นิสิต OCARE จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 57

อ่าน: 3883

นิสิตในสำนักงานคณะกรรมการศึกษาวิจัยทรัพยากรการเกษตร (OCARE) เป็นรุ่นที่สองที่มาส่วนป่า แต่เป็นรุ่นที่สามของคณะ (รหัส 55)

รุ่นแรกครูบาเป็นวิพุทธิยาจารย์อาสาและชาวเฮตามไปช่วยไปกันมากมาย ผมก็อยากไปร่วมนะครับ แต่เห็นว่าไปกันเยอะแล้วเลยเกิดเกรงใจเจ้าภาพ :-D อยู่ที่ไหนก็ช่วยได้ถ้าจะช่วย ปีถัดมานิสิตโอแคร์ยกพลมาสวนป่าเป็นครั้งแรก มีชาวเฮมาช่วยกันสี่ท่าน ยังมีนิสิตติดต่อกับผมอยู่เรื่อยๆ ปีที่แล้วผมพูดไปหลายเรื่อง ไม่นึกว่ามีนิสิตเกิดดวงตาเห็นธรรม เกาะติดและเอาไปทำได้จริงๆ

ในปีนี้นั้น มีนิสิตมา 37 และอาจารย์อีก 7 ท่าน โดย ศ.น.สพ.ดร.อรรณพ คุณาวงษ์กฤต ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาวิจัยทรัพยากรการเกษตร เป็นผู้นำมาเหมือนกับปีที่แล้วครับ ถ้ามาหน้าหนาว จะเหมาะกว่านี้อีกเนื่องจากพืชพรรณไม้จะเปลี่ยนไป อากาศเย็นสบาย

ครูบาบอกขอให้จัดปราสาทเป็นที่พักของคณาจารย์ ซึ่งยกกันมาทั้งคณะเลย แต่อาจารย์อยากร่วมหัวจมท้ายกับนิสิตซึ่งเหมือนลูกหลานครับ จึงไม่อยากนอนแยกกับนิสิต อย่างไรก็ตามในวันแรก หลังจากมาถึงและกินข้าวกลางวันแล้ว ครูบาเปิดหลักสูตรจันทโครพ (ใครจะเปิดผอบหรือไม่เปิดก็แล้วแต่) ที่ลานลมโชยหน้ากระท่อมเจ้าป่า จากนั้นอพยพมาที่ปราสาทเฟสสอง มาอาศัยแอร์เพราะอากาศร้อนอบอ้าวมาก จัดเป็นแขกกลุ่มแรกที่เข้ามานั่งเรียนกันตรงนี้ คนห้าสิบคน นั่งกันอย่างสบายๆ แต่ถ้าจะนอนฟังละก็ สักยี่สิบยี่สิบห้าคนคงกำลังดี

ผมพูดคุยชวนชวนสังเกตไปสองชั่วโมงครึ่ง เล่าประสบการณ์จริงให้ฟังแล้วค่อยอธิบายว่าทำไมจึงทำอย่างนั้น จดกันยิกเลย แต่ผมยังหวังว่าจะได้ประเด็นไปประยุกต์ใช้หลายๆ อย่างนะครับ อาจารย์อรรณพได้กรุณาช่วยสรุปประเด็นสำคัญให้นิสิตด้วย เพราะผมพูดเรื่องจิงในสไตล์พูดเล่นๆ อาจจะจับประเด็นยาก มัวแต่ฮากัน… ปีที่แล้วอาจารย์อรรณพบอกว่าดีใจที่พบบัณฑิตจุฬา ไม่ใช่เพียงผู้จบการศึกษาจากจุฬา ปีนี้อาจารย์บอกว่าภูมิใจ ถ้าจุฬามีบัณฑิตที่หันกลับมาพิจารณาอย่างเข้าใจและทำเพื่อสังคมจริงจังอย่างนี้เพียงปีละร้อยคนเท่านั้น เมืองไทยคงเจริญก้าวหน้ามีปัญหาน้อยกว่านี้มาก ฟังแล้วไม่ได้ลอยหรอกครับ นำหนักผมเยอะ แต่ก็รู้สึกดีเหมือนกัน อิอิ

ช่วงคำหลังอาหารเย็น นั่งคุยกันเบาๆ ที่ลานลมโชยอีกก่อนแยกย้ายไปนอน เนื่องจากนิสิตเหนื่อยมามากแล้ว (ก่อนมาสวนป่า ไปแวะสระบุรีมา)

วันที่สอง ช่วงเช้าไม่รู้มีอะไร ผมนอนสะสมเพราะมีกิจกรรมยาวตลอดมาทั้งอาทิตย์แล้ว ตอนบ้ายพาไปเรียนที่คัมภีร์ บ้านดินฟาร์ม ไม่ได้ตั้งใจจะให้ไปเรียนวิธีสร้างบ้านดินหรอกครับ แต่อยากให้ไปดูว่าเด็กบ้านนอก เข้าไปเรียนในเมือง แล้วกลับมาท้องถิ่น มาดูแลพ่อแม่ ใช้ความรู้ที่ร่ำเรียนมา ปรับปรุงคุณภาพชีวิตที่แร้นแค้น อยู่ท่ามกลางความไม่มี ไม่พร้อมได้อย่างไร และวิถีชีวิตเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง เมื่อเสร็จสิ้น นิสิตยืนล้อมวงคุณชายภีร์ และร้องเพลงกล้าดินผลิใบให้เป็นการขอบคุณ กลับมาสวนป่า มาทำกับข้าวกัน ฝีมือวิจิตรกว่าทุกกลุ่มที่เคยเห็นมาครับ

วันที่สามเป็นวันเดินทางกลับ มีพิธีร่ำลา ส่วนครูบาก็เดินทางเข้ากรุงเทพ ไปจุฬานั่นล่ะครับ

ครูบาเขียนไว้บนเฟสบุ๊ค

[รูปกิจกรรมบนเฟสบุ๊ค]
[รูปจากมุมมองของอาจารย์ OCARE]

« « Prev : นักศึกษาแพทย์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Next : จำใจปฏิเสธ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "นิสิต OCARE จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 57"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.62975406646729 sec
Sidebar: 0.52668905258179 sec