าอาวาส และเจ้าอาวาสได้มอบให้รองเจ้าอาวาส (พระมหาสายชล) รับพระแทน

อ่านต่อ »


พระราชดำรัส วันเฉลิมพระชนมพรรษา ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 3 June 2011 เวลา 0:02 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 4505

กระแสพระราชดำรัสองค์นี้ สำคัญและยาวมาก มีเหตุการณ์หลายเรื่องที่เคยเกิดขึ้นแล้ว และคล้ายกับว่ากำลังเกิดขึ้นอีก ขอเชิญพิจารณากันเองครับ

พระราชดำรัส
พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้า ฯ ถวายชัยมงคล
ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
วันศุกร์ ที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕

ขอขอบใจนายกรัฐมนตรี ที่ได้ให้พรในนามของทุกๆ ท่านที่มาประชุมในวันนี้เป็นจำนวนมาก ถึง ๓๓๓ คณะ ๘๘๐๐ กว่าคน. พรที่ให้เป็นกำลังใจสำหรับทำหน้าที่การงานต่อไป. พรุ่งนี้ จะถึงวันครบ ๖๕ ปีของชีวิต ซึ่งทำให้นึกถึงว่า ก็ได้เห็นอะไรๆ มามาก ทั้งดีทั้งไม่ดี ได้เห็นโลก และโดยเฉพาะเห็นความเป็นอยู่ของประเทศไทยซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงมาตลอด เปลี่ยนแปลงมาทุกปีหรือทุกเดือน แม้จะทุกวันก็มีความเปลี่ยนแปลง.

อ่านต่อ »


กระแสพระราชดำรัสพระราชทานหลังภัยธรรมชาติ

อ่าน: 5273

เมื่อคืนวันที่ 25 ต่อกับวันที่ 26 ตุลาคม 2505 ได้เกิดพายุโซนร้อนชื่อ “แฮเรียต” พัดผ่านทางตอนใต้ของประเทศไทย ยังความเสียหายให้เกิดแก่จังหวัดภาคใต้ถึง 12 จังหวัด

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สถานีวิทยุ อส.พระราชวังดุสิต ประกาศโฆษณาเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ และสิ่งของ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยทรงรับและพระราชทานสิ่งของด้วยพระองค์เอง ความช่วยเหลือได้หลั่งไหลเข้าสู่สถานีวิทยุ อส. ชั่วระยะเวลา 1 เดือน มีผู้บริจาคทรัพย์ถึง 11 ล้านบาท และสิ่งของประมาณ 5 ล้านบาท นับเป็นเงินและสิ่งของบริจาคปริมาณมหาศาลเมื่อเทียบกับค่าของเงินในขณะนั้น

จังหวัดที่ได้รับความเสียหายมาก คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมกับ กรมประชาสงเคราะห์ได้แจกอาหาร เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค จัดซ่อมแซมบ้าน ที่พัก และสร้างที่พักชั่วคราว ให้ผู้ประสบภัยอยู่อาศัยตลอดจนเครื่องมือประกอบอาชีพ ได้แก่ อวน และช่วยเหลือสิ่งสาธารณประโยชน์ คือ มอบเงินให้เป็นทุนประเดิมแก่วัดวาอาราม มัสยิด ศาลเจ้าและสถานสงเคราะห์เด็กที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อรับบุตรหลานของผู้ประสบภัย ที่กำพร้าบิดามารดาหรือผู้ปกครองเสียชีวิต โดยอยู่ในความดูแลของกรมประชาสงเคราะห์

นอกจากนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานเงินให้กระทรวงศึกษาธิการ สร้างโรงเรียนประชาบาลที่ถูกพายุพัดพัง รวม 12 โรงเรียน ใน 6 จังหวัดภาคใต้ และภายหลัง พระราชทานชื่อว่า โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1,2,3,4,5 ถึง 12 ตามลำดับ

เมื่อได้ช่วยเหลือประชาชนในระยะแรกแล้ว ยังเหลือเงินอีก 3 ล้านบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า เงินสามล้านบาทนี้ ควรตั้งเป็นทุนเพื่อหาดอกผลสำหรับสงเคราะห์เด็ก ซึ่งครอบครัวต้องประสบวาตภัยภาคใต้ และขาดผู้อุปการะเลี้ยงดูประการหนึ่งและสำหรับสงเคราะห์ช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบสาธารณภัยทั่วประเทศอีกประการหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานเงิน 3 ล้านบาท ให้เป็นทุนประเดิมก่อตั้งมูลนิธิ และพระราชทานนามว่า “มูลนิธิราชประชานุเคราะห์” และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อยู่ใน “พระบรมราชูปถัมภ์” กับทรงดำรงตำแหน่ง พระบรมราชูปถัมภกแห่งมูลนิธินี้ด้วย ชื่อของมูลนิธินี้หมายความว่า “พระราชา” และ “ประชาชน” อนุเคราะห์ซึ่งกันและกัน เป็นการแสดงน้ำพระทัยว่า เวลาทำงานควรจะได้ให้ประชาชนมีส่วนร่วมด้วย

อ่านต่อ »


ตามใจใคร

อ่าน: 4025

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสพระราชทานแก่ข้าราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันพุธที่ 17 พฤศจิกายน 2519 ความตอนท้ายว่า

… ขอย้อนไปในเรื่องที่เรียกว่าคนไม่ดี และผลประโยชน์ที่จะได้ คือคิดออกว่า ผลประโยชน์ที่จะได้นั้นมันมีอยู่ ๒ อย่างใหญ่ๆ แบ่งได้เป็นผลประโยชน์ในทางการเงิน คือทางกาย ทางกายหรือจะเรียกว่าทางวัตถุ ได้ผลประโยชน์เป็นเงิน เป็นสิ่งของ เป็นอิทธิพลเป็นผลประโยชน์ทางวัตถุ ซึ่งแปลออกมาเป็นเงินได้ แปลออกมาเป็นราคาได้ ผลประโยชน์อีกทางหนึ่ง เป็นผลประโยชน์ที่จะเรียกว่าทางใจก็ได้ คือความพอใจในอำนาจ พอใจในลัทธิ พอใจในทฤษฎี บางคนมีไม่ใช่เป็นเรื่องของลัทธิ มีเป็นเรื่องของทฤษฎีว่าต้องทำอย่างนี้ต้องทำอย่างโน้น ยังไม่ถึงลัทธิ แต่ทฤษฎีนั้นอาจจะไม่เหมาะสมกับส่วนรวมก็ได้ เพราะว่าเป็นทฤษฎีที่วางไว้บนก้อนเมฆ อาจจะวางไว้บนก้อนเมฆบ้าง หรือแม้จะวางบนก้อนเมฆได้ ก้อนเมฆนั่นมันบังเสา ซึ่งหมายความว่าทฤษฎีนั้นวางไว้บนลัทธิ ซึ่งลัทธิทั้งหลายก็เป็นทฤษฎีอยู่นั่นเอง แต่เป็นของคนอื่น ไม่ใช่ของตนเอง บางคนที่นึกว่าทำเพื่อลัทธิ หรือไม่ใช่เพื่อลัทธิ เพื่อทฤษฎีของตน ความพอใจของตน นี้ก็เป็นผลประโยชน์ทางใจ เป็นผลประโยชน์ส่วนตัวเหมือนกัน ที่จะได้รับความพอใจในลัทธิ หรือในทฤษฎีของตน แต่ไม่ได้นึกถึงว่า ทฤษฎีของตนนั้น ส่วนมากก็วางบนลัทธิซึ่งพราง เพราะมีก้อนเมฆพราง แล้วไม่ได้นึกว่า ลัทธินั้นความจริงไม่ได้เป็นของตน เป็นของคนอื่น จะเป็นของชาติอื่นหรือคำพูดของคนอื่นก็ไม่สำคัญ แต่ว่าเป็นสิ่งที่ในที่สุดถ้าดูดีๆ เอาก้อนเมฆออกแล้วจะเห็นว่านั่งบนทฤษฎีซึ่งมีคนเชิด มีเสาที่รองรับทฤษฎีของตน และตนเองไม่ได้เป็นคนเชิด ตนเองคิดว่าเป็นคนเชิด ตนเองคิดว่าเป็นคนทำ ตนเองนึกว่าเป็นผลประโยชน์ของตัว แต่แท้จริงเป็นคนที่ถูกเชิด อันนี้แหละที่เห็นภาพขึ้นมาอย่างนี้ ก็บรรยายออกมา อาจจะเห็นตลก อาจจะเห็นประหลาดก็ได้ที่พูดอย่างนี้ แต่ก็รู้สึกว่าเห็นภาพดีเหมือนกัน เพราะฉะนั้นก็ขอฝากความคิดนี้ให้แก่ท่านทั้งหลาย ผู้ที่มีหน้าที่จะดูว่าใครเห็นแก่ตัวในทางวัตถุก็ตาม ในทางใจคืออยากได้ความพอใจในทฤษฎีของตัวก็ตาม ซึ่งอาจจะทำให้เสียหายต่อหน้าที่ของตน วันนี้ก็เลยมาพูดในหัวข้อทั้งหมดเพื่อวินิจฉัย แต่ว่าก็ไม่ได้วินิจฉัยแท้เพราะว่าเป็นการพูดทั่วๆ ไป …

อ่านต่อ »


“คนดี” ประท้วง?

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 1 June 2009 เวลา 0:37 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4096

คนดีก็คนดีน่ะซิครับ แต่อย่าเผลอลืมไปก็แล้วกันว่าคนดียังเป็นคน ยังวูบวาบได้ ยังผิดพลาดได้

ในชีวิตของเรา สมองมีเรื่องต้องคิดมากมาย ต้องจัดลำดับความสำคัญแบบซับซ้อน มีเรื่องความอยู่รอดของตนเข้ามาปน บางทีสมองก็หลอกตัวเอง จนเราแยะแยะสิ่งต่างๆ ไม่ชัดเจน บางทีเอาไปปนกันมั่ว บางทีมองอย่างผิวเผินแล้วรีบตัดสิน จำฝังใจไปเลย — อันนี้เป็นอคติ ซึ่งมักจะไม่นำไปสู่การตัดสินใจที่ดี

สัตบุรุษ หมายถึงคนสงบ คนดี คนมีศีลธรรม คนที่ประกอบด้วยสัปปุริษธรรม ท้ายที่สุดแล้ว คือความไม่เบียดเบียนกัน

การประท้วงทุกรูปแบบ กลุ่มผู้นำการประท้วงจะมี “เหตุผล” ที่ฟังดูดีเสมอ และจะใช้เหตุผลนี้สนับสนุนความชอบธรรมของการชุมนุม แต่ผมไม่คิดว่าการชุมนุมประท้วงใดๆ ที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน จะมีความชอบธรรมหรอกนะครับ

ความคิดที่ว่า “ท่านคิดว่าท่านเดือดร้อน (ซึ่งจริงหรือเปล่าก็ยังไม่แน่) ท่านจึงต้องทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน (อันนี้จริงแน่)” เป็นความคิดของคนพาล — คนมีชื่อเสียง มีตำแหน่งหน้าที่ มีหน้ามีตาในสังคม ก็เป็นคนพาลได้ ซึ่งคนพาลที่เห็นชัด คือทำเพื่อประโยชน์ส่วนตนก่อนเสมอ

อ่านต่อ »


เลี้ยงลูก

อ่าน: 3510

พระบรมราโชวาทเรียบเรียงขึ้นตามที่ได้บันทึกพระสุรเสียงไว้
เมื่อพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายบุญยง ว่องวานิช
นายกยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารการชุดใหม่ของยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ฯ
พ.ศ.๒๕๑๕-๒๕๑๖ รวม ๓๓ คน เฝ้า ฯ ทูลเกล้า ฯ ถวายเงิน
โดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย

และรับพระราชทานพระบรมราโชวาท ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
วันจันทร์ ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๑๕

ปัญหาความประพฤติปฏิบัติของเยาวชนก็เป็นที่น่าวิตกขึ้นมาเป็นลำดับ ทำให้น่าห่วงใยยิ่งขึ้นทุกปี แล้วก็ควรที่จะแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยุวพุทธิกสมาคมก็มีหน้าที่โดยตรงตามที่ได้ตั้งเอาไว้ แม้สมาคมจะมิได้เป็นหน่วยราชการหรือเป็นส่วนที่ได้รับมอบหมายให้มาทำงานในด้านนี้ แต่โดยที่รวมตัวเข้ามาเป็นสมาคมและตั้งตัวขึ้นมาเป็นยุวพุทธิก ยุวพุทธิกก็มีหน้าที่ที่จะส่งเสริมพุทธศาสนาและเยาวชน ฉะนั้นปัญหาเยาวชนที่วุ่นวายก็อยู่ในข่ายของการศึกษาและเกิดเป็นหน้าที่ขึ้นมา เพราะว่าตัวได้ตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่นั้น

อ่านต่อ »



Main: 0.098011016845703 sec
Sidebar: 0.36547303199768 sec