เลนส์เฟรสเนล
อ่าน: 7702เลนส์เฟรสเนล (Fresnel Lens) เป็นเลนส์นูน เหมือนแว่นขยาย ที่ตั้งชื่อตามนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Augustin-Jean Fresnel ซึ่งศึกษาถึงการหักเหของแสง
เดิมทีเลนส์เฟรสเนลออกแบบมาเพื่อใช้ส่องไฟจากประภาคาร ซึ่งในสมัยที่ยังไม่มีไฟฟ้า ต้นกำเนิดของแสงเป็นเพียงโคมตะเกียง จึงต้องนำแสงจากจุดโฟกัสของโคม ส่องออกไปเป็นระยะทางไกลหลายๆ ไมล์
หากใช้เลนส์นูนตามปกติ ก็จะเปลืองเนื้อแก้วมาก แถมเพิ่มน้ำหนักให้กับครอบแก้วที่หมุนอีก
เลนส์เฟรสเนล กระจายแสงจากจุดโฟกัสด้านหนึ่ง ให้เป็นลำแสงขนานออกไปในระยะไกลได้ และรวมแสงขนาน (เช่นแสงอาทิตย์) เข้าสู่จุดโฟกัสได้เช่นกัน แล้วแต่ว่าแหล่งกำเนิดของแสง จะอยู่ด้านไหนของเลนส์
เราอาจเห็นเลนส์เฟรสเนลในชีวิตประจำวัน เช่นผิวบนของโปรเจคเตอร์แบบปิ้งสไลด์ จอโปรเจ็คชันทีวี สัญญาณไฟจราจรที่ใช้หลอด LED
เมื่อนำมาใช้กับแสงแดด มีอานุภาพมาก จะสามารรวบรวมพลังงานแสงที่ตกกระทบหน้าเลนส์ทั้งหมด ให้รวมที่จุดโฟกัส จนสามารถจุดไฟได้อย่างง่ายดาย ร้อนจนหลอมละลายโลหะได้ จึงมีประโยชน์มากในการดึงเอาพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้
เฟรสเนลเลนส์ไม่ต้องสร้างด้วยแก้ว สามารถใช้พลาสติกใส หรือวัสดุใสที่รู้ดัชนีการหักเหของแสงแน่นอนมาสร้างได้
« « Prev : รีเซ็ตประเทศไทย (2)
Next : การรับมือสิ่งท้าทายอุบัติใหม่ » »
2 ความคิดเห็น
ถ้ามีความรู้เรื่องแสงอยู่บ้าง (ผมเรียนสมัยมัธยม) และอ่านภาษาอังกฤษ อ่านรูปตัดขวางรู้เรื่อง อยากแนะให้อ่านสิทธิบัตรของสหรัฐ หมายเลข 5,404,869 ชื่อ Faceted totally internally reflecting lens with individually curved faces on facets วันที่ 11 เมษายน 2538 (ซึ่งถ้าผมจำไม่ผิด สิทธิบัตรสหรัฐ คุ้มครองการประดิษฐ์ 15 ปี หมดอายุปีหน้า)
เชื่อว่ามีประโยชน์มหาศาลในการสร้าง solar collector ครับ
ในเมื่อสามารถรวบรวมพลังงานแสงเข้ามาเป็นจุดได้ ก็หมายความว่าจะทำให้เครื่องปรับอากาศ/เครื่องทำความเย็นแบบ absorbtion chiller ทำงานได้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมหาศาลเช่นกัน
ใช้หลักการ Refraction Reflection Transmission Absorption Diffusion ซึ่งเป็นในคุณสมบัติของ media(ตัวกลาง)เช่นเลนส์( Lens )ที่มีต่อแสงไ ม่ว่าแสงนั้นมาจากแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติเช่นแสงอาทิตย์ หรือแสงที่เกิดจากสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ( Artificial light) ที่สำคัญคือตำแหน่งของจุดกำเนิดแสง ในที่นี้เป็นแสงที่สร้างขึ้นมา(ตะเกียง) และจุดกำเนิดแสงอยู่ภายใน มีครอบแก้ว(เป็นเลนส์โค้งโดยรวม)ที่เป็นเลนส์ประกอบนับเป็นร้อยเป็นพันชิ้น ที่ผ่านการการเจียรนัยให้มีหน้าตัด ความโค้ง เว้าที่รองรับคุณสมบัติที่ต้องการ คุณสมบัติสะท้อนแสง( Reflection)มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อนในกรณีพื้นผิวเรีบยแบบกระจก)ตกกระทบหน้าเลนส์ถัดไปทีุูถูกบังคับด้วยคุณสมบัติการหักเหของแสง(Refraction)เป็นลำแสงขนาน ทำให้ลำแสงทั้งหมดเป็นลำแสงขนานกันที่พุ่งไปในทิศทางเดียงกัน ทำให้พุ่งไปไกลค่ะ เป็นหลักการคล่าวๆ ทีพอจะช่วยเพิ่มเติมความเข้าใจง่ายๆ ค่ะ จริงๆ แล้วเรียนมาตอนอยู่มัธยมเช่นกัน แต่มาหนักเอาตอนเรียน Remote Sensing