กาละสักการ ที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

อ่าน: 8442

วันที่ 9 พ.ย. 2556 (9/11) โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจัดงานครบรอบ 10 ปีของโรงเรียน ครูบาและอาจารย์วรภัทร์ไปขึ้นเวทีเสวนา 

โรงเรียนนี้ เรียกตัวเองว่าโรงเรียนนอกกะลา เริ่มต้นด้วยคุณเจมส์ คลาร์คนักพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับโลกซึ่งตัดสินใจย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองไทยเป็นการถาวร รู้สึกหงุดหงิดกับการศึกษาไทยจึงบริจาคเงินหลายสิบล้านบาทเพื่อสร้างโรงเรียนที่อำเภอลำปลายมาศ บุรีรัมย์ และต่อมาก็ยังช่วยเหลือค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมๆ เงินบริจาคกันทั้งหมดแล้วกว่าร้อยล้านบาท ได้โรงเรียนที่จัดการสองตั้งแต่อนุบาล ๑ จนมัธยม ๓ ที่มีปรัชญาการศึกษาดังนี้

มูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา

ด้วยกรอบความคิดของการศึกษาที่เอาความรู้เป็นตัวตั้งและ เป็นระบบแพ้คัดออก  ทำให้มีเด็กเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่จะสามารถเรียนต่อไปในระดับสูงขึ้นได้  โอกาสแคบลง ในบางกระบวนการยังเป็นการย่ำยีคุณค่าความเป็นมนุษย์ในตัวเด็กโดยการเปรียบเทียบหรือตีค่า การใช้ความกลัวกับความอยากเป็นเครื่องล่อคนไปสู่เป้าหมายยิ่งทำให้เด็ก อ่อนแอในกระแสบริโภคนิยม วัตถุนิยม หรือค่านิยมตามอย่าง เด็กอีกส่วนหนึ่งที่ไม่เก่งด้านวิชาการจึงถูกทิ้งระหว่างทางทั้งที่พวกเธอเหล่านั้นต่างก็มีศักยภาพด้านอื่นๆที่รอการงอกงาม

มูลนิธิลำปลายมาศพัฒนาซึ่งเป็นมูลนิธิเพื่อการกุศล จึงก่อตั้งโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา  ที่มีทั้งระดับอนุบาล  ประถมศึกษา และ มัธยมศึกษา เพื่อเป็นโรงเรียนตัวอย่างในการจัดการศึกษาที่เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง อันจะเป็นที่ที่มนุษย์ได้สร้างการเรียนรู้สำหรับมนุษย์โดยไม่ละทิ้งใครแม้แต่คนเดียว ซึ่งจะมีครู พ่อแม่ และชุมชนร่วมมือกันในการเกื้อหนุนให้เด็กทุกๆคนได้มีโอกาสที่จะประสบความ สำเร็จและงอกงามได้ตามศักยภาพตามความถนัดและตามความปรารถนาของตน

เชิญร่วมบริจาคในการจัดการศึกษาเพื่อการกุศล  และ  เพื่อการขยายผลอันจะส่งผลต่อการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทยผ่านมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา wichian@lpmp.org

อ่านต่อ »


คณาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

อ่าน: 4703

คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามพาอาจารย์ในคณะเกือบ 50 ท่าน มาเยี่ยมและพูดคุยกับครูบา

ผมกะจะไปถ่ายรูปเพื่อนำมาลงในหน้ารวมกิจกรรมของสวนป่า ยืนตั้งห่างจากวงตั้งไกลแล้วซูมเอาเพื่อที่จะได้ไม่รบกวนวงสนทนา แต่ถ่ายไปได้เพียงสี่รูปเท่านั้น ครูบาโยนไมค์มา ไม่ได้บอกไว้ก่อน จะให้พูดกับอาจารย์ครึ่งชั่วโมง หลบไม่ทัน แต่พูดก็พูดครับ ไม่มีปัญหาอยู่แล้ว

อ่านต่อ »


สอนให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างไร

อ่าน: 3505

พอไม่มีเวลาจะเขียนบันทึก ผมมักงัดมุกเก่าออกมา คือไปดู TED ครับ

Diana Laufenberg เป็นครูโรงเรียนมัธยม เธอพูดเรื่องการศึกษาในหัวข้อ How to learn?

อ่านต่อ »


สุนทรพจน์วันจบการศึกษา

อ่าน: 7045

เมื่อสองวันที่ผ่านมา เพื่อนผมที่อยู่อเมริกาถามมาว่า ได้ฟังสุนทรพจน์ของ Steve Jobs ที่กล่าวแก่บัณฑิต Stanford เมื่อห้าปีก่อนหรือยัง อันนั้นผมฟังแล้วครับ ที่เขาบอกว่า Stay hungry, stay foolish ไง (อย่าหยุดนิ่ง อย่าหยุดแสวงหา) ถึงเคยดูแล้ว ย้อนกลับไปดูอีกทีก็ดีเหมือนกัน

สุนทรพจน์ต่างๆ ที่ผู้กล่าวเตรียมตัวมาเป็นอย่างดีนั้น มักจะมีแง่คิดให้ฟังเสมอ และสุนทรพจน์วันจบการศึกษา ก็มักจะเป็นสิ่งที่ไม่สอนในห้องเรียนหรอกนะครับ

ผมก็เลยค้นเน็ตต่อไปเรื่อยๆ หาว่ามีอะไรน่าสนใจอีกไหม ก็ไปพบว่า TIME จัดอันดับสุนทรพจน์วันจบการศึกษาเอาไว้ ของ Jobs เป็นที่สอง ส่วนที่หนึ่งเป็นของ David Foster Wallace ซึ่งกล่าวเอาไว้ที่ Kenyon เมื่อปี ค.ศ.2005

เอ๊ะ ผมไม่รู้จัก Wallace หรอกครับ ใครหว่า ไม่รู้จัก Kenyon ด้วย แต่ถ้า TIME จัดสุนทรพจน์ของ Wallace ซึ่งกล่าวไว้ที่ Kenyon ไว้ที่หนึ่ง เหนือสุนทรพจน์จากคนดัง+มหาวิทยาลัยดังอื่นๆ คงมีอะไรน่าสนใจเหมือนกัน

Wallace (1962-2008) เป็นนักเขียนซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเขียนดาวรุ่ง แต่ในปี 2008 เขาฆ่าตัวตาย ก่อนหน้านั้น Wallace มีอาการซึมเศร้ามายี่สิบปี และต้องพึ่งยา phenelzine มาตลอด เมื่อยาเริ่มแสดงผลข้างเคียง ช่วงกลางปี 2007 เขาก็เลิกใช้ยา แต่ว่าอาการซึมเศร้ากลับมาอย่างรุนแรง เขาหันไปรักษาด้วยวิธีอื่นแต่ไม่ได้ผล และแม้กลับไปใช้ยาเดิมอีก แต่คราวนี้ยาไม่ได้ผลแล้ว จนหนึ่งเดือนก่อนฆ่าตัวตาย เขามีอาการซึมเศร้าขั้นรุนแรง และในที่สุดก็ตัดสินใจจบชีวิตตัวเอง

อ่านต่อ »


นักการศึกษา วิพากษ์การศึกษา

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 15 October 2010 เวลา 3:33 ในหมวดหมู่ การศึกษา การเรียนการสอน #
อ่าน: 4022

เซอร์เคน โรบินสัน นักการศึกษาผู้มีชื่อเสียงของอังกฤษ ให้ภาพที่น่าคิดอันหนึ่ง ว่าการศึกษาในปัจจุบันเป็นอย่างไร

ระบบการศึกษาในปัจจุบัน ถูกออกแบบมาสองร้อยกว่าปีแล้ว ก่อนหน้านั้นไม่มีการศึกษาแบบที่เราคุ้นเคยกัน และเป็นไปเพื่อเตรียมคนสำหรับการปฏิวัติอุตสาหกรรม ระบบการศึกษาจึงเตรียมคนออกมาอย่างเป็นอุตสาหกรรม… ถ้าระบบแบบนี้เวิร์คจริง ทำไมจึงมีคนไม่ประสบความสำเร็จ/ต้องดิ้นรน/เป็นทุกข์มากกว่า

อ่านต่อ »


มุมมองของเด็ก

อ่าน: 3006

น้องสะใภ้เล่าให้ฟังเมื่อประมาณสี่โมงครึ่งวันพฤหัสที่ผ่านมาว่า “ITV มีรายการที่เชิญ ทั้งสองฝ่าย ฝ่ายละสามคนมาพูดกันในทีวี แล้วมีเด็กฟังอยู่…เด็กพูดอะไรเยอะแยะ” อยากดูครับ แต่ค้นคลิปก็ไม่เจอ ใครรู้ว่ารายการอะไร เวลาไหน ช่องไหน ช่วยสงเคราะห์หน่อยเถอะครับ

ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม ให้สัมภาษณ์ “สอนให้เด็กรู้จักคิด เหมือนเซอร์ไอแซก นิวตัน” (@thaireform via @vapee)

ความจริงเรื่องนี้ แทนที่จะส่งเสริมเด็กให้กล้าแสดงออกพวก ร้อง เล่น เต้นระบำ ครูอยากทำสิ่งที่น่าสนใจกว่าได้ง่าย คือถามไปดื้อๆ เลย ว่าวันนี้ ใครสังเกตเห็นอะไรน่าสนใจบ้าง เล่าให้ฟังหน่อย ดูอาการที่เด็กเก็บประเด็นจากมุมมองของเขา แล้วเขาสื่อออกมาอย่างไร เป็นเหตุเป็นผลหรือเป็นความเห็นที่ถูกตัดสินแล้ว เป็นภาษาที่สามารถเข้าใจได้หรือไม่ ดูผลกระทบต่อเนื่อง ถามทั้งชั้นต่อไปว่าแล้วจะทำอย่างไรดี

หลักสูตรการศึกษา ตั้งอยู่บนแนวคิดที่ว่าเด็กมาเรียนรู้ตามหลักสูตร ตามมาตรฐาน แล้วจะดี แต่ว่าเด็กเพียงมารับรู้หลักสูตร ไม่ได้เรียนรู้อะไรไป แล้วหลักสูตรปัจจุบัน ก็ผลิตเด็กเหมือนสินค้าอุตสาหกรรม หลักสูตรไม่ได้เคารพความแตกต่างของเด็ก โรงเรียนและครู จะออกนอกทางไปนักก็ไม่ได้ เพราะมีมาตรฐานการศึกษาควบคุมอยู่ ผู้ใหญ่น่าจะฟังเด็กบ้าง หมายถึงฟังจริงๆ นะครับ


ข้อสอบคัดเลือกเข้า ป.๑ ของโรงเรียนดัง

7 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 18 March 2010 เวลา 19:18 ในหมวดหมู่ การศึกษา การเรียนการสอน #
อ่าน: 4085

ถ้าคนไทยยังทะเลาะกัน เราจะร้องเพลงชาติให้ใครฟัง
1. ในหลวง
2. พ่อ-แม่
3. คนอื่น

แล้วจะรู้ไปทำไม


Pentatonic Scale รู้โดยไม่ต้องเรียน

อ่าน: 5464

ใน World Science Festival 2009 เมื่อปีที่แล้ว Bobby McFerrin แสดงให้ผู้ร่วมสัมนาทั้งหมดเห็นการสอนแบบไม่ต้องสอน ใช้ทฤษฎีดนตรีง่ายๆ เรียกว่า Pentatonic Scale (หนึ่ง octave มีโน๊ต 5 ตัว เช่นในสเกล C ประกอบไปด้วย โด เร มี ซอล ลา) ถึงจะไม่รู้ทฤษฎีดนตรี และไม่เคยได้ยินคำว่า Pentatonic Scale มาก่อน ผู้ฟังทั้งห้อง ก็ต่อได้ถูกต้อง

เรื่องนี้มีประเด็นน่าสนใจสองอย่าง คือ (1) ทำไมต้องจับความรู้ยัดเยียด เหมือนกับไม่มีความเชื่อใจผู้เรียน แค่สะกิดนิดเดียวด้วยวิธีการที่ถูกต้อง ก็อาจจะได้ผลสมบูรณ์ตามที่ตั้งใจก็ได้ (2) วิธีการนำเสนอ+ถ่ายทอด อาจจะสำคัญกว่าหลักสูตร เช่นเดียวกับประโยคที่ว่า จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ ของ Einstein ก็ได้

การเรียนรู้ ทำไมต้องเกิดในสถาบันการศึกษาเท่านั้น?


This too shall pass แล้วเรื่องนี้ก็จะผ่านไป

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 3 March 2010 เวลา 12:49 ในหมวดหมู่ การศึกษา การเรียนการสอน #
อ่าน: 3233

เป็น MV ที่ดูแล้ว นึกถึงผลกระทบต่อเนื่อง ทำให้สะท้อนใจกับหลายๆ อย่างในเมืองไทย ที่เอาแต่ใจตัว ไม่ได้ดูผลต่อเนื่องที่จะกระทบใคร หรือทำแล้วเป็นการเบียดเบียนใครนะครับ

เช่นเดียวกับชื่อเพลง แล้วเรื่องนี้ก็จะผ่านไป แต่ด้วยความเละเทะแค่ไหน ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ถ้าต่างคนต่างทำเพื่อตนเอง ไม่สนใจผลกระทบต่อใคร ก็จะเป็นเหมือนตอนท้าย MV น่ะครับ

อ่านต่อ »


บรรยาย

อ่าน: 3560

เมื่อคืนนี้ ทวิตไปว่าทั้งโลกไม่มีใครรู้เรื่องที่พูดดีเท่าเรา ความสำเร็จของการพูดไม่ใช่ทำให้คนอื่นรู้เท่าเรา แต่ให้เขาคิดพิจารณาในประเด็นที่เราชี้”

ในทวิตเตอร์ จำกัดความยาวของข้อความไว้ที่ 140 ตัวอักษร จึงเขียนได้แค่นั้น ขออธิบายเพิ่มดังนี้ครับ

โดยทั่วไปนั้น การบรรยายเป็นการสื่อสารทางเดียว มักจะถูกเข้าใจว่าเป็นการสื่อความให้ผู้ฟัง มีความรู้เหมือนกับที่ผู้บรรยายพยายามจะถ่ายทอด — ความคิดแบบนี้มีปัญหาพื้นฐานอยู่ที่ว่า หากการถ่ายทอดมีประสิทธิภาพเต็มร้อย โลกนี้ก็ไม่ก้าวหน้า เพราะไม่มีความรู้ความคิดใหม่ๆ เกิดขึ้น แต่หากถ่ายทอดได้ไม่เต็มที่ โลกกลับเดินถอยหลัง เสื่อมลงไปเรื่อยๆ ผู้ฟังรอคอยของตาย พอฟังจบ นึกว่ารู้แต่ที่จริงไม่รู้เพราะไม่เคยทำ จึงยังรอแต่คำสั่งเหมือนเดิม ปลอดภัย/แน่นอน/มีคนอื่นรับผิดชอบแทน ไม่รู้จักคิดเอง จึงไม่ทำในสิ่งที่ควรทำ [อยากให้ฟัง ดร.วรภัทร์​ ภู่เจริญ พูดถึงคำว่าลูกอีแร้ง ตอนท้ายคลิปที่ 1 กับต้นคลิปที่ 2 แต่ถ้ามีเวลา ก็ดูตั้งแต่ต้นจนจบก็แล้วกันครับ]

ความสำเร็จในการบรรยาย จึงไม่ใช่การทำให้คนอื่นรู้เท่ากับที่เรารู้-เหมือนกับการจับความรู้ในสมองเราไปยัดใส่สมองผู้ฟัง วัดผลไม่ได้ด้วยเสียงปรบมือ จำนวนผู้เข้าฟัง หรือคำยกย่อง

ความสำเร็จในการบรรยาย สำหรับผู้ฟังคือการได้ประเด็นจากการฟังการบรรยายไปคิดพิจารณาต่อ เอาไปใช้ได้ สำหรับผู้บรรยายคือการทำให้ผู้ฟังคิดและพิจารณาในประเด็นที่เราพยายามชี้ให้เห็น อธิบายด้วยเหตุ ด้วยผล ด้วยการเปรียบเทียบ ด้วยตัวอย่าง ถ้าคิดเอาเองก็พูดให้ชัดว่าเป็นความเห็น ให้เกียรติผู้ฟัง แล้วก็ไม่จำเป็นต้องสรุปให้แบบแม่อีแร้ง — แยกแยะการรับรู้กับการเรียนรู้ออกจากกัน — อย่าพอใจแค่สาระของการบรรยาย ให้ดูว่าช่วยผู้ฟังให้เข้าใจแก่นสาร+ความหมายมากขึ้นได้อย่างไรครับ อย่าทำเหมือนรายการเล่าข่าว

หากจะฟังทั้งหมด คลิกตรงนี้ครับ



Main: 0.06986403465271 sec
Sidebar: 0.056877136230469 sec