ตกหล่น

โดย Logos เมื่อ 14 April 2011 เวลา 0:32 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 3084

บันทึกนี้ไม่ได้บ่นอะไร…เชื่อเถิดครับ…

คำว่าตกหล่น พจนานุกรมแปลว่าขาดตกไปโดยไม่ตั้งใจ — ซึ่งถ้าตั้งใจ ก็ไม่ใช่ตกหล่นนะครับ ขอให้เข้าใจตรงกัน

ตั้งแต่น้ำท่วมปลายปีที่แล้ว เสนอให้บินถ่ายรูปทางอากาศทำแผนที่สถานการณ์แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น (อย่างน้อยก็ไม่มีข้อมูลสาธารณะใดๆ) การวางแผนนำความช่วยเหลือเข้าสู่พื้นที่ประสบภัย เป็นไปอย่างยากลำบาก เช่นไม่รู้ว่าจะเลือกใช้ถนนไหนดี ไม่ได้เตรียมเรือไว้ หรือไม่มีเครื่องเรือ ฯลฯ

ด้วยความเห็นอกเห็นใจเป็นพิเศษ Google ช่วยอัพเดตภาพถ่ายดาวเทียมใน Google Maps ให้ถี่ยิบ ฟรีด้วย ตอนนั่นแหละจึงเริ่มเห็นขอบเขตของน้ำท่วม แต่ว่ามันแพงมากครับ ทำไม่ได้บ่อย; สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศได้ทำเว็บพิเศษขึ้นมา ผมคิดว่าเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม แต่ว่าภาพถ่ายจากดาวเทียมที่ใช้นั้น เป็นภาพที่มีความละเอียดไม่สูงนัก (1 pixel ~ 100 เมตร) ถ้าจะมองภาพใหญ่ก็เหมาะดี แต่ถ้าจะใช้สำรวจความเสียหายของบ้านเป็นหลังๆ คงลำบากเพราะมันไม่ละเอียดพอ พื้นที่ขนาด 100 x 100 เมตร เห็นเป็นจุดเดียว จะขยายแค่ไหน ก็คือการเอาจุดเดียวมาขยาย จะไม่ได้รายละเอียดที่ต้องการ

เป็นเรื่องง่ายที่พอสถานการณ์ดีขึ้นบ้างแล้ว จะมานั่งชี้นิ้วใส่กัน ยิ่งเราไม่ได้เตรียมพร้อมเอาไว้ในระดับที่เกิดภัย (แม้แต่ญี่ปุ่นยังแย่เลยครับ) การทำงานจะมีแต่ข้อจำกัด ต้องประยุกต์เอาแบบลูกทุ่งที่หน้างาน คนสั่งก็สั่งไปเรื่อยๆ คนทำซี๊แหงแก๋ คนเชียร์ก็แนะโน่นนี่ สับสนไปหมด ที่หนักที่สุดคือไม่มีการประสานงานกัน…ไม่เขียนแล้ว เดี๋ยวยาวเกินไป :-)

การวางแผนและแก้ไขสถานการณ์ใดๆ ไม่น่าจะนำสู่การตัดสินใจที่ดี หากว่าไม่มีข้อมูลที่ดี ในเมื่อไม่มีแผนที่สถานการณ์ ก็ต้องทำให้มีขึ้นมาให้ได้ครับ

ได้โทรไปขอความเห็นแล้ว ทั้ง ThaiFlood และ อาสาดุสิต อยากเชิญชวนผู้มีความรู้เกี่ยวกับอากาศพลศาสตร์และระบบควบคุม มาทำเครื่องบิน(ของเล่น)ไร้นักบิน (UAV) เพื่อบินตรวจการณ์ ถ่ายภาพเก็บข้อมูล เพื่อการประเมินสถานการณ์บรรเทาทุกข์ สนใจติดต่อ webmaster ที่ thaiflood.com

ไอเดียคร่าวๆ คืออย่างนี้ครับ

  1. เป็นเครื่องบินตรวจการณ์ เครื่องยนต์ไฟฟ้า ใบพัดเดียว โปรแกรมจุดบินผ่าน (way-point) ได้ ระยะเวลาบิน 1 ชั่วโมง ครอบคลุมพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 20 ตารางกิโลเมตร; ความเร็วไม่สูงนักเพื่อประหยัดแบต ดังนั้นปีกต้องมีแรงยกที่ดี
  2. ลำตัวเครื่อง (Airframe) เป็นโฟม น้ำหนักเบา ราคาถูก หากแตกหักเสียหาย ซ่อมแซม/เปลี่ยนได้ในพื้นที่ธุรกันดาร ความยาวจากปีกถึงปีก (Wingspan) ไม่เกิน 1 เมตร ใช้เทปกาวแบบบาง ปิดบนโฟมเพื่อให้เรียบ+เพิ่มความแข็งแรง
  3. ถ้าเป็นปีกแบบ KF airfoil ท่าจะดีเพราะแค่เอาโฟมซ้อนกันหลายชั้นติดกาว ตัดให้เข้ารูป แล้วแต่งหัวอีกนิดหน่อย — จะดีหรือไม่ดี ก็ต้องลองสร้างดูครับ
  4. น้ำหนักบรรทุก (Payload) 1 กก. ประกอบไปด้วยแบตเตอรี และโทรศัพท์มือถือ
  5. โทรศัพท์มือถือ โปรแกรมได้ เป็นอุปกรณ์ถ่ายภาพ 2 Mpix มีพิกัด GPS ของจุดที่ถ่ายภาพมา

ใช้บินตรวจนาตรวจสวน ตรวจถนน ตรวจสะพาน ตรวจหมู่บ้าน ตรวจป่า ตรวจแหล่งน้ำ ตรวจสภาพการจราจร ฯลฯ

ทำได้เพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง ก็ยังอยากคุยนะครับ

« « Prev : ประปาภูเขา

Next : แก้ไขไม่ทันใจ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

1 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.092502117156982 sec
Sidebar: 0.2175760269165 sec