ตายน้ำตื้น (ปะการัง)
ด้านใต้ของเกาะสุมาตรา มีปะการังน้ำตื้นอยู่ใน genus Porites
ปะการังนี้ เติบโตได้ใต้น้ำทะเล (แหงล่ะ) ตามรูป A มันก็ค่อยๆ โตออกรอบทิศทาง
ในรูป B เมื่อส่วนของปะการังโผล่พ้นน้ำ มันไม่สามารถจะโตต่อไปได้ และจะมีผิวอยู่ในระดับเพียงแค่ระดับน้ำทำเล ในขณะที่ส่วนอื่นๆ ที่ยังอยู่ใต้น้ำ ยังคงโตต่อไป
ถ้าหากว่าพื้นจมลงอีกเหมือนในรูป C ประการังสามารถกลับมาโตทางด้านสูงได้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยจะเห็นรูแหว่งอยู่ตรงกลางหัวกะโหลก
แล้วเมื่อแผ่นดินยกตัวขึ้น การเติบโตจะมีเพียงที่ด้านข้าง (โตเกินระดับน้ำไม่ได้)
เฮ้ย…จะมีอะไรพิสดารขนาดนี้เชียวหรือ… ก็มีน่ะซิครับ!!!
รูปทางซ้าย คือการเติบโตของปะการังทางด้านใต้ของเกาะสุมาตรา ซึ่งการยกตัวครั้งสุดท้าย (46 ซม.) เกิดขึ้นหลังแผ่นดินไหวใหญ่และสึนามิในวันที่ 26 ธันวาคม 2547
ปะการังในรูปทางซ้ายนี้ เราเห็นทั้งขั้นตอน A B C และ D
แล้วแผ่นดิน ยกตัวขึ้นได้อย่างไร?
รูป a) เป้นลักษณะของแผ่นดินมุดตัว แผ่นเปลือกโลกสีเทา มุดลงใต้แผ่นเปลือโลกสีส้ม เมื่อมุดลงแล้ว ยังดันต่อไปเรื่อยๆ แผ่นเปลือกโลกสีเทา ก็จะพาแผ่นเปลือกโลกสีส้มตามลงไปด้วย ทำให้ปลายรอยแยกเริ่มจมลง ในขณะที่ระยะที่ไกลออกไปเกิดโป่งขึ้น ตามรูป b) เมื่อความเค้นมากพอ แผ่นเปลือกโลกสีส้ม จะดีดกลับ เกิดเป็นแผ่นดินไหว ระดับที่เคยจมลง ก็จะดีดกลับขึ้นมา ในขณะที่บริเวณที่เคยโป่งขึ้น ก็ลดระดับลงมาสู่ความสูงปกติ ตามรูป c)
Next : แผนที่สถานการณ์ (ครั้งที่เท่าไหร่ก็ไม่รู้) » »
2 ความคิดเห็น
ได้รับความรู้แปลกๆทุกครั้งที่เปิดบล็อคของ Logos ขอบคุณมากค่ะ แต่ครั้งนี้ขอถามเรื่องปะการังเพิ่มอีกหน่อย เคยไปหมู่เกาะสุรินทร์ สังเกตเห็นเวลาน้ำลง ปะการังบางชนิด โผล่พ้นน้ำ เป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน เป็นแบบนั้นแทบทุกวันเปลี่ยนเวลากันไป กรณีนี้ ปะการังจะตายน้ำตื้นไหมคะ