CSR คือหน้าที่ ใช่อาสา
ความตอนหนึ่งจากหนังสือ CSR ที่แท้ โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย ซึ่งในขณะปัจจุบันนี้ เป็นประธานกรรมการมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย (www.thaiappraisal.org)
ผมตัดตอนส่วนสั้นๆ ของบทหนึ่งมาให้ดูเป็นตัวอย่าง ซึ่งหากติดขัดไม่สามารถจะหาหนังสือซื้อนี้มาอ่านได้ ก็ยังสามารถอ่านได้ฟรีบนอินเทอร์เน็ตที่นี่
CSR คือหน้าที่ ใช่อาสา
CSR ดูเหมือนเป็นของเล่นใหม่สำหรับการทำดีแบบ “ลูบหน้าปะจมูก” ของวิสาหกิจเอกชนบางแห่ง ประหนึ่งเป็นกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ของพวกคุณหญิงคุณนาย และน่าแปลก ที่วิสาหกิจทำผิดกฎหมาย มักชอบอ้างว่าตัวเองมี CSR
ตอนนี้ CSR (Corporate Social Responsibility) คือความ รับผิดชอบของวิสาหกิจ กำลังเป็นที่กล่าวขวัญถึง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) นั้นหมายถึงตั้งแต่ผู้ถือหุ้น ลูกจ้าง ลูกค้า คู่ค้า (supplier) ชุมชนที่วิสาหกิจนั้นตั้งอยู่ ตลอดจนสังคมโดยรวม อย่างไรก็ตาม วิสาหกิจทั่วไปมักนึกถึงผู้ถือหุ้นเป็นอันดับแรก โดยไม่คำนึงถึงกลุ่ม อื่น ๆ การคิดเช่นนี้แสดงว่าขาด CSR นั่นเอง และก่อให้เกิดปัญหาแก่สังคมได้
อย่างไรจึงถือว่ามี CSR
การมี CSR นั้น ย่อมหมายถึงการเอื้อประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายอย่างเหมาะสมโดย ไม่ไปเบียดเบียนฝ่ายใด วิสาหกิจที่มี CSR ย่อมไม่ขูดรีดแรงงานลูกจ้าง ไม่ฉ้อโกงลูกค้า ไม่เอาเปรียบคู่ค้า ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมหรือทำร้ายชุมชนรอบที่ตั้งของวิสาหกิจด้วยการก่อมลพิษ วิสาหกิจที่ขาด CSR ย่อมขาดความโปร่งใส ผู้บริหารในแทบทุกระดับมักหาผลประโยชน์เข้าตัวเองหรือฉ้อโกง <1>
การมี CSR เป็นการทำธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎหมาย (แต่ถ้าใครจะทำให้ดีเกินมาตรฐานกฎหมายหรือจะบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมเพิ่ม เติมก็อีกเรื่องหนึ่ง) หรืออีกนัยหนึ่งคือการไม่ทำผิด หมิ่นเหม่หรือหลบเลี่ยงกฎหมายแรงงาน กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายอาญา ด้วยเหตุนี้การทำ CSR จึงต้องมีกรอบกฎหมายบังคับ
…
ถ้าทำการกุศลจริง, บ้านเมืองจะดีกว่านี้
จากการวิเคราะห์ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ <2> ครัวเรือนหนึ่ง ๆ ของไทยใช้จ่ายเงินเพื่อการบริจาคเป็นเงินเดือนละ 422 บาท หรือ 2.69% ของรายได้ต่อเดือนของครัวเรือน เชื่อว่าแทบไม่มีวิสาหกิจใดทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์จะบริจาคเงินถึง 2.69% ของรายได้ของตนเป็นแน่ เพราะถ้าทำจริง ผลงานสร้างสรรค์คงมีมากกว่านี้ และสังคมคงดีงามผาสุกอย่างมีนัยสำคัญกว่านี้
การที่วิสาหกิจหลายแห่งไม่แสดงตัวเลขการบริจาคชัดเจน ก็คงเป็นเพราะใช้เงินไปเพียงน้อยนิด จึงกระดากที่จะเปิดเผย การที่วิสาหกิจบางแห่งคุยเขื่องว่าตนแทบไม่ใช้เงินในการทำ CSR เลย ก็คงเป็นเพราะวิสาหกิจนั้นอาศัยแรงงานฟรีของพนักงานไปทำอะไรนิดหน่อยให้ พอได้ออกข่าวตามความเกรงใจของสื่อมวลชน และในที่สุด CSR ก็กลายเป็นกิจกรรมคุณหญิงคุณนายในรูปแบบใหม่ สัมฤทธิผลของ CSR จึงไม่อาจพิจารณาจากจำนวนกิจกรรมที่ได้ทำ เพราะอาจเป็นแค่การ “ลูบหน้าปะจมูก” ทำบุญเอาหน้า
…
ผมเกรงว่าคนที่ชอบอวดอ้างว่าทำ CSR นั่นล่ะครับ ควรจะอ่านหนังสือเล่มนี้ และทำความเข้าใจกับ CSR เสียใหม่
« « Prev : การรับมือสิ่งท้าทายอุบัติใหม่
Next : เกลือกับแผ่นดินอีสาน » »
5 ความคิดเห็น
ขอบคุณมากๆครับ ที่นำบทความนี้มาเผยแพร่ เป็นประโยชน์มากครับ
ผมอาจนำบทความนี้ไปต่อยอดนะครัรบ ขออนุญาติล่วงหน้ามานะที่นี้ก่อนครับ
โกงก่อนแล้วทำบุญชดใช้กรรม ทำได้หรือเปล่าค่ะ หรือมีอำนาจก่อนแล้วต้องใช้อำนาจเบ็ดเสร็จให้ได้มาซึ่งอำนาจ บารมีและเงิน เสียก่อน แล้วค่อยทำบุญสร้างภาพ เพื่อลบกรรมเก่าใช่ไหมเอ่ย
ชาวบ้านธรรมดาเขาร่วมด้วยช่วยกัน แบ่งบันช่วยเหลือ เอื้อเฝื้อยเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน โดยทีไม่เคยอ้าง CSR ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วทำมาโดยตลอด ไม่เห็นพวก………กล่าวถึงเลย
[...] http://lanpanya.com/wash/archives/741 [...]
ผมก็ขอหยิบไปวิภาคย์หน่อยนะครับ
[...] [CSR คือหน้าที่ ใช่อาสา] ก็ให้นิยามไว้หลายประเด็น [...]