ฝายใต้ดิน

อ่าน: 5678

ช่างพิลึกพิลั่นเสียจริง เมืองไทยฝนตกเยอะ (เฉลี่ย 1800 มม.; ปีนี้คงมากกว่านั้น) แต่น้ำไม่พอ ที่น้ำไม่พอเพราะไม่รู้จักเก็บกักไว้ใช้มากกว่าครับ

มีปัญหาซ้ำสองคือที่ดินราคาแพง นายทุนมากว้านซื้อไปหมด เอาไปขายต่อ ทำรีสอร์ต เอาไปปลูกพืชเชิงเดี่ยวขายโรงงาน ส่วนคนใจแข็งที่ไม่ขายที่ ถ้าจะขุดสระน้ำพึ่งตนเอง เวลาแดดร้อนน้ำแห้งไปหมด จะกันพื้นที่ไปทำแก้มลิง ที่ดินก็แพงจับใจ

ยิ่งเป็นดินทรายเก็บน้ำไม่ได้แบบสวนป่า ยิ่งไปกันใหญ่… แต่อาจจะยังพอมีทางออกครับ เพียงแต่ใช้ไม่ได้ทุกพื้นที่ กล่าวคือแทนที่จะเก็บน้ำไว้ที่ผิวดิน เราเอาน้ำลงไปเก็บใต้ดินตื้นๆ ได้ จะเหมาะกับพื้นที่ที่มีชั้นของดินดานหรือหินอยู่ไม่ลึกนัก และห้ามทำในพื้นที่ที่ที่มีความลาดเอียงสูงหรือมีหินปูน

หลักการก็คือใช้ที่ดินนั้นเป็นพื้นที่รับน้ำฝน เราจะพยายามทำให้น้ำฝนที่ตกลงบนที่ดินนั้น ซึมลงใต้ดินให้มากที่สุด โดยชักน้ำฝนที่ตกลงบนพื้นที่มาหาบ่อซึม ซึ่งเป็นหลุมเล็กๆ อาจจะมีปริมาตรคิวหรือครึ่งคิวก็น่าจะพอ จากหลุมนี้ ต่อท่อใต้ดินออกไปเพื่อกระจายน้ำให้ซึมไปกับดิน (ถ้ายุ่งยากก็ไม่ต้องต่อท่อ แต่ว่าน้ำจะซึมออกได้ช้ากว่า)

ถ้าชั้นดินดานอยู่ลึก 4 เมตร แล้วมีที่นาสักหนึ่งไร่ เอารถแบคโฮขนาดเล็ก ขุดร่องลึกรอบๆ ที่นา เอาดินเหนียวถมร่อง หรือใช้โดโลไมต์ (ที่ใช้ปรับสภาพดินให้ปั้นเป็นก้อนได้อย่างตอนที่ปั้น EM Ball) ดาดผิวของร่อง หรือถ้าจะเอาสะดวก ก็ใช้แผ่นพลาสติกบางสองทบบุผนังของร่องแล้วกลบ (ที่ 1 ไร่ ใช้พลาสติก 640 ตารางเมตรxสองชั้น)… แนวคิดตรงนี้ คือสร้างแรงต้านทานไม่ให้น้ำที่ซึมอยู่ในดิน ไหลออกไปทางด้านข้าง

มันจะรั่วออกไปบ้าง ก็ไม่เป็นไรครับ เมื่อน้ำใต้ดินไหลไม่สะดวกเนื่องจากมีแรงต้านทาน จะทำให้ดินในที่ของเรามีระดับน้ำใต้ดิน (water table) สูงกว่าในที่รอบข้าง เหมือนกับมีบ่อน้ำบาดาลที่อยู่ตื้นกว่าปกติมาก คราวนี้เจาะบ่อบาดาล ก็จะเจอน้ำอยู่ตื้นๆ จะตัก จะสูบ ก็ไม่กินแรงมาก แถมมีชั้นดินป้องกันการระเหยอีก… ถ้าได้อย่างนี้ อาจจะรอดจากภัยแล้งได้

ที่มาคิดเรื่องนี้ เกิดจากรูปถ่ายของการปลูกป่าบนยอดภู เขาสะเดาที่สีคิ้วครับ

บ่อน้ำนี้ วันก่อนปลูกป่า น้ำเต็มบ่อ ผ่านไปคืนเดียว น้ำหายไปเมตรหนึ่ง เหลืออย่างในรูปข้างบนแล้ว สังเกตดูที่ผนังของบ่อ ด้านบนแห้งแล้ว แสดงว่าดินเก็บน้ำไม่ได้เลย น่าจะต้องทำอะไรสักอย่าง

« « Prev : สถานการณ์ SHTF

Next : น้ำท่วมกลับไม่มีน้ำดื่ม (3) » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

10 ความคิดเห็น

  • #1 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 26 July 2011 เวลา 2:11

    ไม่แปลก ครับ นักวิชาการเกษตรไทยเรา วันนี้ จบดอกเธอ มาจากนอก ต่างหิ้วถุงกอล์ฟเดินตามนักการเมืองหมด เช่น ปลอดโลงศพ เสียแรงส่งเสียมันไปเรียนเกษตร

    ฝนโคราชตก 900 มม. ต่อปี ดันทะลึ้งไปเสียค่าเดินทาง เบี้ยเลี้ยง ที่พัก จ้างให้นักวิชาการเกษตรยิวมาสอนทำเกษตร พอยิวมันได้ยิน 900 มันหัวร่อก้ากว่า ขนาดนี้จะแล้งไปได้ไง เพราะประเทศไอ 350 มม. เท่านั้น ยังทำเกษตรส่งออกนอก เป็นรายได้หลักของประเทศได้เลย

    พอผมเสนอบอกว่าทำนาได้ไร่ละ 3 แสน ก็มีคนว่าบ้า โง่ มากหลาย ส่วนยิวมัน 350 มันส่งออกสินต้าเกษตรเฉย ได้เราก็กราบยิวกันไป แต่ไม่เคยคิดทำอะไรเลย นอกจากถือถุงกอล์ฟเดินตามนักการเมือง

    ฝนเดนมาร์กตก 600 น้อยกว่าไทย 3 เท่า แถมประชากรหนาแน่นกว่าไทยสองเท่า ทำไมผลิตผลเกษตรเกินพอกินไปสามเท่า ที่เหลือแปรรูป ส่งขายออกตปท. จนกลายเป็นประเทศรวยที่สุดในโลก (และมีความสุขที่สุดในโลกด้วย)

    โอย..นิ้วมันบอกเตือนว่าเบื่อแล้วนะ เพราะพิมพ์เรื่องนี้มาไม่ต่ำกว่าร้อยครั้งแล้ว

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 26 July 2011 เวลา 4:18
    อย่าไปเสียเวลากับเรื่องที่ควรเกิดขึ้นแต่ไม่เกิดเลยครับพี่ เรื่องในอดีตผ่านไปแล้ว ถึงแม้ไม่ควรจะลืมง่ายๆ แต่บ่นไปก็เปลี่ยนแปลงอดีตไม่ได้อยู่ดี สู้เอากำลังไปทำในสิ่งที่สมควรทำดีกว่าไหมครับ… เผื่อเมืองไทยจะเป็นมหาอำนาจกับเขาบ้าง
  • #3 born2011 ให้ความคิดเห็นเมื่อ 26 July 2011 เวลา 9:21

    ประมาณ ยี่สิบปีที่ผ่านมา เคยคุยเรื่องนี้กัับกำนันที่สกลนคร เรื่องดินไม่อุ้มน้ำ กำนันใช้วิธีปลูกถั่วที่พื้นบ่อในหน้าแล้ง พอเข้าหน้าฝนนำปุ๋ยคอก ขี้วัว ขี้ไก่หว่าน่ให้ทั้วพื้นบ่อ นำควายลงย่ำให้อินเป็นเลน สามปีผ่านไปบ่อนั้นสามารถเก็บน้ำได้ตลอดปี (ไม่ได้ถอนถั่วทิ้งนะคะกำนันบอกว่าทิ้งไว้อย่างนั้นให้เป็นอาหารปลา)

  • #4 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 26 July 2011 เวลา 9:35
    หลักการเดียวกัน คือเปลี่ยนสภาพดินที่เป็นผนังสระครับ — คล้ายแต่ไม่เหมือน เพราะในบันทึกนี้ไม่มีสระน้ำให้เห็น แต่เป็นลักษณะของบ่อน้ำบาดาลเสียมากกว่า คือต่างกันที่การขุดสระโดยเปิดหน้าดินขึ้นมา ก็อาจจะปรับปรุงก้นสระได้ง่าย รับน้ำฝนได้ง่าย แต่น้ำก็ระเหยไปได้ง่ายเช่นกันครับ
  • #5 born2011 ให้ความคิดเห็นเมื่อ 26 July 2011 เวลา 11:07

    กลับไปอ่านทบทวนอีกครั้ง พอจะเข้าใจว่าบันทึกนี้ต้องการสื่อให้เห็นอะไรแล้วค่ะ

  • #6 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 26 July 2011 เวลา 19:50

    ฝายใต้ดิน ผมได้ยินมานานครับ เพราะคลุกคลีกับอาจารย์ มข.ที่ท่านทำเรื่องนี้ แต่ไม่ได้ตามรายละเอียด

    อาจารย์ withwit ผมคิดว่าวิชาการในบ้านเรามากเพียงพอที่จะยกระดับด้านต่างๆ รวมทั้งด้านการเกษตร เหลือเพียงว่า ทำหรือไม่ทำ และมองในแง่มานุษย์วิทยา สังคมวิทยา เรามีจุดอ่อนทางรากเหง้าเรื่องนี้ เราไม่เอาวิชาการมาพัฒนาใช้ เราไม่ดัดแปลงวิชาการเอามาใช้ อีกอย่างความรู้เรามีมากแต่ไม่แพร่หลาย โดยเฉพาะชาวบ้านเข้าไม่ถึงข้อมูล แม้นักธุรกิจท้องถิ่นบางกลุ่มก็ทำธุกิจแบบเสี่ยง เช่นที่ขอนแก่นซีกตะวันตกของเมืองนั้น น้ำใต้ดินเค็ม ดินเด็ม บางจุดโผล่มาถึงผิวดิน ตรงข้ามทางตะวันออกของเมืองนั้นน้ำใต้ดินไม่เค็ม หรือเค็มน้อยกว่า ความรู้ตรงนี้อยู่ที่กองน้ำบาดาล กรมทรัพยากรธรณีเดิม เขาทำแผนที่น้ำใต้ดินออกมาทั้วประเทศหมดเงินไปเป็นร้อยล้านแล้ว แต่แล้ววันหนึ่งมรนักธุกิจไปลงทุนสร้างโรงงานฟอกฝ้ายที่ อ.บ้านฝาง ขอนแก่น ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของเมือง โดยใช้น้ำบาดาล โรงงานสร้างแล้ว ติดตั้งเครื่องมือหมดแล้ว เพิ่งจะมารู้ว่าน้ำบาดาลที่ดูดมานั้นเค็ม……. ไม่ต้องบอกว่าอะไรเกิดขึ้นต่อไป

    ขอบคุณความรู้ต่างๆที่เอามาเผยแพร่นะครับ

  • #7 Lin Hui ให้ความคิดเห็นเมื่อ 26 July 2011 เวลา 21:25

    ใครๆ ก็คิดได้ เพราะได้แค่คิด แต่คิดจะทำนี่ซิทำไมถึงยากเย็นเข็นใจจริงๆ ว่าก็ว่าเถอะที่ราบสูงโครราชอัตราการระเหยของน้ำสูงมาก ทำไมไม่เก็บน้ำค้างกันบ้างหนอ ไม่ต้องให้อาม่าบอกว่าน้ำค้างเกิดจากอะไร ก็คนส่วนใหญ่มีน้ำใช้กันเหลือเฟือ สำหรับคนที่อยู่ในเขตที่มีน้ำปรปาใช้จึงไม่ต้องคิดอะไรมาก ส่วนนักวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีทั้งหลายควร ออกจากรั้วมหาวิทยาลัยไปนอนกลางแจ้งกับชาวบ้านดูสักคืน ตัวไม่เปียกน้ำค้างให้รู้ไป อย่าไปคิดดูน้ำค้างยามเช้า(เพราะตื่นสาย) พระอาทิตย์ขึ้นน้ำค้างก็เกือบหมดแล้ว อาม่าบ่นแค่นี้ก่อน

  • #8 BM.chaiwut ให้ความคิดเห็นเมื่อ 27 July 2011 เวลา 0:09

    ไม่ได้สนใจกระทู้หัวเรื่อง เพราะไกลจากชีวิตประจำวัน แต่ก็เข้ามาในฐานะกัลยาณมิตรแนบแน่น เมื่อเห็นว่ากระทู้นี้ มี 7 ความเห็นแล้ว จึงสนใจอยากจะรู้ว่า เค้าคุยอะไรกัน อ่านแล้วก็ปกติ นั่นคือ บ่นๆ กันในฐานะคนไทยที่มีความรู้สึกร่วมกันในบางเรื่อง….

    หลายปีก่อน เกาหลีเหนือแห้งแล้ง อดอยาก คนต้องเอาเปลือกไม้มาต้มกินประทังชีวิต… จำได้ว่าตอนนั้น กำลังนั่งรถไปไหนก็ไจำไม่ได้ ก็ปรารภเรื่องนี้ เมืองไทยอุดมสมบูรณ์ มีหลายอย่างที่คนไทยไม่กิน ซึ่งถ้าอดอยาก ลำบากจริงๆ ก็อาจกินประทังชีวิตได้…

    ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า กำลังบ่นเรื่องอะไรกันแน่ (………….)

    เจริญพร

  • #9 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 27 July 2011 เวลา 17:46
  • #10 ลานซักล้าง » เจาะรูในดิน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 27 July 2011 เวลา 23:35

    [...] [ฝายใต้ดิน] [...]


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.86820793151855 sec
Sidebar: 0.55513310432434 sec