CSR ภาคประชาชน
อ่าน: 4407ว่ากันที่จริง CSR ก็อยู่ในภาคเอกชนทั้งนั้นล่ะครับ
ถ้าอยู่ในภาครัฐ มีเหมือนกัน แต่ไม่เรียก CSR; รัฐไม่ใช่ Corporate จึงไม่ใช้คำว่า CSR
CSR ในมุมที่ผมมอง ไม่ใช่การ “ยกป้ายถ่ายรูป” แน่นอน แบบนั้นเป็นการให้ทานแบบฉาบฉวยเอาหน้านะครับ — น่าผิดหวังที่ยังมีการให้รางวัลกับพวกชอบยกป้ายถ่ายรูปกันมาก ทำให้สงสัยว่ากรรมการตัดสิน CSR แบบไหนเนี่ย แค่บริจาคเงินน่ะ เป็นแค่ครึ่งเดียวของระดับต่ำสุดนะครับ
CSR ควรจะเกิดจากสำนึกของคนในองค์กร ว่าทุกสิ่งเกี่ยวพันกันหมด องค์กรไม่สามารถจะประสบความสำเร็จได้ หากรอบข้างล้มเหลวไปหมด (โดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงาน ซึ่งผู้บริหารที่ไม่ค่อยมีความเป็นมนุษย์ มักจะคิดว่าจ่ายเงินจ้างแล้วก็ต้องใช้ให้คุ้ม)
หมู่บ้านสามขา ต.หัวเสือ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง ได้รับการยกย่องเป็นแบบอย่างของการพัฒนาแบบยั่งยืน สามารถฟื้นตัวจากโรคบริโภคนิยมได้ในเวลาไม่นานนัก ทั้งนี้ก็ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้าน ประกอบกับความช่วยเหลือจากทุกภาคส่วน — แต่บ้านสามขา จะฟื้นตัวได้ยาก หากชาวบ้านไม่เอาจริงเอาจังกับเรื่องเหล่านี้… ต่อไปเป็นสารคดี 6 ตอนของ สกว.ครับ น่าศึกษามาก
วิกฤตของป่าต้นน้ำที่บ้านสามขา… การสร้างฝายชะลอน้ำ สปอนเซอร์โดย SCG
CSR คืออะไร คงเป็นปัญหาโลกแตก เหมือนถามว่าเฮฮาศาสตร์คืออะไร ประเทศไทยคืออะไร คนไทยเป็นใคร คนดีเป็นอย่างไร คุณธรรมคืออะไร ฯลฯ
บันทึก [CSR คือหน้าที่ ใช่อาสา] ก็ให้นิยามไว้หลายประเด็น ยังไม่ต้องรีบร้อนชี้ก็ได้นะครับว่าใช่หรือไม่ใช่ และไม่ว่าแต่ละท่านจะตอบว่าอะไร คงมีความรู้สึกร่วมกันว่าเป็นเรื่องที่ควรทำ (ส่วนจะทำแล้วหรือยังแค่คิดอยู่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง)
งบประมาณของภาครัฐในปีนี้ มีค่าประมาณร้อยละสิบของรายได้ประชาชาติ แถมเป็นค่าใช้จ่ายประจำเกินครึ่ง เหลือเป็นงบทำนุบำรุงประเทศนิดเดียว ภาคเอกชนมีกำลังมากกว่าเยอะครับ แต่เอกชนมักคิดว่าเป็นเรื่องของรัฐ ทำให้ปัญหาสะสมหมักหมมมานานแล้ว วันนี้ถ้าภาคเอกชนไม่กล้าพอที่จะมองถึงรากเหง้าของปัญหาความไม่พัฒนาอย่างจริงจัง อนาคตของเมืองไทยจะเป็นอย่างไรครับ จะต้องให้มีการเรียกร้องหรือความรุนแรงกันอีกสักกี่ครั้ง จึงจะรู้สึก?
ถ้าจะหาแรงบันดาลใจสำหรับ CSR ลองไปงาน Ignite Thailand++ ครั้งที่ 3 โรงภาพยนตร์สกาลา 18-21น. วันที่ 13 มกราคม 2554 ดูไหมครับ… เห็นชื่อ Igniter แล้ว ถ้าพลาดจะน่าเสียดาย…
« « Prev : โลจิสติกส์ของการบรรเทาทุกข์
Next : รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์กับการจัดการภัยพิบัติ » »
4 ความคิดเห็น
ผมได้อ่านผ่านๆ เห็นแว็บๆว่า SCG ก็สนับสนุนสิ่งแวดล้อมกะเขาด้วย (ผ่านหน้าจอทีวี ว่าไปแล้ว ptt และ abcd ทั้งหลายก็เอากะเขาด้วยทั้งนั้นหละ)
แต่ผมว่าเอาใกล้ๆตัวก่อนดีกว่า เช่น แนวรอยต่อสระบุรี ลพบุรี รวมถึงแก่งคอย ป่าสัก อันแสนโรแมนติก ที่ท่านไปทำโรงโม่หิน โรงปูน มันเต็มไปด้วยฝุ่นทั้งนั้น แพร่กระจายไปในวงกว้าง ที่ฝุ่นหินอนุภาคระดับไมครอน มันปลิวไปได้แสนไกล รัศมีน้บร้อยกม. คนเป็นมะเร็งปอดตายกันไปกี่หมื่นคนแล้วท่านเคยไปสำรวจ หรือ ชดใช้อะไรให้พวกเขาบ้างไหม อ้อ..พวกรากหญ้าทั้งนั้น ไม่เป็นไร โนพลอมแพลม
ภูมิประเทศเหล่านี้ เป็นเขาหินปูน แสนสวยงาม เป็นปอดของคนรอบๆ และคนกรุง นับสิบล้าน ท่านทำลายหมดสิ้น กำไร หลายหมื่นล้าน แล้วมาทำคลิป ราคาถูก แสดงให้เห็นว่าสนใจ CSR
ขอโทษ ที่ผมกำลังสุภาพเกินไปหรือเปล่า?
ช้าอย่างไรมันก็ต้องไม่เกินสัก 5 ปีนะครับ นี่มัน 30 ปีมาแล้ว อาการเรื้อรัง ผมว่ายากครับ จะมีแต่การสร้างภาพไปเรื่อยๆ เอาเงิน 10 ล้าน ร้อยล้าน หว่านไปทำ PR ในโครงการต่างๆ แต่ทำกำไรหมื่นล้านเงียบๆ บนความเสื่อมสลายของสิ่งแวดล้อมและสุขภาพปชช. ต่อไป เหมือนเดิมๆ ผมขับรถผ่านแก่งคอย หรือ อ.พุทธบาท ทีไร หัวใจแอบร้องไห้เงียบๆ ทุกที (ไม่กล้าร้องดังๆ)
ชาวบ้านในพื้นที่เขาร้องเรียนให้ผมฟังมาตลอด ผมก็ได้แต่คิดละเมอไปว่า สักวันผมได้เป็นนายกฯ ผมจะช่วยจัดการให้ ไม่น่าเชื่อนะครับ SCG PTT และ ABCD ดร.เดินชนกันแบบไม่รู้จักกันวันละร้อยหน แต่เรื่องแค่นี้ทำไม่ได้ มัน “ไทยๆ” แบบเราจริงๆ
[...] CSR ภาคประชาชน [...]