นิสิต SAR จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 58

อ่าน: 2940

นิสิตในสำนักงานคณะกรรมการศึกษาวิจัยทรัพยากรการเกษตร (SAR ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจาก OCARE) เป็นรุ่นที่สามที่มาส่วนป่า แต่เป็นรุ่นที่สี่ของคณะ (รหัส 56) ซึ่งประกอบไปด้วยนิสิต 48 คน อาจารย์ 4 ท่าน รวมท่านคณบดีด้วย และเจ้าหน้าที่อีก 1 ท่าน เป็นบัณฑิตรุ่น 1 ของ OCARE ซึ่งมาเยือนสวนป่าระหว่างวันที่ 5-7 มิย 58

วันแรก คณะเดินทางมาจากสระบุรี มาถึงแล้วพักรัปทานอาหาร ก่อนฟังครูบาคุยสักครู่ แล้วเริ่มเรียนกับผมเลยครับ คุยกันเรื่องการเรียนรู้ที่สวนป่า ซึ่งชวนสังเกตรื่องเกี่ยวกับชีวิต ไม่จัดเป็นวิชา ไม่มีหลักสูตร ต้องสังเกตและจับประเด็นเอาเอง เห็นไม่เหมือนกัน ได้ไม่เท่ากัน ก็ไม่เป็นไร แล้วเราก็คุยกันเรื่องความมั่นคงสามแนวทาง อาหาร น้ำ พลังงาน ทำไมจึงสำคัญแบบคอขาดบาดตาย คุยกันเรื่องไบโอชาร์ในฐานะของเครื่องมือปรับปรุงดิน กับเรื่องโซลาร์เซล อย่างละนิดหน่อย แล้วคุยเรื่องการเริ่มต้นออกไปอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ไม่มีน้ำ ไม่มีไฟ ทำอย่างไรจึงจะเริ่มต้นได้ แล้วปล่อยกลับไปเก็บของเข้าที่พัก แล้วกินข้าวเย็นกัน… มีถอดบทเรียนกันเองทุกคืนหลังอาหารเย็นครับ

อ่านต่อ »


คณาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

อ่าน: 4715

คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามพาอาจารย์ในคณะเกือบ 50 ท่าน มาเยี่ยมและพูดคุยกับครูบา

ผมกะจะไปถ่ายรูปเพื่อนำมาลงในหน้ารวมกิจกรรมของสวนป่า ยืนตั้งห่างจากวงตั้งไกลแล้วซูมเอาเพื่อที่จะได้ไม่รบกวนวงสนทนา แต่ถ่ายไปได้เพียงสี่รูปเท่านั้น ครูบาโยนไมค์มา ไม่ได้บอกไว้ก่อน จะให้พูดกับอาจารย์ครึ่งชั่วโมง หลบไม่ทัน แต่พูดก็พูดครับ ไม่มีปัญหาอยู่แล้ว

อ่านต่อ »


กฐินวัดป่ากิตติพรพุทธาราม นครพนม

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 31 August 2013 เวลา 14:20 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 10362

ขอจดเอาไว้กันลืม

เป็นกฐินสามัคคี ที่วัดป่ากิตติพรพุทธาราม นครพนมครับ น้องจูบอกบุญมา ขอบคุณหลายๆ ธรรมดาเมื่อเป็นประธานงานกฐิน (ผ่านไปแล้ว 4 งาน + กฐินพระราชทานอีกหนึ่ง) ก็จะไปทอดเองนะครับ เลือกวัดปฏิบัติที่มีแนวโน้มจะไม่มีผู้รับเป็นเจ้าภาพ อยู่ไกลๆ กันทั้งนั้น

แต่ในปีนี้ไม่ค่อยพร้อม ทั้งเรื่องบ้านที่สวนป่าซึ่งกำลังสร้างเฟส 2 อยู่ และด้วยสภาพความพร้อมของร่างกาย คิดว่าคงจะไม่ได้ไปร่วมงานแน่เลย แต่ขออนุโมทนาทางนี้ก็แล้วกันครับ

อ่านต่อ »


บุคคลหว่านพืชเช่นใดย่อมได้ผลเช่นนั้น คนทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วก็ย่อมได้ชั่ว

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 15 June 2013 เวลา 11:41 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4757

จะดูแต่ผลโดยไม่เข้าใจเหตุนั้น ไม่ได้หรอกครับ จะแก้ผลโดยไม่แก้ที่เหตุนั้น แก้ไม่ตรงจุดเช่นกัน ถ้าสาเหตุยังอยู่ ผลก็ยังเกิดเช่นเดิม

สมุททกสูตรที่ ๑๐

[๘๙๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ

[๙๐๐] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมมากรูปด้วยกัน อาศัยอยู่ในกุฎีที่มุงบัง ด้วยใบไม้แทบฝั่งสมุทร ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้นแล สงครามระหว่างพวกเทวดากับอสูรได้ประชิดกันแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พวกฤาษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านั้นพากันคิดเห็นว่า พวกเทวดาตั้งอยู่ในธรรม พวกอสูรไม่ตั้งอยู่ในธรรม ภัยนั้นพึงเกิดแก่พวกเราเพราะอสูรโดยแท้ อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรเข้าไปหาท้าวสมพรจอมอสูรแล้วขออภัยทานเถิด ฯ

[๙๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านั้น ได้อันตรธานไปในบรรณกุฎีแทบฝั่งสมุทร ไปปรากฏอยู่ตรงหน้าท้าวสมพรจอมอสูร เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น พวกฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านั้น ได้กล่าวกะท้าวสมพรจอมอสูร ด้วยคาถาว่า ฯ

พวกฤาษีมาขออภัยกะท่านท้าวสมพร การให้ภัยหรือให้อภัย ท่านกระทำได้โดยแท้ ฯ

[๙๐๒] ท้าวสมพรจอมอสูรได้กล่าวตอบว่า

การอภัยไม่มีแก่พวกฤาษี ผู้ชั่วช้าคบหาท้าวสักกะ เราให้เฉพาะแต่ภัยเท่านั้นแก่พวกท่านผู้ขออภัย ฯ

อ่านต่อ »


แนวทางการพัฒนาประเทศตามพระบรมราโชวาท

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 31 March 2013 เวลา 20:32 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3754

พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วันพฤหัสบดี ที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗

ข้าพเจ้าและพระราชินีมีความยินดี ที่ได้มาร่วมในพิธีมอบปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อีกวาระหนึ่ง และได้ทราบรายงานว่ากิจการของมหาวิทยาลัยดำเนินมาด้วยดี มีผู้สำเร็จการศึกษาเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ

วิชาการที่จัดสอนในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวโดยส่วนรวมทั้งหมด เป็นวิชาการสำหรับพัฒนาส่งเสริมการประกอบอาชีพความเป็นอยู่ และเศรษฐกิจทั่วไปโดยตรง บัณฑิตของมหาวิทยาลัยนี้ จึงเป็นความหวังของประเทศและของประชาชนทุกคน ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์ความมั่นคงและเศรษฐกิจของชาติ ท่านทั้งหลายจึงควรจะได้ทราบตระหนักถึงข้อนี้ และควรที่จะสำนึกเป็นหน้าที่ที่จะทำตนทำงานให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมโดยสมบูรณ์

การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องตนก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่างๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด ดังเห็นได้ที่อารยประเทศหลายประเทศกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่าง รุนแรงอยู่ในเวลานี้

อ่านต่อ »


อะไรเป็นแก่นสารในพระพุทธศาสนา

อ่าน: 4509

จูฬสาโรปมสูตร ๑๒/๓๗๔

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

๑. อะไรเป็นแก่นสารในพระพุทธศาสนา

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ใกล้กรุงสาวัตถี มีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อ ปิงคลโกจฉะ เข้าไปเฝ้า เมื่อได้กล่าวทักทายปราศรัยพอสมควรแล้ว พราหมณ์นั้น จึงกราบทูลว่า

“พระโคดมผู้เจริญ สมณพราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะเป็นคณาจารย์ มีคนรู้จักมาก มีเกียรติยศเป็นเจ้าลัทธิ อันชนหมู่มากเข้าใจกันว่าเป็นคนดี เช่น ปูรณะ กัสสป, มักขละ โคสาล, อชิตะ เกสกัมพล, ปกุธะ กัจจายนะ, สัญชัย เวลัฏฐบุตร, และ นิครนถนาฏบุตร สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั้น รู้แจ้งเห็นจริงตามปฏิญญาของตน หรือว่าไม่รู้แจ้งเห็นจริงเลย หรือบางพวกรู้ บางพวกไม่รู้”

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่าเลย พราหมณ์ ข้อที่สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั้น รู้แจ้งเห็นจริงตามปฏิญญาของตน หรือไม่รู้แจ้งเห็นจริงเลยเป็นต้นนั้น ขอจงยกไว้ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงตั้งใจฟังให้ดีเถิด”

อ่านต่อ »


อุดมศึกษาจากหนังสือธรรมาภิธาน

อ่าน: 5219

จากหนังสือ ธรรมาภิธาน พจนานุกรมคำสอนพระพุทธศาสนา พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก

อุดมศึกษา

การศึกษาทุกอย่างเพื่อให้ขึ้นถึงขั้นสูงสุด  คือ ปัญญา  ปัญญาสิกขาได้แก่ศึกษาปัญญาจึงเป็น   อุดมศึกษา ของคน ข้อที่ควรทราบก่อนคือ ปัญญาได้แก่อะไร? ศึกษาปัญญานั้นศึกษาอย่างไร?

ปัญญา คือความรู้ทั่วถึงความจริงของ สิ่งที่ควรรู้ทั้งหลาย คำว่า ปัญญา ซึ่งเป็น ภาษามคธ กับคำว่า ปรัชญา ซึ่งเป็นภาษา สันสกฤตเป็นคำเดียวกัน พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ว่า “แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี” เพราะไม่มีแสงอะไรที่จะส่องให้เห็น ความจริงทั้งหลายได้เหมือนอย่างแสง ปัญญา เพียงแต่จะคิดเลขสักข้อหนึ่งจะใช้ แสงอะไรส่องให้เห็นได้นอกจากใช้ปัญญา คิด  ศึกษาปัญญา อันหมายถึงศึกษาเพื่อให้เกิดปัญญานั้น คือ ศึกษาด้วยการเรียน ๑ การคิด ๑ การทำ ๑

การเรียนดังที่เรียกว่า  โสตศึกษา ศึกษาด้วยการฟังทางหู ดังที่ฟังครูอธิบาย หรือฟังเทศน์นี้ ทัศนศึกษา ศึกษาด้วยการ ดูทางตา เช่นดูหรือเที่ยวดูสิ่งต่างๆ  โดย มากศึกษาด้วยทางทั้งสองนี้ แต่ก็อาจศึกษา ได้ทางอื่นอีก คือ  ฆายนศึกษา ศึกษาด้วย การสูดกลิ่นทางจมูก   สายนศึกษา ศึกษา ด้วยการลิ้มรสทางลิ้น   ผุสนศึกษา ศึกษา ด้วยการถูกต้องทางกาย รวมความว่า ศึกษาด้วยอาศัยประสาททั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่การเรียนอาศัยทางหู ทางตามากกว่าทางอื่น เพราะบุคคลมี ภาษาสำหรับพูดถ่ายทอดความรู้ให้แก่กัน มีตัวหนังสือสำหรับเขียนอ่านแทนภาษา จึงอาจฟังหรืออ่านให้เกิดความรู้ขึ้นได้ ปัญญาที่เกิดจากความรู้ดังกล่าวเรียก สุตมยปัญญา แปลว่า  ปัญญาที่เกิดจาก การฟัง คือ ยกโสตศึกษาขึ้นเป็นที่ตั้งเพราะส่วนใหญ่เรียนด้วยการฟัง ถึงจะดู หนังสือนั้นๆ ก็ใช้แทนภาษาที่พูดกันนั้น เอง จึงอาจนับเข้าในโสตศึกษาได้

อ่านต่อ »


ปฏิบัติธรรม

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 30 April 2012 เวลา 23:42 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3545

พระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่คณะผู้แทนพุทธสมาคมทั่วประเทศ
ที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย
วันเสาร์ ที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๒๓

ในโอกาสที่ผู้ที่เป็นผู้สนใจในพระพุทธศาสนา เป็นสมาชิกของพุทธสมาคมและสมาคมเครือทางพุทธศาสนา และผู้ที่สนใจอื่นๆ ได้มาประชุมกัน เพื่อปรึกษาหารือในปัญหาของพุทธศาสนาในทุกด้าน ได้มาให้พรในโอกาสคล้ายวันเกิด ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ปลาบปลื้ม และทำให้มีความรู้สึกกังวลใจอยู่บ้าง ท่านนายกพุทธสมาคมได้ยกยอปอปั้นอย่างมากว่า เป็นผู้ที่ปฏิบัติทางพุทธศาสนาอย่างชำนิชำนาญ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ลำบากที่จะรับ แต่ก็ได้ขอให้ให้โอวาท

ข้อแรกเนื่องจากที่ได้กล่าวว่า ท่านทั้งหลายหวังในบารมีให้ปกเกล้าบ้านเมืองนั้นก็เป็นข้อหนึ่งที่น่าคิดเพราะว่าบ้านเมืองประกอบด้วยบุคคล และแต่ละบุคคลจะต้องทำด้วยตนเองตามหลักของพระพุทธศาสนา แต่ละคนต้องการอะไร ก็ต้องการความสุขคือความสงบ ความสุขและความสงบนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยตนเอง ฉะนั้น ที่จะให้คนอื่นมาปกป้องรักษาก็เป็นสิ่งที่ยากถ้าตัวเองไม่ทำ อันนี้เป็นข้อที่สำคัญยิ่ง ในพระพุทธศาสนาและผู้ที่ถือตัวว่าเป็นพุทธศาสนิก ต้องพึ่งตัวเองมิใช่พึ่งคนอื่น แต่การที่จะอาศัยคนอื่นก็อาศัยได้โดยดูผู้อื่นที่ปฏิบัติดีชอบ และคอยฟังสิ่งที่ผู้อื่นที่เราเห็นว่าปฏิบัติดีชอบ ได้พูดได้แนะนำดังนี้ก็เป็นสิ่งที่อาศัยผู้อื่นได้ ผู้อื่นจะช่วยเราได้ ฉะนั้น ก็จะต้องมีการพิจารณาของตัวเองว่าผู้ที่น่าที่จะดูการปฏิบัติหรือฟังข้อแนะนำในการปฏิบัติและทำตาม อันนี้ก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้บุคคลได้บรรลุถึงความสำเร็จความสุขได้ อันนี้ก็ได้ชี้แจงตามที่ได้กล่าวมาเมื่อตะกี้

มาถึงปัญหาของพระพุทธศาสนา เป็นสิ่งที่ลำบากที่สุดที่จะเห็นพระพุทธศาสนาและประโยชน์ของพระพุทธศาสนา เพราะแต่ละคนก็มีกายและใจของตัว แต่ละคนก็มีความรู้หรือปฏิปทาของตัวแล้วแต่ภูมิแต่ชั้น การที่จะปฏิบัติตามพระพุทธศาสนานั้น ย่อมจะเป็นแล้วแต่บุคคล แล้วแต่สภาพของตัว จะเรียกว่าสภาวะหรือสภาพหรือฐานะของตัวฐานะนี้ไม่ได้หมายถึงฐานะทางการเงินการทองหรือความเป็นอยู่ แต่เป็นฐานะของจิตของแต่ละคน ฉะนั้น พุทธศาสนาถ้าว่าไปเป็นสิ่งที่ลุ่มลึก ที่ลำบากที่จะสั่งสอนหรือที่จะเรียนเพราะว่าแต่ละคนจะต้องทำตามฐานะของตัว หรือจะว่าได้ว่าพุทธศาสนามีหลายชนิด แต่ละคนก็มีพุทธศาสนาของตัว ฉะนั้น การที่จะสั่งสอน การที่จะชี้แจง การที่จะฟัง การที่จะเรียนพุทธศาสนานั้น จะต้องพยายามที่จะทำด้วยตนเอง

อ่านต่อ »


เที่ยววัดบวรนิเวศวิหาร

อ่าน: 3360

วันนี้เม้าธ์เรื่องสัพเพเหระกับกัลยาณมิตรระยะไกล แล้วไหงผลุบมาเรื่องวัดบวรได้ก็ไม่รู้ อนุโมทนาสาธุเรียบร้อยเลยนะครับ

คือว่าวัดบวรนิเวศวิหารจัดงานสมโภช 175 ปี ระหว่างวันที่ 11-15 มกราคม เผอิญพรุ่งนี้จะเดินทางไปต่างจังหวัดหลายวันครับ ครั้นจะรอสมโภช 200 ปี ถ้าผมยังอยู่อายุก็จะใกล้ 80 อยู่แล้ว อาจจะเดินไม่ได้ด้วยซ้ำไป ดังนั้นจึงตัดสินใจไปเที่ยวซะเลย… ส่วนที่ว่าทำไมต้องไปในงานฉลองด้วย ก็เพราะว่าวัดเปิดเขตพุทธาวาสให้เข้าไปกราบพระสำคัญได้ทุกที่ครับ ถ้าดุ่ยๆ ไปวันธรรมดา ก็อาจจะเข้าไปกราบพระไม่ได้

วัดนี้ สถาปนาขึ้นในปีพ.ศ. 2367 โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ในรัชกาลที่ 3 อยู่ติดกับวัดรังษีสุทธาวาสพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ทรงสถาปนาขึ้นหนึ่งปีก่อนหน้า ต่อมาภายหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้รวมสองวัดเข้าด้วยกัน

ในสมัยรัชการที่ 3 ทรงอาราธนาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ​ซึ่งยังทรงผนวชอยู่ในขณะนั้น ให้มาครองวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งต่อมาธรรมยุติกนิกายก็เกิดขึ้นที่วัดนี้

วัดบวรนิเวศวิหารเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีขณะที่ทรงผนวช ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 จนรัชกาลปัจจุบัน

อ่านต่อ »


พระราชดำรัสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ปีกาญจนาภิเษก

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 4 January 2012 เวลา 0:53 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 2555

พระราชดำรัส
พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้า ฯ ถวายชัยมงคล
ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
วันศุกร์ ที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙

ขอขอบใจท่านทั้งหลายที่มาในวันนี้ เพื่อมาอวยพรวันเกิด โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวคำอวยพรนั้นในนามของทุกๆ คน ที่มาในชุมนุมนี้. การที่นายก ฯ ได้บอกว่าข้าพเจ้าได้ช่วยให้ประเทศชาติและประชาชนมีความเจริญนั้น ก็ขอยืนยันว่า ถ้าทั้งเจ้าหน้าที่ ทั้งผู้ที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ ไม่ได้ช่วยกัน ร่วมมือ ร่วมแรงกัน ทำให้กิจการต่างๆ ลุล่วงไปโดยดี ก็จะไม่สามารถที่จะทำให้ประชาชนมีความก้าวหน้าอย่างที่เป็นตามรายงานของนายก ฯ.

ข้อนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะว่าถ้าแต่ละคนทำงานคนละทาง แม้จะตั้งใจทำก็จะไม่มีผลสำเร็จ เพราะว่าเหมือนดึงกันไปคนละทิศคนละทาง มันก็อยู่กับที่ หรือบางทีก็ไม่ใช่อยู่กับที่ ก็เสื่อมลงไปได้. ฉะนั้นข้อสำคัญที่สังคมไทยยังอยู่ ก็เพราะว่าส่วนมากผู้ที่มีงานทำ ทั้งในทางด้านราชการ และเอกชน ได้พยายามทำไปในทิศทางเดียวกัน ถึงทำให้ประเทศไทยยังอยู่. ในโลกนี้ประเทศอื่นๆ กำลังปั่นป่วนมาก และคนไทยทุกคนก็คงเป็นห่วงว่าประเทศไทยจะอยู่หรือจะไป. ฉะนั้นเป็นการยืนยันว่าเมืองไทยยังพอที่จะไปได้ ก็เพราะความตั้งใจร่วมกันของทุกคนในชาติ. ข้อนี้ไม่อยากจะพูดมากเกินไปเพราะว่าแต่ละคนก็มีงาน ถ้าไปเตือนให้ร่วมมือกันอาจจะรำคาญ รำคาญแล้วไม่ทำ.

อ่านต่อ »



Main: 0.088076829910278 sec
Sidebar: 0.21296095848083 sec