เลิกประชุมกันอย่างสงบเสงี่ยม?
อ่าน: 3437เมื่ออาทิตย์ก่อน HBR Management Tips บอกให้เลิกการประชุมอย่างเรียบร้อยซะ!
Abolish Great Meetings
Having a “great meeting” often means that everyone in the room agreed on a topic without debate or discomfort. Yet, most great ideas are born from conflict and differences of opinion, rather than effortlessly run meetings. Next time you are organizing a meeting, don’t focus on making it go smoothly. Instead, pay attention to moving your business objective forward. Only invite people who truly have a stake in the goal, not those who have a territorial claim or just want to be heard. Good results come from complex, iterative, and challenging processes. Rather than making sure your ideas and discussion fit perfectly into the hour time frame, be willing to leave the issue unresolved and have another “bad” meeting to follow up.
คำว่าประชุมอย่างเรียบร้อย หมายถึงการประชุมผ่านไปอย่างเรียบร้อย ไม่มีการขัดแย้ง ได้ข้อสรุปเห็นพ้องกันไปหมด ราบรื่น มีความสุขกันทุกคน ฯลฯ
แต่การประชุมทำนองนี้ ไม่แน่ว่าจะได้อะไรขึ้นมา (ตามความเห็นของเขาว่า) ความคิดดีๆ มักเกิดขึ้นมาจากมุมมองที่แตกต่าง อันจะปิดช่องว่างของมุมมองด้านเดียวเจืออัตตาและบริบทของตนเท่านั้น เช่นเคยทำอย่างไรแล้วสำเร็จ ก็จะทำอย่างนั้นเท่านั้น ไปบังคับคนอื่นให้ทำเหมือนกับที่ตนเคยทำสำเร็จมาแล้ว เหมือนกับว่ามีแต่วิธีนี้เท่านั้นที่สำเร็จ อธิบายอีกอย่างหนึ่งได้ว่า 4 ไม่จำเป็นต้องมาจาก 2+2 เท่านั้น จะเป็น 1+3 5-1 หรือ |√16| ก็ได้ 4 เหมือนกันหมด ทำไมจะต้องเป็น 2+2 แล้วทำไมจึงจะไปบังคับให้คนอื่นใช้ 2+2 เท่านั้น
ถ้าข้อสรุปมีอยู่แล้ว และในที่สุดทุกคนจะต้องเห็นพ้องด้วย แบ่งงานกันลงตัว จะประชุมกันไปทำไมครับ!
การประชุมจะต้องมีเป้าหมายร่วมกัน เช่นถ้าประชุมในบริษัท ก็อาจจะเป็นความเจริญรุ่งเรืองของบริษัท ความเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัททุกฝ่าย ความโปร่งใสไม่งุบงิบไม่มีวาระซ่อนเร้น ฯลฯ ดังนั้นในการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน ควรจะมีเสียงเท่ากัน ไม่ใช่ “ผู้ใหญ่” เสียงดังหรือสรุปเอาไว้แล้ว ถ้าเป็นอย่างนั้น จะประชุมทำไม - (เขียนสองครั้งแล้ว)
“ผู้ใหญ่” ควรจะฟังซิครับ เพราะว่าโดยธรรมชาตินั้น ผู้ใหญ่อยู่บนยอดปิรามิด อยู่ห่างไกลจากความเป็นจริงที่เกิดขึ้นหน้างาน จึงควรฟังให้มากๆ เป็นโอกาสที่จะเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ต้องแย่งพูด+รีบสรุป ถ้าสรุปไม่ได้ ก็ยังไม่ต้องสรุปครับ สรุปผิดจะไปกันใหญ่ ควรเข้าใจด้วยว่าเสียงของคนตัวเล็กๆ นั้น เบาอยู่แล้ว ควรตั้งใจฟังอย่างยิ่ง ให้เข้าใจแม้สิ่งที่ไม่ได้พูด
จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม ไม่ได้แสดงถึงความสำคัญของการประชุมหรอกนะครับ ถ้ามาร่วมประชุมแล้ว ไม่ได้ให้มุมมองที่จะทำให้ที่ประชุมได้ผลลัพท์ที่ดีขึ้น อย่าไปประชุมเลยครับ เสียเวลาทำการทำงาน
เลิกระบบบัญชีหางว่าวเพื่อเชิญประชุมเสียทีดีไหมครับ เชิญมาเฉพาะผู้ที่ contribute ให้กับที่ประชุมได้ดีกว่า
« « Prev : ลดความเสี่ยงจากดินถล่ม?! ตอนต่อมา
Next : คณิตศาสตร์ใหม่ของความร่วมมือ » »
1 ความคิดเห็น
ช่วงนี้เดินทางมาประชุมที่กระทรวงศึกษาฯพรุ่งนี้
ไม่รู้ว่าจะเป็นเสียงเล็ก หรือ เสียงใหญ่
ในวงประชุมบางแห่งก็มีนักขี้โม้ ขาใหญ่
ก็ทนๆฟังไป พร้อมกับคิดว่า มันเชิญตูมาทำไมวะ
ครั้นจะไม่มา ก็ให้หน้าม้าโทรไปออดอ้อนรำพัน
ก็เห็นด้วยที่ว่าน่าจะเอาเฉพาะผู้ที่เป็นหัวหลักมา ส่วนหัวตอรออ่านรายการก็ได้
แต่ส่วนมากจะเจอวัฒนธรรมปาหี่
ประชุมน้อยๆคนถือว่าไม่ดัง ไม่ใหญ่ ไม่ได้ผลาญงบประมาณ
มันก็ลงอีหรอบนี้แหละโยม