การรับมือสิ่งท้าทายอุบัติใหม่
เมื่อต้นปี 2551 หรือปลายปี 2550 สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้จัดการสัมนาระดมความคิดเห็นหลายรอบ เพื่อพยายามกำหนดขอบเขตของ “สิ่งท้าทายอุบัติใหม่” (emerging challenges) เตรียมความพร้อมให้กับประเทศไทย
เผอิญผมได้มีส่วนไปร่วมด้วยหลายครั้ง เห็นว่าวิธีการแบบนี้ น่าสนใจครับ ต่างกับการประชุมสัมนาแบบการบรรยายซึ่งเชิญผู้รู้ไปหมดมาพูด ต่างกับการประชุมเชิงปฏิบัติการที่ตั้งธงไว้แล้วว่าจะต้องได้ข้อสรุปในแนวไหน แต่เป็นการประชุมโฟกัสกรุ๊ปของผู้เชี่ยวชาญในแขนงต่างๆ ที่เลือกเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากหลายวงการ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และวิทยาการต่างๆ มาคุยกันเป็นกลุ่มย่อยๆ เพื่อระดมความคิด จัดเรียงลำดับความสำคัญ หาแนวทางเตรียมการรับมือเบื้องต้น ทุกคนได้พูดครับ ไม่อย่างนั้นจะเชิญมาทำไม
เก็บข้อมูลดิบไว้ทั้งหมด แต่นำข้อสรุปของแต่ละกลุ่ม มากลั่นกรองเป็นข้อสรุปของรอบ ของเรื่อง ของสาขา แล้วเข้าสภาที่ปรึกษาฯ อีกครั้งหนึ่ง ก่อนเสนอไปยังรัฐบาลเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ โดยสิ่งท้าทายอุบัติใหม่ที่มีลำดับความสำคัญสูงใน 5 ประเด็นได้แก่
- การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน
- เทคโนโลยีอุบัติใหม่ เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (GMOs)
- พลังงานทางเลือก: พลังงานนิวเคลียร์
- การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ในกระแสโลกาภิวัตน์
- การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร และมิติสังคมวัยวุฒิ
พร้อมทั้งเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะทางยุทธศาสตร์ในภาพรวม สรุปได้ดังนี้
- ยุทธศาสตร์การสร้างคน — เรียนรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ
- ยุทธศาสตร์การสร้างฐานข้อมูลและระบบเตือนภัยที่เชื่อถือได้ มีความเป็นเอกภาพ และรวดเร็วทันการณ์ — 6 ข้อ
- กลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ — 12 ข้อ
รายละเอียด อ่านจากลิงก์ข้างบนครับ
Next : CSR คือหน้าที่ ใช่อาสา » »
6 ความคิดเห็น
ประเทศนี้มีการบ้านสำคัญๆเยอะ ห่วงแต่รู้แล้วหาคนรับผิดชอบไม่ได้
อยู่ในลักษณะรู้ไว้ใช่ว่า ..
ไม่ใช้รู้ไว้นำไปตั้งเป็นโจทย์เพื่อลงมือเรียนรู้ เรียนทำ
รู้ ดีกว่าไม่รู้
รู้แล้ว จะทำรึเปล่า ? จะทำ ให้ใครทำ ทำเป็นรึเปล่า ? โอ๊ย …….อีกหลายด่าน อิอิ
บันทึกนี้ ไปขึ้นเป็นข่าวสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสนอ “สิ่งท้าทายอุบัติใหม่” 5 ชนิด ที่ Jusci.net
ผมไม่ได้ติดใจว่า 5 เรื่องที่มีลำดับความสำคัญสูงสุดจากแต่ละสาขาจะเป็นอะไรหรอกนะครับ คิดว่าข้อเสนอแนะออกมาในทำนองที่ว่า
ทำยังไงให้ภาคการศึกษาสามารถฝึกคนให้เป็นคนทันการเปลี่ยนแปลง แค่นี้ก็เป็นคำถามที่ท้าทายแล้วหละ ไม่ต้องพูดถึงเรื่องอื่นกันเลย
ปัญหาทัศนคติมันเกิดจากการที่ต่างคนต่างหวงเปลือกตัวเอง……รึเปล่า…..ถ้าใช่…..หนักใจได้มากกกกกกกกกกกกกกกก…เลย
ถ้ายังทำเหมือนเดิม ก็จะยิ่งไม่พอครับ สังคมเรามีคนเก่ง แต่เราต้องการคนเก่งที่ “ดี” ด้วย
[...] First Tweet Apr 19, 2009 markpeak Isriya Paireepairit Highly Influential การรับมือสิ่งท้าทายอุบัติใหม่ http://lanpanya.com/wash/archives/739 view retweet [...]