ผลของเรื่องเล่า

โดย Logos เมื่อ 28 June 2010 เวลา 0:11 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 4039

ฝรั่งมีศัพท์คำหนึ่งว่า Urban Legend ซึ่งเป็นเรื่องเล่าต่อๆ กันไป โดยหาต้นตอไม่พบ แต่ผู้เล่าเชื่อเรื่องนั้น(จึงเล่า) แต่เพราะหาต้นตอไม่ได้ จึงไม่อาจสืบหาความจริงหรือปฏิเสธเรื่องนั้นได้ อาจมีการแต่งเติมเสริมต่อเรื่องให้น่าเชื่อถือขึ้น ไม่ว่าโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม

Urban Legend ในยุคดิจิตอลนั้น การส่งต่อเรื่องราวง่ายมาก แล้วอย่าคิดเอาง่ายๆ ว่าการส่งต่ออีเมลจะไม่เพี้ยนนะครับ ตัวอย่างก็มีเยอะ เช่นเรื่องหญิง 7 คนดมตัวอย่างน้ำหอมแล้วตาย ซึ่งเป็นเรื่องเล่าที่เกิดหลังเหตุการณ์เครื่องบินชนตึกในปี 2544 แต่ยังเล่ากันอยู่อย่างเมามันแม้ในปัจจุบัน

ส่วนรูปภาพนั้นตกตกแต่งได้ง่ายมาก [แบบทดสอบ] เรื่องเสียงก็เห็นตัวอย่างในเมืองไทยแล้ว (การเมือง)

คนดังมักโดน

ก็ไม่รู้ว่าความดังมาเกี่ยวอะไร ในบริษัทที่ผมเคยบริหารงานอยู่ก็เหมือนกันครับ ชอบมีคนอ้างว่าผมว่าอย่างโน้นอย่างนี้ จนต้องบอกให้รู้ทั่วกันว่าหากมีใครอ้างอย่างนั้น ให้ไม่เชื่อไว้ก่อน เพราะว่าถ้าอยากให้ใครทำอะไร ผมจะติดต่อตรง แล้วคำกล่าวอ้างนี้ ให้ถามมาได้ทุกกรณี (จะผ่านหรือไม่ผ่านใครก็ได้ แต่ถ้าผ่าน คำตอบก็เป็นคำกล่าวอ้างเช่นกัน)

บิล เกตส์ แห่งไมโครซอฟท์ก็โดนครับ ความจริงเค้าก็เป็นคนทำมาหากินนะ การเข้าใจโอกาส ฉกฉวยโอกาส และประสบผลสำเร็จนั้น ไม่ใช่ความผิด ตราบใดที่ไม่ผิดกฎหมาย หรือเบียดเบียนใคร

บิล เกตส์​ โดนอ้างว่าเขียน the rules for new economy ดังนี้

Rule No. 1:   Life is not fair. Get used to it. The average teen-ager uses the phrase “It’s not fair” 8.6 times a day. You got it from your parents, who said it so often you decided they must be the most idealistic generation ever. When they started hearing it from their own kids, they realized Rule No. 1.

Rule No. 2:   The real world won’t care as much about your self-esteem as much as your school does. It’ll expect you to accomplish something before you feel good about yourself. This may come as a shock. Usually, when inflated self-esteem meets reality, kids complain that it’s not fair. (See Rule No. 1)

Rule No. 3:   Sorry, you won’t make $40,000 a year right out of high school. And you won’t be a vice president or have a car phone either. You may even have to wear a uniform that doesn’t have a Gap label.

Rule No. 4:   If you think your teacher is tough, wait ’til you get a boss. He doesn’t have tenure, so he tends to be a bit edgier. When you screw up, he’s not going to ask you how you feel about it.

Rule No. 5:   Flipping burgers is not beneath your dignity. Your grandparents had a different word for burger flipping. They called it opportunity. They weren’t embarrassed making minimum wage either. They would have been embarrassed to sit around talking about Kurt Cobain all weekend.

Rule No. 6:   It’s not your parents’ fault. If you screw up, you are responsible. This is the flip side of “It’s my life,” and “You’re not the boss of me,” and other eloquent proclamations of your generation. When you turn 18, it’s on your dime. Don’t whine about it, or you’ll sound like a baby boomer.

Rule No. 7:   Before you were born your parents weren’t as boring as they are now. They got that way paying your bills, cleaning up your room and listening to you tell them how idealistic you are. And by the way, before you save the rain forest from the blood-sucking parasites of your parents’ generation, try delousing the closet in your bedroom.

Rule No. 8:   Your school may have done away with winners and losers. Life hasn’t. In some schools, they’ll give you as many times as you want to get the right answer. Failing grades have been abolished and class valedictorians scrapped, lest anyone’s feelings be hurt. Effort is as important as results. This, of course, bears not the slightest resemblance to anything in real life. (See Rule No. 1, Rule No. 2 and Rule No. 4.)

Rule No. 9:   Life is not divided into semesters, and you don’t get summers off. Not even Easter break. They expect you to show up every day. For eight hours. And you don’t get a new life every 10 weeks. It just goes on and on. While we’re at it, very few jobs are interested in fostering your self-expression or helping you find yourself. Fewer still lead to self-realization. (See Rule No. 1 and Rule No. 2.)

Rule No. 10:   Television is not real life. Your life is not a sitcom. Your problems will not all be solved in 30 minutes, minus time for commercials. In real life, people actually have to leave the coffee shop to go to jobs. Your friends will not be as perky or pliable as Jennifer Aniston.

Rule No. 11:   Be nice to nerds. You may end up working for them. We all could.

แน่นอนครับ บิล เกตส์ ไม่ได้เขียน

มีข้ออ้างว่านำมาจากหนังสือ Business @ The Speed of Thought: Succeeding in the Digital Economy หนังสือนี้ บิล เกตส์ เขียนจริง (ในปี 2543 ผมก็มี) แต่ไม่มีข้อความข้างบน ที่เขาเขียนไว้ในหนังสือ มี 12 ข้อคือ

1 Insist that communication flow through e-mail

2 Study sales data online to share insights easily

3 Shift knowledge workers into high-level thinking

4 Use digital tools to create virtual teams

5 Convert every paper process to a digital process

6 Use digital tools to eliminate single-task jobs

7 Create a digital feedback loop

8 Use digital systems to route customer complaints immediately

9 Use digital communication to redefine the boundaries

10 Transform every business process into just-in-time delivery

11 Use digital delivery to eliminate the middle man

12 Use digital tools to help customers solve problems for themselves

การกล่าวอ้างอีกกระแสหนึ่ง มาจากสุนทรพจน์ที่ บิล เกตส์ กล่าวที่โรงเรียนมัธยม Mt. Whitney เมือง Visalia ในมลรัฐคาลิฟอร์เนีย แต่ว่า บิล เกตส์ ไม่ได้กล่าวสุนทรพจน์นี้ แล้วชาวโรงเรียน Mt. Whitney High School ต่างก็งงว่าชื่อโรงเรียนไปเกี่ยวได้อย่างไร

ยิ่งกว่านั้น Rules No. 1-11 เป็นของ Charles Sykes ซึ่งแต่งหนังสือชื่อ Dumbing Down Our Kids: Why American Children Feel Good About Themselves But Can’t Read, Write, Or Add สี่ปีก่อนหน้านั้น — เขาก็เขียนกฏข้างบนลงหนังสือพิมพ์ และภายหลังได้นำไปตีพิมพ์ในหนังสือของเขาชื่อ 50 Rules Kids Won’t Learn in School: Real-World Antidotes to Feel-Good Education เมื่อสามปีที่แล้วนี้เอง

« « Prev : เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง

Next : หลอดน้ำแข็ง » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 BM.chaiwut ให้ความคิดเห็นเมื่อ 28 June 2010 เวลา 9:05

    เจ้าอาวาสก็มีผู้เอาไปอ้างเสมอ ไม่ว่ายุคไหนหรือรูปใดก็ตาม เป็นเจ้าอาวาสยังไม่ถึงปีเลย เริ่มชินกับเรื่องนี้เสียแล้ว… (คนโง่หรือใจบุญ มักจะเป็นเหยื่อของคนฉลาดหรือตอแหลเสมอ)

    ตอนแรกเรียนบาลีจะมีอยู่ ๓ ศัพท์ คือ กิร ขลุ สุทํ ซึ่งเบื้องต้นให้แปลว่า ได้ยินว่า แต่พอสำนวนสูงขึ้น อาจพลิกแพลงตามสำนวนไทยทำนองว่า เขาว่า… เล่าลือกันว่า… ฟังต่อๆ กันมาว่า… ฯลฯ

    ตอนเรียนนักธรรมนั้น วิชาแต่งกระทู้ บังคับว่าจะต้องนำพุทธศาสนสุภาษิตมาเชื่อม โดยนักธรรมตรีบังคับ ๑ บท นักะรรมโท ๒ บท และนักธรรมเอก ๓ บท จึงจะผ่านเกณฑ์เบื้องต้น… ประเด็นนี้ก็เข้าข่ายการอ้างเหมือนกัน…

    จนกระทั้งสอบเข้าเรียนต่อชั้น ป.โท ก็ยังมีปัญหาบอกว่าให้อ้างแนวคิดของนักปรัชญามาสนับสนุนด้วย ซึ่งการสอบครั้งหนึ่งเคยเขียนว่า ความคิดของนักปรัชญาทั่วโลกใช้ไม่ได้กับสังคมไทย ข้าพเจ้ามีความคิดของข้างพเจ้าเอง… แต่ก็สอบเข้าได้ในครั้งนั้น (5 5 5…)

    สรุปว่า การอ้างคำของใครบางคนนั้น น่าจะเป็นกระบวนการบางอย่างของมนุษย์ เพียงแต่การอ้างนั้น อาจถูกต้องหรือผิดพลาด จริงหรือเท็จ เจตนาดีหรือเลว และประกอบด้วยกุศลหรืออกุศล… คิดๆ ไป ประเด็นนี้น่าสนใจเหมือนกัน

    เจริญพร

  • #2 อุ๊ยสร้อย ให้ความคิดเห็นเมื่อ 28 June 2010 เวลา 15:44

    ตัวอย่างที่ยกมา อ่านแล้วคิดว่าถ้าเป็นบิล เกตส์ จะทำอย่างไร (แต่คงไม่ทำอะไรเพราะชาตินี้ก็คงไม่ได้เป็นบิล เกตส์..อิอิ)

    เรื่อง “เขาว่า” ที่พี่เจอกับตัวเองก็คือเรื่อง FW mail ที่เคยส่งให้และได้รับคำตอบเรื่องเด็กอินเดียสร้างกระแสไฟจากเส้นผม (จำได้ไหมคะ) ..ที่ทำให้คิดได้ว่าการส่งเรื่องอะไรที่ “เขาว่า” โดยไม่ได้มีความรู้อะไรในเรื่องนั้นๆเล้ย มันสร้างความเข้าใจผิดต่อๆกันไป..เวรกรรมกับคนที่ไม่รู้เรื่องเหมือนตัวเองคือหลงผิดไปด้วย..ทำให้เลิกส่งเมลประเภทนี้ไปด้วยค่ะ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.11931610107422 sec
Sidebar: 0.19427800178528 sec