การสร้างหลักประกันให้ผู้ประกอบการใหม่

โดย Logos เมื่อ 24 July 2010 เวลา 0:34 ในหมวดหมู่ การเมือง การปกครอง กฏหมาย #
อ่าน: 4065

ระบบการศึกษาไทย สร้างคนออกมาเป็นลูกจ้างครับ เวลาวัดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จะเห็นว่ามีกิจการเกิดใหม่มีน้อยกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว — ที่จริงดัชนีชี้วัดต่างๆ ก็มาจากประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งนั้น วัดว่าประเทศไหนเหมือนตัวเองแค่ไหน

เราไปพยายามแก้กันที่เงินทุน มีธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย มีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) ทั้งสองเรื่องก็จำเป็นครับ แต่ผมคิดว่ายังไม่พอเพราะว่ายังไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องความกล้าของคน ที่จะเปลี่ยนจากการเป็นลูกจ้างมาเป็นผู้ประกอบการ

ในเมื่อกิจการใหม่เป็นของผู้ประกอบการเอง รัฐก๋ไม่น่าจะเอาเงินมาช่วยหรอกนะครับ เวลาได้กำไรหลังจากเขาเสียภาษีตามหน้าที่แล้ว เงินที่เหลือเค้าเก็บไว้เองทั้งหมด ถ้าเริ่มแล้วสำเร็จก็ดีซิ แต่ความสำเร็จจะไม่มีทางมาถึงถ้าไม่กล้าเริ่มครับ

คนจบใหม่มีความฝัน แต่เหนือความฝันคือความกลัว พอเรียนจบมา ส่วนใหญ่ก็จะหางานประจำทำ ตั้งหลัก ตั้งตัว พอเคยชินกับ “ความมั่นคง” ก็ผ่อนรถ ผ่อนบ้าน แล้วก็ติดแหงก! คนจบใหม่มีความรู้ใหม่ แต่ไม่มีประสบการณ์ ไม่มีเครือข่าย ไม่ครบเครื่องพอที่จะทำธุรกิจ ในเมืองไทยจึงเป็นเรื่องยากกว่าที่คนจบใหม่ จะตั้งธุรกิจทันที

คนวัยกลางคนซึ่งมีความมั่นคงแล้วระดับหนึ่ง น่าจะเป็นผู้ประกอบการใหม่ที่ “เหมาะกว่า” แต่ก็ยังมีปัญหาใหญ่อีกอันหนึ่งคือเงินที่อยู่ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ต้องการให้เงินก้อนนี้เป็นเงินออมเอาไว้ใช้ในยามแก่เฒ่าไม่มีเรี่ยวแรงทำงานแล้ว หากออกจากงานมาเริ่มกิจการของตนก่อนอายุที่กฎหมายกำหนด (ปัจจุบันคือ 55 ปีหากสามารถนายจ้างยอมให้เกษียณอายุก่อนได้ และ 60 ปีหากนายจ้างไม่มีระเบียบให้เกษียณอายุก่อน) เงินส่วนนี้จะต้องนำมาคิดเป็นรายได้พึงประเมินและเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคล

คนอายุ 40 ปี ทำงานมาแล้ว 20 ปี ก็จะมีเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) อยู่พอสมควร หากเสียภาษี เงินทุนสำรองเลี้ยงชีพในยามแก่เฒ่าก็จะเหลือน้อย ยิ่งถ้าหากธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จดังที่หวัง ทั้งตัวเองและครอบครัวจะลำบากโดยไม่มีทุนสำรองจะทำอะไร… อันนี้ก็เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้คนทำงานที่มีรายได้ประจำ ไม่ค่อยกล้าที่จะออกมาตั้งกิจการของตนเอง

แต่รัฐสามารถกระตุ้นโดยเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขบางอย่างได้โดยไม่เป็นภาระแก่รัฐได้ คือประกาศให้สามารถโอนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อออกจากงาน เข้าไปลงทุนในกองทุน RMF

ทั้ง PF และ RMF จัดการโดยบริษัทเงินทุนมืออาชีพที่กำกับโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งกองทุนเหล่านี้นำเงินเหล่านี้ ไปลงทุนในตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้ ขยายกำลังทางเศรษฐกิจของประเทศ

หากเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขได้ดังกล่าว ก็จะช่วยสร้างหลักประกันความมั่นคงในยามแก่เฒ่าของลูกจ้างที่กล้าออกมาตั้งกิจการเองได้ส่วนหนึ่ง

« « Prev : เมื่อปริมาณสร้างทางเลือกให้มากขึ้น ทางเลือกนำสู่สิ่งที่ดีกว่า แต่…

Next : เก็บตะวัน (1) » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "การสร้างหลักประกันให้ผู้ประกอบการใหม่"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.053273916244507 sec
Sidebar: 0.12793302536011 sec