เจาะรูในดิน

อ่าน: 4182

เมื่อน้ำท่วม ผิวดินจะมีสภาพชุ่มน้ำ ทำให้น้ำซึมผ่านลงดินไปได้ยากขึ้น ดังนั้นน้ำที่ท่วมก็จะไหลไปตามความลาดเอียงไปท่วมที่อื่น หรือว่าหากพื้นที่ที่น้ำท่วมมีสภาพเป็นแอ่ง น้ำก็จะท่วมขังอยู่ในบริเวณนั้นเป็นเวลานาน เรื่องนี้มองอีกมุมหนึ่ง ก็เป็นการเสียโอกาสที่จะเติมน้ำใต้ดินหรือทำฝายใต้ดิน เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตร

น้ำที่เราใช้กันและโวยวายว่ามากเกินไปหรือไม่พอใช้นั้น หมายถึงน้ำผิวดิน ซึ่งว่ากันที่จริงแล้วเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำจืดทั้งหมด สาเหตุส่วนหนึ่งของทั้งน้ำท่วมและน้ำแล้ง ก็เป็นเพราะเราไม่รู้จักกักเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาเอาไว้ใช้นั่นเอง

เมื่อที่ดินมีราคาแพง การเก็บน้ำฝนไว้ใช้ซึ่งอยู่ในวิสัยที่พอจะทำได้ คือการฝากน้ำไว้กับแผ่นดินดังบันทึก [ฝายใต้ดิน] ซึ่งนอกจากช่วยลดระดับของน้ำท่วมขังได้บ้างแล้ว ก็ยังเป็นการเติมระดับน้ำใต้ดิน เพื่อเอาน้ำขึ้นมาใช้ในยามที่ขาดแคลนได้

แต่มีปัญหาใหญ่อยู่สองอย่าง คือ

  1. การขุดเจาะดิน ดูจะเป็นเรื่องใหญ่ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ไม่คุ้นเคยในชีวิตประจำวัน การทำในสิ่งที่ไม่รู้ ไม่คุ้นเคย ก็ก่อให้เกิดความกลัวอยู่ร่ำไป จะมี “เหตุผล” แปลกๆ ที่จะมาหว่านล้อมตัวเองว่า อย่าเลย ไม่ควร ไม่ได้ผลหรอก
  2. ในเมื่อกลัวจนไม่อยากทำแล้ว ก็ใช้วิธีโบ้ยคือไปจ้างคนอื่นมาทำ เลยมีปัญหาที่สอง คือค่าใช้จ่ายครับ ธรรมดาก็ใช้ชีวิตยากลำบากอยู่แล้ว ถ้าจะต้องมาจ่ายเงินสำหรับสิ่งที่ตัวเองไม่ชัวร์แล้ว ยิ่ง go so big ไปกันใหญ่

ทั้งสองเรื่องนี้ ทำให้ผมนึกถึงบันทึก [บาดาลลอยฟ้า] ที่สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA คุณมีชัย วีระไวทยะ) เคยทำเมื่อสามสิบกว่าปีก่อน ตอนที่ลงทุนทำแบบหล่อซีเมนต์ ออกค่าปูน+ทรายให้ก่อน ส่วนชาวบ้านลงแรง ร่วมกันสร้างถังเก็บน้ำ ตั้งราคาไว้หกพันบาท (ไม่มีกำไรหรอกครับ) แล้วให้ชาวบ้านผ่อนเดือนละห้าร้อยบาทเป็นเวลาหนึ่งปี ที่ต้องให้ผ่อนเพื่อให้รู้ว่าสิ่งนี้เป็นของมีค่า ต้องรักษา

ปีการศึกษาที่แล้ว นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย Brigham Young ในโครงการ “Capstone” ได้รับการร้องขอจากชาวแทนซาเนีย ให้ประดิษฐ์เครื่องเจาะบ่อบาดาล ซึ่งเจาะได้ลึก 250 ฟุต (80 เมตร) และให้มีราคาถูกๆ :D

คลิปข้างล่างทั้งสองอันนี้คล้ายกัน อันแรกเป็นเรื่องทางวิศวกรรมอย่างง่ายๆ ส่วนคลิปล่างเป็นมุมมองทางสังคมครับ

การเจาะบ่อบาดาลอย่างง่าย เป็นไปตามหลักการในบันทึก [ขุดบ่อบาดาลแบบชาวบ้าน] เอาท่อพีวีซีหรือหัวเหล็ก ปลายหนึ่งทำเป็นปากฉลาม เอาปากฉลามทิ่มลงดิน แล้วก็หมุนท่อไป ตรงกลางท่อเอาน้ำอัดลงไป น้ำจะแทรกออกตรงปากฉลาม นำเอาเศษดินในหลุมขึ้นมาข้างบน… ง่ายๆ อย่างนั้น

เครื่องขุดเจาะหลุมของ Brigham Young ประกอบไปด้วยกว้าน (สีน้ำเงิน) และล้อหมุน (สีเหลือง) ท่อถูกกดลงไปด้วยน้ำหนักของตัวท่อเองและของล้อ เมื่อปลายบนของท่อจมลงไปถึงระดับพื้นดิน ก็ใช้กว้านดึงล้อขึ้นมา ต่อท่อธรรมดาลงไปอีกชั้นหนึ่ง แล้วก็หมุนๆๆๆๆ ไปเรื่อยๆ ปากฉลามก็จะลึกลงไปเรื่อยๆ

แต่ถ้าเราเจาะรูในดินเพื่อเอาน้ำผิวดินไปฝากไว้ใต้ดิน เราหวังว่าจะเจาะไปเจอชั้นทราย ซึ่งสังเกตได้ง่ายว่าน้ำที่ผุดขึ้นมาตอนเจาะมีทรายขึ้นมาเยอะ — ถ้าหยุดตรงนี้ เราจะได้รูซึ่งเชื่อมระหว่างระดับผิวดินกับชั้นทรายใต้ดิน เมื่อเอาน้ำใส่ลงไปในรู ชั้นทรายใต้ดินก็จะกระจายน้ำออก เป็นการดูดซับน้ำส่วนเกินอย่างรวดเร็ว ทำให้บรรเทาอุทกภัยไปได้ส่วนหนึ่ง

ปั๊มน้ำสักห้าพัน กว้านและล้อสักสามสี่หมื่น (น่าจะระดมทุนสร้างต้นแบบได้ไม่ยาก) การออกแบบกว้าน ก็ทำให้ถอดและประกอบได้ง่ายๆ ต้นทุนของแต่ละหลุม ก็มีเพียงค่าท่อ และค่าแรง(อย่างสนุก)เท่านั้นครับ… เจาะเสร็จก็ย้ายไปเจาะที่อื่น จึงหมุนเวียนกว้านเครื่องเจาะไปได้เรื่อยๆ

ถ้าเจอชั้นทรายจริง สงสัยว่าชั้นของน้ำบาดาลจะอยู่ลึกกว่านั้นอีก

« « Prev : น้ำท่วมกลับไม่มีน้ำดื่ม (3)

Next : ถึงบอกให้ก็ไม่รู้หรอก… » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 July 2011 เวลา 22:23

    ได้ยินเสียงบรรยายว่า 15,000 ดอลต่อบ่อ อึ๋ยย ทำไมแพงปานนั้น (สงสัยค่าแรง) แล้วพวกแทนซาเนียจนๆ จะเอาเงินที่ไหนมาจ่าย เจาะบาดาลเมืองไทย ลึก 100 เมตร ประมาณ 5000 ดอลเท่านั้นเองครับ มีรับจ้างทั่วไป

    เครื่องมือหมุนดูดี แต่ผมว่ามันเว่อไปนะ เพราะทุกวันนี้เครื่องยนต์มันมีมากมาย ทำแบบนี้ผมว่าแพงกว่าใช้เครื่องยนต์ 10 เท่านะ ค่าจ้างคนชม.ละเท่าไร ใช้กี่คน เช่าเครื่องยนต์ บวกน้ำมัน ถูกกว่า 10 เท่า เพราะมันเป็นการทำแบบต่อเนื่องยาวนาน ถ้าตำข้าวสารกรอกหม้อ แบบนี้ ใช้แรงคนดีกว่า มันต้องแยกเป็นเรื่องๆนะผมว่า ใช่ว่าใช้แรงคนแล้วจะดีก่วาเครื่องจักรเสมอไป

    ปริมาณน้ำในแม่น้ำแค่ 2% นั้นผมเดาว่าเป็นปริมาณแบบชั่วขณะเวลา (instantaneous) ไม่ใช่ตลอดปี

    ปัญหาคือ น้ำในแม่น้ำ 99.9 % เราปล่อยให้ไหลออกสู่ทะเลหมด

    ผมเคยเขียนไว้มากหลายว่า ถ้าเรากักได้สัก 10% จะแก้ปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วมได้หมด โดยการสำรวจภูมิประเทศ หาแอ่งน้ำธรรมชาติ ที่มันเป็นแอ่งแต่แห้งหายไม่มีน้ำขัง (เหตุผลก็ดังที่ท่านโลโกส์ว่ามา) จากนั้นขุดคลองจากลำธารหลักไปสู่แอ่งเหล่านั้น ซึ่งมีหลายหมื่นแอ่ง

    ทำไป ใช้เวลาสัก 20 ปี โดยมีกฎหมายรับรองงบประมาณผูกพันระยะยาว จะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ได้กำไรเป็นล้านๆ เท่า ทั้งคน สัตว์ ป่า น้ำ มาตามกันหมด

    เมืองไทยมีดีทุกอย่าง ยกเว้นคนโกงเป็นใหญ่ ทำให้ไม่รู้จักคิด

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 31 July 2011 เวลา 5:34
    อาจจะไม่ใช่ไม่รู้จักคิดก็ได้นะครับ

    คือความคิดลึกล้ำ(หรือเพ้อเจ้อ)ได้แค่ไหน ก็อยู่ที่ว่ามีอะไรที่เรียกมาใช้ได้บ้าง ถ้ารอบๆ มีวัตถุดิบหรือคำแนะนำอยู่”แค่นั้น” ความคิดก็พัฒนาไปไม่ได้ไกลนัก เหมือนกระโดดอยู่บนพื้นอาจจะได้สูงครึ่งเมตร แต่ถ้าคนเดียวกันไปกระโดดอยู่บนยอดตึก (ต่อยอด) อาจจะสูงได้เป็นสิบเมตร

    แต่มีปัญหาซ้ำสองอีก คือทำไมไม่รู้จักฟังข้อเสนอที่ดี? ผมว่ามีข้อจำกัดหลายอย่างครับ เช่น

    1. เรื่องดีๆ เค้าไม่สนใจ ไม่เข้าใจ ไม่อ่าน ไม่ฟัง จึงไม่รู้ว่ามีอะไรดี(กว่า)
    2. เค้าไม่รู้จักคนเสนอจึงไม่ไว้ใจ ส่วนคนที่เค้าไว้ใจก็ได้อย่างที่เห็น
    3. เรียนรู้ไม่เป็น ต้องการแค่”เสียง” ปฏิเสธเรื่องลึกซึ้งว่าเสียเวลา

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.27110695838928 sec
Sidebar: 0.26669192314148 sec