ทำความรู้จักกับเมืองไทยอีกครั้งหนึ่ง

อ่าน: 4926

เมื่อสามเดือนก่อน ผมเขียนบทความไว้อันหนึ่งเพื่อส่งไปลงวารสารเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติ เรื่อง[แนวคิดเกี่ยวกับภัยพิบัติและการจัดการ]

ตามแนวคิดทางการจัดการสากลแล้ว การแก้ไขบรรเทาด้วยลักษณะ reactive ช่วยได้บ้างเท่านั้นครับ ความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว — แต่ก็ต้องทำนะ เพราะว่าผู้ประสบภัย ต้องการความช่วยเหลือ — แนวที่ดีกว่าคือ pro-active ซึ่งใครๆ ก็รู้ แต่ไม่ค่อยทำกัน

แน่นอนว่าไม่มีใครที่อยากให้เกิดภัยพิบัติขึ้น เมื่อเกิดขึ้นคราใด ก็จะมีความเสียหายอย่างหนักเกิดขึ้นในทันที แต่ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าภัยพิบัติไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย บางทีก็ทำให้เราประมาท คิดไปว่าพื้นที่ที่อาศัยอยู่มีความปลอดภัย จึงไม่ได้เตรียมทางหนีทีไล่ไว้

ภัยธรรมชาติเกิดขึ้นเป็นวงกว้าง เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ในที่สุดแล้ว ทั้งรัฐและเอกชนจะเข้ามาช่วยเหลือ แต่ปัญหาคือผู้ประสบภัยจะต้องอยู่ให้ได้ก่อนที่ความช่วยเหลือจะเข้ามาถึง

ยังมีภัยอื่นๆ ซึ่งแม้ไม่สร้างความเสียหายร้ายแรงหรือเป็นวงกว้างเท่าภัยธรรมชาติขนาดใหญ่ เช่นสึนามิ ไต้ฝุ่น แผ่นดินไหวรุนแรง แต่ก็สร้างความเสียหายจนชีวิตไม่สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างปกติ เช่นภัยแล้ง น้ำท่วม ดินถล่ม ลมกรรโชก พายุ โรคพืช การจราจรติดขัด ไฟฟ้าดับ น้ำประปาไม่ไหล ฯลฯ ภัยต่างๆ เหล่านี้ แม้จะไม่เสียหายร้ายแรงเท่าภัยพิบัติขนาดใหญ่ แต่ก็เกิดขึ้นบ่อยกว่ามาก และมีผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนในพื้นที่โดยตรง

โดยเหตุที่พื้นที่กว่าสามร้อยล้านไร่ของแผ่นดินไทย มีความแตกต่างกันมาก อีกทั้งภัยต่างๆ ไม่สามารถทำนายล่วงหน้าได้ (อาจจะยกเว้นเส้นทางพายุ ซึ่งก็ไม่สามารถรู้ได้แน่ชัดว่าจะรุนแรงขนาดไหน) การเตรียมพร้อมจากส่วนกลาง จึงไม่สามารถที่จะป้องกัน แก้ไข บรรเทาความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นได้ทัน

ดังนั้นชุมชนคนในแต่ละพื้นที่ จึงต้องเข้าใจความเสี่ยงภัยของตน เพราะความเสี่ยงในแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน จะใช้การเตรียมการ หรือการจัดการความเสี่ยงแบบเดียวกันไปหมดไม่ได้

การแก้ไขเหตุการณ์จากภัยพิบัติ เช่นการให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ การสร้างหรือซ่อมแซม จะอย่างไรก็เกิดความเสียหายขึ้นแล้ว จะต้องใช้เวลาและทรัพยากรเป็นจำนวนมาก ไม่ทันต่อความต้องการของผู้ประสบภัยเสมอๆ การเข้าใจความเสี่ยงในพื้นที่และหาทางป้องกันไว้ก่อน จึงน่าจะเป็นวิธีการที่ดีกว่า…

นอกจากเข้าใจความเสี่ยงของตนเองแล้ว แต่ละพื้นที่ยังต้องเตรียมพื้นที่ปลอดภัยของตนเองเอาไว้ด้วยครับ เช่นพื้นที่น้ำท่วม ก็ต้องหาที่สูงไว้รวมพล หรือพักพิงชั่วคราว ตลอดจนเป็นที่นัดรับความช่วยเหลือ เป็นต้น หรือหมู่บ้านที่ตั้งขวางทางน้ำ ก็ต้องมีพื้นที่ปลอดภัยที่จะอพยพไปเวลาฝนตกหนักแล้วน้ำป่ามา พื้นที่อยู่ติดภูเขาที่มีความลาดเอียงสูง จะเสี่ยงต่อดินถล่ม ฯลฯ

การร้องขอความช่วยเหลือนั้น กลับไม่สามารถระบุตำแหน่งที่แน่นอนได้ อันนี้เหมือนเป็นปัญหาโลกแตกกับการระดมความช่วยเหลือสำหรับภัยพิบัติ เพราะว่าชุมชนใกล้เคียง มักประสบภัยเดียวกัน มีกรณีชุมชนในที่พื้นที่ใกล้เคียงที่ไม่ประสบภัย ช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยได้อย่างน่ายกย่อง แต่โอกาสอย่างนี้ ขึ้นกับภูมิประเทศ ความช่วยเหลือส่วนใหญ่ มักจะระดมเข้าไปจากนอกพื้นที่ จริงอยู่ที่ควรจะร่วมมือกับคนในพื้นที่แล้ว การนำความช่วยเหลือเข้าไปจะต้องวางแผนเรื่องการขนส่ง จะต้องรู้เส้นทางด้วย

ทีนี้ในเมื่อตำแหน่งของผู้ประสบภัยไม่แน่นอน โทรมาแจ้งที่ศูนย์ประสานงาน ก็บอกได้แต่ที่อยู่ซึ่งพนักงานไปรษณีย์ในพื้นที่เท่านั้นที่พอเก็ตไอเดีย อย่างนี้มีแต่เกิดความล่าช้าครับ (แต่ไม่เกินความพยายามของอาสาสมัครมหัศจรรย์)

ผมคิดเพ้อเจ้ออีกมุมหนึ่ง คืออยากขอความร่วมมือจากรัฐวิสาหกิจในกระทรวงมหาดไทย คือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคซึ่งมีสายไฟฟ้ากระจายไปทั่วประเทศอยู่แล้ว ให้ปรับปรุงระบบหมายเลขเสาไฟฟ้า ให้ไม่ซ้ำกัน unique ทั้งประเทศ เนื่องจาก กฟภ.ใช้ GIS อยู่แล้วแต่ว่าคนภายนอกเข้าไปใช้ไม่ได้ ตรงนี้อยากให้พิจารณาเปิดบริการแปลงหมายเลขเสาไฟฟ้าเป็นพิกัดทางภูมิศาสตร์ (lat,lng) ที่ผมมองไปที่ กฟภ.นั้น เป็นเพราะถ้ามีเสาไฟฟ้า ก็ต้องมีถนนเสมอ เมื่อมีถนน ก็จะวางแผนขนความช่วยเหลือเข้าไปสู่พื้นที่ได้ครับ

ในพื้นที่ประสบภัย เสาไฟฟ้าอาจเสียหายได้ เพียงแต่ต้นถัดไป ก็อยู่ห่างออกไป 40 เมตรเท่านั้นครับ; พอรู้หมายเลขเสาไฟฟ้า ก็รู้พิกัด พอรู้พิกัด เปิดแผนที่หรือ GPS ทีนี้จะรู้ตำแหน่งที่แน่นอน แถมชาวบ้านในพื้นที่ ยังแจ้งได้ว่าเสาเบอร์อะไร ท่วมหรือไม่ ซึ่งจะช่วยทำให้แผนที่สถานการณ์แม่นยำยิ่งขึ้น เริ่มทำจากพื้นที่ที่น้ำท่วมก่อนได้เลยครับ ถึงอย่างไรก็ต้องไปสำรวจซ่อมแซมความเสียหายอยู่แล้ว

ถ้าการถอดบทเรียนใดๆ จะมีความหมาย คงจะต้องถอดออกมาเป็น preventive action plans ให้ได้นะครับ

« « Prev : มาตรการทางภาษีเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

Next : ทำช้าดีกว่าไม่ทำ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

6 ความคิดเห็น

  • #1 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 November 2010 เวลา 1:22

    อาจารย์แหวงพูดถูกใจ ในฐานะที่เป็นคนเกิดในพื้นที่น้ำท่วม เราเตรียมทุกอย่างในวิถีชีวิตเพื่อจะอยู่กับน้ำท่วมสามเดือนสี่เดือน แถมมีความสุขกับน้ำที่ท่วมด้วย หลักของการอยู่ในวิถีนี้ต้องรวบรวมภูมิปัญญาไว้แล้วหละ เป็นชุดความรู้ แบบที่ 1 แบบที่ 2 แบบที่ 3 ฯลฯ….. แล้วงานก่อสร้างด้วยเทคโนโลยี่หลายเรื่องในสังคใสมัยใหม่ ได้อย่างหนึ่งอาจเสียหลายอย่าง นับตั้งแต่มีเขื่อนเจ้าพระยา ก็มีโครงการชลประทานซีกขวา ซ้ายขนานไปตามลำน้ำเจ้าพระยาและลำน้ำน้อย งานก่อสร้างคลองส่งน้ำก็เกิดขึ้น นี่ก็เป็นปัญหาหนึ่งเพราะคลองส่งน้ำก็ไปกั้นทางน้ำธรรมชาติที่ไหลแต่บังเอิญว่าคลองวิ่งไปตามลำน้ำน้อย พื้นที่ที่คลองผ่านไปกักน้ำที่ไหนตามธรรมชาติก็อยู่ในพื้นที่ที่ไม่กว้างใหญ่ ปัญหาก็ไม่มาก และเมื่อคลองต้องผ่านคลองธรรมชาติ ก็ทำไซฟอน ก็ไม่ขวางทางน้ำธรรมชาติอีก แต่พอถนนที่สร้างความเจริญอีกมุมหนึ่งมานี่ซิ ไม่มีท่อให้น้ำธรรมชาติลอดไป หรือมีแต่น้อยเกินไป เล็กเกินไป ไม่เหมาะสมกับปีที่มีปริมาณน้ำมาก ก็มีการท่วมขัง นี่แหละความเจริญด้านหนึ่งไปสร้างปัญหาอีกเรื่องหนึ่ง ความจริงแก้ได้ง่ายมาก แต่ไปติดระบบผลประโยชน์บ้าง รู้แต่ไม่ตระหนักบ้าง ก็สร้างถนนที่ใช้ดินถมอย่างเดียว

    หน้าน้ำเรามีเรือ ที่บ้านมีสามลำ ไผ่ม้า เรือบด เรือหมู เคยมีเรือมาดใหญ่เอาไว้บรรทุกข้าว เรามีพิธีกรรมประเพณีเกี่ยวกับเรือ บ้านยกสูง มีใต้ถุน ชาวบ้านรู้ดีว่าใต้ถุนต้องสูงเท่าไหร่จึงเหมาะสม แม้แต่ควายที่เราเลี้ยงเมื่อน้ำหลากหมดหน้านาแล้ว ก็มีสองวิธี คือเอาไปฝากเพื่อนบ้านที่อยู่ในที่สูงฝากเขาเลีี้ยงและเมื่อเกิดลูกก็ยกให้เขาไป บางคนไม่เอาไปให้เขาเลี้ยงก้เลี้ยงเองโดยการทำบ้านให้ควายอยู่ ที่เขาเรียก ร้าน เป็นคอกควานที่ยกพื้นสูงเกือบเท่าตัวบ้าน ทำสะพานให้เดินขึ้นได้ เลี้ยงโดยเจ้าของไปเกี่ยวหญ้าให้มันกินทุกวัน มูลควายก็เก็บไว้ หรือล้างทิ้งลงน้ำไปเลย …โอย ยาวแน่หากอธิบายยาวยืดเรื่องวิถีคนอยู่กับน้ำท่วม

  • #2 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 November 2010 เวลา 3:38

    น้ำท่วมสติ ปัญญาถูกท่วมขัง ความรู้ความคิดอาจจะเน่าได้
    คำตอบ อยู่ที่วิีธีจัดการในระดับต่างๆ
    ที่สำคัญ ตัวชาวบ้านเองจะสร้างแรงฮึดที่จะปรับเปลี่ยนในขั้นตัวเอง-ชุมชน ได้แค่ไหน
    แล้วส่วนอื่น คณะอื่น จะผสมผสานงานเชิงโครงสร้างมาสอดรับกันอย่างไร?
    บ้านเมืองเรามีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ยุบยับ แต่ต่างคนต่างเล่นคนละบท
    ไม่รับรู้ ไม่รู้วิธีสอดประสาน เพราะเน้นที่จะเป็นพระเอก แบบ ข้าขี่ม้าขาว

  • #3 Lin Hui ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 November 2010 เวลา 23:11

    รู้เขารู้เรา จะตั้งรับสักกี่ครั้งก็จะไม่เพลี้ยงพล้ำ ไม่บอบซ้ำ ……………….
    นี่คือสรุป คำตอบของ อ.แสวง เพียงบางส่วน ในส่วนที่เป็นเกษตรกร ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ของอิสานที่มีน้ำท่วมที่เป็นธรรมชาติ วิถีชีวิตที่เข้าใจธรรมชาติ(รู้เขา)ชัยภูมิของพื้นที่ ที่อยู่ที่ทำมาหกิน(รู้เรา)กำลังความสามารถในการดูแลจัดการทั้งที่อยู่ ที่ทำมาหากิน(พื้นที่การเกษตร ไร่นา สวนผัก สวนผลไม้ ฟาร์ฒ หมู เป็ดไก่ วัว ควาย แพะ แกะ ปลา ฯลฯ) ความสามารถในการเตรียมรับสภาวะน้ำท่วมในช่วงฤดูน้ำหลาก แถมยังได้รับผลประโยชน์จากน้ำหลาก จับปลา สัวต์น้ำที่มากับน้ำหลาก เป็นกอบเป็นกำ ทำปลาแดก ปลาตากแห้ง ….เป็นผลพลอยได้ตามธรรมชาติ
    แต่ในพื้นที่การเกษตรอื่นๆ ที่ไม่เคยเจอน้ำท่วมคงลำบากมากเช่นกัน
    พื้นทีเขตเทศบาล ตัวเมืองพื้นที่เศรษฐกิจ ไม่เว้นแม้แต่โรงพยาลาล ที่ไม่เคยเจอสภาพน้ำท่วม อาจขาดประสบการณ์ จึงไม่มีการเตรียมพร้อม รับมือกับน้ำท่วม ความเสียหายจึงมากมายเหลือเกิน ถึงเวลาแล้วที่ต้องมาทบทวน เรื่องเส้นทางระบายน้ำอย่างเป็นระบบ (เส้นทางน้ำตามธรรมชาติที่เคยมีอยู่) คู คลองเดิม อยู่ในสภาพรองรับน้ำได้มากน้อยแค่ไหน การผันน้ำก่อนไหลเข้าสู้พื้นที่หัวใจสำคัญของเมือง เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล อบต.ควรรับผิดชอบร่วมกัน ต่อระบบเส้นทางไหลของน้ำ จะต้องเป็นระบบที่ต่อเนื่องกันตามธรรมชาติทั้งประเทศ ไม่มีการแบ่งเป็นเขตตามเขตการปกครอง และสามรถรองรับน้ำได้ตามศักยภาพตามธรรมชาติได้เป็นอย่างน้อย อาจขุดเพิ่มเส้นทางระบายน้ำเพิ่มเติม เพื่อช่วยการไหลของน้ำให้ได้รวดเร็ว ลงสู่พื้นที่ลุ่มที่เป็น แอ่ง หนอง คลอ งบึง ที่กระจายอยู่ในพื้นที่รอบนอก ซึ่งมีการขุดลอกให้เป็นพื้นที่รองรับน้ำช่วงฤดูน้ำหลาก เพื่อเก็บไว้ใช้ช่วงฤดูแล้ง ความจริงเรื่องแบบนี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นองค์ความรู้ของคน ตั้งแต่โบราณมายาวนานแล้ว มีหลักฐานเมืองโบราณ ชัดเจนที่มีคูคลองที่ขุดสร้างล้อมชุมชนหรืเมือง ที่ทำหน้าที่ รองรับน้ำในฟดูน้ำหลาก เก็บกักสัตว์น้ำที่มากับน้ำ และยังสามารถใช้เป็นแหล่งน้ำยามแล้ง เราลืมภูมิปัญญาดั้งเดิมเราเสียสิ้น…..เห็นที่ควรจะรื้อฟื้นปรับปรุงมาใช้ ให้เหมาะกับยุคสมัยปัจจุบันอย่างเป็นระบบ และสอดคล้องกำจำนวนประชากร ในภาคส่วนต่างๆ อย่างเป็นธรรมและเหมาะสมกับประเภทและคุณภาพน้ำ
    ส่วนเรื่องเทคโนโลยี ปัจจุบันเรามีข้อมูลสภาพอากาศทั่วโลก(ภาพถ่าดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา)ออนไลน์ตลอดเวลา หากนำมาใช้เตือนภัยน่าจะดีกว่ามากๆ เห็นทิศทางการเคลื่อนที่ของพายุ เห็นปริมาณเมฆที่ปกคลุมพื้น ในแต่ละภาคส่วนของประเทศ อย่างชัดเจน ขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ หรือแม้แต่สถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นนำออกอากาศ เตือนภัยในท้องถิ่นก้น่าจะได้ เรื่องนี้ท่านลอกอดส์ ดร.เม้งก็มีความรู้ ภาคประชาชนช่วยภาคประชาชนกัน จะทันเวลา
    ความจริงอยากจะพูดถึง เรื่องระบบฐานข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย ถ้ามีการบริหารจัดการที่ดี จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์อย่างมหาศาล

  • #4 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 November 2010 เวลา 0:10
    เม้งทำเรื่องทางน้ำไหลตั้งแต่น้ำท่วมวันแรกๆ เลยครับ แต่มันมีปัญหาเนื่องจากแผนที่ความสูง​(DEM) อยู่ในกริดขนาด 92.5 x 92.5 เมตร [ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (5)] [ภาพมุมสูง: วิธีสร้างและวิธีใช้]

    ช่วงนี้งานเข้า ขออภัยจริงๆ นะครับ ที่ไม่ค่อยได้ให้ความเห็นอะไรในบล็อกของทุกท่านในลานปัญญา

  • #5 ลานซักล้าง » การสื่อสารจากมุมที่แตกต่าง ให้ความคิดเห็นเมื่อ 21 September 2011 เวลา 12:32

    [...] ข่าวสารควรมีสถานที่ที่แน่นอน จะดีมากหากมี URL ของแผนที่ออนไลน์ ระบุแค่ตำบล อาจเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร และอาจอยู่ลึกเข้าไปจากถนน ทำให้หาไม่เจอว่าที่ใด ต้องการความช่วยเหลืออะไร (ความคิดเรื่องหมายเลขเสาไฟฟ้าบอกพิ

  • #6 ลานซักล้าง » เติมพลังพลเมืองฟื้นฟูประเทศไทย ให้ความคิดเห็นเมื่อ 23 December 2011 เวลา 22:22

    [...] ทำความรู้จักกับเมืองไทยอีกครั้งหน


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.81310701370239 sec
Sidebar: 0.34847807884216 sec